เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 37
  พิมพ์  
อ่าน: 71485 Dramatic license กับ ข้อเท็จจริง ในหนังอิงประวัติศาสตร์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12607



ความคิดเห็นที่ 375  เมื่อ 28 ม.ค. 18, 07:03

กลับไปฉากถวายตัวอีกคราหนึ่ง

ฉากเด็ด คือพระกำนัลขันที แต่งกายแบบญี่ปุ่น เข้ามาประกาศ  แถมรำพัดเหมือนจะล้อเลียนสไตล์โนะของญี่ปุ่นให้ดูด้วย


ตัวร้าย - สามพี่น้อง(ที่สืบเชื้อสายญี่ปุ่น? มาแต่กาลก่อน)

สามพี่น้องคงไม่มีเชื้อสายญี่ปุ่นอย่างที่คุณศิลาว่า แต่ที่สืบเชื้อสายมาเห็นจะเป็นกิโมโนของ "คุณหญิงทองคำเปลว” เศรษฐีนีม่ายผู้มั่งคั่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่นาแห่งทุ่งบางกะปิ ใน "แผลเก่า" เวอร์ชั่นของหม่อมน้อย

หม่อมท่านคงรักกิโมโนตัวนี้มากเลยนำออกมา "รีรัน" อีกครั้งหนึ่ง  ยิงฟันยิ้ม


ภาพจาก http://news.you2play.com/archives/33568-นก-สินจัย-หวนคืน-หม่อมน้อย-หลัง-17-ปี-รับบท-คุณหญิงฯ-ใน-แผลเก่า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33591

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 376  เมื่อ 28 ม.ค. 18, 14:34

คุณนายทองคำเปลวเลื่อนยศขึ้นไปสูง  จนใส่กิโมโนไม่ได้แล้ว   เลยยกชุดนี้ให้นางพระกำนัลแทนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33591

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 377  เมื่อ 28 ม.ค. 18, 14:45

ถ้าจะมองตัวตนของพระเจ้าเอกทัศ( ต้องถามคุณเพ็ญชมพูว่าพระนามท่านมีตัว น์ หรือไม่)ก็ต้องยกพระเจ้าอุทุมพรมาเป็นตัวเทียบด้วย ถึงจะเห็นภาพชัดขึ้น

พระเจ้าเอกทัศเป็นลูกชังของพระเจ้าบรมโกศ  พอๆกับพระเจ้าอุทุมพรเป็นลูกรัก   แต่ความสัมพันธ์ของพี่น้องสองคนนี้ น่าแปลกตรงที่น้องชาย "หงอ" พี่ชาย เอาจริงๆ     ทั้งๆพ่อก็ให้ท้ายลูกรักมาตลอด 
น้องชายเองก็แข็งขนาดประหารพี่น้องต่างแม่ได้ตั้ง 3 คน  เนรเทศไม่ดูดำดูดีอีก 1 คน
แต่พอมาถึงพี่ชาย   น้องชายกลัวพี่ชายยิ่งกว่ากลัวเสียบ้านเสียเมือง   ยิ่งกว่ากลัวราษฎรล้มตายกันเป็นหมื่นเป็นแสน  ยิ่งกว่ากลัวสิ้นราชวงศ์   
จะเห็นได้จากเมื่อกลับไปบวชอีกครั้ง  ต่อให้ราษฎรอ้อนวอนอย่างไรก็ไม่ยอมสึกออกมาช่วยอย่างครั้งแรก
จะว่าหมดฝีมือหรือไม่มีฝีมือเลยก็ไม่ใช่  เพราะถ้าไม่มีฝีมือพี่ชายคงไม่ขอให้สึกออกมาช่วย
เพียงแต่พระเจ้าอุทุมพรให้ความสำคัญกับพี่ชายยิ่งกว่าอะไรๆทั้งหมด

ก็แสดงว่า ถ้าเทียบด้านกำลังใจกัน   พระเจ้าเอกทัศแข็งกว่าน้องชายมาก   ข้อนี้คงเป็นสาเหตุให้ปกครองอยุธยามาได้ราบรื่น   
หากว่าไม่มีศึกพม่า ท่านก็คงอยู่ครองบัลลังก์ได้ยืนยาวตลอดชีพ

แบบนี้ต่างหากที่อยากเห็น ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12607



ความคิดเห็นที่ 378  เมื่อ 28 ม.ค. 18, 19:30

พระเจ้าเอกทัศ(ต้องถามคุณเพ็ญชมพูว่าพระนามท่านมีตัว น์ หรือไม่)

