เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 4674 การทำงานในระบบ UN
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 เม.ย. 22, 18:29

ตำแหน่งงานต่างๆที่มีก็จะประกอบด้วยกลุ่มงานต่างๆคล้ายๆกับขององค์กรทางราชการหรือของเอกชนต่างๆ  ซึ่งในความเห็นตามที่ผมได้มีโอกาสสัมผัสมานั้น ก็น่าจะจัดได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่ทำงานในลักษณะของฝ่ายงานธุรการ ซึ่งนิยมจะเรียกกันว่าฝ่าย Secretariat ก็จะมีเช่น งานธุรการทั่วๆไป งานการเงิน งานบุคลากร งานด้านการประสาน ติดตามและประเมิน งานด้านการแปล...   เป็นพวกงานที่ผู้ทำงานต้องมีวุฒิการศึกษาในสายนั้นๆ เช่น บัญชี เศรษฐศาสตร์ กฏหมาย ประชาสัมพันธ์ รัฐศาสตร์บางสาขา การจัดการทรัพยากรบุคคล  IT  กระทั่งบรรณารักษ์ ...  จะว่าไปก็คือทุกศาสตร์ที่มีการสอนกันอยู่ในมหาวิทยาลัย เพียงแต่ผู้สมัครงานจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้มากพอในสิ่งที่เป็นปรัชญาและเป็นแก่นสารของศาสตร์นั้นๆ มิใช่รู้แต่เพียงผิวเผิน    ในกลุ่มงานนี้ก็มีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มากประสบการณ์เฉพาะทางตามลักษณะงานขององค์กรรวมอยู่ด้วย

กลุ่มงานที่สอง คือกลุ่มที่ทำงานในระดับบริหาร  บุคลากรในกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่รัฐบาลของประเทศสมาชิกจะมีหนังสือสนับสนุนให้ได้รับการคัดเลือกให้เข้าดำรงตำแหน่ง  ใช้วิธีการโหวดเสียงในที่ประชุม หรือใช้การหย่อนบัตรลงคะแนนดังเช่นการเลือกตั้ง

กลุ่มงานที่สาม คือกลุ่มงานบริการ ไม่จำกัดความรู้ เพียงแต่ต้องสามารถใช้ภาษาอังกฤษ(หรือฝรั่งเศส ?) ในการสื่อสารได้ ซึ่งส่วนมากจะเป็นคนในพื้นที่   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 เม.ย. 22, 19:22

เรื่องต่อไปก็คงจะเป็นเรื่องของเงินเดือน

เรื่องนี้ผมยังไม่ชัดแจ้ง  พอจะทราบแต่ว่า UN นั้นมีมาตรฐานกลางสำหรับระดับเงินเดือน เงินช่วยค่าครองชีพ และค่าตอบแทนต่างๆ  ซึ่งหมายความว่า หากคุณเป็นบุคลากรในระบบ UN  เมื่อคุณอยู่ประจำทำงานอยู่ที่สำนักงานใด ในประเทศใด คุณจะได้รับเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศนั้นๆ  หรือในภาพรวมก็คือ คุณจะได้รับเงินเดือนแตกต่างกันไปตามประเทศที่ๆคุณอยู่ประจำการ  ทำให้เมื่ออยู่ประจำการในประเทศเช่นออสเตรียและญี่ปุ่น ซึ่งมีค่าครองชีพที่สูงมาก คุณก็จะได้รับเงินค่าตอบแทนรวมรายเดือนที่สูงมากกว่าการอยู่ประจำการในประเทศอื่น  แต่..หากพิจารณาในองค์รวมแล้ว เจ้าหน้าที่ใระบบ UN หลายๆคนเท่าที่รู้จักมา ดูอยากจะมาอยู่ประจำที่ประเทศไทย เพราะ comparatively แล้ว อยู่ในไทยนั้นมีความคุ้มค่าที่สุดในทุกๆ aspect ของการดำเนินชีวิต
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 เม.ย. 22, 18:04

สรุปตามภาพที่ได้ฉายมา

ข้อแรก ก็คือ หากประสงค์จะสมัครเข้าทำงานในระบบ UN ก็จะต้องมีความสามารถในการสื่อสารทางภาษาอังกฤษในระดับค่อนข้างดี ทั้งการพูด การอ่านและการเขียน   ความสามารถในการใช้ภาษาอื่นๆจะทำให้มีโอกาสมากขึ้นในการพิจารณารับเข้าทำงาน  ภาษาอื่นๆที่ค่อนข้างจะทำให้มีความได้เปรียบมากเป็นพิเศษคือภาษาสเปน     

