เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: สองล้อ ที่ 16 ธ.ค. 16, 19:22



กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: สองล้อ ที่ 16 ธ.ค. 16, 19:22
(พอดีได้ไปพบเจอกระทู้ที่ชวนให้ขบขิดนิดๆ จากบ้านพันทิพ ก็อ่านแล้วก็อดขำในความขี้สงสัยของเจ้าของกระทู้ไม่ได้ แล้วก็ความพยายามในการโต้กลับนั้นก็ดูน่าสนใจดี

ผมจึงนำคำถามนี้มาขอให้ท่านอาจารย์ทั้งหลายช่วยไขความกระจ่างให้เจ้าของกระทู้ท่านนี้ และตัวผมหรือท่านอื่นๆที่ไม่ทราบด้วยครับ)

 คือถ้าทุกๆท่านสังเกตนะครับจะเห็นว่าพระเมรุมาศระดับสเกลของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5มาเราจะเห็นว่าขนาดย่อลงจากพระเมรุมาศ(อันนี้ไม่ใช่ประเด็นหลัก) เยอะเลย และมีการเปลี่ยนมาใช้ทรงบุกษก ประเด็นสำคัญที่อยากถามคือทำไมช่างสถาปนิกสมัยก่อนจนมาถึงปัจจุบันถึงเลือกทรงนี้ ทั้งที่ดูไปดูโคะตะระเรียบเลยดูรายละเอียดเหมือนค่อนข้างจะน้อย ซึ่งทรงอื่นมันก็น่าจะมีให้เลือก ทำไมถึงเจาะว่าเป็นทรงนี้ อันนี้ไม่ได้ว่าไรนะแค่สงสัยเฉยๆ จริงอยู่ที่อาจจะดูใหญ่แต่ทรงนี้อย่างเรียบง่าย



กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: CVT ที่ 16 ธ.ค. 16, 20:29
เข้าใจว่าเป็นพระราชประสงค์ที่ต้องการให้คงไว้ซึ่งโบราณราชประเพณีในการสร้างพระเมรุมาศ
แต่ไม่ต้องการให้เกิดความยุ่งยากลำบาก สิ้นเปลือง จึงให้ออกแบบเป็นพระเมรุมาศที่ดูเรียบง่าย แต่คงความสง่า สวยงาม สมกับพระเกียรติครับ


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: สองล้อ ที่ 16 ธ.ค. 16, 21:42
 แต่เหมือนเราจะต้องตีความตรง "ทำไมต้องเป็นทรงบุษบก"


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ธ.ค. 16, 07:43
เข้าใจว่าโครงสร้างพื้นฐานดั้งเดิมของบริเวณที่เผาศพ จะต้องทำปริมณฑลไว้เป็นอาณาเขตโดยการปักไม้ไผ่ไว้สี่มุม ด้านบนรวบยอดขึงผ้าขาวดาดไว้ด้านบนสุด เพื่อบังแดด บังฝน จนเสาสี่มุมนี้พัฒนาเป็นเสา ผ้าขาวพัฒนาการเป็นเพดาน และพัฒนาต่อมาเติมยอดเสริมไปเรื่อยๆ จนพ้องกับรูปร่างของบุษบก


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ธ.ค. 16, 07:50
พัฒนาการของเสาไม้ไผ่ก็สร้างให้สวยงามขึ้นและเป็นปูนแบบถาวร


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ธ.ค. 16, 08:37
เมื่อหลังคาเพดานนั้นผนวกเข้ากับคติความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุแล้ว ก็มักจะทำหลังคาซ้อนลดกันขึ้นไปเรื่อยๆ จำนวน ๗ ชั้น คือการถือคติเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้ง ๗ ดังนั้นรูปทรงบุษบกและทรงปราสาทยอดเจ็ดชั้นจึงเข้ามาเสริมสร้างในการสร้างพระเมรุมาศและเมรุต่างๆ


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: สองล้อ ที่ 17 ธ.ค. 16, 10:40
แล้วเมรุมาศในไทย มีทรงอื่นๆไหมครับ นอกจากทรงบุษบก


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 17 ธ.ค. 16, 11:11
แล้วเมรุมาศในไทย มีทรงอื่นๆไหมครับ นอกจากทรงบุษบก

มีเมรุปูนหลังหนึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ไม่ได้สร้างยอดเป็นบุษบกแต่เป็นทรงซุ้มฝรั่ง


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ธ.ค. 16, 11:38
แต่เหมือนเราจะต้องตีความตรง "ทำไมต้องเป็นทรงบุษบก"

ตอบให้ตรงกับคำถามนี้สั้นๆคงไม่ได้ ต้องเท้าความสักหน่อย
พระเมรุมาศทรงบุษบกปรากฏครั้งแรกในต้นรัชกาลที่ ๖ สำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชประสงค์มาตั้งแต่คราวออกพระเมรุพระราชบิดาของพระองค์ว่า สำหรับการสร้างพระเมรูมาศสำหรับพระมหากษัตริย์ต่อไป ไม่ควรจะสร้างใหญ่โต สิ้นเปลืองขนาดนั้น

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯจึงทรงมอบนโยบายดังกล่าวให้กรมหมื่นนเรศร์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการขณะนั้น ให้ช่างออกแบบพระเมรุมาศมาถวายทอดพระเนตร ซึ่งแบบดังกล่าวได้ถูกนำมาถวายพร้อมหนังสือกราบบังคมทูลดังนี้


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ธ.ค. 16, 11:38
ต่อ


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ธ.ค. 16, 11:43
ผู้ที่เป็นช่างแบบจริงๆ นี่ผมคิดตามวิสัยของสถาปนิกนะครับ เมื่อได้รับโจทย์ให้ออกแบบอาคารที่ก่อสร้างได้ประหยัดที่สุด และมีรูปทรงที่สอดคล้องกับงานพระบรมศพ ก็ต้องดูโครงสร้างที่เล็กที่สุดที่ใช้งานอยู่ก่อน ซึ่งอะไรจะเหมาะสมไปกว่ารูปทรงของจิตกาธานซึ่งรองรับพระบรมศพ ดังรูป


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ธ.ค. 16, 11:44
คราวนี้มาดูกฏข้อบังคับของการออกแบบพระเมรุมาศ


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ธ.ค. 16, 11:49
เรือนยอดในลักษณะของกุฎาคารที่ถูกนำมาใช้งานในเรื่องที่เกี่ยวกับพระบรมศพที่สำคัญอย่างหนึ่งคือราชรถ ซึ่งเป็นทรงเดียวกับบุษบก


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ธ.ค. 16, 11:51
ดังนั้น การนำรูปทรงของบุษบก ซึ่งเป็นของสูงเหมาะสำหรับพระมหากษัตริย์นั้น ยังไงๆก็ไม่ผิดแน่


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ธ.ค. 16, 11:54
จึงเป็นที่มาของแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งพลเรือตรี พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นสถาปนิก คิดขึ้นเป็นคนแรก


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ธ.ค. 16, 11:56
แบบนี้เมื่อทอดพระเนตรแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯทรงนำเข้าไปหารือในที่ประชุมเสนาบดี โดยมีการระบุชัดเจนว่าเป็นพระเมรุมาศทรงบุษบก ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบด้วย


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ธ.ค. 16, 11:58
ต่อ


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ธ.ค. 16, 12:04
การก่อสร้างที่ใช้ไม้ขนาดเล็กลง ไม่สิ้นเปลืองค่าก่อสร้างและทรัพยากรแผ่นดินมากมายเหมือนแต่ก่อนก็ได้เริ่มต้นในครั้งนั้น


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ธ.ค. 16, 12:06
และได้กลายเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมทรงบุษบกสำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตรย์มาตั้งแต่กาลนั้น


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: สองล้อ ที่ 17 ธ.ค. 16, 13:56
สอบถามคุณอา เพิ่มนะครับ เคยมีการประเมินราคาบ้างไหมครับว่า เมรุมาศ มีมูลค่าประมาณเท่าไรกันครับ (ในสมัยก่อน)


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 17 ธ.ค. 16, 16:27
คงมี แต่ผมไม่มีครับ แต่รู้ไปก็งงเปล่าๆ ค่าของเงินมันต่างกันมากในแต่ละรัชกาล ถ้าเทียบกับปัจจุบันยิ่งแล้วใหญ่