คุณม้าท่านให้ความเห็นไว้ดังนี้

ความโกรธแค้นที่มีต่อผู้รุกรานและความผิดหวังต่อผู้นำบ้านเมืองที่ฝังอยู่ในใจของผู้คนในยุคสมัยนั้น ถูกนำมาขยายในยุคปลุกกระแสชาตินิยมในอีกร้อยกว่าปีต่อมา สร้างภาพพระเจ้าเอกทัศให้เป็นผู้ร้ายในประวัติศาสตร์ชาติไทย ถึงขนาดที่ว่า พระนามเอกทัศอันเฉลิมพระนามตามพระโพธิสัตว์กลับถูกบิดเบือนเลือนเลอะ กลายเป็น เอกทัศน์ -อ้ายตาเดียว- ให้คนรุ่นหลังหัวเราะเยาะเล่นกัน

ประเด็น พระนามเอกทัศอันเฉลิมพระนามตามพระโพธิสัตว์ น่าจะมีคำอธิบายเพิ่มเติมจากคุณม้า  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33591

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 379  เมื่อ 28 ม.ค. 18, 20:17

รอคุณม้ามาเฉลยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33591

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 380  เมื่อ 29 ม.ค. 18, 10:35

ประเด็นหนึ่งที่น่าหยิบยกมาให้เห็นชัดๆ คือบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ที่หายไปจากละคร  และบุคคลไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ในละคร

จริงอยู่  ในหนังหรือละครอิงประวัติศาสตร์ ย่อมสร้างตัวละครสมมุติขึ้นมา โดยเฉพาะตัวเอก  เช่นแม่พลอยและคุณเปรม ก็ไม่เคยมีตัวตนจริงอยู่ในราชสำนัก   แสนและแม่เรณูนวลใน" ฟ้าใหม่" ก็เช่นกัน    แต่สร้างตัวละครสมมุติก็ไม่จำเป็นต้องลบบุคคลจริงๆที่มีบทบาทสำคัญให้หายไปดื้อๆจากหน้าประวัติศาสตร์    เหมือนอย่าง "ศรีอโยธยา" ทำกับนายสุดจินดา น้องชายท่านทองด้วง      
ท่านผู้นี้เป็นวีรบุรุษมีบทบาทในการกอบกู้อิสรภาพของไทย   มีตัวตนให้เห็นและกล่าวถึงได้ตั้งแต่สมัยปลายอยุธยา มีบทบาทมากกว่านายบุนนาคซึ่งมาโดดเด่นในสมัยรัชกาลที่ 1  เสียอีก
ที่สำคัญคือพระนิพนธ์เพลงยาว ที่ทรงไว้เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จฯกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จไป ตีเมืองพม่า เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๖
ข้อความในนี้ถือเป็นหลักฐานชั้นที่หนึ่ง (primary source) ที่ระบุถึงสาเหตุการเสียกรุงอยุธยา ที่มีผลมาจากความผิดพลาดในการบริหารงานของพระเจ้าเอกทัศ       ความรู้สึกเกลียดชังเคียดแค้นที่พม่ากระทำกับไทย ก็ทรงบันทึกไว้ครบถ้วน
เป็นหลักฐานให้ลูกหลานไทยรุ่นต่อๆมาสืบทอดความรู้สึกนี้ และมีแง่มุมในทางลบต่อพระเจ้าเอกทัศและพม่าที่ทำกับอยุธยามาตลอด
จนมาถึงยุคนี้เองก็เกิดทัศนะใหม่  เห็นพระเจ้าเอกทัศดีขึ้นมา  และพม่าเองก็ไม่ได้เป็นผู้ร้ายกระทำย่ำยีไทยอย่างที่เห็นกันมาแต่เดิม
ก็เลยไม่รู้ว่าเพราะเหตุนี้หรือเปล่า จึงต้องลบเอาบุคคลที่เห็นพระเจ้าเอกทัศไม่เข้าท่า และพม่าในครั้งนั้นก็ทำกับชาวอยุธยาแสนสาหัส  ออกไปจากการรับรู้ของคนดูละคร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33591

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 381  เมื่อ 29 ม.ค. 18, 10:39

ขอยกเพจของคุณ Anti ละครศรีอโยธยา มาให้อ่านกันค่ะ  สรุปไว้ครบถ้วนได้ใจความชัดเจน
5 ชม. ·
วังหน้าพระยาเสือ
บุคคลสำคัญที่ ละครศรีอโยธยา ไม่ให้ความสำคัญ
ตัดทิ้งให้ทรงไม่มีบทบาท ทั้งๆที่ท่านก็ทรงมีความทรงจำเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา บันทึกไว้ตั้งเยอะ อย่างเช่น ผลงานเด่นๆ เช่นเพลงยาวพระยาเสือ โดยทางละครตัดพระองค์ท่านทิ้ง แต่กับเรื่องเสริม ต่อ อายุพระพันวษาน้อย เพิ่มอีกำนัลนารีสังข์ อีบุษบา ไอ้พระพิชัย เสริมเพิ่มความสับสนและเลอะเลือนว่าวังหน้าองค์สุดท้ายของอยุธยาคือเจ้าฟ้าสุทัศน์ บุนนาคอะไรนั้น ซึ่งไม่มีตัวตนจริงหรือมีก็ไม่ได้มีบทบาทสำคัญอะไรเลยสำหรับนายบุนนาค... ไม่รู้ทางผู้จัดและผู้กำกับข้องใจอะไรกับกรมพระราชวังบวรฯ หรือเปล่า
เพลงยาวพระยาเสือ โดย สมเด็จฯกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท

เพลงยาวนิราศเสด็จไปตีเมืองพม่า
พระนิพนธ์ในสมเด็จฯกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
เมื่อครั้งเสด็จไป ตีเมืองพม่า เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๖

ข้อความตอนต้นขาดหายไป
ที่เหลืออยู่เริ่มต้นพรรณนาถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา
และความเศร้าสลดที่ต้องเสียกรุงฯ ความคิดที่จะตีพม่าเพื่อตอบแทน
โดยทรงพระดำริขุดคลองลัดทางปักษ์ใต้เพื่อไปรบ กับพม่า
ให้สมกับคำทำนายว่าหงส์ลงในหนอง พรานผู้หนึ่งยิงหงส์ตาย
ภายหลังเสือกินเนื้อพรานผู้ฆ่าหงส์ (หงส์คือเมืองหงสาวดี
พรานคือพม่า เสือคือองค์สมเด็จกรมพระราชวังฯ)
ตอนท้ายบรรยายถึงความคับแค้นใจที่ยังไม่มีกำลังพอที่รบชนะพม่า
และขอพรเทพเจ้าให้ดลบันดาลให้สำเร็จความปรารถนา

ประกอบด้วยโภชนากระยาหาร
ทุกถิ่นฐานบริบูรณ์เป็นหนักหนา
อยู่เย็นเป็นสุขทุกทิวา
เช้าค่ำอัตราทั้งราตรี

ประหนึ่งว่าจะไม่มีค่ำคืน
รวยรื่นเป็นสุขเกษมศรี
ไม่เห็นเช่นว่าจะเป็นเหมือนเช่นนี้
มาเยินยับอัปรีย์ศักดิ์ศรีคลาย

ทั้งถนนหนทางอารามราช
มาวินาศสิ้นสุดสูญหาย
สารพัดย่อยยับกลับกลาย
อันตรายไปจนพื้นปัถพี

เมื่อพระกาฬมาผลาญดังทำนาย
แสนเสียดายภูมิพื้นกรุงศรี
บริเวณอื้ออึงด้วยชลธี
ประดุจเกาะอสุรีลงกา

เป็นคันขอบชอบกลถึงเพียงนี้
มาเสียสูญไพรีอนาถา
ผู้ใดใครเห็นไม่นำพา
อยุธยาอาภัพลับไป

เห็นจะสิ้นอายุพระนคร
ให้อาวรณ์ผู้รักษาหามีไม่
เป็นป่าหญ้ารกดังพงไพร
แต่จะสาบสูญไปทุกทิวา

คิดมาก็เป็นน่าอนิจจัง
ด้วยกรุงเป็นที่ตั้งพระศาสนา
ทั้งอารามเจดีย์ที่บูชา
ปฏิมาฉลององค์พระทรงญาณ

ก็ทลายยับยุ่ยเป็นผุยผง
เหมือนพระองค์เสด็จดับสังขาร
ยังไม่สิ้นศาสนามาอรธาน
ทั้งเจดีย์วิหารก็สูญไป

เสียดายพระนิเวศน์บุรีวัง
พระที่นั่งทั้งสามงามไสว
ดั้งระเบียบชั้นเป็นหลั่นไป
อำไพวิจิตรรจนา

มุขโถงมุขเด็จมุขกระสัน
เป็นเชิงชั้นลวดลายล้วนเลขา
เพดานในไว้ดวงดารา
ผนังฝาดาดแก้วดังวิมาน

ที่ตั้งบัลลังค์แก้วทุกองค์
ทวารลงอัฒน์จันทร์หน้าฉาน
ปราบพื้นรื่นราบดังพระลาน
มีโรงคชาธารตระการตา

ทิมดาบคดลดพื้นกำแพงแก้ว
เป็นถ่องแถวยืดยาวกันหนักหนา
เป็นที่แขกเฝ้าเข้าวันทา
ดังเทวานฤมิตประดิษฐ์ไว้

สืบทรงวงศ์กษัตริย์มาช้านาน
แต่บุราณแล้วไม่นับพระองค์ได้
พระที่นั่งซึ่งตั้งอยู่ข้างใน
มีสระชลาลัยชลธี

ชื่อที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์
ที่ประพาสมัจฉาในสระศรี
ทางเสด็จเสร็จสิ้นสารพันมี
เป็นที่กษัตริย์สืบมา

