เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: พวงร้อย ที่ 26 ม.ค. 01, 22:02



กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 26 ม.ค. 01, 22:02
ขออนุญาตคุณเทาชมพูคุยเรื่องของกินอีกนะคะ  
แล้วจะลากมาเข้าเรื่อง เรือนไทย ให้ได้ค่ะ ;-)


/>
ใครๆที่ชอบทานอาหารญี่ปุ่น  โดยเฉพาะพวกซูชิ และ ซาชิมิ คงรู้จัก วาซาบิ
กันดี



วาซาบิเป็นพืชยืนต้น(parennial) ในตระกูล Cruciferae
หรือพืชตระกูลมัสตาร์ด

และเป็นพืชมีใบเขียวตลอดปี
ขึ้นเองตามธรรมชาติในดินทรายเปียกๆ

ตามริมแม่นำ้ตีนเขาที่มีอากาศเย็น
มีอยู่ทั่วไปตั้งแต่ หมู่เกาะซัคคาริน

ตอนเหนือสุดของเกาะ ฮอคไกโด
ลงมาถึงใต้สุดบนเกาะคิวชิว มีอยู่สองกลุ่ม

คือ วาซาบิป่า
ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ยูริ วาซาบิ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า

Wasabia
tenuis และชนิดปลูกเอาเรียกว่า sawa wasabi

ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Wasabia japonica



วาซาบิ เป็นพืชที่มีแต่ใบเหนือดิน
ลำต้นส่วนที่อยู่ใต้ดินที่เรียกว่า

rhizome
เมื่อแก่ตัวจะเป็นรูปทรงกระบอก ชนิดที่ปลูกจะใหญ่กว่า

โดยมีขนาดกว้าง
2 ถึง 5 ซม และยาว 5 ถึง 30 ซม วาซาบิป่าจะมีขนาดเล็กกว่า


/>
ส่วนหัว หรือ rhizome (ไม่ใช่ราก แต่เป็นลำต้นใต้ดิน)
/>
มีผิวสีเขียวทั้งเขียวอ่อนไปจนถึงเขียวแก่
/>
ชอบขึ้นในที่ที่มีนำ้สะอาดใสไหลเย็น วาซาบิที่ปลูกขาย จะปลูกในนำ้ล้วนๆ


(hydroponic) เพื่อทำให้มีคุณภาพสูงเต็มที่
เพราะเป็นพืชที่ปลูกยากมาก
/>
หัวจะต้องมีอายุครบสองปีจึงจะได้รสชาติเต็มที่ เขาจะถอนมาทั้งต้น
/>
ซึ่งส่วนหัวที่ใช้ได้จะมีนำ้หนักเพียง 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
/>
นอกนั้นจะเป็นใบและก้าน



วาซาบิที่ขายในกระป๋อง
หรือตามร้านซูชีนั้นจะหาของแท้ๆยากมาก
/>
เพราะมันมีราคาแพง(แห่งหนึ่งขายหัวสดปอนด์ละ กว่า 50 ดอลล่าร์)
/>
ส่วนผสมของวาซาบิกระป๋องคืิอ horseradish อย่างธรรมดา ผงจากเม็ดมัสตาร์ด


แป้งข้าวโพด และสีผสมอาหาร หาได้มีวาซาบิแท้ๆปนอยู่ไม่
/>
วาซาบิมีที่ทำมาขายเป็นกระบอกในประเทศญี่ปุ่น แบ่งเป็นสามเกรด ดังนี้
/>
เกรดสาม ไม่มีวาซาบิเจืออยู่เลย
/>
ทำมาจากผงวาซาบิกระป๋องที่กล่าวแล้วข้างต้น

เกรดสอง
มีวาซาบิผสมอยู่ 25 % ที่เหลือผสมผงจากกระป๋อง

เกรดหนึ่ง วาซาบิล้วนๆ
100%
src='http://vcharkarn.com/reurnthai/uploaded_pics/RW312x000.gif'>


กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 23 ม.ค. 01, 07:07
เขาว่าเกรดหนึ่งนั้น จะหาซื้อได้ยากมาก หากไปทานตามร้านซูชีดีๆ

ถ้าคุ้นกับเจ้าของ อาจจะมีสิทธิถามหา วาซาบิ ของแท้ได้

เพราะเขาอาจจะมีเก็บหัววาซาบิไว้ให้ลูกค้าบางคน  เมื่อจะทาน  เขาจะเอาหัวมาฝนกับ "ที่ฝน" ให้ยุ่ยออกมาเป็นผงเปียกๆ



