เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 69021 นิราศสุพรรณ
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 22:23

เอ... เป็น เชากรุง หรือครับ ผมอ่านเป็น เขากรุง มาตลอดเลยนะครับ

หมายถึงผู้เป็นหลักแห่งกรุงครับ

ถ้าเป็น เชากรุง ก็แปลกว่าทำไมไม่เขียนเป็น ชาวกรุง ไปเลย ซึ่งก็ดูจะเสียมือไปหน่อยสำหรับกวีที่แต่งได้ระดับนี้ ไม่ว่าจะเป็นท่านภู่หรือไม่ก็ตาม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 23:05

ตลกคุณเครซี่แฮะ เกิดมาเพิ่งเคยได้ยินพระเจ้าเขากรุง
เป็นภาษาที่แปลก
แปลกทั้งเชา หรือเฉา หรือเขา....น่าจะคัดลอกผิดกระมัง
ตรวจจากฉบับพิมพ์ที่มีก็เป็นอย่างนั้น
จึงต้องเรียนถามกลับไปยังผู้พิมพ์ที่ผ่านๆ มา ว่าท่านอ่านไม่ขัดหู หรือว่าผมอ่านหนังสือไม่เป็น
อ่านทั้งหมดของโคลงบทนี้แล้ว ผมยิ่งคิดว่า เป็นโคลงที่แปลกมาก
ชมพระเจ้าแผ่นดินแบบนี้
แล้วเอามาวางไว้หลังจากการปกนกน้อย จากการรำพันถึงแม่ม่าย
ไม่รู้ที่ต่ำที่สูงเลย

จะเป็นจอมกวีมาแต่ใหน ผมก็ต้องเชิญไปทำงานเทศบาลเท่านั้นแหละครับ
ไม่เชื่อว่าเป็นกวีหลวงครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 28 ก.ค. 07, 23:38

เรื่อง เขากรุง ขอแปะไว้ก่อนครับ คุ้นๆว่าเคยอ่านคติเรื่องนี้จากที่ไหนสักแห่ง ต้องไปค้นครับ

ตอนนี้ขอมาดูเรื่องฉันทลักษณ์ก่อนครับ
นิราศสุพรรณนี้หลายคนวิจารณ์ว่าสุนทรภู่แต่งโคลงไม่เก่ง หรือขนาดว่าแต่งโคลงไม่เป็นก็มี เรื่องเก่งหรือไม่นั้นผมขอวางไว้ก่อนเพราะเป็นอัตวิสัย แต่ที่แน่ๆโคลงนิราศสุพรรณนี้มีความแตกต่างจากโคลงโบราณ หรือแม้แต่โคลงร่วมสมัยอย่างโคลงของนายนรินทร์ครับ

อุดมคติของโคลงนิราศสุพรรณเป็นดังนี้
- แบ่งจังหวะการอ่านวรรคแรกตายตัว 2-3 ลักษณะนี้ต้องถือเป็นลักษณะพิเศษ เพราะโคลงเก่าๆจะใช้ 2-3 และ 3-2 ปนเปกันไป
- ใช้สัมผัสในแพรวพราว และมีรูปแบบที่ค่อนข้างตายตัว ใช้สัมผัสสระระหว่างคำที่ 2 กับ 3 ของวรรคหน้า, สัมผัสอักษรระหว่างท้ายวรรคหน้ากับวรรคหลัง และ สัมผัสสระระหว่างคำที่ 6 และ 7 ของวรรค 3 และ 4 (โดยที่วรรค 3 จะใช้คำสร้อยเกือบทุกบท มีที่ไม่ใช้น้อยมากขนาดนับนิ้วมือเดียว) ในขณะที่โคลงปกตินิยมเล่นสัมผัสอักษรกันมากกว่า และถึงเล่นก็ไม่ได้มากมายจนแทบจะกลายเป็นบังคับสัมผัสอย่างโคลงนิราศสุพรรณ

