เรือนไทย

General Category => ภาษาวรรณคดี => ข้อความที่เริ่มโดย: ดาวกระจ่าง ที่ 16 ก.ย. 19, 18:45



กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องไวยกรณ์ของภาษาไทยค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 16 ก.ย. 19, 18:45
ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องไวยกรณ์ของภาษาไทยค่ะ

คือดิฉันได้ยินมาว่าภาษาไทยมีการพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบจากการผสมผสานภาษาต่างประเทศ ได้มีการรับหลักไวยากรณ์มาจากต่างประเทศในช่วงรัตโกสินทร์ตอนกลาง เช่น ประธาน กิริยา กรรม วิเศษณ์ คุณศัพท์ มาใช้ทำให้ดิฉันไม่เข้าใจว่ามันเป็นอย่างไรเพราะเข้าใจว่าภาษาพูดมาก่อนภาษาเขียน ไวยกรณ์ก็น่าจะตามภาษาพูดอยู่แล้ว เลยอยากจะเรียนถามท่านๆในที่นี้หน่อยค่ะว่า

ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบันไวยากรณ์ภาษาไทยมันมีการพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบอย่างไรคะ เราไปรับหลักไวยากรณ์มาจากต่างประเทศมาใช้ มาผสมกับของเราอย่างไง


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องไวยกรณ์ของภาษาไทยค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 ก.ย. 19, 19:34
  เรียนหลักภาษาไทยมานานเต็มทีจนลืมไปแล้ว   ไปค้นเจอแค่นี้ค่ะ

    ภาษาไทยมีวิวัฒนาการมาตามลำดับอย่างต่อเนื่อง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย     รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้พระโหราธิบดีแต่งแบบเรียนภาษาไทยขึ้นเป็นแบบเรียน ภาษาไทยเล่มแรกมีชื่อว่า  ”จินดามณี” ซึ่งแปลว่า แก้วสารพัดนึก
    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย  อาจารยางกูร) ได้แต่งแบบเรียนภาษาไทย คือ มูลบทบรรพกิจ  วาหนิติ์นิกร  อักษรประโยค  สังโยคพิธาน  ไวพจน์พิจารณ์  และพิศาลการันต์
   และต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดพิมพ์ตำราสยามไวยากรณ์เป็นแบบเรียน และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีได้เรียบเรียงขึ้นใหม่อีกเล่มหนึ่งโดยย่อ จากตำราสยามไวยากรณ์  และใน พ.ศ.๒๔๖๑ พระยาอุปกิตศิลปสาร(นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ใช้เค้าโครงของตำราสยามไวยากรณ์นำมาแต่งเป็นตำราหลักภาษาไทยขึ้นใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นตำราหลักภาษาไทยที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย  อักขรวิธี  วจีวิภาค  วากยสัมพันธ์  และฉันทลักษณ์  ถือว่าตำราเล่มนี้เป็นแบบฉบับหลักภาษาไทยที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดและ ใช้กันจนถึงปัจจุบัน
   http://mtblog01.blogspot.com/2018/04/blog-post_75.html
   รอคุณเพ็ญชมพูหรือท่านอื่นๆดีกว่าค่ะ


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องไวยกรณ์ของภาษาไทยค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ย. 19, 20:58
ไวยากรณ์ภาษาไทย  หลักภาษาไทย ลักษณะภาษาไทย

จากหนังสืออุเทศภาษาไทย ภาษาไทย น่าศึกษาหาคำตอบ
https://www.hawaii.edu/thai/Navavan-ThaiQABook.pdf


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องไวยกรณ์ของภาษาไทยค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ย. 19, 21:01
..


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องไวยกรณ์ของภาษาไทยค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 16 ก.ย. 19, 21:06
..


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องไวยกรณ์ของภาษาไทยค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 17 ก.ย. 19, 13:15
ขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะ


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องไวยกรณ์ของภาษาไทยค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 17 ก.ย. 19, 14:53
เมื่อเร็วๆนี้ ผมไปอ่านเจอข้อเขียนของชาวต่างประเทศ เกี่ยวกับความสุขสบายของอาศัยอยู่ในประเทศไทย มีข้อหนึ่งที่ชาวต่างประเทศท่านนั้นกล่าวถึงก็คือ "ภาษาไทยเป็นภาษาที่พูดง่าย" คำว่า พูดง่ายของเขาก็คือ ไม่ต้องเคร่งครัดไวยกรณ์ แม้จะตัด หรือละ คำบางคำออกไปจากประโยค ก็ยังสื่อความหมายได้เข้าใจ (ผมพยายามกลับไปค้น ก็ข้อเขียนที่ว่านี้หาไม่เจอซะแล้วครับ)

มาคิดๆ ดู ที่ชาวต่างชาติท่านนี้กล่าว ก็น่าจะมีเค้ามูลความจริง
ถ้าเป็นฝรั่งถามกันว่า จะไปที่ไหน เขาก็ต้องถามว่า "Where are you going?" แปลไทยคำต่อคำก็ต้อง "นายจะไปไหนหนะ"
แต่คนไทยสามารถลดเหลือ "ไปไหนอ่ะ" หรือ "ไปไหน" ภาษาใต้ อาจจะเหลือแค่ "ไน้" คำเดียว ก็ยังฟังรู้เรื่อง
ลองฝรั่งถามกันว่า "Where?" คำเดียว เขาต้องงงแน่นอน แบบว่า แวร์อะไรฟระ 


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องไวยกรณ์ของภาษาไทยค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: jungo ka ที่ 17 ก.ย. 19, 17:01
มีตำรามาฝาก เผื่อเจ้าของกระทู้จะสนใจค่ะ  :D

https://www.facebook.com/ThaiArtsCU/posts/2212213985572879?__xts__[0]=68.ARAKsDNN-hWQwpKOxnojF2wpd-L_jQuDvUPqOtfnqmTQEUJGlxgAeBtVb5UXxuiPWwH7hTh1_me80XEXM7xYZ7pxPtS92mN7MDGj4zwsCGSICHBchnTbL-EWK5gX-lWn73UhFL5iE0jKDxtIxdmF3-KAkC39uP6GoPwhJGQFQM5esmyWXaiFFa-Hgd5_lkVGHJzZ_oxp3MEEb7MbBe-1tfzHirE2n4dNHvrkuX-_ABb7NmQ0M8BaFTtV4fME_u2j7cLbIgM626MD_m-coWhisKtPHCoU8t6H4EWRj6Jw-BH1Fw9PUbim_Uec2fE9wSMHPHpENZ3ksDQsdufba612--PPVQ&__tn__=-R


กระทู้: ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องไวยกรณ์ของภาษาไทยค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ดาวกระจ่าง ที่ 18 ก.ย. 19, 13:23
เรื่องภาษาไทยเป็นภาษาที่พูดง่ายคงเป็นเพราะภาษาไทยเป็นแบบคำโดดมั้งคะแค่นำคำมาต่อกันก็ใช้ได้ การสลับหน้าหลัง ลดรูปประโยคไม่ค่อยทำให้ความหมายเปลี่ยนเท่าไร แต่แบบนี้ก็มีคนว่ายากนะคะเพราะด้วยที่ไม่มีกฏต้องดูบริบทของสิ่งที่จะพูดเอา

ขอบคุณ คุณ jungo ka ด้วยค่ะ