เก็บเรื่องทานซุชิกับซาชิมิ ไว้แค่นี้นะคะ  ที่จะลากมาเข้าเรือนไทย  ก็เจ้า "ที่ฝน" วาซาบิ นี่แหละค่ะ  "ที่ฝน" วาซาบิ อย่างดีนั้น

ทำด้วยหนังปลากระเบนค่ะ


กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 23 ม.ค. 01, 07:07
เคยไปลูบหลัง ปลากระเบน ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์นำ้มา  เค้าจะมีสระเล็กใส่ปลากระเบนตัวไม่ใหญ่มาก
ให้ลูบเล่น เท่าที่จำได้ ตรงกลางหลังมันจะสากกว่า
แล้วละเอียดลงเรื่อยๆจนถึงปลายปีก  ซึ่งลื่นเรียบเหมือนกนังธรรมดา
เลยเดาเอาว่าที่สากพอคงเป็นเฉพาะตรงกลางหลัง  ที่มันสากเพราะเป็นปุ่มแหลมๆ
อย่างที่เค้าว่าเวลาประดาบกันเลือดเดือด
อย่างในหนังซามูไร(ชอบหนังของท่านคูโรซาว่ามากค่ะ)
ด้ามมีดคงชุ่มโชกเลื่อนหลุดได้ง่ายถ้าไม่มีความสากพอนะคะ

สมัยกรุงศรีอยุธยาชาวญี่ปุ่นเข้าไปทําการค้ากับไทยก็ด้วยต้องการ
หนังปลากระเบนตรงส่วนหลังมาพันดาบในช่วงที่ญี่ปุ่นยังเป็น
ประเทศที่มีแต่การสู้รบ(The warring states period)  และส่วนหนึ่งก็คงเอามาทำที่ฝนหัววาซาบิด้วยมังคะ

ตามคำบอกเล่าของผู้แปลเรื่องออกญาเสนาภิมุข(Yamada)  เธอกล่าวถึงหนังที่ใช้พันด้ามดาบซามูไรว่า  "ในหนังสือเค้าก็เขียนว่า
หนังปลาฉลาม แต่พอไปค้นคว้าดูที่NHK(สถานีโทรทัศน์ญี่ปุ่น)ก็ ทราบว่า
มันคือหนังปลากระเบนเพราะมันจะสาก และเป็นปุ่มๆแหลมๆ (คนไทยนิยม
ใช้กระเป๋าหนังปลากระเบนอยู่ช่วงหนึ่ง เห็นแล้วก็ถึงบางอ้อ! ทันที)

แต่หนังปลากระเบนไม่น่าจะมีมากพอ(เพราะใช้ได้ตรงส่วนหลังติดหัว)
แล้วจําเป็นต้องใช้หนังปลาฉลามด้วยหรือเปล่าก็ไม่ทราบ??? "

คิดๆดูแล้ว  ปลากระเบนไทย อาจเป็นเหตุจูงใจสำคัญ  ที่พาชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำการค้าขายกับไทยในสมัยอยุธยาก็เป็นได้นะคะ  จนมีเรื่องราวของ
ออกญาเสนาภิมุข และ ท้าวทองกีบม้า  ในประวัติศาสตร์ของเรา


กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: คุณพระนาย ที่ 23 ม.ค. 01, 12:43
อืม พูดถึงเรื่องญี่ปุ่น แล้วไม่ทราบว่าผมจำผิดหรือเปล่าว่า ตะก่อนนั้น ญี่ปุ่น ยังต้องขอทราบวิธีการหล่อปืนใหญ่ จากประเทศเรา คิดว่าย้อนไปสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นแหละครับ ไม่แน่ว่าขอวิธีการหล่อ หรือขอ ปืนไปกันแน่ คิดแล้วก็ตะก่อนเราออกจะเจริญ มีวัฒนธรรมสูง เดี๋ยวนี้ เราไม่เห่ออเมริกา ก็คิขุโนเนะแบบญี่ปุ่นซะแล้ว


กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: โสกัน ที่ 23 ม.ค. 01, 12:49
คนรอบรู้ขยันเรียนทำกับข้าวของผมเข้ามาอีกแล้ว หิ้วปลากระเบนมาด้วย  นึกว่าจะมีตำราเด็ดปรุงปลากระเบนเสียอีก
ขอถามคุณพวงฯนิดนึงนะครับว่า
ท้าวทองกีบม้านี่ คือนางกีร์มาร์ที่เป็นคุณนายของคอนสแตนติน ฟอลคอนชาวกรีกที่มารับราชการในแผ่นสยามหรือเปล่าครับ ผมไม่ทราบว่าแกเป็นกีร์มาร์โก๊ะ นึกว่าเป็นแหม่มเสียอีก หรือเป็นลูกครึ่งครับ


กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 ม.ค. 01, 12:53
ช่างทองไทย สมัยโบราณใช้หางปลากระเบนตากแห้ง ที่แข็งและคม  แทนตะไบสำหรับลองความบริสุทธิ์ของทองค่ะ
ด้วยวิธีไถไปมาบนเนื้อทอง  ผงทองจะร่วงลงมาให้เห็นเนื้อข้างใน
วิธีการไถ เรียกตามภาษาช่างว่า "กราง"

ขุนแผนเคยว่านางวันทอง เมื่อไปยืนชมม่านปักฝีมือนางที่กั้นหน้าเตียงของขุนช้างว่า

ลอยหน้ามาอยู่กับขุนช้าง
กระเบนกรางหน้าผากไม่อยากเจ็บ
ปักม่านเท้าแขนแอ่นเอวเย็บ
ซ่อนตะเข็บน้อยน้อยน่าเอ็นดู

หมายถึงนางวันทองหน้าหนาจนขนาดหางปลากระเบนกรางหน้าผากแล้วยังไม่เจ็บ   แสดงว่าหน้าด้านสิ้นยางอายไม่รู้สึกแม้ขนาดตะไบก็ยังไม่เจ็บ

ลากปลากระเบนขึ้นเรือนไทยได้สำเร็จแล้ว  เชิญคุณพวงร้อยคุยต่อ  อยากฟังค่ะ


กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 23 ม.ค. 01, 13:46
ตอบคุณโสกันเรื่อง ท้าวทองกีบม้า นะคะ  ดิฉันได้คุยกับผู้แปลเรื่อง ออกญาเสนาภิมุข ที่กว่าวมาแล้วข้างต้นน่ะค่ะ  เธอเป็นผู้แนะนำเรื่องของ
ท้าวทองกีบม้า ให้ดิฉันฟัง  ข้างล่างนี่เรียบเรียงมาจากคำบอกเล่าของเธอนะคะ  

ท้าวทองกีบม้า  Marie Gimard
โดยคุณนำ้หวาน

ท้าวทองกีบม้าราชินีขนมไทย และบุคคลสําคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์
อยุธยา เป็นผู้คิดค้นตํารับการปรุงอาหารหวานคาว จนเป็นวัฒนธรรมประจํา
ชาติของเรามีชื่อจริงว่า มารี กีมาร์ Marie Gimard
มารดาชื่อ อุรสุลา ยามาดะ ลูกครื่งญี่ปุ่นโปรตุเกส

ยาย ของมารีเป็นชาวโปรตุเกตุแท้ แล้วแต่งงานกับเจ้าชายราชวงศ์
ญี่ปุ่น ทั้งสองคนนับถือศาสนาคริสต์ พบรักกันในเรือที่นางาซากิซึ่ง
บรรจุผู้คนที่ถูกลงโทษ เพราะนับถือศาสนาคริสต์ ในสมัยของโชกุน ฮิเดะโยชิ
(หลายคนที่ถูกประหารชีวิตเพราะนับถือศาสนาคริสต์)ก่อนจะไปเมืองไฟโฟ
แล้วเข้ามาสู่กรุงสยามพร้อมชาวญี่ปุ่นอื่นๆ

พ่อของมารีชื่อ ฟานิก(Phanick) ลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล  มารี เกิดและโตที่เมืองไทย

มารี กีมาร์ Marie Gimard นี้

เป็นภรรยาของ ออกญาวิไชเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน ( Constantin Phaulkon ) หนุ่มเจ้าชู้เชื้อสายกรีก
เลื่อนยศจากออกพระฤทธิ์กําแหง สมุหนายก อัครมหาเสนาบดี และถูกประหารชีวิต ในข้อหากบฏ ก็ยังมียศเป็น ออกญาวิไชเยนทร์