ลักษณะสำคัญสองประการของโคลงนิราศสุพรรณนั้น มีความคล้ายกับรูปแบบกลอนแปดของสุนทรภู่เป็นอย่างมาก ถ้าไม่ใช่งานของสุนทรภู่เองก็ต้องเป็นงานของ "สำนักสุนทรภู่" คือแต่งภายใต้อิทธิพลของกลอนแปดแบบสุนทรภู่อย่างแน่นอนครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 29 ก.ค. 07, 07:53

ในหนังสือ "ชีวิตและงานของสุนทรภู่"ที่กรมศิลปากรตรวจสอบและชำระใหม่  พิมพ์ว่า "เชากรุง" ค่ะ   ไม่ใช่ "เขากรุง"   แต่ในเชิงอรรถ ไม่มีคำอธิบายคำนี้  ต้องตีความเอง
ดิฉันตีความว่า เชากรุง คือชาวกรุง    การสะกดยุคก่อนมีพจนานุกรมราชบัณฑิตมากำกับวิธีเขียน  สะกดกันตามใจชอบ ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน 
บางทีก็สะกดตามเสียงที่ได้ยิน   เห็นทั่วไปในนิราศสุพรรณ   โคลงที่เอามาลงในกระทู้ ดิฉันเอามาสะกดใหม่ตามหลักปัจจุบัน เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น
ขอให้สังเกตคำว่า "ชาว" เวลาเราพูดกันในประโยคยาว เรียก "ชาวบ้าน" " ชาวไทย" "ชาวจีน" เราไม่ได้ออกเสียงยาวว่า "ชาววววว"   แต่มักออกเสียงว่า "เชาบ้าน" "เชาไทย" "เชาจีน"  ค่ะ  ลองฟังการอ่านสารคดีทางทีวีก็ได้ว่าเขาอ่านกันยังไง
คำว่า "เขากรุง"  ไม่น่าจะมีนะคะ   เขาแห่งกรุง  ฟังแปร่งๆ  ถ้าเป็น "เจ้ากรุง" ละก็มีแน่ๆ

สมัยศึกษานิราศสุพรรณในชั้นเรียน  อาจารย์สอนว่า สุนทรภู่แต่งนิราศสุพรรณแบบแต่งกลอนที่ท่านถนัด   คือมีสัมผัสในเป็นคู่    แต่ว่าโคลงสี่สุภาพต่างจากกลอนตรงที่ว่า กลอนสุภาพถ้ามีสัมผัสในแพรวพราว จะฟังไพเราะ   แต่โคลง ถ้าสัมผัสมากๆ ไม่เพราะ  เอาแค่เอกเจ็ดโทสี่ตามกฎเกณฑ์ก็พอ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 ก.ค. 07, 14:42 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 29 ก.ค. 07, 07:59

กลับไปคิดหาคำตอบอยู่นาน 
ถ้าสุนทรภู่แต่งเรื่องนี้ตอนท่านยังบวชเป็นพระ  เวลาผ่านวัดต่างๆ ท่านย้อนไปถึงความสัมพันธ์กับผู้หญิง   หมายความว่าอะไร
ถ้าเป็นพระ เห็นจะปาราชิกแน่   ไม่รอดมาแต่งโคลงนิราศสุพรรณอยู่ได้
เหลืออีกอย่างเดียวคือทบทวนความหลังครั้งหนุ่ม ไม่ได้บวช  แต่กำลัง in love  กับผู้หญิงคนเดียวหรือหลายคนก็ไม่แน่   ดูๆแล้วหลายคน
วัด ในสมัยโน้นเป็นแหล่งชุมนุมพบปะกันตามเทศกาลต่างๆ    ไปเล่นซักส้าวกับสาวในวัดเห็นจะเป็นตอนมีงานในวัด   ยื้อยุดฉุดกันจนสไบหลุดนี่ถ้าไม่เล่นกันในงานก็ต้องแอบไปเล่นกันสองคน
วัดแจ้งที่มีแม่นกน้อยเข้ามาเป็นตัวเกี่ยวข้อง  น่าจะแปลได้ว่าเคยไปเป็นลูกศิษย์หลวงพ่ออยู่ที่นั่น   เขียนเพลงยาวถึงผู้หญิง และอาจจะเคยพาเข้ามาหนุงหนิงกันในเขตวัดด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 29 ก.ค. 07, 18:39

