เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: Kiangsak loekaudom ที่ 23 พ.ย. 18, 18:58



กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 23 พ.ย. 18, 18:58
เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสคุยกับตาเกี่ยวกับเทียดผม(ยายของตา) ตาผมเล่าให้ฟังว่า เทียดผมนั้นโดนลูกเขยหลอกให้ปั้มลายมือ โดยแสร้งเอาตำรวจมาว่า ไม่มีเหล้า-สุรา อยู่ในบ้าน เทียดผมเลยปั้มลายมือไป แต่ที่จริงแล้วใบที่เทียดปั้มลงไปนั้น เป็นเอกสารเซ็นสัญญายกที่ดินให้ส่วนหนึ่ง ซึ่งเยอะพอสมควร(ประมาณ20ไร่) เลยเกิดเป็นความขึ้นศาลขึ้นมา และตาผมยังเล่าอีกว่า สมัยนั้นค่าทนายก็แพงมากประมาณครั้งละ 3,000-4,000 บาท เรื่องนี้น่าเกิดปี2486-2487 และเนื่องจากบ้านตาผมไม่ได้อยู่ตัวเมืองเวลาไปว่าความก้ต้องเดินทางไกลและต้องนอนโรงแรม
ผมเลยเกิดคำถามว่า
1. สมัยก่อนค่าทนายถือว่าแพงไหมครับ3-4 พันสำหรับสมัยนั้น
2. คนสมัยก่อนสามารถหลอกให้ปั้มลายนิ้วมือง่ายขนาดนั้นเลยหรอครับ
3. สมัยนั้นมีศาลตัดสินความตามตัวเมืองแบบสมัยนี่แล้วหรอครับไม่ใช่ตัดสินกันตามอำเภอหรือให้พวกผู้ใหญ่หรือกำนันจัดการหรือครับ
#ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ย. 18, 19:07
ยกคำถามทั้งหมดให้คุณ Naris ค่ะ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 24 พ.ย. 18, 12:09
ในปี 2486 จะมีค่าทนายความประมาณใด ผมไม่ทราบจริงๆครับ
ผมจึงขอเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผมคุ้นเคยคือ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติว่า "ข้าราชการการเมืองตำแหน่งรัฐมนตรีซึ่งได้รับราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมืองมาแล้ว และมีเวลาราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมืองรวมกันไม่น้อยกว่าสี่ปีบริบูรณ์ เมื่อออกจากตำแหน่งและไม่ประสงค์จะรับบำเหน็จบำนาญตามความในบทแห่งพระราชบัญญัตินี้โดยประการอื่น ก็ให้มีสิทธิรับบำนาญเดือนละสามร้อยบาท"

จะเห็นว่า คนระดับรัฐมนตรี ซึ่งทำงานมาสี่ปี เมื่อพ้นจากตำแหน่ง ในสมัยปี 2494 นั้น หลวงจ่ายบำนาญให้เดือนละ 300 บาทครับ

อีกกฎหมายหนึ่ง เป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ กระทรวงยุติธรรม (ฉะบับที่ 1) พุทธศักราช 2477
(เล่ม 51 12 สิงหาคม 2577) ในพรฎ.นี้ ปลัดกระทรวง มีเงินเดือน 800 - 1000 บาท ครับ 
 
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ขออนุมานว่า ค่าทนายความในปี 2486 ราคา 3000 บาท ถือว่าแพงสุดๆไปเลยหละครับ 


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 24 พ.ย. 18, 12:22
ส่วนการหลอกให้พิมพ์ลายนิ้วมือ อันนี้สามารถเกิดขึ้นได้ครับ เป็นปกติธรรมดา คนเราไม่ได้ตั้งระวังตัวไปเสียทุกอย่าง ยิ่งกับคนที่น่าเชื่อถือ น่าไว้ใจด้วยแล้ว บางทีก็ไม่ได้สงสัยอะไรเลยครับ อย่าว่าแต่สมัยก่อนเลยครับ สมัยนี้ก็ยังมีผู้ถูกหลอกอยู่ตลอด อย่างที่เห็นในคดีแกงค์คอลเซนเตอร์นั่นอย่างไรครับ บางทีผู้ที่ถูกหลอกก็เป็นถึงอาจารย์ เป็นคนมีความรู้ เป็นอดีตข้าราชการก็มี ก็ยังถูกหลอกได้เลยครับ