ก็สูญสิ้นศรีมลายหายหมด
จะปรากฏสักสิ่งไม่มีว่า
อันถนนหนทางมรรคา
คิดมาก็เสียดายทุกสิ่งอัน

ร้านเรียบเป็นระเบียบด้วยรุกขา
ขายของนานาทุกสิ่งสรรพ์
ทั้งพิธีปีเดือนทุกคืนวัน
สารพันจะมีอยู่อัตรา

ฤดูใดก็ได้เล่นเกษมสุข
แสนสนุกทั่วเมืองหรรษา
ตั้งแต่นี้แลหนาอกอา
อยุธยาจะสาบสูญไป

จะหาไหนได้เหมือนกรุงแล้ว
ดังดวงแก้วอันสิ้นแสงใส
นับวันแต่จะยับนับไป
ที่ไหนจะคงคืนมา

ไป่ปรากฏเหตุเสียเหมือนครั้งนี้
มีแต่บรมสุขา
ครั้งนี้มีแต่พื้นพสุธา
อนิจจาสังเวชทนาใจ

ทั้งนี้เป็นต้นด้วยผลเหตุ
จะอาเพศกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่
มิได้พิจารณาข้าไท
เคยใช้ก็เลี้ยงด้วยเมตตา

ไม่รู้รอบประกอบในราชกิจ
ประพฤติการแต่ที่ผิดด้วยอิจฉา
สุภาษิตท่านกล่าวเป็นราวมา
จะตั้งแต่งเสนาธิบดี

ไม่ควรจะให้อัครฐาน
จะเสียการแผ่นดินกรุงศรี
เพราะไม่ฟังตำนานโบราณมี
จึงเสียทีเสียวงศ์กษัตรา

เสียยศเสียศักดิ์นัคเรศ
เสียทั้งพระนิเวศน์วงศา
เสียทั้งตระกูลนานา
เสียทั้งไพร่ฟ้าประชากร

สารพัดจะเสียสิ้นสุด
ทั้งการยุทธก็ไม่เตรียมฝึกสอน
จึงไม่รู้กู้แก้พระนคร
เหมือนหนอนเบียนให้ประจำกรรม

อันจะเป็นเสนาธิบดี
ควรที่จะพิทักษ์อุปถัมภ์
ประกอบการหว่านปรายไว้หลายชั้น
ป้องกันปัจจาอย่าให้มี

นี่ทำหาเป็นเช่นนั้นไม่
เหมือนไพร่ชั่วช้ากระทาสี
เหตุภัยใกล้กรายร้ายดี
ไม่มีที่รู้สักประการ

ศึกมาแล้วก็ล่าไปทันที
มิได้มีเหตุจึงแตกฉาน
ตีกวาดผู้คนไม่ทนทาน
เผาบ้านเมืองยับจนกลับไป

ถึงเพียงนี้ไม่มีที่จะกริ่งเลย
ไม่เคยรู้ล่วงลัดจะคิดได้
ศึกมาชิงล่าเลิกกลับไป
มิได้เห็นจะฝืนคืนมา

จะคิดโบราณอย่างนี้ก็หาไม่
ชาติไพร่หลงฟุ้งแต่ยศถา
ครั้นทัพเขายกกลับมา
จะองอาจอาสาก็ไม่มี

แต่เลี้ยวลดปดเจ้าทุกเช้าค่ำ
จนเมืองคร่ำเป็นผุยยับยี่
ฉิบหายตายล้มไม่สมประดี
เมืองยับอัปรีย์จนทุกวันฯ

เหตุเสียกรุงศรีอยุธยา
เหมือนคำที่ว่าไม่เสกสรรค์
ชะล่าใจเคยได้แต่ครั้งนั้น
จึงประชิดติดพันแต่นั้นมา

แตกยับกลับไปก็หลายหน
คิดกลจะลวงให้หลงหา
แต่งคนให้ถือหนังสือมา
เจรจาความเมืองเป็นไมตรี

ทำไว้แต่พอให้รอรั้ง
ขยับยกเข้ามาตั้งตะนาวศรี
จะเดินมั่นกันติดทางตี
ทำนองทีจะคิดให้ชิดไว้

เห็นจะผ่อนโยธาอาหาร
มันคิดการมิให้ใครสงสัย
จะนิ่งอยู่ดูเบาเอาใจ
เห็นเหตุเภทภัยจะเกิดการมา

จะเร่งรัดตัดคิดมันเสียก่อน
บั่นรอนอย่าให้ทันแน่นหนา
จำจะคิดให้ผิดแต่ก่อนมา
เป็นทัพหน้านาวายกไป

ตามทางทะเลไปสงขลา
จะขุดพสุธาเป็นคลองใหญ่
ให้เรือรบออกประจบเอาเมืองไทร
ปากใต้ฝ่ายทะเลให้พร้อมกัน