นิราศสุพรรณเป็นเรื่องที่อ่านยากกว่านิราศเรื่องอื่นๆของสุนทรภู่    มีเหตุผล ๒ อย่าง๑   ฉบับที่อ่านกันอยู่ ไม่ว่าหนังสือหรือในเน็ต  ล้วนแต่ยังไม่ได้ชำระ ให้เป็นตัวสะกดแบบปัจจุบัน
เวลาอ่านต้องนึกอีกทีว่า เดี๋ยวนี้เขาเขียนกันว่ายังไง  ถ้าไม่มีหนังสือที่กรมศิลปากรทำเชิงอรรถไว้ให้อ่านเป็นคู่มือ ก็อาจจะเข้ารกเข้าพงไปง่ายๆ
ใครจะไปนึกว่า สุรธร  อ่านและหมายความว่า สุนทร
๒    นิราศสุพรรณ มีเอกโทษโทโทษพราวไปหมด   เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเจอในบทกวีเรื่องอื่นๆ   
ตอนเรียนแต่งโคลง อาจารย์สอนให้หลีกเลี่ยง เอกโทษและโทโทษ   นอกจากเลี่ยงไม่ได้จริงๆค่อยใส่    เพราะถือกันว่าถ้าแต่งเก่ง ต้องเอกโทตรงตามรูป
คนที่แต่งเอกโทษโทโทษมากๆ ถือว่ายังไม่เก่งเรื่องโคลง

นอกจากนี้ อีกข้อหนึ่งที่สงสัยเมื่ออ่านจากเนื้อความ  คือคิดว่านิราศสุพรรณฉบับที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯทรงได้มา  และพิมพ์แพร่หลายกันอยู่ทุกวันนี้  เป็นฉบับที่ขาดตอนต้นไป  ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
เพราะบทแรกที่มี มาเริ่มเอานั่งเรือกลางคลอง   มาจากไหนก็ไม่บอก  จุดหมายและวันเวลาก็ไม่ระบุให้หมดจดอย่างในนิราศเรื่องอื่นๆ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 31 ก.ค. 07, 13:16

ขออภัยครับ หายไปหลายวัน

ยังหาเรื่องเขากรุงไม่เจอ อาจจะจำผิด เป็นความเข้าใจของผมเองตอนอ่านนิราศสุพรรณก็เป็นได้ครับ หลังจากมาอ่านทบทวนอีกหลายๆจุด คิดว่าเป็น เชากรุง อย่างที่คุณ pipat และอ.เทาชมพูว่าครับ

เมื่อเป็น เชากรุง แล้ว ก็ขอพาออกนอกลู่นอกทางเล็กน้อยตามวิสัยพวกชอบแวะครับ

ผมข้องใจเรื่องเสียง เอา กับ อาว มานานแล้ว เพราะคำที่เขียนในรูป เอา แต่ออกเสียงยาวแบบ อาว นั้นมีใช้กันอยู่หลายคำ ที่รู้จักกันดีคือคำว่า เข้า ที่เปลี่ยนรูปเป็น ข้าว เมื่อไม่ถึงร้อยปีมานี่เอง ชวนให้คิดว่าคำรูป เอา อื่นๆ ออกเสียงยาวเป็น อาว มาตั้งแต่เมื่อไหร่กัน

ผมลองทำสถิติการใช้คำ ชาว, เชา ในนิราศสุพรรณออกมาโดยพิจารณาจากคำสัมผัสได้ผลดังนี้ (ขอเขียนรูป ชาว ทั้งหมดนะครับ เพราะต้นฉบับเขียนปะปนกัน)
ชาว-เกล้า 1 ครั้ง
ชาว-เหล่า 5 ครั้ง
ชาว-ลาว 1 ครั้ง
เห็นได้ว่ามีการใช้สัมผัสกับทั้งคำรูปอาว(ลาว) และรูปเอา(เกล้า, เหล่า) น่าคิดว่าเป็นการใช้สัมผัสระหว่างสระเสียงยาวกับสระเสียงสั้นหรือไม่ เพราะค่อนข้างแปลกทีเดียวครับ ก่อนหน้านี้จำได้ว่าเคยมีผู้ตั้งกระทู้ในเรือนไทยเรื่องนี้มาแล้วแต่เป็นเสียง เอว กับ เอ็ว หรือ เอน กับ เอ็น ผมก็ไม่แน่ใจ ต้องลองกลับไปค้นดูครับ

