เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 49 50 [51] 52 53 ... 85
  พิมพ์  
อ่าน: 130860 sLOVEnia Croatia Album
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 750  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 10:16

          เมื่อโครเอเชียและสโลวีเนียประกาศแยกตัวในปี 1991 ผู้นำมอนเตเนโกรซึ่งภักดี
ต่อรัฐบาลเซอร์เบียดำเนินการตามแผนของประธานาธิบดี Milosevic แห่งเซอร์เบียเพื่อการ
เป็น  the Greater Serbia ประกาศว่าดูบรอฟนิคต้องไม่รวมอยู่ในโครเอเชีย(เพราะตาม
ประวัติศาสตร์แล้วดูบรอฟนิคไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของโครเอเชีย) ทั้งๆ ที่ประชากรในเมือง
ส่วนใหญ่เป็นชาวโครแอท, เป็นเซิร์บเพียง 6 % และเป็นมอนเตเนโกรเพียงน้อยนิด
       
            วันที่ 1 ตุลาคม 1991 กองกำลังเซอร์เบีย - มอนเตเนโกร ในนาม Yugoslavia's
Yugoslav People's Army (JNA) ก็บุกเข้ายึดเมืองเป็นเวลา 7 เดือน

Dubrovnik 1991


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 751  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 10:20

        ประชาชนล้มตายไป 114 ชีวิตซึ่งรวมทั้งกวี Milan Milisic ด้วย อาคารและสิ่งก่อสร้าง
ต่างๆ ได้รับความเสียหายกว่า 50% รวมถึงกำแพงเมืองมรดกโลกได้รับความเสียหายกว่า 600 จุด
ในที่สุดกองทัพโครเอเชียสามารถกู้คืนเมืองได้ในเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 1992 แต่ก็ยังคงต้อง
เฝ้าระวังการโจมตีกลับต่อไปอีกสามปี  


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 752  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 10:24

          หลังสงครามบาดแผลอาวุธสงครามที่ฝากไว้ในเมืองเก่าได้รับการบูรณะซ่อมแซม
แต่ยังคงเหลือร่องรอยปรากฏให้เห็นได้จากรอยกระสุนตามสิ่งก่อสร้าง, อาคาร

ต้นไม้ก็ไม่เว้น


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 753  เมื่อ 28 พ.ย. 13, 11:01

หลังคาอาคารมุงกระเบื้อง(ซ่อม)แซมใหม่สีใสสดตัดกับกระเบื้องเก่า


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 754  เมื่อ 11 ธ.ค. 13, 09:43

          (จากข้อความ,ข้อมูลหลายแห่ง) อาจจะกล่าวได้ว่า ดูบรอฟนิคเป็นสาธารณรัฐ
พาณิชย์อิสระยาวนาน 700 ปี (อิสระแบบแอบอิงร่มเงามหาอำนาจชาติอื่น) ก่อนที่จะ
ถูกกองทัพนโปเลียนเข้ายึดครองในปี 1806

         รัฐมีฐานะรุ่งเรืองจากกิจการพาณิชย์นาวีล่องเรือค้าขายในแถบเมดิเตอเรเนียน, ตุรกี,
ยุโรป และมาไกลในแถบนี้ถึงอินเดีย ตลอดจนมีตัวแทนการค้าที่แอฟริกา ทั้งยังมีสัมพันธ์ทาง
การทูตกับราชสำนักอังกฤษในยุคกลาง (ดังปรากฏพระราชสาส์นจากพระนางเจ้าอลิซเบธที่หนึ่ง
ในพิพิธภัณฑ์ดูบรอฟนิค) ความรุ่งโรจน์ร่ำรวยนี้เป็นที่จับตามองด้วยความอิจฉาจากเวนิส
           ดูบรอฟนิคประสบความสำเร็จในการประคับประคองตนระหว่างมหาอำนาจในแถบนั้น
ได้นานนับหลายศตวรรษด้วยการรับมืออย่างชาญฉลาดถูกกาลโดยฝ่ายบริหาร, นักวิชาการ
และนายวาณิชของเมือง  เวนิส, ออตโตมานตลอดจนออสเตรียคงจะเกรงใจในความสัมพันธ์
ทางการทูตและการค้า, สภาพเศรษฐกิจรุ่งโรจน์ และวัฒนธรรมเรืองรองของดูบรอฟนิค

Dubrovnik copperplate engraving, published in Venice in 1490


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 755  เมื่อ 11 ธ.ค. 13, 09:46

