เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 13:16 
เริ่มโดย เทาชมพู - ความคิดเห็นล่าสุด โดย เทาชมพู
   ถัดไปคือ Adventureland  แดนผจญภัย  ซึ่งเป็นการล่องเรือไปตามคลองคดเคี้ยว สองข้างทางเป็นป่าดงดิบ  มีสัตว์ป่าที่หาไม่ได้ในอเมริกา เช่น ช้าง เสือโคร่ง  ม้าลาย  ยีราฟ และฮิปโป สร้างด้วยหุ่นยนต์เหมือนจริงให้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวและเปล่งเสียงได้    มีทั้งอยู่บนบกและในน้ำ
    รวมทั้งหุ่นคนป่าแอฟริกันสวมหน้ากาก เต้นยึกๆยักๆ ตามจังหวะกลอง   เป็นที่ตื่นตาตื่นใจของเด็กน้อยที่เกิดมาไม่เคยเห็น รวมทั้งพ่อแม่เองก็ไม่เคยเห็นเหมือนกัน    เพราะในยุคนั้น คนอเมริกัน 99 % เกือบไม่มีโอกาสเดินทางออกนอกประเทศ
 

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:44 
เริ่มโดย เทาชมพู - ความคิดเห็นล่าสุด โดย CrazyHOrse
ทดลองอันนี้ครับ

https://deepai.org/chat/emily-dickinson

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:42 
เริ่มโดย เทาชมพู - ความคิดเห็นล่าสุด โดย CrazyHOrse
ที่ LeCun บอกว่า LLM เป็นแค่เครื่องพยากรณ์คำ อันนี้ผมเห็นด้วยครับ แต่ส่วนหนึ่งของมนุษย์เองก็อาจจะเป็นเครื่องพยากรณ์คำเหมือนกัน บางคน (หรือบางเวลา) ก็อาจจะพูดอะไรผิดๆถูกๆ หรือไร้ตรรกะ

ส่วนที่ว่า LLM ไม่มีเหตุผล ตรรกะ การวางแผน อันนี้ก็น่าสงสัยอยู่ครับ จริงอยู่ model ของ LeCun พยายามเลียนแบบโครงสร้างองค์ประกอบของสมองมนุษย์ แต่ผมมี 2 คำถาม
1. แน่ใจหรือว่า model ของ LLM ไม่มีโครงสร้าง เราไม่ได้ pre-config มันก็จริง แต่ไม่ได้แปลว่ามันไม่ได้จัดการตัวเองให้มีโครงสร้าง ปัญหาตอนนี้คือเราไม่สามารถทำความเข้าใจมันได้ต่างหากครับ
2.แน่ใจหรือว่าต้องเป็นโครงสร้างแบบสมองมนุษย์ถึงจะดีที่สุด สมองสัตว์และมนุษย์เป็นผลผลิตของวิวัฒนาการ เป็นเรื่องของการสุ่มและการคัดสรรตามธรรมชาติ มันดีไหม ผมว่ามันดีแน่ เพราะมาพาเรามาถึงขนาดนี้ได้ แต่มันดีที่สุดไหม ต้องเป็นแบบนี้เท่านั้นหรือเปล่า ผมว่าไม่มีอะไรยืนยันได้ หรือถ้าต้องฟันธง ผมว่า “ไม่” ครับ ดังนั้น LLM (ในอนาคต) ไม่จำเป็นต้องเหมือนสมองมนุษย์ แต่สามารถที่จะทำงานได้เท่าเทียมหรือเหนือกว่าสมองมนุษย์ได้ครับ

คำถามข้างบนของอาจารย์ว่า AI สามารถแต่งบทประพันธ์อย่าง Shakespeare ได้หรือไม่นั้น จริงๆมีคนทำไว้แล้วนะครับ แต่ทำได้ดีแค่ไหน ต้องทดลองดูครับ ในเวลาจำกัด ผมยังหาตัวที่ทดลองไปจนได้ผลงานออกมาไม่ได้ แต่ได้ลองบางตัวที่ทำขึ้นมาเพื่อสร้างงานเลียนแบบ Emily Dickinson ก็ถือว่าทำได้น่าประทับใจ แต่จะเหมือน Emily Dickinson แค่ไหน อันนี้ความสามารถผมไม่มากพอจะแยกแยะครับ

คิดว่าไม่ช้าก็เร็ว ต้องมีนักวิจัยไทย ทำ LLM ที่ใช้สร้างงานของสุนทรภู่โดนเฉพาะออกมาบ้างครับ รอดูครับ