อีกกรณีหนึ่งที่เป็นไปได้คือ ในยุคสมัยของกวี ก็อาจจะมีการออกเสียงคำรูป เอา หลายคำเป็นเสียง อาว อยู่แล้ว หรือไม่ก็ใช้ปะปนกันครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 31 ก.ค. 07, 14:05

เรื่องฉันทลักษณ์ในนิราศสุพรรณ ผมยังมองว่ากวีเป็นผู้เชี่ยวชาญ รู้จักโคลงเป็นอย่างดีครับ

ฉันทลักษณ์ที่ใช้ในนิราศสุพรรณนี้ เห็นได้ชัดว่ามีการคิดจนตกตะกอน สร้างเป็นรูปแบบเฉพาะขึ้นมาให้ต่างจากที่เคยแต่งกันมา
แต่เดิมโคลงจะมีสำเนียงโอ่อ่าขรึมขลัง แต่โคลงแบบนิราศสุพรรณนี้เป็นโคลงที่มีเสียงหวาน เป็นสำเนียงโคลงแบบใหม่ครับ
ที่สำคัญคือ โคลงนิราศสุพรรณเสียงไม่เพี้ยนครับ อันนี้สำคัญมาก

โคลงเก่าก่อนจินดามณี ที่รู้จักกันดีก็มีลิลิตพระลอพวกหนึ่ง กำสรวลสมุทรและทวาทศมาสพวกหนึ่ง และโองการแช่งน้ำอีกพวกหนึ่ง
เห็นได้ชัดว่าจินดามณีแต่งโดยยึดเอาโคลงแบบลิลิตพระลอเป็นอุดมคติ เป็นรากฐานสำคัญสำหรับโคลงยุคต่อๆมา

แต่โดยส่วนตัว ผมเชื่อว่าฉันทลักษณ์ก็เหมือนภาษา กฎเกณฑ์ต่างๆถูกเขียนตามหลังสิ่งที่คนใช้ โคลงที่เก่ากว่าลิลิตพระลอนั้น หากพิจารณาดูจะเห็นว่าออกนอกกรอบไปมาก

อันนี้นักวิชาการรุ่นหลังอธิบายเองเสร็จสรรพว่าเพราะเป็นโคลงดั้นจึงไม่เคร่งครัดกฎเกณฑ์ แต่อธิบายแบบชาวบ้านคือ กวีไม่ได้สนใจกฎเกณฑ์แบบที่อยู่ในจินดามณี ด้วยเหตุผลง่ายๆคือสมัยนั้นโคลงไม่ได้บังคับแบบนี้

โคลงสี่สุภาพเอกเจ็ดโทสี่เป็นเหมือนสูตรสำเร็จ ยิ่งถ้าใช้คำอื่นเป็นคำสุภาพได้ทั้งหมด มีแนวโน้มว่าเสียงจะไม่เพี้ยน แต่ก็เห็นบ่อยๆที่แต่งตามจินดามณีเป๊ะแต่ก็ยังอุตส่าห์เสียงเพี้ยนจนได้ แบบนี้ถือว่าแต่งได้ถูกต้องแต่แต่งไม่เป็นครับ

สูตรสำเร็จพวกนี้ บางสูตรก็ไม่ได้ใส่ไว้ในจินดามณี แต่คนหัดเขียนโคลงทุกคนต้องรู้จัก อย่างเรื่องตำแหน่งบังคับคำสุภาพ

ทั้งหมดนี้ เห็นได้ชัดว่ากวีนิราศสุพรรณไม่มีอะไรตกหล่น ทำได้ดีหมดทุกอย่าง และที่สำคัญ ยังไม่มีตรงไหนที่ออกนอกกรอบจินดามณีเสียอีกครับ กวีรู้จักโคลงแบบจินดามณีเป็นอย่างดีครับ