            พาณิชย์นาวีของดูบรอฟิคนั้นรุดหน้าไปไกล มีการส่งกงสุลเกือบร้อยไปประจำ
เมืองท่าในย่านเมดิเตอเรเนียน และมีตัวแทนทางทูตใน   Barcelona, Madrid, Rome,
Vienna, Paris และ London
           ช่วงเวลาแห่งความมั่งคั่งยาวนานอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 15 - 16 ดูบรอฟนิคได้
กลายเป็นคู่แข่งสำคัญของเวนิส ในศตวรรษที่ 16 กองเรือมีเรืออยู่ประมาณ 200 ลำ และ
ในราวปี 1780 เรือจากดูบรอฟนิคได้ล่องไปไกลถึงนิวยอร์ค



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 756  เมื่อ 11 ธ.ค. 13, 09:52

             คำว่า ARGOSY ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่า

          A large ship, esp. a merchant vessel of the largest size.
(1913 Webster)

             มีที่มาจาก ragusy ซึ่งหมายถึง a vessel of Ragusa (ดูบรอฟนิค)
เกิดขึ้นหลังจากที่เรือจากดูบรอฟนิคล่องไปถึงอังกฤษในปี 1510

เรือของดูบรอฟนิคช่วงศตวรรษที่ 14 - 17


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 757  เมื่อ 11 ธ.ค. 13, 09:57

           นักประวัติศาสตร์นาวี Bartolomeo Crescentio ผู้แต่ง "La Nautica
Mediterranea" เขียนไว้ว่า ชาวแรกูซาเป็นนักต่อเรือใบใหญ่ที่ดีที่สุดในแถบเมดิเตอเรเนียน

         the Ragusans were the best builders of galleons in the Mediterranean
and that the Argosy was a galleon of Ragusa.

ใบเรือด้านหน้าเป็นตราดูบรอฟนิค ส่วนด้านหลังเป็นรูปตราตารางหมากรุกของโครเอเชีย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 758  เมื่อ 11 ธ.ค. 13, 10:04

          เรือ argosy นี้ได้ไปปรากฏเป็นตัวอักษรอยู่ในบทละครของเชคสเปียร์
เรื่อง "The Merchant of Venice" และ "Taming the Shrew" นอกจากนี้
บทละครเรื่อง "The Tempest" ยังมีที่มาจากตำนานเก่าแก่แต่ศตวรรษที่ 12
เรื่อง Chronicle of Father Dukljanin ของโครเอเชียด้วย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 759  เมื่อ 11 ธ.ค. 13, 10:23

         นอกจากความเจริญทางด้านเศรษฐกิจการค้าการเดินเรือแล้ว ดูบรอฟนิคยังมี
ความเจริญงอกงามทางด้านสังคมวัฒนธรรม การบริหารบ้านเมือง การปกครอง ในระดับ
แถวหน้าที่ล้ำยุคสมัยด้วย นักวิชาการบางคนยกให้เป็น

              one of the first intelligence organizations in history

         อำนาจการเมืองการปกครองของดูบรอฟนิคนั้นอยู่ในกลุ่มชนชั้นสูง(patrician)
การแบ่งชนชั้นดำรงคงอยู่อย่างเข้มขวดโดยที่การแต่งงานข้ามชนชั้นนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม
ประชาชนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของสำนักงานกิจการเล็กๆ ที่สามารถสร้างฐานะได้  แต่พวกสามัญชน
(plebeian) นี้ไม่มีสิทธิ์มีเสียงในรัฐบาล อย่างไรก็ตามทางการได้ให้ความสำคัญต่อเสรีภาพ
อย่างสูง
             การปกครองบริหารบ้านเมืองยึดหลักกฎหมายไม่ใช่ตัวบุคคล และถือผลประโยชน์
ของส่วนรวมเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเน้นในเรื่องอิสระเสรีภาพ ทั้งยังคำนึงถึงความยุติธรรมและ
หลักมนุษยธรรม อันจะเห็นได้จากการประกาศยกเลิกการค้าทาสในปี 1418

แผนที่การค้าทาสในแถบเมดิเตอเรเนียนช่วงปลายยุคกลาง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 760  เมื่อ 12 ธ.ค. 13, 15:23

           ฝ่ายบริหารปกครองบ้านเมืองประกอบด้วย มหาสภา (Grand Council -
supreme governing body) ซึ่งสมาชิกสภานี้มาจากกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น,
จุลสภา (Small Council - executive power) ถูกเลือกขึ้นมาโดยเจ้าเมือง (Rector)
และวุฒิสภา(Senate) (ตั้งเพิ่มเข้ามาในปี 1235) เป็นคณะที่ปรึกษา ประกอบด้วยสมาชิก 45 คน

           ประมุขแห่งรัฐคือ ดยุค Duke (Knez - ภาษาโครเอเชีย หรือ Rector - เรียกตาม
เจ้าเมืองของเวนิส) ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งคราวละเพียง 1 เดือน ด้วยเกรงว่าถ้านานเกินไป
อาจจะติดใจหลงใหลในอำนาจ

รูปเจ้าเมือง - Rector หรือ Duke หนึ่งเดียวที่หาได้จากในเน็ท
นามว่า Emeric Boskovic


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 761  เมื่อ 12 ธ.ค. 13, 15:29

          ช่วงที่อยู่ภายใต้การครอบครองของเวนิส เจ้าเมืองเป็นชาวเวนิส จนถึงปี 1358
จึงเปลี่ยนเป็นชาวแรกูซา เจ้าเมืองนี้จะอยู่ในตำแหน่งเพียงหนึ่งเดือนโดยต้องแยกจาก
ครอบครัวมาพำนักและทำงานอยู่ในวังเพียงลำพัง และหลังออกจากตำแหน่งไปได้ครบ
สองปีแล้วจึงจะมีสิทธิ์รับเลือกตั้งมาดำรงตำแหน่งใหม่ได้อีก            
          
           เสื้อคลุมยาวสีแดงเป็นเครื่องแต่งกายอย่างเป็นทางการของเจ้าเมืองผู้เป็นตัวแทน
สำคัญที่สุดของสาธารณรัฐและเป็นประธานของสภาทั้งสาม แต่ถึงกระนั้นก็ตามอำนาจของ
เจ้าเมืองก็มีเพียงจำกัด ผ้าพาดกำมะหยี่แสดงถึงอำนาจรัฐ ส่วนวิกผมที่สวมนั้นเป็นสไตล์
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14

เครื่องแต่งกายเจ้าเมือง(คนขวา) และ magistrate (คนซ้าย)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 762  เมื่อ 12 ธ.ค. 13, 15:58

          ด้านภาษาและวรรณศิลป์ ชาวเมืองดูบรอฟนิคพูดภาษาโครเอเชียและแดลเมเชีย
ตระกูลโรแมนซ์(ซึ่งสืบทอดมาจากละติน) ที่ค่อยๆ ถูกแทนที่ทีละเล็กละน้อยโดยสามัญชน
ผู้ใช้ภาษาโครเอเชีย ส่วนภาษาอิตาลีและเวนิสเป็นภาษาทางการค้า
          (กล่าวได้ว่า)ดูบรอฟนิคนี้เป็นเมืองแห่งการก่อกำเนิดและเติบโตของวรรณคดีโครเอเชีย
ภายในกำแพงเมืองเก่ามีรูปสลักกวีคนสำคัญตั้งอยู่ในลานถนนให้คนเดินทางผ่านมาผ่านไปได้
ทำความรู้จัก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 763  เมื่อ 15 ธ.ค. 13, 09:24

           รัฐพาณิชย์นาวีอันมั่งคั่งนี้ยังกอปรด้วยคุณธรรมสูงส่ง ดูบรอฟนิคประกาศหลักธรรม
ประจำเมืองให้ชาวต่างแดนได้รับรู้ ด้วยผืนธงสีขาวประดับกองเรือสินค้าท่องนทีทั่วแดนไกล
โบกสะบัดอยู่ไสวอวดคำละตินบนผืนผ้าว่า LIBERTAS - อิสรภาพ ซึ่งมีที่มาจากคติพจน์
ประจำเมืองดังนี้            

                non bene pro toto libertas venditur auro

              liberty cannot be sold for all the gold (in the world)
บางที่แปลว่า
              liberty should not be sold even at the price of gold

           ย้ำกฎหมายการเลิกค้าทาส และกฎการปฏิบัติต่อทาสที่ขึ้นเรือของดูบรอฟนิคโดยให้ถือ
ว่าทาสผู้นั้นเป็นอิสรชน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 764  เมื่อ 15 ธ.ค. 13, 09:33

ธงสีน้ำเงินในรูปข้างบนคือ ธงนักบุญ St Blaise  ผู้อุปถัมภ์พิทักษ์เมือง
 


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 49 50 [51] 52 53 ... 85
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 18 คำสั่ง