ข้อสอง ก็คือ ฝ่าย Secretariat ของแต่ละองค์กรเกือบทั้งหมดค่อนข้างจะมีความเป็นอิสระในการรับบุคลากรเข้าทำงาน  ปริมาณบุคลกรตามวุฒิการศึกษา ความชำนัญการ หรือความเชี่ยวชาญพิเศษ ก็จะเป็นไปตามความต้องการตามลักษณะงานขององค์กร    บุคลากรทุกคนจะมีสัญญาจ้างที่มีระยะเวลากำหนด  ผมจำไม่ได้ว่าเป็นสัญญาจ้างระยะเวลากี่ปี น่าจะอยู่ในระหว่าง 3-7 ปี   สำหรับในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญจะเป็นสัญญา 7 ปี ซึ่งหากได้รับการจ้างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเกษียณแล้วก็ยังมีบำนาญอีกด้วย 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 เม.ย. 22, 18:31

ข้อสาม ก็คือ ได้รับเงินเดือนตามมาตรฐานกลาง แต่จะมีเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพตามที่ได้มีการกำหนดไว้ว่า ทำงานอยู่ประจำที่สำนักงานในประเทศใด จะได้เงินเพิ่มเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด     แต่ด้วยที่การจ้างบุคลกรนั้นดูจะมีการแยกออกเป็นกลุ่มพวก Local staff ด้วย  ก็เลยไม่แน่ใจนักว่าพวกบุคลกรเหล่านี้จะได้รับเงินเพิ่มช่วยเหลือหรือไม่  ซึ่งเรื่องนี้ก็ไปพ่วงกับเรื่องของสถานที่เปิดรับการสมัครงาน

ข้อสี่ ก็คือ ในระบบ UN มีความตกลงกันในเรื่องของปริมาณ / สัดส่วน ในเรื่องของเชื้อชาติของบุคลการที่จะรับเข้ามาทำงาน  เรื่องที่ไดเห็นชัดเจนอยู่ ก็คือ ในประเทศที่เป็นที่ตั้งของสำนักงาน ก็มักจะมีการจ้างบุคลากรของประเทศนั้นๆมากกว่าปกติ ซึ่ง เข้าใจว่าจะเป็นบุคลการในกลุ่ม Local staff   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 เม.ย. 22, 19:02

พอจะได้รู้พื้นฐานบางเรื่องแล้ว 

ก็มาถึงเรื่องของการสมัครงาน ซึ่งดูจะเป็นเรื่องง่ายๆที่ไม่มีความสลับซับซ้อนอะไร  แต่โดยเนื้อในแล้วเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนอยู่ไม่น้อย    เรื่องนี้ จะต้องขอเอากระบวนการที่เกิดขึ้นในองค์กรที่ผมไปปฏิบัติภารกิจ เอามาเป็นตัวแทนเพื่อเล่าความเรื่องราวต่างๆ  เป็นเรื่องหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสเขาไปสัมผัส ใช้ความสามารถส่วนตัว และช่วยกลุ่มในการดำเนินการต่างๆ ซึ่งเกิดเป็นผลสำเร็จ แต่ไม่บรรลุถึงจุดประสงค์ของผมในการยังให้คนไทยได้มีตำแน่งเข้าไปทำงานในระดับบริหารขององค์กร
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 เม.ย. 22, 19:22

ขอเริ่มต้นว่า เมื่อองค์กรใดๆประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อเป็นบุคลากรขององค์กร  ตามปกติก็จะต้องมีการออกประกาศรับสมัครบุคคลพร้อมทั้งคุณสมบัติของบุคคลที่ต้องการ  ในระบบของ UN ก็ทำเช่นนั้น แต่เคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่า บุคลากรของ UN เกือบทั้งหมดจะเป็นพวกที่เรียกรวมกันได้ว่าเป็นฝรั่ง  หากได้เคยเข้าไปประชุมในสำนักงานของ UN ก็อาจจะได้เคยเห็นพวกที่เรียกรวมกันได้ว่าเป็นแขก  เช่นกัน บรรดาพวกยาม ภารโรง... ก็จะเป็นที่เรียกว่าพวกคนในท้องที่   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 12 เม.ย. 22, 17:22

ย้อนกลับไปอ่านดู เห็นว่าอาจจะเล่าความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้าง  การจ้างก็จะต้องมีการประเมินทุกปีตามปกติทั่วไป แต่จะจ้างต่อเนื่องได้ไม่เกินระยะเวลาที่กำหนด  อย่างไรก็ตาม ก็สามารถจะสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมได้ใหม่ได้อีก ซึ่งก็ดูเหมือนจะมีกำหนดไว้เหมือนกันว่าจะได้กี่รอบ  สำหรับบุคลากรที่ทำงานอยู่ในองค์นั้นๆได้นานๆนั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะเป็นการเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่อื่นๆ ไม่ใช่ตำแหน่งเดิม 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 12 เม.ย. 22, 17:49