ยกตัวอย่าง ไม้สักตอนโน้นราคาถูกกว่าเหล็กมาก ตอนนี้แพงกว่าเหล็กหลายเท่าตัว นี้ยกตัวอย่างรายการเดียว ถ้าเจอทั้งโครงการสมองคนประเมินค่าไม่ไหวหรอก


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: สองล้อ ที่ 17 ธ.ค. 16, 18:30
ขอบคุณ คุณอานวรัตน์ กับ คุณหนุ่มรัตนะมากๆ ครับ



กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: azante ที่ 20 ธ.ค. 16, 11:04
อยากเห็น รูปเมรุ ต่อไปนี้ครับ

1.เมรุผ้าขาวครับว่าหน้าตาเป็นอย่างไร ล่าสุดที่ เป็นพระเมรุสมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ที่วัดเบญจมบพิตร

2.เมรุหลวงวัดเทพศิรินทราวาส หน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ ก่อนมาเป็นในปัจจุบัน

3.เห็นตัวอย่างหนังสือ พระเมรุของ อ.แน่งน้อย มีหัวข้อ พระเมรุ กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ  สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์  ไม่ทราบมีรูปหรือไม่ครับ

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ธ.ค. 16, 16:49
ไม่มีใครมาตอบ ตกเป็นหน้าที่ผม

ผมเอาภาพเมรุผ้าขาวมาให้ชมสักสองสามภาพนะครับ เมรุผ้าขาวเป็นโครงสร้างไม้ชั่วคราว ผนังและหลังคาใช้ผ้าขาวขึง
ทั้งหมดเป็นของเจ้านายองค์อื่น ส่วนพระเมรุสมเด็จกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ที่วัดเบญจมบพิตร ผมไม่มีภาพ


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 ธ.ค. 16, 16:58
เมรุหลวงวัดเทพศิรินทราวาส หน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ ก่อนมาเป็นในปัจจุบัน ผมไม่เคยเห็นภาพครับ

ส่วนพระเมรุกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ในหนังสือพระเมรุมาศของศาสตราจารย์แน่งน้อยมีแต่คำบรรยายไม่มีภาพเราเคยตามล่าหาภาพพระเมรุกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญมาแล้วในเรือนไทยนี้ แต่ไม่สำเร็จครับ
ส่วนของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ มีอยู่ แต่ขอผลัดไปก่อน วันนี้ทำไม่ทันแล้ว


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: azante ที่ 21 ธ.ค. 16, 17:25
ขอบพระคุณมากครับ

 :)


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: azante ที่ 21 ธ.ค. 16, 17:28
เมรุในรูปที่สอง เป็นของ เจ้าคุณจอมมารดาสำลีใช่หรือไม่ครับ


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 ธ.ค. 16, 15:28
เมรุในรูปที่สอง เป็นของ เจ้าคุณจอมมารดาสำลีใช่หรือไม่ครับ


ใช่ครับ
ภาพบนสุด เป็นพระเมรุของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์
ล่างสุด พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช



กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: azante ที่ 23 ธ.ค. 16, 17:15
ขอบคุณ  คุณ NAVARAT.C มากครับ

น่าทึ่งในความสามารถคนในสมัยก่อนจริงๆ ที่สามารถสร้างสรรค์ สิ่งสวยงามได้ขนาดนี้ พระเมรุสูงใหญ่ใช้เวลาการสร้างไม่นานเลย
พระเมรุมาศ พระพุทธเจ้าหลวง ใช้เวลาไม่กี่เดือนเอง

ผ้าขาวขนาดใหญ่แบบนี้ใช้เครื่องทอหรือเปล่าครับ

ปล. รบกวนอย่าลืมภาพที่ขอไว้ด้วยนะครับ



กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 24 ธ.ค. 16, 08:01
ภาพเมรุผ้าขาวที่วัดราชาธิวาส ในอีกลักษณะหนึ่ง


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ธ.ค. 16, 09:00
พระเมรุมาศ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ 


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ธ.ค. 16, 09:01
ภาพ Architectural Drawing ตามการวิจัยของ ศ.แน่งน้อย ครับ


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ธ.ค. 16, 09:04
ภายในพระเมรุมาศอันเป็นที่ประดิษฐานพระโกศพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และ พระศพ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: azante ที่ 25 ธ.ค. 16, 22:43
ขอบคุณ คุณ siamese สำหรับภาพเมรุผ้าขาวนะครับ

