เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 17471 2020 อเมริกาจลาจล
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 03 มิ.ย. 20, 13:40

อเมริกาจลาจลในสายตานักข่าวสาวชาวไทย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 04 มิ.ย. 20, 14:50

ฟลอยด์ติดเชื้อโควิดมาก่อนหน้านี้แล้ว 2 เดือน แต่ไม่แสดงอาการ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 04 มิ.ย. 20, 15:53

อเมริกาจลาจลในสายตานักข่าวสาวชาวไทย

ทดแทนโดยคลิปที่มีเนื้อหาเดียวกัน โดยนักข่าวสาวคนเดิม  ยิ้มเท่ห์

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 04 มิ.ย. 20, 16:06

THE STANDARD

UPDATE: ทางการสหรัฐฯ ตั้งข้อหาอดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 4 นาย คดี จอร์จ ฟลอยด์ แล้ว อาจต้องโทษจำคุกสูงสุด 40 ปี
.
วานนี้ (3 มิถุนายน) ทางการสหรัฐฯ ตั้งข้อหากับอดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 3 นาย ที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ ในฐานให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนให้เกิดการฆาตกรรม ขณะที่ Derek Chauvin อดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำเกินกว่าเหตุ ใช้เข่ากดต้นคอของฟลอยด์จนเขาเสียชีวิต ถูกปรับเพิ่มโทษ มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาแต่ไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อน หรืออาจเป็นเพราะสิ่งเร้าจึงลงมือฆ่า
.
ทั้ง Derek Chauvin, Thomas Kiernan Lane, Alexander Kueng และ Tou Nmn Thao คืออดีตนายตำรวจทั้ง 4 นาย ที่มีส่วนปลุกกระแสต่อต้านการเหยียดสีผิวในสังคมอเมริกันในช่วงเวลานี้ โดยทั้ง 4 นาย ถูกปลดออกจากตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา หรือ 1 วัน หลังจากที่ฟลอยด์เสียชีวิตแล้ว
.
ทางการเคาน์ตี Hennepin ผู้ดูแลคดีความในครั้งนี้ ระบุว่า อดีตนายตำรวจทั้ง 3 นาย ที่ถูกตั้งข้อหานี้ได้รับการตั้งเงินประกันตัว 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 31.6 ล้านบาท) โดยทั้ง 4 นาย อาจต้องโทษจำคุกสูงสุดนานถึง 40 ปี
.
เบื้องต้น Keith Ellison อัยการรัฐมินนิโซตา เรียกร้องให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงอย่างสันติ พร้อมระบุว่า คดีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกต้ังข้อหาเป็นงานที่ค่อนข้างยากและต้องใช้ความรอบคอบสูงมาก โดยยืนยันว่า แรงกดดันจากกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงไม่ได้เป็นปัจจัยที่ทำให้ทางการปรับเพิ่มโทษหรือตั้งข้อกล่าวหาอดีตนายตำรวจทั้ง 4 นายแต่อย่างใด
.
Ellison เผยว่า “ถึงครอบครัวฟลอยด์ ถึงชุมชนอันเป็นที่รัก และถึงทุกคนที่กำลังเฝ้าติดตามประเด็นนี้อยู่ ผมจะบอกว่า จอร์จ ฟลอยด์ สำคัญ เขาเป็นที่รัก ครอบครัวของเขาเองก็สำคัญ ชีวิตของเขามีคุณค่า และเราจะนำความยุติธรรมคืนให้แก่เขาและคุณทุกคน เราจะหาสิ่งนั้นให้พบ”
.
ขณะที่ Tim Walz ผู้ว่าการรัฐมินนิโซตา ระบุว่า “การเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ เป็นเสมือนกับอาการของโรคร้าย ที่ต่อให้คุณตื่นขึ้นมา โรคของการเหยียดนี้ก็จะไม่หายไป นี่เป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนจะต้องช่วยกันแก้ไข และเรายังมีงานหนักอีกมากมายรออยู่เบื้องหน้า”



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 04 มิ.ย. 20, 16:16

เหตุการณ์นี้น่าจะยาว และเป็นตำนานที่จะถูกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ของการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันของมนุษยชาติ

หากแยกเป็นกระทู้ใหม่ "๒๐๒๐ อเมริกาจลาจล" น่าจะเหมาะสม
 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 04 มิ.ย. 20, 16:58

แยกแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 04 มิ.ย. 20, 17:01

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 04 มิ.ย. 20, 17:54

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 05 มิ.ย. 20, 07:42

น้องเนย เล่าที่มาที่ไปของอเมริกาจลาจล   รวมทั้งประวัติการเหยียดผิว  ฟังเข้าใจง่าย

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 06 มิ.ย. 20, 19:30

ปฏิกิริยาจากเพื่อนบ้าน

นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา วัย ๔๘ ปี ออกมาแสดงจุดยืนและไว้อาลัยต่อการเสียชีวิตของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา

โดยนายทรูโด ร่วมชุมนุมต่อต้านการเหยียดสีผิว ที่หน้าอาคารรัฐสภาในกรุงออตตาวา เมืองหลวงของแคนาดา เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายนตามเวลาท้องถิ่น ด้วยการสวมหน้ากากสีดำนั่งคุกเข่าข้างเดียวกับพื้น ตามรายงานระบุว่าเขาได้นั่งในท่าดังกล่าวเป็นเวลา ๘ นาที ๔๖ วินาที เป็นเวลาเท่ากับช่วงที่นายจอร์จ ฟลอยด์ ถูกตำรวจใช้เข่ากดที่คอจนขาดหายใจ

จากนั้น นายกฯทรูโด ได้เดินทักทายผู้ชุมนุม แต่ไม่ได้ขึ้นเวทีปราศรัย อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้เขาถูกบางฝ่ายวิจารณ์การร่วมชุมนุม แต่กลับนิ่งเฉยต่อการเร่งรัดการกระทำความรุนแรงจากตำรวจในแคนาดา ซึ่งไม่ต่างจากที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ อาทิ คดีแชนเทล มัวร์ หญิงชาวแคนาดา วัย ๒๖ ปี ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงเสียชีวิต ในเช้าวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

https://www.facebook.com/153951094974177/posts/1310404499328825/

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 07 มิ.ย. 20, 09:36

ยังไม่มีท่าทีว่าการประท้วงจะสงบลงง่ายๆ  อย่างในภาพข้างล่างนี้ ผู้ชุมนุมก็ยังประท้วงกันอย่างสงบอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
ขณะที่ทรัมป์เองส่งทหารเข้ามาคุมสถานการณ์   เพื่อตอบโต้ความรุนแรงด้วยความรุนแรงยิ่งกว่า
ถ้าลุงแกเคยอ่านนิทานอีสป คงจะรู้จักเรื่องน่ำผึ้งหยดเดียว 

ความจริง ถ้าแยกระหว่างการชุมนุมประท้วงโดยสงบ กับการแทรกแซงของพวกโจรผู้ร้ายที่ฉวยโอกาสปล้นสะดมออกจากกัน   เหตุการณ์อาจจะไม่บานปลาย
แต่นี่เห็นทีจะไปไกลออกทะเลไปทั่วโลกแล้ว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 07 มิ.ย. 20, 10:34

หลังจากจอร์จ ฟลอยด์ ชายอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน เสียชีวิตขณะถูกตำรวจเมืองมินนีแอโปลิสจับกุมรุนแรงเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม โดยมีวิดีโอบันทึกเหตุการณ์แสดงภาพเขาโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจผิวขาวใช้เข่ากดทับลำคอเขาลงกับพื้นถนน การประท้วงในสหรัฐฯ รุนแรงจนกลายเป็นการก่อจลาจลในหลายเมือง เกิดเป็นกระแสเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อคนผิวดำ 'Black Lives Matter' ไปทั่วโลก

ก่อนหน้านี้ที่ออสเตรเลีย มีคนนับหมื่นออกชุมนุมประท้วงที่นครซิดนีย์ บริสเบน เมลเบิร์น โฮบาร์ต แอดิเลด และเมืองอื่น ๆ แม้ว่าจะมีคำเตือนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่สถานีรถไฟกลางที่นครซิดนีย์ เกิดการปะทะรุนแรงเล็กน้อยในช่วงค่ำ โดยตำรวจใช้สเปรย์พริกไทยในการควบคุมฝูงชน แต่ตำรวจบอกว่ามีการจับกุมผู้ประท้วงแค่ ๓ รายเท่านั้น จากผู้ประท้วงทั้งหมด ๒๐,๐๐๐ คน ตอนแรกศาลตัดสินว่าการประท้วงที่นครซิดนีย์ผิดกฎหมาย ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะกลับคำตัดสิน ๑๕ นาทีก่อนการประท้วงมีกำหนดเริ่มต้น โดยอนุญาตให้คนรวมตัวกันได้ ๕,๐๐๐ คน

ที่จัตุรัสรัฐสภาบริเวณใจกลางกรุงลอนดอนมีผู้ประท้วงไปรวมตัวกันหลายพันคนแล้ว โดยส่วนใหญ่ใส่ผ้าคลุมหน้า และมีหลายคนที่ใส่ถุงมือด้วย ป้ายประท้วงหลายชิ้นเป็นการสื่อไปถึงสถานการณ์โควิด-๑๙ อาทิ "มันมีไวรัสที่อันตรายกว่าโควิด-๑๙ เรียกว่าการเหยียดเชื้อชาติ"

เมื่อคืนวันศุกร์ผู้จัดการประท้วง 'Black Lives Matter' ในเบลฟาสต์และลอนดอนเดอร์รีในไอร์แลนด์เหนือบอกว่าจะจัดการชุมนุมแบบเว้นระยะห่างทางสังคม และในขณะนี้ ตำรวจไอร์แลนด์เหนือบอกว่าพวกเขาได้ตั้งด่านเพื่อหยุดรถผู้ที่จะเดินทางไปประท้วง และเตือนให้กลับบ้าน หรือไม่ก็จะโดนโทษปรับ

https://www.bbc.com/thai/international-52950702



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 07 มิ.ย. 20, 18:55

ประท้วงที่อังกฤษ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 08 มิ.ย. 20, 08:55

กิจกรรมการประท้วงหนึ่งที่มีทั้งในสหรัฐ และยุโรป คือการโค่นรูปปั้นที่เป็นอนุสรณ์สถานบุคคลที่เคยเหยียดสีผิวและเชื้อชาติมาก่อน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่เรียกว่า ชีวิตคนดำก็มีค่า หรือ Black Lives Matter

ที่เมืองบริสทอล ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ฝูงชนช่วยกันใช้เชือกผูกรูปปั้น เอ็ดเวิร์ด โคลสตัน นักค้าทาสคนสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษ ยุคคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ก่อนออกแรงดึงให้โค่นลงมา ท่ามกลางเสียงเชียร์ที่โห่ร้องยินดี

จากนั้นผู้ประท้วงทำท่าเอาเข่ากดลงที่คอของรูปปั้นนาน ๘ นาที เหมือนกับที่จอร์จ ฟลอยด์ ถูกตำรวจกระทำจนขาดอากาศหายใจตาย แล้วแบกลากเอารูปปั้นไปโยนทิ้งน้ำ ใกล้อ่าวบริสทอล ท่ามกลางเสียงเชียร์และเสียงปรบมือเกรียวกราว

เอ็ดเวิร์ด โคลสตัน เป็นลูกหลานตระกูลพ่อค้าที่มั่งคั่ง ดำเนินกิจการบริษัทผูกขาดค้าทาส ในชื่อ รอยัล แอฟริกัน คอมพานี ขนส่งทาสจากแอฟริกาข้ามมหาสมุทร เข้ามาอังกฤษ และส่งทาสบางส่วนไปทำไร่อ้อยในแถบทะเลแคริบเบียน และทำไร่ยาสูบที่รัฐเวอร์จิเนียในอเมริกา

รูปปั้นโคลสตันเป็นประเด็นถกเถียงของชาวเมืองมานานแล้ว เนื่องจากเป็นบุคคลที่ค้าทาส แต่นำเงินมามอบให้การกุศลและพัฒนาจำนวนมาก กระทั่งเกิดกระแสจอร์จ ฟลอยด์ ทำให้รูปปั้นถูกโค่นในที่สุด



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12603



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 08 มิ.ย. 20, 08:59

ที่กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงเบลเยียม อนุสาวรีย์กษัตริย์ ลีโอโพลด์ที่ ๒ ถูกพ่นสีที่ฐานว่า "shame" หรือ "น่าละอาย" เป็นสัญลักษณ์ต่อต้าน ว่ากษัตริย์พระองค์นี้เคยล่าอาณานิคมและปกครองคองโก เมื่อ ค.ศ. ๑๘๘๕ - ๑๙๐๘ สังหารผู้ต่อต้านและเรียกร้องเอกราช ทำให้ชาวคองโกในแอฟริกาล้มตายเป็นจำนวนมาก บ้างว่าถึง ๑๐ ล้านคน



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 18 คำสั่ง