จึงจะยกไปตีเอามะริด
จะปิดปากน้ำเสียให้มั่น
ทัพเรือมันจะพลอยเข้าช่วยกัน
จะตีบั่นเกยทัพให้ยับไป

รบไหนจะให้ยับลงที่นั่น
แต่กึ่งวันไม่ให้ทนทานได้
จะทำการครั้งนี้ให้มีชัย
จะไว้เกียรติให้สืบทั้งแผ่นดิน

ทำเมืองเราก่อนเท่าใด
จะทดแทนมันให้หมดสิ้น
มันจิตอาหังการ์ทามิฬ
จะล้างให้สุดสิ้นอย่าสงกา

การเสร็จสำเร็จลงเมื่อใด
ซึ่งคิดไว้ขอให้สมปรารถนา
แม้นมิได้ก็ไม่กลับคืนมา
จะเห็นเมืองพม่าในครั้งนี้

เกรงกริ่งอยู่แต่ข้างทัพบก
จะไม่ยกหักได้ให้ถึงที่
เกลือกมันกั้นตัดทางตี
จะตัดที่เสบียงอาหารไว้

ไม่สมคะเนให้เรรวน
ทำป่วนไม่หักเอามันได้
เท่านี้ดอกที่วิตกใจ
จะทำให้เสียการเหมือนทะวาย

เมื่อชนะแล้วกลับแพ้ให้แชไป
จึงเสียชัยเสียเชิงไม่สมหมาย
พากันหนีแต่ไม่มีอันตราย
ถ้าเสียหายอย่างอื่นไม่เป็นไร

อันกรุงรัตนะอังวะครั้งนี้ฤา
จะพ้นเนื้อมืออย่าสงสัย
พม่าจะมาเป็นข้าไทย
จะได้ใช้สร้างกรุงอยุธยา

แม้นสมดังจิตไม่ผิดหมาย
จะเสี่ยงทายตามบุพเพวาสนา
จะได้ชูกู้ยกนัครา
สมดังปรารถนาทุกสิ่งอัน

ถ้าเสร็จการอังวะลงตราบใด
จะพาใจเป็นสุขเกษมสันต์
อ้ายชาติพม่ามันอาธรรม์
เที่ยวล้างขอบขันฑ์ทุกพารา

แต่ก่อนก็มิให้มีความสุข
รบรุกฆ่าฟันเสียหนักหนา
แต่บ้านร้างเมืองเซทั้งวัดวา
ยับเยินเป็นป่าทุกตำบล

มันไม่คิดบาปกรรมอ้ายลำบาก
แต่พรัดพรากจากกันทุกแห่งหน
มันเหล่าอาสัตย์ทรชน
ครั้งนี้จะป่นเป็นธุลี

เพราะเหตุบาปกรรมมาซ้ำเติม
จะพูนเพิ่มให้ระยำยับยี่
ด้วยทำนายว่าไว้แต่ก่อนมี
เหมือนครั้งมอญไปตีเอานัครา

คือหงส์ลงมากินน้ำหนอง
เหตุต้องเมืองมอญหงสา
ตัวนายอองไจยคือพรานป่า
คิดฆ่าหงส์ตายจึงได้ดี

คือพม่ามาตีเอามอญได้
ก็สมในทำนายเป็นถ้วนถี่
ยังแต่พยัคฆ์เรืองฤทธี
จะกินพรานที่ยิงหงส์ตาย

บัดนี้ก็ถึงแก่กำหนด
จะปรากฏโดยเหตุเป็นกฎหมาย
ทัพเราเข้าต้องคำทำนาย
คือเสือร้ายอันแรงฤทธา

จะไปกินพรานป่าที่ฆ่าหงส์
ให้ปลดปลงม้วยชีพสังขาร์
แล้วมีคำทำนายบุราณมา
ว่าพม่าจะสิ้นซึ่งรูปกาย

ถ้าผู้ใดใครเห็นให้เขียนไว้
จึงจะได้ประจักษ์สืบสาย
เห็นเป็นเหตุต้องเหมือนคำทำนาย
อังวะจะฉิบหายในครั้งนี้

ถ้าพร้อมใจพร้อมจิตช่วยคิดการ
จะสำราญทั่วโลกเกษมศรี
นี่จนใจสิ่งไรก็ไม่มี
เห็นทีจะตะกายไปตามจน

จะไปได้ฤามิได้ยังไม่รู้
จะเสือกสู้ไปตามขัดสน
ถ้าสุดคิดผิดหมายที่ผ่อนปรน
ก็จะบนบวงสรวงแก่เทวา

เดชะเทเวศน์ช่วยอวยชัย
ที่คิดไว้ขอให้สมปรารถนา
ตั้งแต่สวรรค์ชั้นกามา
ตลอดจนมหาอัครพรหม

ขอจงมาช่วยอวยพรชัย
ที่มาดไว้ให้ได้ดังประสงค์
จงดลใจไทยกรุงให้นิยม
ช่วยระดมกันให้สิ้นศึกเอย ฯฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33591

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 382  เมื่อ 29 ม.ค. 18, 17:43

https://pantip.com/topic/37326640

ได้อ่านหลายๆคอมเม้นท์ในยูทูป แล้วก็รู้สึกตลกในตรรกะของคนดูบางคนที่ว่า คุณน้อยเป็นม.ล. เลยรู้ธรรมเนียมดี ตรรกะนั้นคงใช้ได้กับม.ล.บางท่าน ไม่ใช่กับคุณน้อยแน่นอน ก็ยังงงอยู่ว่า เป็น ม.ล. แต่ทำไมเหมือนไม่รู้ธรรมเนียมอะไรในวังเลยจริงๆ ทั้งๆที่อายุคุณน้อยก็ไม่น้อยแล้ว น่าจะทันพวกเจ้านายที่เคยอยู่ในรั้วในวัง น่าจะต้องได้รับฟังอะไรมาบ้าง โดยส่วนตัวเราไม่ได้ติดตามเรื่องนี้บ่อยนัก เพราะเปิดมาทีไรก็รู้สึกตะขิดตะขวงใจตลอด มันทำให้ไม่สามารถดูละครเรื่องนี้ได้อย่างราบรื่น และคิดว่าคงมีอีกไม่น้อยที่รู้สึกเหมือนเรา เท่าที่เห็นว่ามันผิดจากธรรมเนียม ก็อย่างเช่น

1. ฉากเข้าเฝ้า ทำไมให้ข้าราชการระดับคุณหลวง ถึงสามารถไปนั่งหมอบกระแตอยู่หน้า พระยาได้ตลอดเวลา
2. ทำไมพระเจ้าอุทุมพร พระเจ้าเอกทัศ ถึงเรียกใช้แต่ข้าราชการชั้นผู้น้อย ทั้งๆที่ในการสงครามหรืองานเมืองน่าจะเรียกหา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
3. คุณกำนัลนารีสังข์ ทำกิริยาที่ไม่สมควรอยู่ในวังเลย แม้จะบอกว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นสีสัน นักเทศ ขันที จริงๆ รูปร่างเป็นชาย เป็นพวกแขก กับพวกจีน ไม่มีที่จะแต่งตัวแบบนี้
4. พระเจ้าเอกทัศ ทำไมต้องสวมพระมหามงกุฎอยู่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่ จงกรม ทั้งๆที่ความจริงเราเพิ่งมาถือว่าพระมงกุฎสำคัญก็ล่วงเข้าสมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว
5. พระพันวสาน้อย ทำไมต้องห่มสไปเต็มยศตลอดแม้เวลาอยู่ในฝ่ายใน ทั้งๆที่ปกติจะผลัดเป็นผ้าคาดอกทั้งนั้น เพราะสบายและคล่องตัวกว่าเยอะ
6. เจ้าจอมที่คุณญิ๋งแสดง ทำไมถึงมีสิทธิ์ขึ้นเสลี่ยงในเขตวังหลวง ทั้งๆที่ปกติขนาดเจ้านายระดับพระองค์เจ้ายังต้องเดิน แถมพนักงานเสลียงยังเป็นผู้ชายอีก ผิดทั้งทำธรรมเนียม ผิดทั้งจารีต
7. รุจจาเทวี เป็นชื่อพระองค์เจ้า ไม่ใช่เจ้าฟ้า
8. เจ้าฟ้า ไม่ไหว้ไพร่แน่นอนในสมัยก่อน อย่างช้าสุดธรรมเนียมนี้ยังถือกันอยู่จนถึงรัชกาลที่ 5 พวกที่บอกว่าเจ้าไหว้ไพร่ได้นั้นเพราะ ธรรมเนียมมันเคลื่อนมามากแล้ว เอาไปเทียบกันไม่ได้ สมัยที่ศักดินาเข้มข้นมันต่างกับสมัยเราเยอะ
9. พระอิสริยยศ พระอัครมเหสีในสมัยอยุธยาเป็น "กรมขุน หรือกรมหลวง" เพราะฉะนั้นเป็น กรมขุนพิมลภักดี ถ้าจะยอพระเกียรติท่านจริง ก็ไม่ควรไปลดยศพระองค์ท่าน เป็นแต่เพียง "กรมหมื่น"
10. เด็กหญิงที่ยังไม่โกนจุก หรือ โสกันต์ จะไม่ห่มสไบ
11. บุษบาบรรณ นี่คือชื่อ ไพร่สมัยอยุธยาจริงๆหรือ เข้าใจว่าเป็นนางเอก แต่ก็ควรตั้งชื่อให้เหมาะสม เจ้าฟ้าสมัยนั้น ชื่อ นิ่ม สังวาล ประชาวดี พระองค์เจ้าชื่อแมลงเม่า มังคุด รถ นี่เป็นเพียงไพร่ถึงจะบอกว่ามีเชื้อสายพราหมณ์ก็เถอะ ถ้าชื่อหรูกว่าเจ้า รับรองอยู๋ในวังไม่รอด มีแต่คนเกลียดไม่เป็นที่โปรดปรานแบบนี้หรอก เพราะประพฤติเสมอ เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ตั้งชื่อสูงเกินศักดิ์
12. ฉากถวายตัว นี่ก็สุดบรรยาย นึกว่ารำแก้บน
13. เกือบลืม คุณพวงแก้ว (ไม่แน่ใจว่าใช้ชื่อนี้ไหม) เชิญรับยาที่ช่องเบอร์ 6 เถอะ ล้นจนไม่รู้จะล้นยังไง ไม่รู้ว่าผู้กำกับเป็นคนบอกให้ถ่ายทอดแบบนี้รึ่เปล่า คือ มัน out of reality มาก
14. พระเจ้าอุทุมพร ห่มลูกบวบ คือ สรุปเป็นมอญนิกาย ไม่ใช่ลังกาวงศ์แล้วหรืออย่างไร

ขอเพิ่มเติมจากเพื่อนๆที่ช่วยกันให้ข้อมูลที่ผิดปกติของเรื่องนี้
15. พกดาบเข้าเฝ้า ไม่มีแน่นอน ผิดกฎมณเฑียรบาลยกเว้นแต่ราชองครักษ์ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยเท่านั้นถึงมีสิทธิ์พกอาวุธในเขตพระราชฐาน
16. สมัยอยุธยาไม่ใส่เสื้อเข้าเฝ้า เพิ่งเริ่มมีสมัยรัชกาลที่ 4 อันที่จริงเรื่องนี้ไม่เป็นไร เพราะคุณน้อยอาจจะคิดว่าอุจาดเลยให้ใส่เสื้อ แต่กระทั่งชมตลาดยังใส่เสื้อเต็มยศนี้เกินไปนิดนึง
17. การพูดไทยคำอังกฤษคำ เช่น รับ tea ไหมจ๊ะ ถามจริงๆคนเรียนเมืองนอกเค้าพูดแบบนี้หรือ พูดรับชาไหมจ๊ะ จะดูระรื่นหูกว่าไหม
18. พระเกี้ยว คงไม่ได้ใส่ตลอดทั้งวี่ทั้งวัน ปกติยังไม่ตัดจุกจะร้อยมาลัยสวมรอบพระเมาฬี(จุก) พระเกี้ยวคงใช้เฉพาะในพระราชพิธีโสกันต์ เกศากันต์ หลังตัดจุกคงไว้ผมยาว ก็ไม่ใส่พระเกี้ยวอยู่ดี ใส่มากๆหนักศีรษะ ไมเกรนพาลจะรับประทานเอา
19. พระพันวสาน้อยพระราชทานเกี้ยวทองกับปิ่นทองรับขวัญหลานพระสนม เราอุทานเบาๆ สมัยก่อนจะให้อะไรแก่ใครต้องคำนึงถึงฐานันดรเสมอ เจ้าฟ้าใช้เครื่องทอง หม่อมเจ้าใช้เครื่องเงิน ไม่มีสิทธ์ใช้เครื่องทองเพราะสูงเกินศักดิ์ หม่อมราชนิกูลใช้เครื่องนาค การที่พระพันวสาน้อยซึ่งย่อมต้องรู้ธรรมเนียมพวกนี้เป็นอย่างดี จะพระราชทานเครื่องทองนั้นคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้
20. พระสยามเทวาธิราช ประเด็นแรกชาวอยุธยา เรียกตัวเองว่า คนไทย เรียกกรุงศรีอยุทธยา (เขียนตามตัวสะกดดั้งเดิม) แบบลำลองว่ากรุงไทย เราไม่เคยเรียกตัวเองว่า สยามจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งนำไปสู่พระเด็นถัดมาคือ พระสยามเทวาธิราชก็เพิ่งมามีในรัชกาลที่ 4 นี่เอง ที่ถูกน่าจะบอกว่า พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง มากกว่า

          ถึงจะบอกว่ามันเป็นเพียงละคร แต่ละครก็ควรจะสอดแทรกเกร็ดความรู้ที่ถูกต้องให้กับผู้ชม โดยเฉพาะเด็กๆที่ไม่มีผู้รู้คอยให้คำแนะนำ จะจำไปผิดๆได้ ไม่ใช่สักแต่จัดฉากสวย เสื้อผ้าหน้าผมอลังการ เครื่องประกอบฉากดูไฮโซ นั่นจริงๆแล้วเป็นแค่ส่วนเสริมให้ละครออกมาน่าดูเท่านั้น สิ่งที่ผู้จัดและผู้กำกับทั้งหลายควรให้ความสำคัญที่สุด ควรจะเป็นเนื้อหาความถูกต้อง เพื่อให้คนไทยรุ่นหลังอย่างพวกเราๆได้เกิดความภาคภูมิใจว่า เราเป็นชาติหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ มี"ราก" มีความเป็นมาที่ช้านาน ซึ่งสามารถถ่ายทอดออกมาได้โดยผ่านจารีต ประเพณีและธรรมเนียม (ที่บางท่านอาจจะคิดว่ายุบยิบหยุมหยิมเหล่านี้) และยังเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษที่ท่านได้สละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อให้เรามีแผ่นดินอาศัยอยู่มาจนถึงบัดนี้ได้อย่างแท้จริง

          จริงๆแล้วการหาข้อมูลคิดว่าไม่ได้หนักหนาหรือยากลำบากอะไรเลยอะไรเลย ถ้าจะให้วิจารณ์ตรงไปกว่านี้คือ เทียบกับ ฟ้าใหม่ สายโลหิต รัตนโกสินทร์ ไม่ได้เลย ทั้งๆที่ละครเหล่านี้ไม่ได้มีฉากอลังการอะไร แต่กลับสะท้อนสภาพสังคมที่เป็นจริงในสมัยก่อนออกมาได้อย่างดีเยี่ยม นี่ถึงจะเรียกว่าละครที่มีคุณภาพ และรับผิดชอบต่อสังคม

          จุดประสงค์ของการตั้งกระทู้นี้นอกจากต้องการเผยแพร่สิ่งที่ถูกต้องแล้ว ยังแอบหวังใจเล็กๆว่ามันจะไปถึงทางทีมผู้จัด โดยเฉพาะคุณน้อย ทุกคนล้วนเคยทำเรื่องผิดพลาดมาแล้วทั้งนั้น แต่สำคัญคือต้องแก้ไข หวังว่าคุณน้อยคงใช้สิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องนี้เป็นบทเรียน และปรับปรุงให้ดีขึ้นในละครหรือภาพยนตร์เรื่องหน้าต่อๆไป ถ้าคุณน้อยใส่ใจให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้มากขึ้น รับรองว่าละครของคุณน้อยจะต้องออกมาอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นที่ชื่นชมในทุกด้านอย่างแน่นอน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12607



ความคิดเห็นที่ 383  เมื่อ 29 ม.ค. 18, 20:38

หลายอย่างนั้นผิดเพี้ยน   แม้จะเขียนว่าตั้งใจ
เทิดซึ่งพระเกียรติไว้       ด้วยใจหมายสดุดี

ผิดทั้งประวัติศาสตร์       ผิดทั้งราชประเพณี
ผิดแล้วฤๅควรที่            จะนิ่งไว้ไม่ชี้แจง




หนังสือ “ความทรงจำ” พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าว่ามีผู้แต่งหนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผิดเพี้ยนจากข้อเท็จจริง

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวิจารณ์หนังสือเฉลิมพระเกียรติที่เขียนเรื่องเป็นความเท็จเหล่านี้ไว้ว่า

“ข้อความเหล่านี้เป็นของผู้ไม่รู้ราชประเพณี ประดิษฐ์ขึ้นในหนังสือที่ตนแต่ง หวังจะให้คนชมว่ารู้มาก แต่น่าอนาถใจที่มีบุคคลชั้นสูงอันควรจะรู้ว่าเป็นเท็จยอมเชื่อถึงคัดเอามาลงในหนังสือที่ตนแต่งพิมพ์ในภายหลัง ฉันได้เคยต่อว่าก็แก้แต่ว่า ถึงไม่จริงนักก็เป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ฉันเห็นว่าแต่งหนังสือเฉลิมพระเกียรติ ควรกล่าวแต่ที่เป็นความจริง ถ้าเอาความเท็จมากล่าวหาเป็นพระเกียรติไม่”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33591

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 384  เมื่อ 29 ม.ค. 18, 21:14

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33591

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 385  เมื่อ 30 ม.ค. 18, 11:50





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33591

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 386  เมื่อ 30 ม.ค. 18, 12:00






บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33591

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 387  เมื่อ 30 ม.ค. 18, 12:25

หาคลิป ตอนที่ 14 [4/6] ไม่เจอค่ะ  คุณเพ็ญชมพูเจอไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12607



ความคิดเห็นที่ 388  เมื่อ 30 ม.ค. 18, 12:52

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33591

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 389  เมื่อ 30 ม.ค. 18, 13:22

นึกแล้วว่าต้องเจอ ขอบคุณค่ะ
จะยกไปใส่ข้างบนเลยนะคะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 24 25 [26] 27 28 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง