เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: ศศิศ ที่ 29 พ.ค. 05, 21:32



กระทู้: การสร้างเมือง สุโขทัย อโยธิยา กรุงรัตนโกสินทร์ มีการวางระบบทักษาเมืองไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: ศศิศ ที่ 29 พ.ค. 05, 21:32
 ทักษาเมือง หมายถึงชื่อเรียกอัฐเคราะห์ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ ที่จัดเข้าระเบียบเป็นบริวาร อายุ เดช ศรี มูล อุตสาหะ มนตรี กาลกิณีเวียนขวาไปตามทิศทั้ง 8 ซึ่งก็คล้ายกับการวางตำแหน่งในร่างกายคนด้วยเช่นกัน มีการกำหนดตำแหน่งองค์ประกอบของเมือง คือ กำแพงเมือง ประตูเมือง วัง หรือ คุ้ม ข่วงเมืองหรือลานโล่งขนาดใหญ่ของเมือง และวัด ให้สอดคล้องกับหลักทักษาหรือตำแหน่งการตั้งบ้านเมืองตามหลักโหราศาสตร์ เพื่อความเป็นมงคลต่อบ้านเมือง ผู้ครองนครและราษฎร

โดยจะผูกกับดาวประจำเมืองนั้น ๆ

เมืองต่าง ๆ ในล้านนา จะมีระบบทักษาเด่นชัด ไม่ว่า จะเป็นเมืองน่าน เชียงตุง เชียงใหม่เป็นต้น

อย่างเชียงใหม่ การกำหนดจะเด่นชัดมาก ที่ด้านหัวเวียงอยู่ด้านเหนือ... แต่ผมก็จำได้ไม่หมดว่า ทั้งแปดว่างอยู่แนวไหน

เช่น อุสสาหะเมือง อยู่ด้านตะวันออก ก็ทำเป็นตลาดค้าขาย
ศรีเมือง อยู่ด้าน ตะวันออกเฉียงเหนือ
กาลกิณี อยู่ตะวันตกเฉียงใต้ อันเป็นสุสานหายยา
เป็นต้น

และก็อยากจะทราบว่า ในการวางผังเมือง ในสามเมือง อันได้แก่ สุโขทัย อโยธิยา กรุงรัตนโกสินทร์  มีระบบทักษาเมืองด้วยหรือไม่ครับผม


กระทู้: การสร้างเมือง สุโขทัย อโยธิยา กรุงรัตนโกสินทร์ มีการวางระบบทักษาเมืองไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ค. 05, 21:41
สุโขทัย _ ไม่ทราบ
รัตนโกสินทร์  มีการวางดวงเมือง
เคยอ่านพบจากงานของ "พลูหลวง"?หรือ อ.ประยูร อุลุชาฎะ ศิลปินแห่งชาติ ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเน้นเรื่องวางดวงเมืองให้แข็ง
ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นใคร
แต่ไปมีจุดอ่อนในเรื่องเกี่ยวกับศิลปะหรือความสวยงาม
เสียดายจำไม่ได้แล้วว่าหนังสือเล่มไหนของอาจารย์

รัตนโกสินทร์ ถอดแบบวัฒนธรรมมาจากปลายอยุธยา
ทำให้คิดว่าเมื่อมีการสร้างอยุธํยาก็อาจมีการวางดวงเมืองเหมือนกัน
แต่อยุธยาตอนต้นนั้น มีอิทธิพลวัฒนธรรมของเขมรเข้ามาสูงมาก
เห็นตัวอย่างจาก ลิลิตโองการแช่งน้ำ และบทบาทของพระเจ้าแผ่นดินในฐานะสมมุติเทวราช
เขมรรับอิทธิพลจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง
ก็อาจจะมีระบบนี้ด้วยเหมือนกัน


กระทู้: การสร้างเมือง สุโขทัย อโยธิยา กรุงรัตนโกสินทร์ มีการวางระบบทักษาเมืองไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว ที่ 08 มิ.ย. 05, 20:06
 เคยทราบว่า กรุงเทพฯ มีการตั้งผังเมืองตามตำราพิชัยสงครามครับ คือตั้งเหมือนรูปแบบการจัดทัพ แต่ไม่ทราบว่าเป็นรูปแบบอะไร เพราะตำราพิชัยสงครามนั้นมีรูปแบบการจัดทัพอยู่หลายแบบตามชัยภูมิ ต้องลองศึกษาดูให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง


กระทู้: การสร้างเมือง สุโขทัย อโยธิยา กรุงรัตนโกสินทร์ มีการวางระบบทักษาเมืองไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: หยดน้ำ ที่ 09 มิ.ย. 05, 07:42
 กรุงศรีอยุธยา

    "จะกล่าวถึงกรุงศรีอยุธยา  ท่านสาบสันมาแต่ปางก่อน  (ดุจ)  รูปสำเภา  (นาวา)  มีคงคาล้อมรอบพระนคร  (เป็น)  แปอยู่ทิศอุดร  ด้านแป  (โดยหมาย)  เป้นปากสำเภาอยู่รีมษาคร  หัวสำเภาด้านขื่อ  (บวร)  อยู่ที่บูรรภา  ด้านขื่อ  (ท้ายเภทตรา)  อยู่ปัดจิม  (สาทร)  มีกำแพงอิดลีลาล้อมรอบเป้นขอบพระนคร"
    แปลนเมืองกรุงศรีอยุธยานั้น  ท่านวางเป็นรูปสำเภาหัวเรือสุ่ทิศตะวันออก  แม่น้ำที่โอบนครด้านทิศนั้นจึงคงเรียกว่า  ลำคูขื่อหน้า  ทิสตะวันตกเรียก  ลำคูขื่อหลัง
    สำเภาลำนี้แล่นอย่างประหลาด  คือแล่นขวางแม่น้ำ  เพราะแม่น้ำสามสายพุ่งลงทางทิศเหนือสู่ด้านข้างสำเภาอันเป้นด้านแปเมือง  มีแม่น้ำเจ้าพระยา  ซึ่งบริเวณนั้นเรียกว่า  แม่น้ำบ้านป้อม  อยุ่ค่อนไปทางทิสตะวันตก  ส่วนค่อนมาทาทิศตะวันออก  มีแม่น้ำลพบุรีกับแม่น้ำป่าสักไหลมาบรรจบกัน  ทิศใต้ก็มีแม่น้ำเจ้าพระยาแยกออกไปจากด้านแปเมืองตอนใต้  บริเวณนั้นเรียกว่าตำบลสำเภาล่ม  สำเภากรุงศรีอยุธยาจึงแล่นตรงไปสู่แผ่นดิน  ไม่มีทางน้ำ  นอกจากคลองเล็กๆ  สู่อำเภออุทัย  ...  นาวากรุงศรอยุธยาลึงล่มถึงสองครั้งเพราะแล่นขวางแม่น้ำ  เป็นเคล้ดอาถรรพ์อย่างหนึ่งของบ้านเมือง

ที่มา ...  คติสยาม  ของพลูหลวง


กระทู้: การสร้างเมือง สุโขทัย อโยธิยา กรุงรัตนโกสินทร์ มีการวางระบบทักษาเมืองไหมครับ
เริ่มกระทู้โดย: หยดน้ำ ที่ 09 มิ.ย. 05, 07:53
 กรุงรัตนโกสินทร์

การสร้างพระบรมมหาราชวัง   รัชกาลที่  1  โปรดเกล้าฯ  ให้ยึดหลักเช่นเดียวกับการตั้งทัพให้เหมาะกับภูมิประเทศตามตำราพิชัยสงคราม  ซึ่งชัยภูมิของพระบรมมหาราชวังนั้นเป็นแบบนาคนาม  คืออยู่ใกล้แม่น้ำ

โดยพระบรมมหาราชวัง  เปรียบเสมือนค่ายหลวง  และจัดวางที่ตั้งของวังหน้า  วังริมป้อมพระสุเมรุ  ไว้ทางทิศเหนือ  บ้านเสนาบดี  วังริมป้อมจักรเพ็ชร  ทางด้านใต้  ฝั่งตะวักตกของแม่น้ำ  มีวังหลัง  พระนิเวศน์เดิมของสมเด็จพระพี่นาง  พระนิเวศนืเดิม  พระราชวังเดิม  อยู่ริมแม่น้ำ  วางเรียงกันจากเหนือลงใต้