สำหรับเรื่องศาลในต่างจังหวัด ช่วงนั้นมีแล้วครับ  (ผมค้นเจอพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศาลในช่วยเวลานั้นหลายฉบับ มีที่น่าสนใจคือ การจัดตั้งศาลจังหวัดล้านช้าง ศาลจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ศาลจังหวัดพิบูลย์สงคราม และศาลจังหวัดพระตะบองด้วยครับ โดยศาลทั้ง 4 จะเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2484 ครับ)

อย่างไรก็ดี ในสมัยนั้น การคมนาคมไม่เหมือนสมัยนี้ การเดินทางเข้าเมืองเพื่อไปขึ้นศาลเป็นเรื่องที่วุ่นวายยุ่งยากมากครับ ประชาชนนิยมตัดสินความกันเองมากกว่าครับ อาจจะให้ผู้ใหญ่ในท้องถิ่นที่เป็นที่นับถือเป็นผู้ตัดสินให้ก็ได้ครับ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 24 พ.ย. 18, 18:05
ขอบคุณสำหรับคำตอบมากๆครับ ตาเล่าให้ผมเพิ่มอีกว่า กว่าจะเสร้จคดีก้ต้องเดินทางไปว่าความ3-4 ครั้ง จนในที่สุดเทียดของผมก้ชนะความ ทางลูกเขยก้เลยขอซื้อ ผมก้แปลกใจทำไมไม่ขอซื้อตั้งแต่ทีแรกครับ555 และอีกอย่างสมัยนั้นบ้านนอกคนเรียนจบสูงๆก้คงไม่ค่อยมี ทนายคนนี้เลยเรียกเงินแพงๆแน่เลยครับ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: V_Mee ที่ 24 พ.ย. 18, 19:14
ศาลในหัวเมืองมีมาตั้งแต่กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เสด็จกลับจากทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษราว พ.ศ. ๒๔๓๙ และรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ทรงเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ไปจัดตั้งศาลในหัวเมืองมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๑ แล้วครับ
ช่วงแรกจัดตั้งศาลมณฑลขึ้นก่อน  แล้วจึงจัดตั้งศาลจังหวัดจนครบทุกจังหวัดในช่วงปลายรัชกาลที่ ๕ ต่อต้นรัชกาลที่ ๖  รัชกาลที่ ๖ ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องคดีสำคัญ  แสดงให้เห็นการพิจารณาในศาลมณฑลโลเลบุรี ด้วยครับ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 24 พ.ย. 18, 21:08
แล้วคติที่ว่า คนจนมุงแฝกคนรวยสังกะสีนี่ สมัยนั้นจริงหรือเปล่าครัย


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 พ.ย. 18, 09:38
พูดถึงอัตราเงินสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2   จำได้จากหนังสือ "เพื่อนนักเรียนเก่า" ของนายแพทย์เสนอ อินทรสุขศรี
ท่านเล่าเรื่องสมัยเป็นเด็กนักเรียนประมาณพ.ศ. 2480  ว่า สมัยนั้นใครมีเงิน 1000 บาทก็ถือว่าเป็นเศรษฐีย่อยๆแล้ว
ค่าใช้จ่ายอย่างประหยัดในครอบครัวชาวบ้านธรรมดาๆ ตกเดือนละ 20 บาท
ค่าทนาย 3000 บาทในพ.ศ. 2486 ปลูกบ้านได้หลังหนึ่งเชียวนะคะ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 พ.ย. 18, 09:39
แล้วคติที่ว่า คนจนมุงแฝกคนรวยสังกะสีนี่ สมัยนั้นจริงหรือเปล่าครัย
จริงค่ะ  สำหรับต่างจังหวัด    คนรวยเท่านั้นถึงจะมีเงินซื้อสังกะสีมุงหลังคาได้   