เล่าความต่อครับ

ด้วยปรัชญาตามแนวคิดของ UN ที่ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นองค์กรความร่วมมือในทางที่เป็นคุณประโยชน์สำหรับประชากรโลกและนานาชาติ  ก็จึงทำให้การไปสมัครเข้าทำงานของคนต่างชาติกับองค์กรต่างๆในระบบ UN ที่มีที่ตั้งสำนักงานอยู่ในบางประเทศ ได้มีโอกาสจะได้รับการเข้าทำงานได้ไม่ยาก  แต่มันก็มีข้อจำกัดในบางเรื่องที่ต้องพิจาณา โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของตนเองให้มีความสุขสบายในพื้นที่ๆมีภาษา วิถีชีวิต วัฒนธรรม ฯลฯ ที่ต่างไปจากบ้านเกิดของตนเองค่อนข้างมาก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 เม.ย. 22, 18:29

ที่เล่าความมาถึงช่วงนี้ ก็ดูจะเป็นเรื่องตามปกติที่พบเห็นได้ทั่วๆไป   

แล้วอะไรที่เป็นประเด็นปัญหา?      ประเด็นที่เป็นหลักใหญ่ๆก็คือ ผู้สมัครงานมีระยะเวลาน้อยมากสำหรับการเตรียมการต่างๆ  รวมทั้งเรื่องของความพร้อมของตัวเองทั้งด้านกายและใจ   
   
เรื่องเหล่านี้ จะให้เข้าใจได้ดีที่สุดก็คงจะต้องเป็นการลองปฏิบัติการด้วยตัวเอง   ลองดูนะครับ พิมพ์ UN ในอากู๋แล้วเลื่อนหา Employment 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 12 เม.ย. 22, 19:06

ก็น่าจะได้ความพอสมควรสำหรับกลุ่มงาน Secretariat  ซึ่งก็ดูจะตรงกับกลุ่มงานที่ฝ่ายการเมืองของเราชอบก็เรียกกันว่า ฝ่ายประจำ   ก็เข้ามาถึงงานของพวกสมาชิกขององค์กร ซึ่งจะเรียกว่าฝ่ายผู้ถือหุ้นก็น่าจะพอได้   ผมปฏิบัติภารกิจอยู่ในกลุ่มงานนี้ ในฐานะ Alternate Representative ของผู้แทนไทยประจำองค์กร UNIDO  ก็เลยพอจะเล่าเรื่องภารกิจและการปฏิบัติงานได้มากกว่างานของกลุ่มงานฝ่าย Secretariat   แต่ก็จะมีเรื่องที่โยงไปถึงเรื่องที่ได้การขยายความมาตั้งแต่ต้นกระทู้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 เม.ย. 22, 19:35

UN ทำงานในระบบพวก แยกออกเป็นกลุ่มๆ กลุ่มที่มีเสียงค่อนข้างจะดังทางด้านบุ๋นก็คือ Group of 77+China (G-77 +China) เป็นกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนา มีสมาชิกทั้งหมดรวม 134 ประเทศ  กลุ่มอื่นที่เกี่ยวข้องกันและมีการประชุมร่วมกัน ก็มีเช่น  ASIA, AFRICA, GRULAC, ARAB, WEO, Eastern Europe Group (CIS ?), ฯลฯ  มากมายไปหมด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 13 เม.ย. 22, 18:40

G77+China เป็นเวทีของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเพื่อรวมพลังความคิดและพลังการนำเสนอ พลังในการผลักดันและต่อรอง พลังในการแก้ไข และพลังในการสร้างสรรในเรื่องที่เกี่ยวกับระบบและกลไกลทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ในโลก  มีที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง Geneva (สวิสฯ)  มีสำนักงานประสานงาน (Chapter)  ตั้งประจำอยู่ใน FAO (Food and Agriculture Organization), UNIDO (UN Industrial Devekopment Organizatin), UNESCO (UN Educational, Scientific and Cultural Organization), UNEP (UN Environmenta Programme)   และก็มีกลุ่มประเทศในกลุ่ม G-77 ที่ไปตั้งเป็นกลุ่ม G-24 ทำงานเกี่ยวกับเรื่องทางการเงินและการคลังในระบบ World Bank และ IMF  กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาในรูปของ Intergevernmental Group

ยุ่งเหยิงดีนะครับ แต่ก็ต้องรู้พอสมควร เพราะว่ามันล้วนแต่มีผลโยงไปถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในหลายๆเรื่องในระดับของประเทศ อาทิ ในการเลือกผู้นำองค์กรต่างๆในระบบ UN เป็นต้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 13 เม.ย. 22, 19:42