ขอบคุณ  คุณ NAVARAT.C อีกครั้งครับ เพิ่งเคยเห็นจริงๆ ที่บอกว่าพระมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระเมรุมาศสุดท้ายยิ่งใหญ่ตามโบราณราชประเพณี ดูแล้วพระเมรุมาศ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลยนะครับ
เคยอ่านข้อมูลว่าใหญ่โตมาก ถึงกับมีเปรียบว่า เป็นพระเมรุมาศ ที่ยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้ายก่อนเปลี่ยนรูปแบบไป


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: azante ที่ 27 ธ.ค. 16, 07:57
พระเมรุมาศ รัชกาลที่ 5  6  8 ที่มีรูปแบบคล้ายๆกันนั้นมีความสูงใหญ่ประมาณเท่าใดครับ

ผมมีความรู้สึกว่าเมื่อมองไปทางวัดพระแก้ว เหมือนกับได้เห็นรูปทรงพระเมรุมาศ 2 แบบคือ
ปรา่สาทพระเทพบิดร ซึ่งเป็นยอดปรางค์  และพระมณฑป เป็นยอดบุษบก


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 27 ธ.ค. 16, 17:52
รัชกาลที่ ๕ ขนาดฐานพระเมรุมาศ ๔๐X๔๐ ความสูงจากพื้นถึงยอด ๔๕ เมตร

รัชกาลที่ ๖ ขนาดฐานพระเมรุมาศ ๔๔X๔๔ ความสูงจากพื้นถึงยอด ๕๔ เมตร

รัชกาลที่ ๕ ขนาดฐานพระเมรุมาศ ๔๒X๔๒ ความสูงจากพื้นถึงยอด ๕๐ เมตร

ผมหาไม่เจอว่าปราสาทพระเทพบิดรสูงเท่าไหร่ และพระมณฑปสูงเท่าไหร่ แต่พระศรีรัตนเจดีย์ พบว่ามีความสูงประมาณ ๔๐ เมตร ท่านก็ต้องเทียบสัดส่วนดูกันเอง


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 28 ธ.ค. 16, 07:41
รัชกาลที่ ๕ ขนาดฐานพระเมรุมาศ ๔๐X๔๐ ความสูงจากพื้นถึงยอด ๔๕ เมตร

รัชกาลที่ ๖ ขนาดฐานพระเมรุมาศ ๔๔X๔๔ ความสูงจากพื้นถึงยอด ๕๔ เมตร

รัชกาลที่ ๕ ขนาดฐานพระเมรุมาศ ๔๒X๔๒ ความสูงจากพื้นถึงยอด ๕๐ เมตร

ผมหาไม่เจอว่าปราสาทพระเทพบิดรสูงเท่าไหร่ และพระมณฑปสูงเท่าไหร่ แต่พระศรีรัตนเจดีย์ พบว่ามีความสูงประมาณ ๔๐ เมตร ท่านก็ต้องเทียบสัดส่วนดูกันเอง

รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างฐานไพฑีและสร้างพระพุทธปรางค์ปราสาทและพระศรีรัตนเจดีย์ ดังนี้

๑. พระศรีรัตนเจดีย์ โปรดเกล้าฯก่อฤกษ์ วันศุกร์แรม ๑๑ ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๑๗ (๑ กุมภาพันธ์ ๒๓๙๘) สูง ๑ เส้น (๔๐ เมตร) เท่ากับพระมณฑป ภายนอกทาสีขาว

๒. พระพุทธปรางค์ปราสาท โปรดเกล้าฯให้สร้างปรางค์สูง ๑ เส้นเช่นเดียวกัน เพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกต ก่อฤกษ์เมื่อวันพุธ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๖ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๑๗ (๙ พฤษภาคม ๒๓๙๘)

แสดงว่าเดิมพระมณฑปนั้นสูง ๔๐ เมตร ดังนั้นสิ่งก่อสร้างทั้งสองจึงก่อสร้างสูงเท่ากันคือ ๔๐ เมตร


กระทู้: เกี่ยวกับรูปทรงพระเมรุมาศ
เริ่มกระทู้โดย: azante ที่ 28 ธ.ค. 16, 07:44
ขอบคุณมากครับ