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 25 พ.ย. 18, 11:38
ขอบคุณมากๆครับ เทียดผมเป็นคนต่างจังหวัดแถมอยู่ไกลจากตัวเมืองอีกด้วยซ้ำ ตาผมบอกว่าเทียดผมเขามีเชี่ยนหมากเงิน มีทองสะพายแล่ง และเวลาสลากภัต ท่านก็จะทำของใส่ภาชนะทองเหลืองไปทำบุญที่วัดครับ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 25 พ.ย. 18, 18:07
จริงค่ะ  สำหรับต่างจังหวัด    คนรวยเท่านั้นถึงจะมีเงินซื้อสังกะสีมุงหลังคาได้  

ราคาสังกะสีมุงหลังคา พ.ศ. ๒๔๘๕

จาก  ประกาสคนะกัมการควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่น ๆ เรื่องกำหนดราคาสูงสุดแห่งสิ่งของ (ฉบับที่ ๑) (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/D/081/3130.PDF)


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 25 พ.ย. 18, 19:20
ขอบคุณมากๆครับ เทียดผมบ้านท่านมุงหลังคาบ้านด้วยสังกะสี ฟังตาผมบอกเหมือนจะไม่ใช่ทรงเหมือนเรือนไทย ลักษณะหักมุมผมก็อธิบายไม่ถูกครับ555 ตาผมบอกว่า2 ปี คดีความถึงจะเสร็จรวมๆแล้ว เทียดผมน่าจะเสียเงินค่าทนายเหยียบๆหมื่น ไม่รวมค่ากิน ค่าเดินทาง ที่พัก


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 พ.ย. 18, 19:27
คุณเทียดคุณน่าจะเป็นเศรษฐีประจำท้องถิ่นนั้นเลยเชียวละค่ะ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 25 พ.ย. 18, 19:33
เชี่ยนหมากเงิน กับทองสะพายแล่ง เครื่องทองเหลือง สมัยก่อนราคาแพงมากหรือไม่ครับ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 พ.ย. 18, 20:24
โลหะมีค่่าที่คนยุคชั้นใช้  แบ่งได้เป็น 3 ระดับตามราคา คือทอง เงิน และนาก
ทองเหลืองราคาถูกสุด เป็นของใช้ทั่วไป  ใครพอมีเงินก็ซื้อมาได้
ถ้าเป็นสามัญชนฐานะร่ำรวย ก็มีทองเป็นเครื่องประดับตัว เช่นสร้อยสะพายแล่ง(หมายถึงสร้อยสังวาล หรือสร้อยตัว  สวมเฉียงบ่าทับบนผ้าห่มอีกที สำหรับสตรี)  นอกจากนี้ก็มีเข็มขัดทอง  สำหรับระดับเศรษฐีนี   ถ้าเป็นแม่บ้านที่ฐานะธรรมดาก็เข็มขัดนาก
เชี่ยนหมากเงิน มีอยู่ตามบ้านคนมีฐานะดีทั่วไปค่ะ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 25 พ.ย. 18, 20:30
ขอบคุณอาจารย์เทาชมพูมากๆครับ ทองสะพายแล่งกับสร้อยสะพายแล่ง ก็คงเหมือนกันมังครับ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 25 พ.ย. 18, 20:42
ทองสะพายแล่ง คือสร้อยสะพายแล่งทำด้วยทอง ค่ะ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 25 พ.ย. 18, 20:47
ขอบคุณมากๆครับ ผมคิดว่าชาวบ้านทั่วไปจะมีเหมือนกันหมดครับ เพิ่งกระจ่างตอนนี้เอง แสดงว่า คนที่มีทองสะพายแล่ง เชี่ยนหมกเงิน บ้านมุงสังกะสี คงต้องมีฐานะพอสมควร ผมคงต้องสอบถามตาเพิ่มแล้วล่ะครับว่าเทียดหญิงผมท่านทำอะไรถึงมีได้ขนาดนี้


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 พ.ย. 18, 09:37
"สร้อยสะพายแล่ง" ตามความหมายที่ใช้กันอยู่ตรงกับคำว่า "สังวาล" ของท่านรอยอิน

สังวาล สร้อยเครื่องประดับชนิดหนึ่งใช้คล้องเฉวียงบ่า. (ป. เสวาล; ส. เศวาล, ไศวาล ว่า สาหร่าย).

ส่วน "สะพายแล่ง" หมายถึง

สะพายแล่ง ลักษณะที่ถูกฟันขาดเฉียงบ่า เรียกว่า ขาดสะพายแล่ง, ตะพายแล่ง ก็ว่า.

คำว่า "สะพายแล่ง" ตามความหมายของท่านรอยอิน ฟังดูน่ากลัวเกินกว่าจะใช้กับเครื่องประดับ  ;D

ภาพจาก https://www.facebook.com/224705224234289/posts/1654832074554923/


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 พ.ย. 18, 16:57
ชาวบ้านรุ่นคุณเทียดคงไม่ได้ใช้อย่างท่านรอยอิน
พวกท่านอยู่มาก่อนราชบัณฑิตทำพจนานุกรมกัน


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 26 พ.ย. 18, 18:26
รอยอินท่านอาจจะลืมใส่อีกความหมายของ "สะพายแล่ง" ลงไป อย่างในความหมายของคำว่า พรหมสูตร ก็เห็นใช้ "สะพายแล่ง" ในความหมาย ห้อยเฉียงบ่า อยู่


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 พ.ย. 18, 18:51
เผลอกันได้นี่คะ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Naris ที่ 29 พ.ย. 18, 13:41
เอ่ อาจารย์ครับ ผมเกิดสงสัยความหมายของคำว่า "แล่ง" จึงลองไปค้นดูแล้วพบว่า มีความหมายได้หลายความหมาย
ความหมายที่หนึ่ง เป็นมาตราตวงแบบโบราณ 2 แล่ง = 1 ทะนาน
ความหมายที่สอง หมายถึงที่เก็บลูกกระสุนหรือลูกศร ความหมายนี้ทำให้นึกไปถึงการพกพากระบอกบรรจุลูกธนู ที่มักสะพายเฉียงบ่า เป็นไปได้หรือไม่ครับว่า อาการที่คนพกพากระบอกลูกศรอย่างนั้นแหละ เป็นที่มาของการ "สะพายแล่ง"


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ย. 18, 16:22
เห็นด้วยค่ะ  คิดได้ไวมาก
ไปหารูปพรานบุญในมหาเวสสันดรชาดกมาประกอบ
แกมีแล่งธนูสะพายเฉียงบ่าจริงๆด้วย


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 24 ก.พ. 20, 07:12
ตาผมบอกว่าบ้านท่าน เป็นเรือนทรงปั้นหยาผมเลยไปดูรูปในอินเตอร์เน็ตมา ผมเลยอยากรู้ว่าเรือนทรงปั้นหยาเป็นทรงของไทยดั้งเดิมหรือว่าผสมกับตะวันตกครับ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.พ. 20, 08:41
เรือนปั้นหยาเป็นเรือนไทยที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกค่ะ     ลักษณะเป็นเรือนไม้ ตัวเรือนมีโครงสี่เหลี่ยมเป็นหลัก   มุงหลังคาด้วยกระเบี้อง หลังคาทุกด้านชนกันแบบปิรามิด ไม่มีหน้าจั่ว   
ส่วนที่เรียกว่าปั้นหยาคือหลังคาแบบปิรามิด จึงเรียกตัวเรือนว่าเรือนปั้นหยา  ฝรั่งเรียกว่า hip roof   หลังคาปั้นหยาเริ่มมีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4   ส่วนบ้านของประชาชนที่สร้างโดยมีหลังคาแบบนี้ เรืยกว่าเรือนปั้นหยา  เริ่มมีให้เห็นในรัชกาลที่ 5
ข้างล่างนี้ภาพซ้ายคือเรือนปั้นหยาของไทย  ส่วนภาพขวาเป็นบ้านในอเมริกา


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.พ. 20, 11:31
เรือนปั้นหยามีรูปร่างเป็นแบบไหนก็ได้ เป็นเรือนหนึ่งชั้น สองชั้น  ต่อด้านข้าง ฯลฯ
แต่หลังคาต้องเป็นทรงปิรามิด ไม่มีหน้าจั่ว


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.พ. 20, 11:39
บ้านฝรั่งหลังคาปั้นหยา


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 24 ก.พ. 20, 14:43
สงสัยมานาน,วันนี้ค้นได้ความว่า

พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า -
             
                เป็นคำจากเปอร์เซีย ปั้นหย่า ว่า วัตถุที่ทําเป็นหัตถ์ของเจ้าเซ็นประดิษฐานอยู่ในกะดี*ซึ่งมีลักษณะหลังคาเช่นนั้น

* กุฎี / กุฏิ / กะดี มีรากศัพท์และความหมายเหมือนกัน ซึ่งแปลว่า 'กระท่อมที่อยู่ของนักบวช' อาทิ พระสงฆ์ และสามเณร หรือ
ที่ถูกนำไปใช้ในบริบทของชาวมุสลิม 'กะดี' ยังแปลว่าโรงพิธีในศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซ็นได้อีกด้วย(uddc.net/th/knowledge ย่านกะดีจีน)

และ จาก https://www.facebook.com/RamannMon/posts/869808689760651/

              ปั้นหย่า (มือทองคำ) สัญลักษณ์รูปมือทำด้วยโลหะ เช่น แผ่นเงินหรือแผ่นทองแทนอิหม่ามฮูเซนในพิธีกรรม การใช้รูปมือ
เป็นเครื่องหมายแทนการปกป้องพระศาสนา ในพิธีเชิญมือทองคำ หรือ “ปั้นหย่า” ในพิธีคืนที่ 7 ซึ่งเป็นพิธีใหญ่ มีชุมชนมุสลิมชีอะห์
แห่งอื่นที่ขยับขยายออกไปจากจากชุมชนเจริญพาศน์มาร่วมพิธีด้วย

ภาพ กุฎีเจริญพาศน์ จากเว็บนิตยสาร สารคดี


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.พ. 20, 15:10
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ
นึกมานานแล้วว่าปั้นหยาไม่ใช่คำที่มาจากบาลีสันสกฤต   แต่ไม่ได้ค้นต่อว่ามาจากภาษาอะไร


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 24 ก.พ. 20, 16:01
พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า -  เป็นคำจากเปอร์เซีย ปั้นหย่า ว่า วัตถุที่ทําเป็นหัตถ์ของเจ้าเซ็นประดิษฐานอยู่ในกะดี*ซึ่งมีลักษณะหลังคาเช่นนั้น

คำอธิบายอีกเวอร์ชั่นหนึ่ง  ;D

อ้าง หนังสือ " เรือนเครื่องผูก " โดย รศ.เสนอ นิลเดช , สนพ.เมืองโบราณ ,  ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง กย. 2547 } หน้า 62

ปั้นหยา มาจากคำว่า ปันเยอ ของเปอร์เซีย คือหลังคาสี่มุมล้ม หลังคาชนิดนี้มีมากที่อินโดนีเซีย และเข้ามาทางภาคใต้ของไทย...

จากหนังสือ 台湾古建筑图解事典 โดย 李乾郎 พบว่า ทั้งจีนและญี่ปุ่นต่างก็มีการสร้างหลังคาลักษณะปั้นหยามาแต่อดีตเช่นกัน  โดยจีนมีศัพท์ เรียกหลังคาอย่างทรงปั้นหยาว่า 四注 ( ซื่อ จู้ ) หรือ 寄栋 ( จี้ โต้ง )


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 24 ก.พ. 20, 17:13
อย่างงี้บ้านคุณทวดผมก็คงหรู และคงจะดูทันสมัยมากในหมู่บ้านสมัยนั้นเลยมั้งครับ เพราบ้านของคุณทวดผมอยู่ห่างไกลจากหัวเมืองมากเป็นชนบทของจริงทุกวันนี้ก็ยังคงเป็นชนบทอยู่ครับ ผมก็ไม่รู้ว่าชางบ้านมั่วบ้ายเรือนจะเป็นแบบไหนครับ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.พ. 20, 17:56
ถ้าเป็นเรือนฝากระดาน  หลังคามุงสังกะสี ก็ถือว่าเป็นคนฐานะดีในชนบทยุคเกือบ 100 ปีมาแล้วค่ะ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 24 ก.พ. 20, 18:22
แล้วบ้านทรงปั้นหยาแบบคุณทวดผมนี่แพร่หลายตามชนบทมากไหมครับ หรือว่าเป็นส่วนน้อยที่จะเป็นบ้านทรงนี้


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.พ. 20, 18:41
ในยุคของคุณทวด มีน้อยค่ะ
ชาวชนบทเมื่อเกือบ 100 ปีมาแล้ว ปลูกกระต๊อบอยู่  หน้าตาเหมือนในรูปข้างล่างนี้ค่ะ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 24 ก.พ. 20, 19:43
ตาผมเล่าให้ฟังว่า ตอนที่แม่ของท่านจะแต่งงานมีการปลูกเรือนหอโดยมีฝาเฟี้ยมกั้นระหว่างเรือนเดิมของคุณยายท่านกับเรือนหอครับไม่รู้ว่าสมัยก่อนคนไทยในชนบทจะมีความนิยมนี้ทุกบ้านไหมครับ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.พ. 20, 19:55
เรือนที่มีฝาเฟี้ยมกั้นได้ ต้องเป็น
1  เรือนไม้กระดาน
2  มีความกว้างยาวพอสมควร  สามารถแบ่งห้องเดิมออกเป็น 2  ห้องให้อยู่กันได้ 2 ครอบครัว
คือห้องหนึ่งคุณยายอยู่  อีกห้องลูกสาวลูกเขยอยู่

การแต่งลูกเขยเข้าบ้าน เป็นธรรมดาของคนชนบทภาคกลางค่ะ    แต่บางบ้านก็อาจให้ลูกสาวไปอยู่บ้านลูกเขย แล้วแต่จะตกลงกัน
แต่จะแยกครอบครัวออกไปอยู่ไกลพ่อแม่ อย่างสมัยนี้  ไม่ค่อยมี


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: Kiangsak loekaudom ที่ 24 ก.พ. 20, 19:56
แต่ทุกบ้านจะมีการปลูกเรือนหอใช่ไหมครับ คุณยายของตาผมคงจะอาภัพพอสมควร ท่านเสียชีวิตปี2500 อายุ80+ ท่านมีลูก8 คน มีลูกที่เสียชีวิตหลังท่านแค่2 คนเท่านั้นที่เหลืออีก6 คนเสียชีวิตก่อนท่านหมดเลย ส่วนมากก็อายุ30-50+ ประมาณนี้ครับ


กระทู้: ผมมีเรื่องที่จะสอบถามครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 ก.พ. 20, 21:23
แต่ทุกบ้านจะมีการปลูกเรือนหอใช่ไหมครับ
ไม่ใช่ค่ะ   
 คุณยายกั้นฝาเฟี้ยมก็แสดงว่าไม่มีการปลูกเรือนใหม่     แต่กั้นห้องในเรือนเก่าให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวอยู่รวมกับคุณยาย ใต้หลังคาเดียวกันค่ะ
 ส่วนบ้านที่ปลูกเรือนหอให้ลูก  แสดงว่ารวยค่ะ