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:49 
เริ่มโดย เทาชมพู - ความคิดเห็นล่าสุด โดย เทาชมพู
จากลิ้งค์ข้างบนนี้
เนื่องจาก Instruction Tuned LLM สามารถรับคำสั่งจากผู้ใช้ผ่านข้อความภาษาธรรมชาติเหมือนการพูดคุยปกติ ทำให้คุณภาพของผลลัพท์หรือคำตอบที่ได้นั้น ขึ้นกับคำถาม หรือ Prompt ค่อนข้างมาก เช่น ถ้าเราให้ LLM “เขียนรีวิวร้านกาแฟ อาหารอร่อย บรรยากาศดี”

โมเดล LLM สามารถตอบได้หลายแบบมาก อาหารอร่อย นี่หมายถึง อาหารคาว หรือ ของหวาน แล้วกาแฟอร่อยไหม บรรยากาศดียังไง สว่างสดใส มินิมอล หรือบรรยากาศสงบ ร่มรื่น จะเขียนยาว หรือสั้น เขียนเป็นทางการ หรือสำหรับโพสต์ลงโซเชียล เป็นคำบรรยาย หรือเป็นข้อ ๆ


เขียนรีวิวได้ ก็น่าจะพัฒนาเป็นเขียนเรื่องสั้นได้  จากนั้นก็เป็นนวนิยายขนาดสั้นได้
ลองสมมุติดู
เขียนนวนิยาย 20 ตอนจบ ตอนละ 5 หน้า word file  ใช้ฟ้อนท์ Angsana 16  ภาษาไทย

เนื้อเรื่อง  ดร.ประกอบเดินลงอุโมงค์ลอดใต้ถนนในกทม. แต่พบว่าพอออกมากลับเป็นราชสำนักฮ่องเต้ถังไท้จง แห่งราชวงศ์ถัง  ตัวเองกลายเป็นองค์ชาย 14  ซึ่งป่วยหนักถึงตายแล้วฟื้นขึ้นมา   องค์ชายได้พบนางเอก เป็นคู่หมั้นกำลังจะต้องเข้าวิวาห์กับองค์ชาย 1  องค๋ชาย 14  จึงช่วยนางเอกไว้ได้   แล้วเข้าช่วยฮ่องเต้ที่กำลังจะถูกชิงบัลลังก์จากองค์ชาย 1 จนชนะ  ในตอนจบดร.ประกอบตัดสินใจอยู่ในอดีต ไม่กลับมาสอนนศ. อีก

ท่านผู้อ่านคิดว่ามันจะแต่งได้ไหมคะ 

 5 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:33 
เริ่มโดย เทาชมพู - ความคิดเห็นล่าสุด โดย เทาชมพู
LLM  คือ  โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model, LLM) เป็นรูปแบบของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชนิดหนึ่งที่โมเดลถูกเทรนด้วยข้อมูลข้อความมากมายมหาศาลจากอินเตอร์เน็ต สร้างเป็นโมเดลภาษา Language Model ให้สามารถมีความเข้าใจความหมายข้อความตามบริบท (Context) และสร้างข้อความที่สอดคล้องออกมาได้

อ่านรายละเอียดได้ที่

https://www.bualabs.com/archives/4402/what-is-large-language-model-llm/

 6 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:31 
เริ่มโดย เทาชมพู - ความคิดเห็นล่าสุด โดย เทาชมพู
   ไปเจอ FB ของคุณIsriya Paireepairit

    ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ข้อความบรรทัดเดียวที่สั่นสะเทือนวงการ AI คือ อ.ยาน Yann LeCun ออกมาโพสต์ว่า "ถ้าคุณเป็นนักเรียนที่อยากทำเรื่อง AI ยุคถัดไป ก็อย่ามาทำเรื่อง LLM เลย"
     ข้อความสั้นๆ ประโยคเดียว แต่พอคนโพสต์เป็น อ. Yann อิมแพคมันเลยสูงมาก สารภาพว่าผมเห็นข้อความนี้ตอนแรกก็อึ้งๆ ไปเล็กน้อย แต่พอมานั่งทบทวนดูก็ถือว่าไม่เกินคาด เมื่อเทียบกับสิ่งที่แกพูดบ่อยๆ ในช่วงหลัง (เพียงแต่ไม่คิดว่าแกจะพูดออกมาตรงๆ ขนาดนี้)
     สำหรับคนนอกวงการอาจไม่รู้จักว่า อ. Yann เป็นใคร ตำแหน่งอย่างเป็นทางการของแกคือ Chief AI Scientist ของ Meta (ชื่อในอดีตคือ Facebook AI Research หรือ FAIR) อธิบายง่ายๆ ว่าเป็นผู้นำสูงสุดในสายงานวิจัย AI ของ Meta/Facebook นั่นเอง
อ. Yann ถือเป็นหนึ่งในสาม Godfathers of AI ของวงการ หากใครเริ่มเข้าสู่วงการ AI น่าจะเคยเขียนโค้ดฝึก AI ให้อ่านลายมือภาษาอังกฤษ ที่เทียบได้กับ Hello World ของวงการโปรแกรมมิ่ง เจ้าฐานข้อมูลลายมือ MNIST ก็สร้างโดย อ. Yann นี่ล่ะ ทุกวันนี้เรายังต้องดาวน์โหลดลายมือจากเว็บส่วนตัวของแกกันอยู่เลย
เมื่อคนระดับ อ. Yann ออกมาวิจารณ์เรื่อง LLM ที่เป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าจับตา ต้นเหตุของโพสต์นี้มาจากแกไปพูดงาน VivaTech ที่ฝรั่งเศส (แกเป็นคนฝรั่งเศส) และบอกว่า LLM เป็นเกมของยักษ์ใหญ่เท่านั้น เราไม่สามารถประดิษฐ์คิดค้นอะไรเกี่ยวกับ LLM ได้เองลำพังอีกแล้ว เอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า
เรื่องนี้ก็ตรงกับที่ผมคิด และเคยเขียน/พูดตามเวทีต่างๆ ไว้ประมาณนึงว่า LLM มันเป็นเกมของยักษ์ใหญ่ระดับโลก ต้องใช้ทรัพยากรมหาศาลทั้ง GPU/ข้อมูล/นักวิจัย มีบริษัทที่ทำได้จริงจังอยู่ไม่เกินนิ้วมือข้างเดียว และตอนนี้ดูเหมือนจะเหลือแค่สองขั้วคือ Google vs OpenAI/Microsoft ยืนซัดกันอยู่เท่านั้น บริษัทยักษ์ใหญ่รายอื่นก็หมดสิทธิต่อกรแล้ว
แต่ถ้าใครติดตาม อ. Yann มา น่าจะเคยเห็นสิ่งที่แกวิจารณ์ข้อจำกัดของ LLM อยู่บ่อยๆ (แม้ Meta ของแกก็ทำโมเดล Llama) ว่ามันไม่มี "ตรรกะ" "เหตุผล" "การวางแผน" อะไรมากนัก มันเป็นแค่เครื่องมือพยากรณ์คำที่เก่งมากๆ ตัวหนึ่งเท่านั้น
ชาว Prompt Engineer อาจกรีดร้องกับสิ่งนี้ และอาจตั้งแง่กับ อ. Yann ว่า LLM มันเก่งฉกาจเบอร์นี้แล้ว ถามอะไรตอบได้ แต่งกลอนได้ เขียนโปรแกรมได้ ยังจะเรียกร้องอะไรอีก อ. อิจฉาที่ OpenAI ทำโมเดลได้เก่งกว่าตัวเองใช่ไหมเลยออกมาแซะเขาเสียๆ หายๆ อะไรแนวๆ นี้
เผอิญว่า อ. Yann แกน่าจะเป็นสาย "คนจริง" แกเลยเสนอสถาปัตยกรรม AI ที่น่าจะมีความฉลาด มีความเข้าใจต่อโลกภายนอก มีปัญญา มีเหตุผล ทัดเทียมกับมนุษย์ขึ้นมาได้จริงๆ มาได้สักพักหนึ่งแล้ว (ตั้งแต่ต้นปี 2022) โดยมีชื่อเรียกรวมๆ ว่าเป็น autonomous intelligence
autonomous intelligence ของ อ. Yann นั้นเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ มีโมดูลชิ้นส่วนต่างๆ ทำงานร่วมกัน เช่น หน่วยควบคุม (configurator), หน่วยรับข้อมูลภายนอก (perception) และที่สำคัญที่สุดคือ ตัวสร้างโมเดลของโลก (world model) เพื่อพยากรณ์ว่าโลกภายนอกจะเปลี่ยนไปอย่างไร แล้วโมเดลจะสั่งการให้ทำอะไร
สถาปัตยกรรมของ อ. Yann นั้นซับซ้อนมาก (แกบอกว่ารวบรวมความคิดทั้งชีวิตมาทำเรื่องนี้) ผมพยายามอ่านงานเขียน-ดูคลิปแกบรรยายตามที่ต่างๆ แล้วพบว่ามันไกลเกินกว่าสติปัญญาของผมจะเข้าใจได้แล้ว พลังวัตรไม่พอ 555 หากใครสนใจลองดูคลิปตามลิงก์ในคอมเมนต์ ซึ่งเป็นคลิปที่ อ. Yann เองแนะนำให้ดู
กล่าวโดยสรุปคือ ในโลกที่เราพูดคำว่า AI กันจนเฝือ และโมเดลภาษา LLM เริ่มมาถึงข้อจำกัดของมันแล้ว (หลังพัฒนาแบบก้าวกระโดดในช่วง 2 ปีนี้) ก้าวต่อไปของ AI ยังไม่ชัดเจนว่าจะไปทางไหนต่อ แต่อย่างน้อย อ. Yann ในฐานะหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลของโลกสายวิจัย ก็มีข้อเสนอที่ยิ่งใหญ่ มีพิมพ์เขียวว่ามันควรเป็นอย่างไร ซึ่งก็เป็นสิ่งที่พวกเราๆ ต้องศึกษากันต่อไปนั่นเอง
(ใครที่สนใจ อ. Yann วิจารณ์ข้อจำกัด LLM ลองดูจากสไลด์ที่ผมแคปจอมาจากในคลิป น่าจะเห็นภาพรายละเอียดมากขึ้น)

https://www.facebook.com/markpeak/posts/pfbid0NvTiAcao4QuFzHNNv1zsUWKF1SKJtoQs535atUUdQkirAVKBNRPaXBeoH376eY7Pl

 7 
 เมื่อ: 28 พ.ค. 24, 10:33 
เริ่มโดย เทาชมพู - ความคิดเห็นล่าสุด โดย เทาชมพู
ใครเคยใช้ ChatGPT 4o บ้าง  ขอเอาผลงานมาให้ดูกันหน่อยได้ไหมคะ

 8 
 เมื่อ: 28 พ.ค. 24, 10:32 
เริ่มโดย เทาชมพู - ความคิดเห็นล่าสุด โดย เทาชมพู
  เอาหน้าตาดินแดนในยุคเริ่มต้นของดิสนีย์แลนด์มาให้ดูกันค่ะ
  Tomorrowland  ดินแดนอนาคต  คือดินแดนที่มีประดิษฐกรรมล้ำยุค เช่นรถไฟฟ้ารางเดียว จรวดจำลอง เป็นต้น  เด็กยุคนี้คงบอกว่าเชยมาก   แต่อย่าลืมว่า นั่นคือค.ศ. 1955  รถไฟทั้งหลายยังแล่นชึ่กชั่กควันโขมงกันอยู่   และจรวดก็ยังเป็นแต่ความฝัน  ไม่มีอะไรบินขึ้นได้สูงกว่าเครื่องบิน 
   ดิสนีย์เคยสร้างหนังเรื่อง ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์   พูดถึงเรือดำน้ำชื่อนอติลุส   ภายหลังจากสร้างและนำออกฉาย เขาเอาฉากเรือดำน้ำล้ำยุคมาใส่ไว้ในดินแดนอนาคตด้วย เป็นโรงหนังเล็กๆให้คนดูเข้าไปนั่งดูเหมือนนั่งอยู่ในเรือดำน้ำจริงๆ

    เชิญดูภาพจากลิ้งค์นี้ได้ค่ะ
https://davelandblog.blogspot.com/2011/11/walking-tour-of-tomorrowland-1955.html
 
   ดินแดนอนาคตได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ  ให้ทันยุคทันสมัยค่ะ ใครไปเที่ยวดิสนีย์แลนด์จะพบว่าของใหม่เข้ามาแทนของเก่าเกือบหมดแล้ว

 9 
 เมื่อ: 27 พ.ค. 24, 11:35 
เริ่มโดย เทาชมพู - ความคิดเห็นล่าสุด โดย เพ็ญชมพู
คุณหมู จาก เพจ Disney Thailand Fanclub จะมาเล่าถึงชีวิตและผลงานของวอลท์ ดิสนีย์ ชายผู้เกิดมาเพื่อสร้างความสุขให้โลก ในรายการ PYMK ของคุณฟาโรส


 10 
 เมื่อ: 27 พ.ค. 24, 10:43 
เริ่มโดย เทาชมพู - ความคิดเห็นล่าสุด โดย เทาชมพู
ในยุคแรก  ดิสนีย์แลนด์แบ่งดินแดนออกเป็น 4 แห่งด้วยกัน  คือ Fantasy Land  (ดินแดนแห่งเทพนิยาย) Tomorrow Land (ดินแดนแห่งเทคโนโลยีล้ำยุค) Adventure Land (ดินแดนท่องเที่ยวโลกกว้าง) Frontier Land ( ดินแดนยุคบุกเบิกของอเมริกา)
ดินแดนแห่งเทพนิยายมีสัญลักษณ์ตั้งเด่นตระหง่านตรงปากทาง คือปราสาทของเจ้าหญิงนิทรา ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากปราสาทน็อยชวานชไตน์ ในแคว้นบาวาเรีย  ประเทศเยอรมนี

หน้า: [1] 2 3 ... 10
Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 13 คำสั่ง