การใช้เอกโทโทโทษในนิราศสุพรรณจึงไม่ได้ใช้เพราะขาดฝีมือ แต่เป็นการใช้โดยแสดงเจตนาว่าไม่ยึดถือเรื่องที่ว่าใครใช้เอกโทษโทโทษคือแต่งโคลงไม่เก่ง

ดังนั้นนิราศสุพรรณอาจจะไพเราะหรือไม่ขึ้นอยู่กับอัตนิยมของผู้อ่าน แต่วัดด้วยข้อบ่งชี้ทางฉันทลักษณ์แล้ว ถือเป็นงานสร้างสรรค์ต่อยอดจากของเก่าครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 31 ก.ค. 07, 14:51

ดิฉันเองก็เก็บเอาคำว่า เขากรุง และ เชากรุงไปคิดอยู่หลายวันเหมือนกันค่ะ คุณอาชาผยอง
ทบทวนหลายครั้งแล้ว คิดว่าเป็น เชากรุง มากกว่า เขากรุง  ถ้าแปลกลับเป็นอังกฤษ เขากรุง = mountain of a city หรือ a city-mountain  มันไม่น่าจะใช่
ส่วนทำไม เชา แทน  ชาว    ก็ได้แต่สันนิษฐานแบบนี้
๑) เรามักจะเข้าใจว่า ภาษาอังกฤษมี stress ของพยางค์ ในแต่ละคำ  แต่ภาษาไทยไม่มี   
แต่ที่จริงแล้ว ภาษาไทยก็มี stress  ดิฉันเคยไปอ่านภาษาไทยยาวๆให้อาจารย์สอนวรรณคดีฝรั่งฟัง    อาจารย์บอกว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่ลง stress ตรงคำหลังกันมาก
เช่นคำว่า กรุงเทพ  คนไทยลง stress   คำว่าเทพ  ไม่ใช่ กรุง
คำสองพยางค์แบบนี้ ลง stress คำหลัง  เหมือนข้าวเจ้า  (ออกเสียงว่าเข้าจ้าว) ชาวบ้าน(ออกเสียงว่า เชาบ้าน)  น้ำแข็ง( ออกเสียงว่านั้มแขง)
แต่ถ้าพูดว่า ไปเปิดตู้เย็นดูซิ  น้ำแข็ง รึยัง   จะ stress ตรงคำว่า น้ำ  ออกเสียงยาวกว่า นั้ม ในคำข้างบน
การสะกด เชา กรุง  ก็คือสะกดตามออกเสียง   พบได้ในทั่วไปนิราศสุพรรณ  ที่อาลักษณ์ผู้จารึกลงในสมุดไทย(ไม่จำเป็นต้องเป็นกวี) เขียนตามเสียงที่ได้ยิน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 31 ก.ค. 07, 15:14

๒) กวีนิพนธ์ไทยแต่เดิม  มีเอาไว้เขียนอ่านกันเงียบๆ  หรือมีเอาไว้ออกเสียงดังๆ
ถ้าเป็นกลอนบทละครละก็  เอาไว้ออกเสียงดังๆแน่นอน   คือมีเอาไว้ร้อง    การสัมผัสต่างๆก็เป็นไปตามเสียงที่เปล่งออกมา
แต่โคลงสี่สุภาพนี่สิ  ดิฉันสงสัยว่ามีเอาไว้อ่านเงียบๆ  เพราะมีการบังคับ รูปวรรณยุกต์  ไม่ใช่บังคับเสียง     
การจะรู้ว่าแต่งถูกหรือผิด ก็ต้องดูจากที่เขียน  ไม่ใช่ได้ยินจากที่ฟัง
การแต่งโคลง ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของลิลิต  โคลงสี่สุภาพพัฒนามาจากโคลงดั้น น่าจะเอาไว้เขียน เป็นการเล่าเรียนเขียนอ่านของกุลบุตรไทย  จึงบังคับแบบแผนการแต่งจากสิ่งที่เห็น ไม่ใช่สิ่งที่ได้ยิน
เพื่อตรวจสอบว่าแต่งเป็นหรือเปล่า
ส่วนกลอน มาปรากฏเอาในตอนปลายอยุธยา   จากกลอนเพลงยาวบางบทที่รอดมาได้จากเสียกรุง
เข้าใจว่ากลอนคงพัฒนามาจากกาพย์ยานี ๑๑    ใช้ด้วยวัตถุประสงค์ "ไม่เป็นทางการ" นัก  เช่นในการเขียนไปเกี้ยวสาว