หลังสามีถูกประหารชีวิต มารีถูกลดตําแหน่ง และถูกคุมขังอยู่ในค่ายโปรตุเกส
มีหน้าที่ทําอาหารประเภทกวนต่างๆส่งเข้าวัง จึงจําเป็นต้องคิดค้นตําราอาหาร
ใหม่ๆขึ้น และชีวิตของมารี หรือเท้าทองกีบม้า ก็ฟื้นขึ้นด้วยฝีมือปรุงอาหาร
อาหารต่างๆมี ทองหยอด ทองหยิบ ฝอยทอง ทองพลุ(เป็นไงก็ไม่ทราบ)
ทองโปร่ง และขนมผิง

หลังจากสามีถูกจับฐานกบฏ มารีถูกโบย และจองจํา ในคอกม้า
หลังจากสามีถูกประหารชีวิต มารีถูกส่งตัวไปเป็นคนรับใช้ในวัง
ออกหลวงสรศักดิ์ ต้องการมารีเป็นภรรยา แต่เธอไม่ยอม สร้าง
ความไม่พอใจให้ออกหลวงสรศักดิ์ มากจึงทําร้ายเธอและลูกชาย
ต่างๆนานา
มารีหนีไปที่ป้อมบางกอก เพื่อขอร้องให้ทางกองทหารฝรั่งเศล
ส่งเธอไปที่ฝรั่งเศล แต่ มารีถูกส่งตัวไปที่ ออกญาโกษาธิบดี
ณ ที่นี่ ถูกคุมขังไว้ ๒ ปีก่อนได้รับการปลดปล่อยในค่ายโปรตุเกส
หลังจากนั้นมารีได้เข้ารับราชการในพระราชวัง ตําแหน่งหัวหน้า
ต้นเครื่อง

หลังจากสามีถูกประหารชีวิตก็ถูกส่งกลับ
มาที่อยุธยา และท้าวทองกีบม้ามีอายุยืนยาวอยู่หลายสมัย ตั้งแต่
รัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงรัชกาลสมเด็จพระ
เจ้าท้ายสระทั้งหมดก็ ๔ สมัย
เพราะฉะนั้นท้าวทองกีบม้าน่าจะรับใช้อยู่ในพระราชวัง
ของ๓ รัชกาลหลังค่ะ

ฝอยทอง ภาษาปอร์ตุเกส คือ Fios de Ovos
ทองหยิบ ภาษาปอร์ตุเกส คือ  Ovos Moles
สังขยา ภาษาปอร์ตุเกส คือ Bolinhos de Coco

ฝอยทอง ญี่ปุ่นก็มีต้นตํารับมาจากโปรตุเกส เหมือนไทย
การปรุงก็เหมือนกัน ระยะเวลาที่เข้าสู่ญี่ปุ่นก็เกือบ ๔๐๐ ปี ที่ที่เผยแพร่
ฝอยทอง คือนางาซากิ เมืองที่ทําให้ยาย กับตา ท้าวทองกีบม้า มาพบกัน

ฝอยทองญี่ปุ่นมีชื่อว่า keiran-soumen (ไข่ไก่-เส้นหมี่) เป็นภาษาทางการ
หรือบางคนก็เรียกว่า kin-shi-ran (ใยไข่สีทอง)
ชาวญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า  กลุ่มแม่โขง  สนุกสนานกับการหา keiran-soumen กันมาก ในที่สุดก็พบที่
ไดมารู และได้ลิ้มรสที่แสนหวาน พร้อมชาสีเขียวแสนขมของญี่ปุ่นทั้งได้ความรู้
เพิ่มอีกว่าคนผลิตตอนนี้ตั้งโรงงานอยู่ที่ Hakata แต่ไปเรียนวิชาทําฝอยทอง
มาจากคนจีนที่ นางาซากิ และ keiran-soumen ยังเป็นขนมหวานที่ขึ้นชื่อ
เป็นอันดับ๓ ของญี่ปุ่นด้วย มีขายมากแถวย่านเมืองเก่า เกียวโตค่ะ


กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: Linmou ที่ 23 ม.ค. 01, 17:17
ฟังแล้ว...หิว
ไปหุงข้าวดีกว่า


กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: นกข. ที่ 23 ม.ค. 01, 23:19
ใครเคยรู้จักชามข้าวของญี่ปุ่นแบบหนึ่งบ้างครับ เรียกว่า Don-buri หรืออย่างไรนี่แหละ มีอาจารย์ญี่ปุนคนหนึ่งที่ผมเคยอ่านผ่านตา จะพูดเอาใจคนไทยหรือเปล่าไม่ทราบได้ บอกไว้ว่า อาจารย์คิดว่ามาจากคำว่า ธนบุรี!


กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 24 ม.ค. 01, 02:37
เอ ไม่น่าจะเกี่ยวกับ ธนบุรีนะคะ  ดิฉันก็ไม่ทราบภาษาญี่ปุ่นด้วยซี  คงต้องรอใครที่รู้เข้ามายืนยันให้  แต่รู้สึกว่าคำว่า ด้ง (don) นี่จะเกี่ยวกับข้าว หรือเส้นก๋วยเตี๋ยวที่ทำจากแป้งข้าวจ้าวรึไงเนี่ยะค่ะ  ไม่แน่ใจเลยค่ะ  เห็นที่จำได้ก็พวก อูด้ง ที่เป็นก๋วยเตี๋ยวนำ้ เส้นโตเหมือนเกี้ยมอี๋  ทานสองคำก็จุกเลยค่ะ  มีแต่แป้งเป็นหลัก

สงสัยคนญี่ปุ่นจะทานปลากระเบนด้วยมังคะ  จริงแล้ว  อะไรที่ว่ายนำ้ได้เค้าคงกินหมดนั่นแหละ

ดิฉันว่า  สมัยขุนศึกของญี่ปุ่น  ที่มีการรบพุ่งกันมาก  การทำดาบซามูไรก็เฟื่องฟู  วัตถุดิบคงไม่ค่อยจะพอ  ชาวประมงญี่ปุ่นคงหาหนังปลากระเบนไม่ทันมาพันด้ามดาบ  และความต้องการวัตถุดิบอย่างอื่นๆอีกด้วย  ที่ผลักดันให้ชาวญี่ปุ่นหันมาค้าขาย  น่านนำ้ไทย มาเลย์ และชวา  คงชุกชุมไปด้วยชาวต่างประเทศมากหน้าหลายตา  ทั้งชาวอินเดีย จีน ญี่ปุ่น  และพวกฝรั่งที่เข้ามามาหน้าหลายชาติ ทั้งโปร์ตุเกส สเปญ  และไหนจะมีพวกแขกเปอร์เซียอีก  จากข้อมูลของทางคุณนำ้หวาน  ซึ่งเป็นผู้แปลเรื่อง ออกญาเสนาภิมุข หรือ ยามาดา นางามาสา  เป็นชาวญี่ปุ่นที่เดินเรือเข้ามาเสี่ยงโชคเมืองไทยในช่วงนั้นด้วย  ปะเหมาะไปอาสาปราบโจรสลัดสเปญ  ได้ความดีความชอบ  เลยได้รับราชการ  จนตอนหลังถูกวางยาไป

ยิ่งได้อ่านเรื่อง การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ ของอาจารย์นิธิแล้ว  ได้ภาพเมืองไทยสมัยนั้นชัดมากขึ้นว่า  คงมีความพลุกพล่านในลักษณะที่มีชาวต่างชาติเข้าๆออกๆ  เป็นเมืองท่าคึกคักน่าดูเทียวนะคะ

ดิฉันก็ไม่ทราบรายละเอียดอะไร  เพราะไม่มีอะไรให้ค้นเลย  ไม่ทราบทางเมืองไทยมีเอกสารเพิ่มขึ้นบ้างหรือเปล่าคะ  ที่ตั้งใจแต่แรกก็อยากจะลากกระเบนมาคุยเรื่องประวัติศาสตร์สมัยพระนารายณ์น่ะค่ะ  ในด้านที่เกี่ยวกับการที่มีชาวต่างชาติมาเกี่ยวข้องมากกว่าที่เราเคยได้ยินมาจากการเรียนประวัติศาสตร์ในห้องเรียน  สมัยเด็กๆจำได้แต่ว่า  ประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา  มีแต่ให้ท่องจำชื่อพระมหากษัตริย์ ปีที่ครองราชย์ และสวรรคต  เลยไม่เคยสนใจเรียนประวัติศาสตร์ในห้องเรียนเลย  จนได้ไปเจอห้องสมุดเก่าๆที่วัดเข้า  ไปเจอพวกจดหมายเหตุ ประชุมพงศาวดารเก่าๆสะสมอยู่มาก  จึงได้เริ่มสนใจประวัติศาสตร์ขึ้นมาน่ะค่ะ


กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: ภูมิ ที่ 24 ม.ค. 01, 10:26
ด้งบุริ  แปลว่าชามครับ
แต่เพราะส่วนใหญ่จะเอามาใส่ข้าวแล้วโปะหน้าด้วยกับ เป็นชื่ออาหารชนิดต่างๆ
(ข้าวหน้า....) และปัจจุบัน ถึงไม่ได้ใส่ชามเป็นกล่องโฟมแทนก็ยังเรียก ด้ง เช่นกัน
แต่จะมาจากธนบุรีรึเปล่าผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน


กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: ปะกากะออม ที่ 25 ม.ค. 01, 13:26
เพิ่งเข้ามาเยี่ยมที่นี่คะ  พอดีเห็นเรื่องปลากระเบน  สนใจเพราะเมื่อเด็ก ๆ ที่บ้านมีหางปลากระเบนเหน็บข้างฝาหลายอัน  ไม่เคยมีใครได้รับเกียรติโดนฟาดหลัง  แต่ก็มีคำยู่ สมัยก่อนเขาใช้เฆี่ยนกันนะคะ
กับจำได้ถึงรสชาติของปลากระเบนย่าง คาวนิด ๆ หอมควันไฟ  
ในเอกสาร VOC พ่อค้าชาวดัทช์สมัยอยุธยาพูดถึงหนังปลาฉลามเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ  มีคำอธิบายไว้คะว่าเอาไปทำด้ามดาบ อยุธยาส่งออกรายการนี้มากพอ ๆ กับหนังกวางที่คงจะถูกล่าปีหนึ่งนับแสนตัวทีเดียว
คุณพวงร้อยพูดถึงขนมทองพลุ  นึกถึงเอแคลร์สิคะ  คล้าย ๆ กัน เพียงแต่เราทำด้วยข้าวเจ้าแล้วเอาไปทอด  ส่วนไส้ก็มีไส้คาว หรือหยอดน้ำเชื่อม  ชักคิดถึง ขนมทองพลุฟูฟู หวานมัน


กระทู้: จาก วาซาบิ ถึง กระเบนไทย
เริ่มกระทู้โดย: พวงร้อย ที่ 27 ม.ค. 01, 10:02
ขอบคุณค่ะ คุณภูมิ  อ้อ มิน่าล่ะ  มีร้านฟ้าสต์ฟู้ดแบบญี่ปุ่นที่ชื่อ ยากิโทริ  เค้ามีข้าวโปะหน้าไก่เทริยากิ  
หรือข้าวโปะหน้าเนื้อวัวหั่นบางๆที่ไปต้มจนเปื่อกับซุปซีอิ๊ว  เค้าเรียกว่า  chicken bowl และ beef bowl
และมีราดหน้าผักอีกอย่าง  มีแค่นี้แหละค่ะ  แต่สมัยมาใหม่ๆนี่นับว่าเริ่ดแล้วที่มีฟ้าสต์ฟู้ดได้ขนาดนี้  
แต่ความที่คนอเมริกันไม่ถนัดเรียกชื่อญี่ปุ่น  เลยเรียกร้านนี้ว่า  Beef Bowl  ไปเลย  คงมาจากต้นตำรับที่เรียอะไร ด้งๆ นี่มังคะ  
ดิฉันไปทานอยู่นานก็ไม่เข้าใจว่าเป็นอาหารที่คนญี่ปุ่นทานกันมาก  นึกว่าเป็นอเมริกันเวอร์ชั่นเสียอีก

ขอบคุณปะกากะออมมากค่ะ  ที่อธิบายเรื่องขนมทองพลุให้ อ่านแล้วยังไงไม่ทราบ  คิดถึงกล้วยข้าวเม่าค่ะ  ชักสงสัยละว่า  
กล้วยแขกทอด และกล้วยข้าวเม่านี่  สงสัยจะรับมาจากไหน  กล้วยแขกนี่มาจากแขกอินเดียหรือเปล่า  
แต่พวกชุบแป้งทอดนี่น่าจะรับจากทางแขกหรือทางตะวันตกนะคะ