ประเทศสมาชิกของ UN  ก็มีการจัดแบ่งเป็นกลุ่มภูมิภาค

ASIA Group  ในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Asia and the Pacific Group  มีทั้งหมด 53 ประเทศ 
AFRICA Group มีทั้งหมด 54 ประเทศ
GRULAC Group (Group of Latin American and Carribean)  มีทั้งหมด 33 ประเทศ
EEG Group (Eastern European Group)  มีทั้งหมด 23 ประเทศ
WEOG (Western European and Others Group) มีทั้งหมด 28 ประเทศ

ทั้งนี้ ก็มิได้หมายความว่า ในการดำเนินการภารกิจต่างๆนั้น จะต้องมีการประชุมร่วมกันภายในกลุ่มภูมิภาค แล้วมีความเห็นร่วมกัน    แท้จริงแล้ว กลุ่มประเทศในกลุ่มตามภูมิภาคเหล่านี้ต่างก็แยกกันออกไปร่วมอยู่ในกลุ่มต่างๆ เช่นในกลุ่มฝ่ายผู้ให้ (Donor countries_บริจาคความช่วยเหลือ) ประเทศฝ่ายผู้รับ (Recipient countries)  ประเทศกลุ่ม OECD (Organization of Economic Co-operation and Development ) หรือง่ายๆก็คือกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม ฯลฯ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 14 เม.ย. 22, 18:35

เรื่องราวกระโดดไปกระโดดมาบ้างนะครับ  ก็คงทำให้พอจะทำให้เห็นภาพมากขึ้นถึงความเกี่ยวพันโยงใยกันภายในระหว่างองค์ต่างๆ  ซึ่งก็เป็นอีกองค์ความรู้พื้นฐานหนึ่งที่สำคัญเพื่อการปฏิบัติภารกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ  (บางตัวอย่างก็เช่นในเรื่องของโอกาสของประเทศหรือของบุคลกรในการเข้าไปเป็นผู้นำในองค์กรต่างๆในระบบ UN)  ภารกิจเล็กๆส่วนหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ต่างๆได้ปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างเหมาะสมและอย่างควรนั้นล้วนสะสมเป็น Big Data ของประเทศทั้งในเชิงของรูปธรรมและนามธรรม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 14 เม.ย. 22, 19:30

ที่ให้ข้อมูลเรื่องการจำแนกเป็นกลุ่มภูมิภาคนั้น เป็นเพียงเรื่องราวส่วนหนึ่งเพื่อจะแสดงให้เห็นว่า ในระบบ UN นั้นมีการหมุนเวียนเปลี่ยนตำแหน่งผู้นำกลุ่มอยู่ตลอดตามระยะเวลาที่ได้มีการตกลงกัน  เช่นในกรณีของการประชุมใหญ่ประจำปีของของ UN นั้น การประชุมจะมีการหมุนเวียนผู้แทนของกลุ่มให้ไปทำหน้าที่เป็นประธานของที่ประชุม GA

  - African Group จะสามารถส่งผู้เข้ามาทำหน้าที่ประธานได้ทุกๆ 5 ปี ในปี ค.ศ.ที่ลงท้ายด้วยเลข 4 และ 9
  - Asia - Pacific Group ส่งได้ทุกๆ 5 ปี ในปีที่ ค.ศ. ลงท้ายด้วยเลข 1 และ 6
    .....ฯลฯ  (ข้อมูลจาก worldatlas.com)

ในขณะที่กลุ่ม G77+China นั้น มีการหมุนเวียนเปลี่ยนประธานกลุ่มทุกปี เป็นการเลือกกันเองภายในกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะเลือกผู้แทนภายในกลุ่มของตนส่งเข้าไป  ทั้งนี้ เพื่อลดความขัดแย้งกันทั้งภายในกลุ่มใหญ่ ก็จะมีระบบหมุนเวียนไปตามกลุ่มภูมิภาค สำหรับภายในกลุ่มภูมิภาคเองก็มีการหมุนเวียนไปในระบบตามตัวอักษรนำหน้าชื่อประเทศ     แต่ทั้งหลายทั้งมวลก็จะมีผลไปเกี่ยวพันกับการเสนอผู้ที่ตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ (ประทศ) หรือผู้บริหารระดับสูงในบางองค์กรในระบบ UN  ก็เลยมีระบบแต่ละประเทศมีการเก็บสะสมคะแนนเสียงและมีระบบการแลกคะแนนเสียงในองค์กรต่างๆในระบบ UN
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 17 คำสั่ง