๓) รูปแบบกวีนิพนธ์ เกิดก่อนกฎเกณฑ์เสมอ    สมัยก่อนที่เราว่าไม่ค่อยจะตรงฉันทลักษณ์ เป็นไปได้ว่าเกิดก่อนการรวบรวมฉันทลักษณ์
หรือมิฉะนั้น ขอให้พิจารณาการออกเสียงในสมัยโน้นด้วย     ว่าแตกต่างจากยุคหลัง
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 31 ก.ค. 07, 15:27

ดูจากตัวสะกดที่ใช้ในฉบับอินเทอร์เน็ต เรียกได้ว่าปะปน เชา และ ชาว อย่างไม่มีระบบ แต่ถ้าดูจากคำสัมผัสแล้วก็ดูจะสอดคล้องกับที่อาจารย์พูดถึงครับ
คือมี ชาว เสียงยาวอยู่ที่เดียวคือ ชาววัง

ไหนๆก็ไหนๆ ผมเห็นนิราศสุพรรณใช้คู่สัมผัส เหล่า-ชาว มากผิดปกติ เลยไปทำสถิติเสียงของสองคำนี้ในงานร่วมสมัยอื่นๆดู ได้ผลดังนี้ครับ

นิราศเมืองแกลง
ชาว-สาว 3 ครั้ง
- อันนารีที่ยังสาวพวกชาวบ้าน
- เห็นสาวสาวชาวไร่เขาไถที่
- ดูหนุ่มสาวชาวบ้านรำคาญจิต
ชาว-เขา 1 ครั้ง
- อันพวกเขาชาวประโมงไม่โหย่งหยิบ
ชาว-เหล่า 1 ครั้ง
- บรรดาเหล่าชาวบ้านประมาณมาก
เหล่า-พร้าว 1 ครั้ง
- เป็นเนินสวนล้วนเหล่ามะพร้าวตาล
เหล่า-เจ้า 1 ครั้ง
- เห็นศาลเจ้าเหล่าเจ๊กอยู่เซ็งแซ่

นิราศพระบาท
ชาว-เขา 1 ครั้ง
- เครื่องโอสถชาวป่าเขามาขาย
เหล่า-เรา 1 ครั้ง
- อันพวกเราเหล่าเสวกามาตย์

นิราศภูเขาทอง
ชาว-เขม่า 1 ครั้ง
- ทั้งผัดหน้าจับเขม่าเหมือนชาวไทย
เหล่า-เต่า 1 ครั้ง
- เป็นเหล่าเหล่าแลรายทั้งซ้ายขวา

นิราศวัดเจ้าฟ้า
ชาว-เปล่า 1 ครั้ง
- ไม่ยิ่งยอดปลอดเปล่าเหมือนชาววัง
ชาว-ลาว 2 ครั้ง
- ถึงบ้านลาวเห็นแต่ลาวพวกชาวบ้าน
- ไม่เหมือนลาวชาวกรุงที่นุ่งลาย
ชาว-เหล่า 1 ครั้ง
- ไม่เหมือนเหล่าชาวสวนหวนรำลึก
ชาว-เบา 1 ครั้ง
- คารมมอญมิใช่เบาเหมือนชาวเมือง
ชาว-เรา 2 ครั้ง
- ผู้หญิงย่านบ้านเราชาวบางกอก
- แต่คนเราชาววังทั้งทวีป
ชาว-เขา 1 ครั้ง
- ก็เต็มโตชาววังเขายังกลืน
เหล่า-เขา 1 ครั้ง
- นกยางขาวเหล่านกยางมีหางเปีย

นิราศอิเหนา ไม่ปรากฎให้ตรวจสอบ

นิราศพระประธม
ชาว-สาว 1 ครั้ง
- ได้ครอบครองสองสาวชาวพิจิตร
ชาว-ราว 1 ครั้ง
- เหมือนโฉมงิ้วงามราวกับชาววัง
ชาว-จ้าว 1 ครั้ง
- ที่ท้ายบ้านศาลจ้าวของชาวบ้าน
ชาว-เฒ่า 1 ครั้ง
- แกล้งพูดพาตาเฒ่าพวกชาวบ้าน
เหล่า-เถา 1 ครั้ง
- พอสุดสวนล้วนแต่เหล่าเถาสวาด

นิราศเมืองเพชร
ชาว-สาว 3 ครั้ง
- ถึงเจ้าสาวชาวสวรรค์ฉันไม่อยู่
- เห็นหนุ่มสาวชาวบุรินสิ้นทั้งปวง
- ช่างไม่ผิดเสียงสาวชาวพริบพรี
ชาว-เช้า 1 ครั้ง
- นอนค้างคืนตื่นเช้าเห็นชาวเมือง
เหล่า-เขา 1 ครั้ง
- เสียงชะนีที่เหล่าเขายี่สาน
เหล่า-เจ้า 1 ครั้ง
- ได้ตอบต่อล้อเหล่าเจ้าทับทิม
เหล่า-สาว 2 ครั้ง
- โอ้สงสารหลานสาวเหล่าข้าหลวง
- ปะแต่เหล่าสาวแซ่ห่มแพรสี
เหล่า-เมา 1 ครั้ง
- พวกขี้เมาเหล่าประสกตลกโลน

รำพันพิลาป
ชาว-สาว 1 ครั้ง
- จะสั่งสาวชาวบางกอกข้างนอกใน
ชาว-อิเหนา 1 ครั้ง
- ไปเกาะที่อิเหนาชาวชวา

นิราศเืดือน (นายมี)
ชาว-เล่า 1 ครั้ง
- ใครจะอดได้เล่าพวกชาวเรา
ชาว-ลาว 1 ครั้ง
- เขมรลาวชาวพม่าแลรามัญ

นิราศพระแท่นดงรัง (นายมี)
ชาว-เกล้า 1 ครั้ง
- พระคุณเคยปกเกล้าชาวบูรี

ดังนี้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 31 ก.ค. 07, 15:35

คุณอาชา ดิฉันเข้าใจว่านิราศเรื่องอื่นๆ ตัวหนังสือที่เราเห็นมานี้  กรมศิลปากรชำระใหม่หมดแล้ว ให้เป็นภาษาอย่างที่เราใช้กันในรัชกาลนี้นะคะ
จึงอ่านได้ง่าย
ผิดกับนิราศสุพรรณ ยังหลงเหลืออยู่เล่มเดียว ที่คุณธนิต อยู่โพธิ์ชำระไว้ในรูปของเชิงอรรถ    ถ้าหากว่าเอาลงในเน็ต ไม่มีเชิงอรรถอันนั้นกำกับอยู่ ก็อ่านแบบที่เขียนลงในสมุดไทย   แทบไม่รู้เรื่องเลยละ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 31 ก.ค. 07, 15:52

เรื่องการบังคับวรรณยุกต์๋ที่รูปหรือเสียงอันนี้คงพิสูจน์ยากครับ

เรื่องโคลงถูกผิดบังคับที่รูป อันนั้นจริงครับ คือโดนบังคับด้วยตำรา แต่คนเล่นโคลงทุกคนรู้ดีว่าเสียงโคลงมีความสำคัญไม่น้่อยกว่ารูป บางสำนักถึงกับบอกว่าถ้ารูปต้องผิดเพื่อรักษาเสียงก็ต้องยอม เพื่อรักษาเสียงโคลงไว้ก่อน แต่ส่วนมากแล้วจะไม่ค่อยมีใครกล้าเสี่ยง ต้องพยายามให้ได้ทั้งรูปและเสียงพร้อมๆกัน

โคลงเก่าอย่างโคลงกำสรวล ไม่ได้มีปัญหาเรื่องเอกโทษโทโทษ แต่เป็นเรื่องละเลยบังคับตำแหน่งเอกและโทบางตำแหน่ง(ถ้าอิงจินดามณี) แต่ก็มีบางตำแหน่งที่เคร่งครัด เพราะเป็นตัวกำหนดเสียงโคลงที่สำคัญ (ถ้ามองอีกแง่หนึ่งคือ ตอนนั้นเสียงวรรณยุกต์ไม่ซับซ้อนเท่าสมัยหลัง เข้าใจว่าวรรณยุกต์ตรีและจัตวายังไม่มีใช้)

เรื่องนี้คุณคมทวน คันธนูเคยตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า ตำแหน่งโทนั้นสำคัญ และตำแหน่งเอกบางตำแหน่งก็สำคัญ แต่ก็ละไว้ไม่พูดถึงว่าตำแหน่งเอกที่เหลือเป็นอย่างไร

ก็คงเห็นได้จากในกำสรวลฯนี่แหละครับ บังคับไม่ได้ตามฉันทลักษณ์แต่เสียงไม่เพี้ยน เป็นอย่างนี้แหละครับ

(กำลังจะโพสต์ พบว่าความเห็นชนกับอาจารย์ู ขอเติมอีกนิดครับ)

ผมคัดเอาเฉพาะคำที่มีสัมผัสไว้อ้างอิงเพื่อเทียบเสียงกันได้ พวกอยู่ลอยๆไม่ได้เอามาครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 31 ก.ค. 07, 18:09

"คำว่า เข้า ที่เปลี่ยนรูปเป็น ข้าว เมื่อไม่ถึงร้อยปีมานี่เอง"
ผมไม่เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนรูปนะครับ ผมเรียกว่าเลอะเทอะ เละเทะ อวดดี อวดเก่ง...
อาจจะแถมอะไรอีกหลายคำ ถ้าไม่เกรงใจว่านี่เป็นเวบวิชาการ
เรื่องมันมาจากหนุ่มสามสิบปลายคนหนึ่ง ทักว่า เข้า และ ข้าว ควรจะออกเสียงต่างกันนา....
แกทัก เพราะแกลืมไปแล้วว่า เข้า น่ะมี
แต่ข้าววววววววววววววววววววววว...น่ะไม่มี
ภาษาไทยแท้ไม่รู้จัก แต่ภาษาไทยสมัยละคอนร้อง อาจจะรู้จัก เพราะมียี่เกเข้าวงมาแยะ

คนหนุ่มวัยสี่สิบเศษ ได้ทราบความเห็น ก็ชอบ คิดว่ามีเหตุผลน่ารับได้
นี่ล่ะหลักประสาตายฉบับสร้างชาต
บังเอิญแกเป็นกำมะกานอะไรสักอย่างเกี่ยวกับภาษาของประเทศเสียมกุก
แกก็เอาเข้าที่ประชุม ข้างที่ประชุมกำลังอยากจะเลิกประชุมไปถองยาดอง
ก็เลยรับส่งๆไปทั้งก๊วน บอกว่าวี่เศษ ภาษาไทจาได้มีคำงอกให้ใช้เพิ่ม
จึงได้กระทำการบันจุคำเวียตศาสตร์นี่ในพจนานุกรมฉบับถั่วงอก

กลายมาเป็นปัญหาให้คุณเครซี่สงกะสัย
ไม่ต้องสงกะสัยเลยครับ
ข้าว....เป็นผลผลิตของวัฒนธรรมยัดเยียด คิดแทนโบราณ
คำที่ว่า เดกเจดเข้า เถ้าเจดสิบ
ก็เลยหาที่อยุ่มะด้าย

อพยพออกจากการขับไล่ไสส่งของคนที่คิดว่าตัวเองรู้หมดเจนจบวิชาสรรพะโลกานุโยค
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 31 ก.ค. 07, 18:15

แถมอีกคำที่รำคาณมาเกือบครึ่งศตวรรษแล้ว
เปน
ทำไมต้องเติมไม้ไต่คู้ด้วย เติมให้มันรกเล่นหรือไร
เขียน"เป็น" แต่ยังไงก็ต้องออกเสียงว่า "เปน"
กลัวไม้ไต่คู้ไม่มีงานทำหรือไร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง