เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: atomicno1 ที่ 19 ต.ค. 23, 16:30



กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 19 ต.ค. 23, 16:30
สวัสดีค่ะทุกท่าน

หนู (ขออนุญาตแทนตัวว่าหนูนะคะ) กำลังจะเขียนนิยายที่มีเซ็ตติ้งอยู่ในประมาณปี พ.ศ. 2500-2510 ค่ะ เลยอยากมาขอความกรุณาผู้รู้ทุกท่านเกี่ยวกับเรื่องการไปเรียนต่อเมืองนอกของผู้หญิงและเรื่องทางการทูตในสมัยนั้นค่ะ
หนูขออนุญาตแบ่งเป็นข้อๆ นะคะ

1. เท่าที่หนูสามารถค้นหาข้อมูลได้ (เพียงเล็กน้อยเท่านั้น) คือนักเรียนหญิงคนแรกที่ไปเรียนเมืองนอกก็อยู่ในสมัยประมาณ ร.5 ซึ่งเป็นการเรียนในวิชาผดุงครรภ์หรือการพยาบาล แต่ที่อยากทราบคือถ้าในสมัย 2500-2510 นักเรียนหญิงในสมัยนั้นนอกจากเรียนในคณะแพทย์หรือพยาบาลแล้ว มีไปเรียนวิชาอื่นๆ บ้างไหมคะ ถ้าเรียนกฎหมายหรือเรียนพวกอาชญวิทยาจะมีไหมคะ
2. ในสมัยก่อน ถ้ามีนักเรียนนอกไปถึงที่นั่น จะต้องติดต่อสถานทูตอะไรยังไงบ้างคะ และเจ้าหน้าที่ทูตจะดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดมั้ยคะ
3. อยากทราบธรรมเนียมนักการทูตในสมัยก่อนค่ะ พวกธรรมเนียมปฏิบัติยิบย่อยต่างๆ อย่างเช่นการปฏิบัติตัว การเข้าร่วมงานเลี้ยง ข้อห้ามข้อปฏิบัติอะไรต่างๆ

หนูเองพยายามหาข้อมูลมาบ้างแล้วทั้งหนังสือและอินเตอร์เน็ต แต่อยากหาแหล่งข้อมูลอีกหลายๆ แหล่งเลยมาขอความกรุณาทุกท่านด้วยค่ะ โดยเฉพาะข้อ 3 หาข้อมูลได้ค่อนข้างยากเลยค่ะ เพราะถ้าเป็นหน้าที่เฉยๆ นี่คือสามารถหาได้บ้าง แต่พวกเรื่องยิบย่อย ธรรมเนียมปฏิบัติอะไรพวกนี้คือหายากเลยค่ะ

ขอบคุณทุกๆ ท่านล่วงหน้าค่ะ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 19 ต.ค. 23, 19:45
ถ้าหนูเขียนนิยายที่ตัวเองมีความรู้ด้านพื้นหลังของเรื่อง  จะสะดวกง่ายดายมากกว่าเขียนถึงเนื้อหาที่ตัวเองไม่รู้ดีพอ    เพราะมันจะเกี่ยวเนื่องไปถึงฉาก  การดำเนินเรื่อง สภาพแวดล้อมของตัวละคร  บทสนทนาฯลฯ แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่ใจหนู คนอื่นทำได้เพียงออกความเห็นเท่านั้น
หนูไม่ได้เจาะจงลงไปว่าเมืองนอกประเทศไหน   มีทั้งอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี  อินเดีย ไต้หวัน ฮ่องกงฯลฯ  แต่ละประเทศไม่เหมือนกัน  แต่จะตอบกว้างๆก็แล้วกัน
1 ในสมัย 2500-2510  รัฐบาลและมหาวิทยาลัยให้ทุนนักเรียนหญิงไปเรียนในหลายสาขา  ตอบจากประสบการณ์คือในอเมริกา  มีผู้หญิงไปเรียนสาขาการศึกษากันมาก  เพื่อกลับมารับราชการในกระทรวงศึกษาธิการหรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ในโรงเรียนมัธยมก็มี  
   กฎหมายและอาชญาวิทยาเป็นเรื่องของผู้ชายเขา
2  ตอนไปเรียนไม่เคยไปเจอสถานทูตเลย  เพราะอยู่ห่างกันคนละรัฐ   แต่เงินค่าเล่าเรียนส่งผ่านสถานทูตเพราะอยู่ในความดูแลของ ก.พ. พอไปถึงก็แจ้งสถานทูตว่ามาแล้ว  พักอยู่ที่ไหน เขาจะได้ส่งเงินมาให้ได้  อีกอย่างคือถ้าอยู่นานมาก จนหมดอายุหนังสือเดินทาง  ต้องส่งไปรษณีย์ไปให้เขาต่อให้
   เรียนจนจบยังไม่เคยพบเจ้าหน้าที่สถานทูตสักคนเดียว   แม้แต่ตัวสถานทูตก็ไม่เคยไปเห็น
3  เรื่องธรรมเนียมการทูตเมื่อ 50-60 ปีก่อน ไม่ทราบจริงๆค่ะ    ถ้าท่านผู้อ่านเรือนไทยท่านใดเคยทำงานสถานทูตมาก่อน กรุณาให้คำตอบหนูคนนี้ด้วยนะคะ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 19 ต.ค. 23, 21:15
ถ้ายุคสมัยนั้น แม้แต่ผู้หญิงฝรั่งที่เรียนกฎหมายหรืออาชญวิทยาเองก็คงมีน้อย ดังนั้นถ้าจะหาผู้หญิงไทยไปเรียนพวกนี้ด้วยยิ่งเป็นไปได้ยาก จนจะกลายเป็นไม่สมเหตุสมผลไปครับ เพราะอย่างที่ท่านอาจารย์เทาฯบอก ส่วนใหญ่น่าจะไปเรียนด้านการศึกษา ภาษา  หรือมีด้านวิทยาศาสตร์บ้าง

สมัยนั้นนอกจากทุนรัฐบาลจะมีทุนจากต่างประเทศหรือเปล่าไม่แน่ใจนะครับ แต่เคยพบท่านที่เป็นสุภาพสตรีที่ไปเรียนที่อเมริกาช่วงทศวรรษปี 2520 โดยได้ทุน Fullbright ไป ท่านเล่าว่าสมัยนั้นไปง่ายหน่อย ภาษาไม่ต้องดีมาก แต่ต้องติดต่อสถานทูตไหมไม่แน่ใจ  แต่ถ้าอเมริกา ทุกอย่างน่าจะติดต่อทางไปรษณีย์ครับ ยกเว้นไปเรียนแถวเมืองใกล้ ๆ สถานทูต

และโดยทั่วไป ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นเช่นหนังสือเดินทางหมดอายุ นักเรียนทุนไม่จำเป็นต้องติดต่อสถานทูตเลยครับ และไม่มีการเชิญนักเรียนทุนไปร่วมงานสถานทูตด้วย


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 20 ต.ค. 23, 01:03
ถ้าหนูเขียนนิยายที่ตัวเองมีความรู้ด้านพื้นหลังของเรื่อง  จะสะดวกง่ายดายมากกว่าเขียนถึงเนื้อหาที่ตัวเองไม่รู้ดีพอ    เพราะมันจะเกี่ยวเนื่องไปถึงฉาก  การดำเนินเรื่อง สภาพแวดล้อมของตัวละคร  บทสนทนาฯลฯ แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่ใจหนู คนอื่นทำได้เพียงออกความเห็นเท่านั้น
หนูไม่ได้เจาะจงลงไปว่าเมืองนอกประเทศไหน   มีทั้งอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี  อินเดีย ไต้หวัน ฮ่องกงฯลฯ  แต่ละประเทศไม่เหมือนกัน  แต่จะตอบกว้างๆก็แล้วกัน
1 ในสมัย 2500-2510  รัฐบาลและมหาวิทยาลัยให้ทุนนักเรียนหญิงไปเรียนในหลายสาขา  ตอบจากประสบการณ์คือในอเมริกา  มีผู้หญิงไปเรียนสาขาการศึกษากันมาก  เพื่อกลับมารับราชการในกระทรวงศึกษาธิการหรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย หรือแม้แต่ในโรงเรียนมัธยมก็มี  
   กฎหมายและอาชญาวิทยาเป็นเรื่องของผู้ชายเขา
2  ตอนไปเรียนไม่เคยไปเจอสถานทูตเลย  เพราะอยู่ห่างกันคนละรัฐ   แต่เงินค่าเล่าเรียนส่งผ่านสถานทูตเพราะอยู่ในความดูแลของ ก.พ. พอไปถึงก็แจ้งสถานทูตว่ามาแล้ว  พักอยู่ที่ไหน เขาจะได้ส่งเงินมาให้ได้  อีกอย่างคือถ้าอยู่นานมาก จนหมดอายุหนังสือเดินทาง  ต้องส่งไปรษณีย์ไปให้เขาต่อให้
   เรียนจนจบยังไม่เคยพบเจ้าหน้าที่สถานทูตสักคนเดียว   แม้แต่ตัวสถานทูตก็ไม่เคยไปเห็น
3  เรื่องธรรมเนียมการทูตเมื่อ 50-60 ปีก่อน ไม่ทราบจริงๆค่ะ    ถ้าท่านผู้อ่านเรือนไทยท่านใดเคยทำงานสถานทูตมาก่อน กรุณาให้คำตอบหนูคนนี้ด้วยนะคะ

ขอบพระคุณคุณเทาชมพูมากค่ะ

คำถามของหนูไม่ครอบคลุมจริงๆ ต้องขอโทษอีกครั้งนะคะ
หนูอยากเขียนนิยายแนวนี้เพราะว่าชอบนิยายที่มีการดำเนินเรื่องในช่วงยุคสมัยนี้มากเลยค่ะ เลยอยากจะเขียนให้ได้แบบนี้บ้าง ส่วนตัวหนูเองเคยมีอาจารย์ที่สอนตอนปริญญาตรีและปริญญาโทอยู่ท่านหนึ่งที่จบทางด้านอาชญวิทยาหรือทางกฎหมายมาจากเมืองนอกเช่นกันค่ะ ถ้าจำไม่ผิดอาจารย์จบจากอเมริกา ประมาณปี 2510 - 2520 ประมาณนี้ค่ะ (อาจารย์เคยเล่าประมาณว่าตอนอาจารย์ไปเรียน จนกลับมาสอนได้เป็นสิบปีพวกหนูก็ยังไม่เกิดเลย) ส่วนตัวหนูเองเรียนมาทางด้านนี้ เลยอยากเขียนนิยายเกี่ยวกับด้านนี้ในยุคนั้นดูน่ะค่ะ

หนูลืมระบุประเทศไป คิดไว้สองที่คือไม่อังกฤษก็อเมริกาค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าหนูจะหาข้อมูลของที่ไหนได้มากกว่ากันค่ะ

ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 20 ต.ค. 23, 01:09
ถ้ายุคสมัยนั้น แม้แต่ผู้หญิงฝรั่งที่เรียนกฎหมายหรืออาชญวิทยาเองก็คงมีน้อย ดังนั้นถ้าจะหาผู้หญิงไทยไปเรียนพวกนี้ด้วยยิ่งเป็นไปได้ยาก จนจะกลายเป็นไม่สมเหตุสมผลไปครับ เพราะอย่างที่ท่านอาจารย์เทาฯบอก ส่วนใหญ่น่าจะไปเรียนด้านการศึกษา ภาษา  หรือมีด้านวิทยาศาสตร์บ้าง

สมัยนั้นนอกจากทุนรัฐบาลจะมีทุนจากต่างประเทศหรือเปล่าไม่แน่ใจนะครับ แต่เคยพบท่านที่เป็นสุภาพสตรีที่ไปเรียนที่อเมริกาช่วงทศวรรษปี 2520 โดยได้ทุน Fullbright ไป ท่านเล่าว่าสมัยนั้นไปง่ายหน่อย ภาษาไม่ต้องดีมาก แต่ต้องติดต่อสถานทูตไหมไม่แน่ใจ  แต่ถ้าอเมริกา ทุกอย่างน่าจะติดต่อทางไปรษณีย์ครับ ยกเว้นไปเรียนแถวเมืองใกล้ ๆ สถานทูต

และโดยทั่วไป ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นเช่นหนังสือเดินทางหมดอายุ นักเรียนทุนไม่จำเป็นต้องติดต่อสถานทูตเลยครับ และไม่มีการเชิญนักเรียนทุนไปร่วมงานสถานทูตด้วย


ขอบพระคุณมากค่ะคุณประกอบ

ถ้าอย่างนั้นคงค่อนข้างยากเลยใช่มั้ยคะที่จะมีผู้หญิงไปเรียนทางด้านนี้ หนูเองก็พยายามหาข้อมูลมาพอสมควรแล้วก่อนที่จะมาถามในนี้ว่าพอจะมีไหม แต่ก็เจอในหนังสือบางเล่มที่พูดถึงสุภาพสตรีที่ไปเรียนกฎหมายในสมัยก่อน เรื่องอาชญวิทยาตอนนั้นบ้านเราก็เหมือนจะไม่ค่อยกล่าวถึงมากเหมือนกัน เห็นทีหนูอาจจะต้องปรับให้ตัวนางเอกเองเรียนพยาบาลหรือแพทย์น่าจะพอสมเหตุสมผลขึ้นมาบ้าง

เรื่องนักเรียนทุน แสดงว่าถ้าเขียนเกี่ยวกับเรียนที่อเมริกาก็ไม่น่าจะได้ไปติดต่อสถานทูตสินะคะ แต่ถ้าหากเป็นอังกฤษจะพอได้ไปบ้างไหมคะ หรือถ้าอีกกรณี คือไปแบบ แวะไปที่สถานทูตพร้อมกับคณะของผู้หลักผู้ใหญ่ได้ไหมคะ จะได้มีทางเจอกันได้บ้าง

ขอบพระคุณคุณประกอบอีกครั้งค่ะ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ต.ค. 23, 08:43
  
อ้างถึง
หนูอยากเขียนนิยายแนวนี้เพราะว่าชอบนิยายที่มีการดำเนินเรื่องในช่วงยุคสมัยนี้มากเลยค่ะ
    ขอถามหน่อยค่ะ ช่วยยกนิยายที่มีการดำเนินเรื่องในยุค 2510-20 ที่หนูอ่านและชอบมาให้เห็นหน่อยได้ไหม
เป็นนิยายพาฝันอย่าง จำเลยรัก หรือวรรณกรรมเพื่อชีวิต  เผื่อจะเข้าใจคำถามมากขึ้น
     ส่วนตัวเองก็คงไม่เขียนถึงสังคมต่างถิ่นที่ตัวเองไม่มีประสบการณ์   ในยุคสมัยที่นึกภาพไม่ออก   ในอาชีพต่างๆเช่นเจ้าหน้าที่สถานทูต ที่ไม่เคยพบเห็น    มันยากมากที่จะเริ่ม   และจะยากขึ้นเรื่อยๆขณะเขียน
    แต่ก็อวยพรให้หนูฝ่าฟันไปได้จนจบก็แล้วกัน  
    ขอท่านอื่นๆเข้ามาแนะนำด้วยนะคะ  


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 20 ต.ค. 23, 16:12
นร ทุนที่ไปเรียนอังกฤษก็ไม่มีเหตุใด ๆ ที่จะต้องไปทำที่สถานทูตครับ  ยกเว้นไปทำ passport ใหม่  ส่วนในอดืตห้าสิบปีก่อน เวลาสถานทูตมีงานจัดเลี้ยงต่าง ๆ ก็คงไม่เชิญ นร ทุนเช่นกัน อาจจะยกเว้น นร ทุนที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์แต่ผมก็ไม่แน่ใจครับ   

อาจจะต้องปรับพล็อตใหม่ดูครับ หรืออิงจากเรื่องจริงที่มีสุภาพสตรีหลายท่านในวงสังคมไทยในอดีตที่เคยเป็นลูกทูตอะไรแบบนี้


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: superboy ที่ 20 ต.ค. 23, 17:37
อยากอ่านนิยายตามอ้างอิงเหมือนกันครับ  ;)


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ต.ค. 23, 17:51
   
    เห็นทีหนูอาจจะต้องปรับให้ตัวนางเอกเองเรียนพยาบาลหรือแพทย์น่าจะพอสมเหตุสมผลขึ้นมาบ้าง
   
    ช่วงศตวรรษที่ 2510-15  เป็นช่วงสงครามเวียดนาม   อเมริกาขาดแคลนแพทย์พยาบาล เพราะส่งไปรบเสียเยอะ  จึงรับแพทย์พยาบาลจากไทยและประเทศอื่นๆ ไม่อั้น    บุคลากรทางการแพทย์ของเราได้วีซ่าง่ายดาย  อพยพไปอยู่ในอเมริกากันเยอะมาก ว่ากันว่าเช่าเครื่องบินเหมาลำกันไปเลย    รับเงินเดือนสูงลิบ  คุณน้าของเพื่อนไปเป็นพยาบาลอยู่ชิคาโก ขับโรลสรอยซ์ไปทำงาน
    ดิฉันรู้จักหลายท่านด้วยกัน  ปัจจุบันก็อยู่ในวัย 70 ขึ้นไปกันหมดแล้ว  ย้อนหลังไป 50 ปียังเป็นหนุ่มสาววัยนางเอกของหนูกันทั้งนั้น
   ลองพิจารณาดูว่าจะให้นางเอกสมัครงานไปเป็นแพทย์หรือพยาบาลที่อเมริกาไหม   
   ส่วนสถานทูต ยังหาเหตุผลให้ไปเจอกันไม่ได้อยู่ดี 


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 ต.ค. 23, 18:36
เคยได้รับทุนไปเรียนต่อในสหรัฐฯ ไม่เคยไปสถานทูตและก็ไม่เคยพบกับข้าราชการของสถานทูตผู้ใดเลย  การติดต่อกับสถานทูตเท่าที่จำได้ ก็ดูจะมีการติดต่อกันอยู่เพียงครั้งเดียวในเรื่องของการต่ออายุ Passport    

ก็คงจะต้องเป็นเช่นนั้น เพราะว่า ม.ที่เรียนตั้งอยู่ในอีกรัฐหนึ่งห่างไกลจากเมืองและรัฐที่เป็นที่ตั้งของสถานทูต  สถานกงสุลใหญ่ของไทยซึ่งมีลักษณะกลายๆคล้ายๆกับสถานทูตก็มีอยู่ใน 2-3 รัฐเท่านั้น  ส่วนสำนักงานกงสุลกิติมศักดิ์ที่อาจจะมีกระจายอยู่ในบางรัฐ ก็ไม่ทราบว่ามี เป็นผู้ใด หรืออยู่ที่ใดกันบ้าง

คนไทยและนักเรียนไทยที่มีถิ่นพำนักหรือเรียนหนังสืออยู่ในพื้นที่ๆไม่ไกลจากที่ตั้งของสถานทูต จะเป็นกลุ่มคนที่ที่มีความใกลชิดและสนิทสนมกับสถานทูตค่อนข้างมาก ทั้งในเชิงของความเป็นคนไทยและในเชิงของการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ  


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 20 ต.ค. 23, 19:30
สำหรับในเรื่องของธรรมเนียมทางการทูตนั้น

ก็เคยอยู่ประจำการทำงานในสถานะ Diplomats ในยุโรป(ออสเตรีย) ที่มีลักษณะงานทั้งแบบพหุภาคี(งานหลัก)และงานแบบทวิภาคี(งานรอง) และที่ญี่ปุ่นซึ่งลักษณะงานหลักแบบทวิภาคี   เห็นว่า ธรรมเนียมปฏิบัติโดยพื้นๆในงานเชิงพหุภาคีกับเชิงทวิภาคีซึ่งดูน่าจะไม่ต่างกันนั้น หากแต่ในทางการปฏิบัติจริง มันก็มีความต่างอยู่ไม่น้อย    ก็มีอยู่หลายคำศัพท์บัญญัติที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของคำว่าธรรมเนียม เช่น  custom, etiquette, protocol, code of conduct .... ฯลฯ    

คุณ atomicno1 ลองค้นลึกเข้าไปในความหมายของคำเหล่านั้น ทั้งในเชิงของตรรกะ ความคิด และการปฏิบัติ   ก็อาจจะดลให้เห็นภาพ ของ consequences ต่างๆที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นเรื่องราวได้    


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 ต.ค. 23, 20:10
ท่านทูตตัวจริงมาแล้ว  ขอบคุณค่ะ

ถามคุณตั้งแทนคุณเจ้าของกระทู้ว่า มีโอกาสไหนบ้างที่ข้าราชการสถานทูต ที่ยังหนุ่ม (ตำแหน่งไหนก็ได้) จะมีโอกาสพบปะนักเรียนไทย (ที่ยังสาว) และสานมิตรไมตรีกันได้ยาวนาน


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: SILA ที่ 21 ต.ค. 23, 10:34
            ตอนนี้ นึกถึงนิยายเรื่องหนึ่ง คือ รักเร่ ของ โสภาค สุวรรณ
            ความรักของหญิงสาวนักเรียนไทย "วายูน" ที่ได้พบรักกับ "ดร.รามิล" เลขาทูต อนาคตไกล แต่ความรักของเธอมีอุปสรรค
(สถานที่คือ เวียนนา ออสเตรีย)


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 ต.ค. 23, 11:13
พอคุณหมอเอ่ยถึงเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงอีกเรื่อง ทิวาหวาม ของเพ็ญแข วงศ์สง่า


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 21 ต.ค. 23, 14:35
คุณนกข. นักการทูตตัวจริงเสียงจริง เล่าถึงวงการทูตเมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน ไว้ว่า

นักการทูตเป็นอาชีพที่ฟังดูฝัน ๆ อาชีพหนึ่งครับ จึงมีบทบาทโผล่ในนิยายไทยนิยายฝรั่งบ่อย เห็นในละครทีวีไทยก็บ่อย ภาพของนักการทูตในใจคน ผมว่ายังคงเป็นภาพชายหนุ่มรูปหล่อ อาจจะเชื้อพระวงศ์ นักเรียนนอก กิริยามารยาทนุ่มนวล ปากหวานพูดเก่ง  เผลอ ๆ ก็คาบไปป์ และต้องรวยพอที่จะควักสตางค์ส่วนตัวเพื่อหน้าตาของประเทศได้ ดูเหมือนในหนังในนิยายก็ไม่เห็นค่อยต้องทำอะไรนัก ไปงานเลี้ยง ไปเที่ยวเมืองนอก (ยุโรปหรืออเมริกา) พาสาวเที่ยว

ภาพนั้นอาจจะมีเค้าความจริงอยู่บ้าง ในสมัยสักห้าสิบปีมานี้ ฝรั่งเองก็เคยมีภาพนั้น เอ่ยถึง an American diplomat in Paris ล่ะก็ฟังดูหรูหราเชียว แต่สมัยนี้ โดยเฉพาะนักการทูตไทย ภาพนี้จางไปเยอะแล้วครับ อาจจะไม่ถึงกับว่าหายไปหมด แต่มีความเป็นจริงอื่น ๆ เกิดขึ้นคู่กับภาพพวกนี้หลายอย่างหลายประการ

ข้อแรก ไม่จำเป็นเลยที่นักการทูตต้องเป็นพระเอก เป็นนางเอกก็ได้ สมัยนี้ผู้หญิงเป็นนักการทูตออกเยอะไป มาดามอัลไบรต์รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐยังงี้เป็นต้น ที่เมืองไทย เรามีเอกอัครราชทูตหญิง อธิบดีหญิง หลายคนแล้วครับ มีมานานแล้วด้วย เดี๋ยวนี้ก็ยังมี  ในระดับเจ้าหน้าที่ก็มีนักการทูตสาว ๆ เผลอ ๆ จะครึ่งกระทรวงต่างประเทศเข้าไปแล้ว (กระทรวงผมเล็กครับ มีเจ้าหน้าที่ประมาณ ๑,๕๐๐ คนทั่วโลก) ยังไม่นับ "นักการทูตเฉพาะด้าน"  ที่มาจากกระทรวงอื่นอีกล่ะ เรามีข้าราชการที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ ที่ไม่ได้มาจากกระทรวงต่างประเทศแต่ดั้งเดิม เช่น กระทรวงพาณิชย์เป็นต้น ท่านเหล่านี้ก็ทำงานการทูตเหมือนกัน และในจำนวนนั้นก็เป็นผู้หญิงเยอะด้วย

เท่าที่ผมนึกออก นิยายไทยเก่า ๆ ที่ให้ผู้หญิงทำงานทำการเป็นทูต ไม่มีเลย มีแต่จะเป็นคุณหญิงทูต ใหม่หน่อยก็เรื่อง รัฐมนตรีหญิง ของดวงใจละมั้ง เรื่องนั้น นางเอกเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศไทยสมัยอเมริกันถอนฐานทัพเชียวนะครับ ที่ใหม่ขึ้นมากว่านั้นก็คงจะมี เห็นแว็บ ๆ ว่ามีนักการทูตหญิงในนิยายใหม่ๆ ไทยบางเรื่องบ้างแล้ว

ข้อสอง นักการทูตไม่ได้ทำงานอยู่ใน ยุโรป อเมริกา เสมอไปครับ เรามีสถานทูตสถานกงสุล คณะทูตถาวรไทยอยู่ทั่วโลกประมาณ ๗๐ กว่าแห่ง กว่าเท่าไหร่ผมก็ลืม ในแอฟริกาเราก็มี อเมริกาใต้ก็มี เอเชียก็มี เมืองแขกมี เมืองญวนมี พม่ามี ในยุโรปตะวันออกก็มี  แล้วความเป็นอยู่ในที่เหล่านี้ ก็ไม่ถึงกับสบายมากเสมอไป มีตั้งแต่พอทนอยู่ได้ไปจนถึงทนลำบาก แต่ก็ต้องทนให้ได้ หรือทนอยู่ไม่ไหวต้องเผ่นหนีเหมือนกัน ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ไซ่ง่อนหรือพนมเปญตอนจะแตก มีสถานทูตไทยนะครับ คูเวตก็มี ตอนนั้นต้องบริหารวิกฤตกันอุตลุด เบลเกรดก็เคยมีตอนอดีตยูโกสลาเวียจะแตก เดี๋ยวนี้ที่แบกแดดในอิรักที่ถูกมาตรการคว่ำบาตรอยู่ก็ยังมีสถานทูตไทยเปิดทำการอยู่ ผมไม่เคยลำบากเหมือนเพื่อนข้าราชการบางท่าน แต่หนแรกที่ออกประจำการผมไปอยู่เมืองจีน ที่ปักกิ่ง เมื่อหลายปีก่อน ไม่ถึงกับสบายแต่ก็ไม่ถึงกับลำบาก แต่ที่แน่ ๆ ไม่เหมือนยุโรปในนิยายแน่ครับ

ข้อสาม นักการทูตไทยสมัยนี้ ที่เป็นเชื้อพระวงศ์คงมีบ้าง แต่น้อยจะเกือบไม่มีแล้ว ที่ร่ำรวยก็พอจะมี แต่ที่เป็นคนชั้นกลางก็มี และเยอะขึ้นเรื่อย ๆ ครับ (ผมก็บ้านไม่รวย - แหะ ๆ) อาจารย์ "ดวงใจ" และ คุณประภัสสร เสวิกุล เคยเขียนถึงนักการทูตพวกนี้ไว้ในนิยายไทยเหมือนกัน เช่น ฝันคว้าง หรือ เมเปิ้ลแดง ต่างจากพระเอกนักการทูตรุ่นเก่า (ซึ่งสะท้อนความจริงสมัยนั้น) ที่ต้องมีสมบัติเก่ามากพอที่จะมารับราชการเอาแต่เกียรติ แล้วแถมเผลอ ๆ ก็ควักเงินส่วนตัวจุนเจือหลวงอีก ความจริงสมัยนี้ก็ยังมีครับ บางกรณี ที่เราเห็นว่าค่าใช้จ่ายบางอย่างเบิกไม่ได้ก็หยวน ๆ ไป ช่วยราชการเท่าที่เราพอจะมีกำลังทำได้ แต่ว่า ไม่ใช่ทุกคนแล้วครับที่จะมีคฤหาสน์บ้านทรายทองอยู่ที่กรุงเทพฯ เหมือนชายกลาง

คุณนกข. เล่าไว้อีกหลายประการ หากคุณ atomicno1 สนใจลองเข้าไปอ่านได้ที่กระทู้ นักการทูตในชีวิตจริง กับภาพฝันของนักเขียนในนิยาย (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=167.0)


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 21 ต.ค. 23, 15:14
 
อ้างถึง
หนูอยากเขียนนิยายแนวนี้เพราะว่าชอบนิยายที่มีการดำเนินเรื่องในช่วงยุคสมัยนี้มากเลยค่ะ
    ขอถามหน่อยค่ะ ช่วยยกนิยายที่มีการดำเนินเรื่องในยุค 2510-20 ที่หนูอ่านและชอบมาให้เห็นหน่อยได้ไหม
เป็นนิยายพาฝันอย่าง จำเลยรัก หรือวรรณกรรมเพื่อชีวิต  เผื่อจะเข้าใจคำถามมากขึ้น
     ส่วนตัวเองก็คงไม่เขียนถึงสังคมต่างถิ่นที่ตัวเองไม่มีประสบการณ์   ในยุคสมัยที่นึกภาพไม่ออก   ในอาชีพต่างๆเช่นเจ้าหน้าที่สถานทูต ที่ไม่เคยพบเห็น    มันยากมากที่จะเริ่ม   และจะยากขึ้นเรื่อยๆขณะเขียน
    แต่ก็อวยพรให้หนูฝ่าฟันไปได้จนจบก็แล้วกัน  
    ขอท่านอื่นๆเข้ามาแนะนำด้วยนะคะ  

ก่อนอื่นหนูขอโทษค่ะที่มาตอบช้า มาเห็นกระทู้อีกทีมีหลายท่านมาตอบเยอะมากเลย ขอบพระคุณทุกๆ ท่านเป็นอย่างสูงค่ะ

นิยายที่ชอบ พอหนูกลับไปค้นดูว่าพิมพ์ครั้งแรกเมื่อไหร่ ส่วนใหญ่ถอยหลังไปอยู่ที่ประมาณ 2490 กว่าๆ จนประมาณไม่เกิน 2510 ซะเป็นส่วนมากเลยค่ะ

ถ้าพาฝัน หนูชอบตั้งแต่คู่กรรม เซ็ตปริศนาทั้งเซ็ตเลย ปราสาทมืด มาลัยสามชาย ละอองดาว อันนี้คือเท่าที่คิดออกว่ามีการดำเนินเรื่องอยู่ในยุคสมัยนี้หรือตีพิมพ์ในช่วงนี้ค่ะ
ถ้าเป็นเพื่อชีวิต หนูไม่แน่ใจว่าชอบเรื่องอะไรบ้าง แต่น่าจะมีตึกกรอสส์ เรื่องของน้ำพุ บ้านน้อยในโพรงไม้ (ไม่แน่ใจนะคะว่าเป็นวรรณกรรมเพื่อชีวิตหรือออกแนวเป็นวรรณกรรมเยาวชน) ขุนทองเจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง

โดยส่วนตัวแล้วหนูเป็นคนชอบอ่านนิยายสืบสวนสอบสวนหรือแนวเรื่องสั้นหักมุม แต่เวลาเขียนนิยายชอบเขียนนิยายรักค่ะ
ที่หนูอยากลองเขียนดู อาจจะเป็นเพราะว่าเมื่อก่อนตอนเด็กๆ ได้อ่านนิยายที่คุณแม่เก็บไว้ อ่านนิยายรักหรือแนวพาฝันเรื่องแรกในชีวิตก็คือในฝันกับรัตนาวดีค่ะ พอโตมาอีกหน่อยก็เห็นละครที่แต่งตัวน่ารักดีค่ะ เลยอยากลองเขียนดู เห็นนักเขียนคนอื่นๆ เขาเขียนแนวนี้กันเยอะพอสมควรด้วย แต่หาข้อมูลค่อนข้างมหาศาลเลยค่ะ  :'( แต่ก็ยังอยากลองเขียนดูสักตั้งค่ะ

อีกแรงบันดาลใจหนึ่งที่อยากเขียนเพราะว่าหนูมีอาจารย์ที่ท่านเคยใช้ชีวิตอยู่ในยุคสมัยนั้นนั่นแหละค่ะ แล้วพอได้เรียนกับท่าน รู้สึกสนุกมากเวลาท่านเล่าเรื่องเก่าๆ ให้ฟัง รู้สึกว่าท่านเป็นผู้หญิงที่เท่มาก หนูเลยอยากลองเขียนนิยายที่นางเอกเป็นคนที่มีบุคลิกแบบนั้นบ้างค่ะ



กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 21 ต.ค. 23, 15:18
นร ทุนที่ไปเรียนอังกฤษก็ไม่มีเหตุใด ๆ ที่จะต้องไปทำที่สถานทูตครับ  ยกเว้นไปทำ passport ใหม่  ส่วนในอดืตห้าสิบปีก่อน เวลาสถานทูตมีงานจัดเลี้ยงต่าง ๆ ก็คงไม่เชิญ นร ทุนเช่นกัน อาจจะยกเว้น นร ทุนที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์แต่ผมก็ไม่แน่ใจครับ   

อาจจะต้องปรับพล็อตใหม่ดูครับ หรืออิงจากเรื่องจริงที่มีสุภาพสตรีหลายท่านในวงสังคมไทยในอดีตที่เคยเป็นลูกทูตอะไรแบบนี้

ยากเหมือนกันนะคะ สถานการณ์ที่จะไปเจอกันได้ ทำไมในนิยายที่หนูอ่าน (แต่เป็นนิยายที่เขียนโดยนักเขียนยุคหลังๆ ที่เขียนถึงยุคนั้น) ค่อนข้างเจอกันง่ายจัง 555
หนูอาจจะต้องปรับพล็อตหรืออาจจะต้องปรับสถานการณ์บางอย่างจริงๆ นั่นแหละค่ะ
ขออนุญาตสอบถามอีกหน่อยค่ะ แล้วถ้าเกิดนักเรียนทุน สมมุติเป็นนักเรียนทุนหลวงก็ได้ค่ะ เกิดประสบอุบัติเหตุบางอย่าง อย่างนี้สถานทูตจะเข้ามาเกี่ยวข้องบ้างไหมคะ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 21 ต.ค. 23, 15:25
   
    เห็นทีหนูอาจจะต้องปรับให้ตัวนางเอกเองเรียนพยาบาลหรือแพทย์น่าจะพอสมเหตุสมผลขึ้นมาบ้าง
   
    ช่วงศตวรรษที่ 2510-15  เป็นช่วงสงครามเวียดนาม   อเมริกาขาดแคลนแพทย์พยาบาล เพราะส่งไปรบเสียเยอะ  จึงรับแพทย์พยาบาลจากไทยและประเทศอื่นๆ ไม่อั้น    บุคลากรทางการแพทย์ของเราได้วีซ่าง่ายดาย  อพยพไปอยู่ในอเมริกากันเยอะมาก ว่ากันว่าเช่าเครื่องบินเหมาลำกันไปเลย    รับเงินเดือนสูงลิบ  คุณน้าของเพื่อนไปเป็นพยาบาลอยู่ชิคาโก ขับโรลสรอยซ์ไปทำงาน
    ดิฉันรู้จักหลายท่านด้วยกัน  ปัจจุบันก็อยู่ในวัย 70 ขึ้นไปกันหมดแล้ว  ย้อนหลังไป 50 ปียังเป็นหนุ่มสาววัยนางเอกของหนูกันทั้งนั้น
   ลองพิจารณาดูว่าจะให้นางเอกสมัครงานไปเป็นแพทย์หรือพยาบาลที่อเมริกาไหม   
   ส่วนสถานทูต ยังหาเหตุผลให้ไปเจอกันไม่ได้อยู่ดี 

อาจจะต้องปรับให้เรียนแพทย์หรือพยาบาลอย่างที่คุณเทาชมพูแนะนำจริงๆ ค่ะ เพราะว่าหนูลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมา เจอข้อมูลว่ามีสุภาพสตรีท่านหนึ่งสามารถสอบชิงทุนหลวงได้ไปเรียนต่อที่สหรัฐฯ ในสาขาแพทย์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2469 -2470 กว่าๆ เลยคิดว่าถ้าเป็นนางเอกไปเรียนแพทย์หรือพยาบาลคงน่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่าเรียนกฎหมายหรืออาชญาวิทยาจริงๆ ค่ะ (ซึ่งถ้าหนูจำไม่ผิด มีสุภาพสตรีที่ได้เรียนวิชากฎหมายเช่นเดียวกันแต่ว่าตอนนี้หนังสืออยู่ที่บ้านเลยไม่สามารถค้นข้อมูลได้ค่ะว่าเป็นการไปเรียนในปี พ.ศ. ใด)


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 21 ต.ค. 23, 15:41
เคยได้รับทุนไปเรียนต่อในสหรัฐฯ ไม่เคยไปสถานทูตและก็ไม่เคยพบกับข้าราชการของสถานทูตผู้ใดเลย  การติดต่อกับสถานทูตเท่าที่จำได้ ก็ดูจะมีการติดต่อกันอยู่เพียงครั้งเดียวในเรื่องของการต่ออายุ Passport   

ก็คงจะต้องเป็นเช่นนั้น เพราะว่า ม.ที่เรียนตั้งอยู่ในอีกรัฐหนึ่งห่างไกลจากเมืองและรัฐที่เป็นที่ตั้งของสถานทูต  สถานกงสุลใหญ่ของไทยซึ่งมีลักษณะกลายๆคล้ายๆกับสถานทูตก็มีอยู่ใน 2-3 รัฐเท่านั้น  ส่วนสำนักงานกงสุลกิติมศักดิ์ที่อาจจะมีกระจายอยู่ในบางรัฐ ก็ไม่ทราบว่ามี เป็นผู้ใด หรืออยู่ที่ใดกันบ้าง

คนไทยและนักเรียนไทยที่มีถิ่นพำนักหรือเรียนหนังสืออยู่ในพื้นที่ๆไม่ไกลจากที่ตั้งของสถานทูต จะเป็นกลุ่มคนที่ที่มีความใกลชิดและสนิทสนมกับสถานทูตค่อนข้างมาก ทั้งในเชิงของความเป็นคนไทยและในเชิงของการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ 

สำหรับในเรื่องของธรรมเนียมทางการทูตนั้น

ก็เคยอยู่ประจำการทำงานในสถานะ Diplomats ในยุโรป(ออสเตรีย) ที่มีลักษณะงานทั้งแบบพหุภาคี(งานหลัก)และงานแบบทวิภาคี(งานรอง) และที่ญี่ปุ่นซึ่งลักษณะงานหลักแบบทวิภาคี   เห็นว่า ธรรมเนียมปฏิบัติโดยพื้นๆในงานเชิงพหุภาคีกับเชิงทวิภาคีซึ่งดูน่าจะไม่ต่างกันนั้น หากแต่ในทางการปฏิบัติจริง มันก็มีความต่างอยู่ไม่น้อย    ก็มีอยู่หลายคำศัพท์บัญญัติที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของคำว่าธรรมเนียม เช่น  custom, etiquette, protocol, code of conduct .... ฯลฯ   

คุณ atomicno1 ลองค้นลึกเข้าไปในความหมายของคำเหล่านั้น ทั้งในเชิงของตรรกะ ความคิด และการปฏิบัติ   ก็อาจจะดลให้เห็นภาพ ของ consequences ต่างๆที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นเรื่องราวได้     

ขอบพระคุณคุณ naitang มากๆ เลยค่ะ

งานในหน้าที่ทูตหนูจะพยายามหาข้อมูลให้มากขึ้นค่ะ หลังจากที่เห็นคำแนะนำหนูเลยไปลองหาข้อมูลคำศัพท์ดู พบว่ากระทรวงการต่างประเทศมีคำศัพท์ต่างๆ เอาไว้ด้วย เป็นประโยชน์กับหนูมากเลยค่ะ
ที่หนูจะติดมากๆ จะมีอย่างเช่น มารยาททางการทูต การวางตัว ข้อห้ามข้อปฏิบัติ หรือสำนวนติดปาก ธรรมเนียมปฏิบัติยิบย่อยต่างๆ อะไรอย่างนี้ จะพอมีหนังสือหรือแหล่งข้อมูลไหนที่สามารถค้นหาได้บ้าง หนูลองตามหาทางอินเตอร์เน็ตก็พอเจออยู่บ้างแต่ไม่รู้ว่าครอบคลุมหรือไม่น่ะค่ะ

ข้อมูลตรงนี้หนูอยากทราบเพื่อที่จะสร้างตัวละครพระเอกขึ้นมาว่าในสถานการณ์แบบนี้พระเอกจะทำยังไง ตอบสนองแบบไหน หรือมีคำพูดอะไรที่เหล่านักการทูตอาจจะพูดเป็นพื้นฐาน ตัวพระเอกหนูน่าจะมีตำแหน่งเลขานุการเอกค่ะ ซึ่งหนูก็ยังพยายามหาข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้อยู่ค่ะ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 21 ต.ค. 23, 15:50
คุณนกข. นักการทูตตัวจริงเสียงจริง เล่าถึงวงการทูตเมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน ไว้ว่า

นักการทูตเป็นอาชีพที่ฟังดูฝัน ๆ อาชีพหนึ่งครับ จึงมีบทบาทโผล่ในนิยายไทยนิยายฝรั่งบ่อย เห็นในละครทีวีไทยก็บ่อย ภาพของนักการทูตในใจคน ผมว่ายังคงเป็นภาพชายหนุ่มรูปหล่อ อาจจะเชื้อพระวงศ์ นักเรียนนอก กิริยามารยาทนุ่มนวล ปากหวานพูดเก่ง  เผลอ ๆ ก็คาบไปป์ และต้องรวยพอที่จะควักสตางค์ส่วนตัวเพื่อหน้าตาของประเทศได้ ดูเหมือนในหนังในนิยายก็ไม่เห็นค่อยต้องทำอะไรนัก ไปงานเลี้ยง ไปเที่ยวเมืองนอก (ยุโรปหรืออเมริกา) พาสาวเที่ยว

ภาพนั้นอาจจะมีเค้าความจริงอยู่บ้าง ในสมัยสักห้าสิบปีมานี้ ฝรั่งเองก็เคยมีภาพนั้น เอ่ยถึง an American diplomat in Paris ล่ะก็ฟังดูหรูหราเชียว แต่สมัยนี้ โดยเฉพาะนักการทูตไทย ภาพนี้จางไปเยอะแล้วครับ อาจจะไม่ถึงกับว่าหายไปหมด แต่มีความเป็นจริงอื่น ๆ เกิดขึ้นคู่กับภาพพวกนี้หลายอย่างหลายประการ

ข้อแรก ไม่จำเป็นเลยที่นักการทูตต้องเป็นพระเอก เป็นนางเอกก็ได้ สมัยนี้ผู้หญิงเป็นนักการทูตออกเยอะไป มาดามอัลไบรต์รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐยังงี้เป็นต้น ที่เมืองไทย เรามีเอกอัครราชทูตหญิง อธิบดีหญิง หลายคนแล้วครับ มีมานานแล้วด้วย เดี๋ยวนี้ก็ยังมี  ในระดับเจ้าหน้าที่ก็มีนักการทูตสาว ๆ เผลอ ๆ จะครึ่งกระทรวงต่างประเทศเข้าไปแล้ว (กระทรวงผมเล็กครับ มีเจ้าหน้าที่ประมาณ ๑,๕๐๐ คนทั่วโลก) ยังไม่นับ "นักการทูตเฉพาะด้าน"  ที่มาจากกระทรวงอื่นอีกล่ะ เรามีข้าราชการที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ ที่ไม่ได้มาจากกระทรวงต่างประเทศแต่ดั้งเดิม เช่น กระทรวงพาณิชย์เป็นต้น ท่านเหล่านี้ก็ทำงานการทูตเหมือนกัน และในจำนวนนั้นก็เป็นผู้หญิงเยอะด้วย

เท่าที่ผมนึกออก นิยายไทยเก่า ๆ ที่ให้ผู้หญิงทำงานทำการเป็นทูต ไม่มีเลย มีแต่จะเป็นคุณหญิงทูต ใหม่หน่อยก็เรื่อง รัฐมนตรีหญิง ของดวงใจละมั้ง เรื่องนั้น นางเอกเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศไทยสมัยอเมริกันถอนฐานทัพเชียวนะครับ ที่ใหม่ขึ้นมากว่านั้นก็คงจะมี เห็นแว็บ ๆ ว่ามีนักการทูตหญิงในนิยายใหม่ๆ ไทยบางเรื่องบ้างแล้ว

ข้อสอง นักการทูตไม่ได้ทำงานอยู่ใน ยุโรป อเมริกา เสมอไปครับ เรามีสถานทูตสถานกงสุล คณะทูตถาวรไทยอยู่ทั่วโลกประมาณ ๗๐ กว่าแห่ง กว่าเท่าไหร่ผมก็ลืม ในแอฟริกาเราก็มี อเมริกาใต้ก็มี เอเชียก็มี เมืองแขกมี เมืองญวนมี พม่ามี ในยุโรปตะวันออกก็มี  แล้วความเป็นอยู่ในที่เหล่านี้ ก็ไม่ถึงกับสบายมากเสมอไป มีตั้งแต่พอทนอยู่ได้ไปจนถึงทนลำบาก แต่ก็ต้องทนให้ได้ หรือทนอยู่ไม่ไหวต้องเผ่นหนีเหมือนกัน ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ไซ่ง่อนหรือพนมเปญตอนจะแตก มีสถานทูตไทยนะครับ คูเวตก็มี ตอนนั้นต้องบริหารวิกฤตกันอุตลุด เบลเกรดก็เคยมีตอนอดีตยูโกสลาเวียจะแตก เดี๋ยวนี้ที่แบกแดดในอิรักที่ถูกมาตรการคว่ำบาตรอยู่ก็ยังมีสถานทูตไทยเปิดทำการอยู่ ผมไม่เคยลำบากเหมือนเพื่อนข้าราชการบางท่าน แต่หนแรกที่ออกประจำการผมไปอยู่เมืองจีน ที่ปักกิ่ง เมื่อหลายปีก่อน ไม่ถึงกับสบายแต่ก็ไม่ถึงกับลำบาก แต่ที่แน่ ๆ ไม่เหมือนยุโรปในนิยายแน่ครับ

ข้อสาม นักการทูตไทยสมัยนี้ ที่เป็นเชื้อพระวงศ์คงมีบ้าง แต่น้อยจะเกือบไม่มีแล้ว ที่ร่ำรวยก็พอจะมี แต่ที่เป็นคนชั้นกลางก็มี และเยอะขึ้นเรื่อย ๆ ครับ (ผมก็บ้านไม่รวย - แหะ ๆ) อาจารย์ "ดวงใจ" และ คุณประภัสสร เสวิกุล เคยเขียนถึงนักการทูตพวกนี้ไว้ในนิยายไทยเหมือนกัน เช่น ฝันคว้าง หรือ เมเปิ้ลแดง ต่างจากพระเอกนักการทูตรุ่นเก่า (ซึ่งสะท้อนความจริงสมัยนั้น) ที่ต้องมีสมบัติเก่ามากพอที่จะมารับราชการเอาแต่เกียรติ แล้วแถมเผลอ ๆ ก็ควักเงินส่วนตัวจุนเจือหลวงอีก ความจริงสมัยนี้ก็ยังมีครับ บางกรณี ที่เราเห็นว่าค่าใช้จ่ายบางอย่างเบิกไม่ได้ก็หยวน ๆ ไป ช่วยราชการเท่าที่เราพอจะมีกำลังทำได้ แต่ว่า ไม่ใช่ทุกคนแล้วครับที่จะมีคฤหาสน์บ้านทรายทองอยู่ที่กรุงเทพฯ เหมือนชายกลาง

คุณนกข. เล่าไว้อีกหลายประการ หากคุณ atomicno1 สนใจลองเข้าไปอ่านได้ที่กระทู้ นักการทูตในชีวิตจริง กับภาพฝันของนักเขียนในนิยาย (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=167.0)

ขอบพระคุณมากๆ เลยค่ะคุณเพ็ญชมพู

เป็นกระทู้ที่น่าสนใจมากๆ เลยค่ะ เดี๋ยวต้องตามไปอ่านอย่างแน่นอนค่ะ  ;D
หนูเองอยากเขียนนักการทูตผู้หญิงมากเลยค่ะ จริงๆ แล้วมีรุ่นน้องที่เคยทำงานร่วมกันอยู่คนหนึ่งเป็นเด็กที่เก่งมากๆๆๆ เลย เมื่อประมาณ 2 ปีก่อนเธอสอบเข้ารับราชการในตำแหน่งนักการทูตปฏิบัติการได้ ตื่นเต้นดีใจกันมากเลยค่ะ แต่ว่าเธอยังไม่ได้ออกโพสต์นะคะ ตอนนี้ไปเรียนต่อที่เมืองนอกเพราะว่าเธอเป็นเด็กทุน กพ. ค่ะ เลยไม่ค่อยได้ติดต่อกัน

แต่ความจริงแล้วหนูคงถูกกล่อมเกลาด้วยนิยายทั้งหลายที่นักการทูตจะเป็นผู้ชายจริงๆ นั่นแหละค่ะ อาจจะด้วยตัวนิยายที่ดำเนินเรื่องในยุคสมัยก่อนด้วย ซึ่งหนูไม่รู้ว่าในช่วงนั้นมีนักการทูตผู้หญิงบ้างหรือยัง คงต้องกลับไปทำการบ้านให้หนักกว่านี้แล้วค่ะ เผื่อจะได้เขียนเรื่องต่อไปด้วย  :-[

หนูไม่ค่อยเขียนนิยายที่พระเอกรวยเท่าไหร่ค่ะ ส่วนใหญ่ก็อยู่ในระดับที่พอมีพอกิน แต่ไม่ได้รวยมาก และชอบให้มีฉากทำงานอย่างจริงจังอยู่ในนิยายบ้างไม่มากก็น้อยค่ะ แต่แอบปลื้มนิยายที่พระเอกเป็นนักการทูตเพราะแพ้กิริยามารยาทนี่ล่ะค่ะ 555


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 21 ต.ค. 23, 16:16
ท่านทูตตัวจริงมาแล้ว  ขอบคุณค่ะ

ถามคุณตั้งแทนคุณเจ้าของกระทู้ว่า มีโอกาสไหนบ้างที่ข้าราชการสถานทูต ที่ยังหนุ่ม (ตำแหน่งไหนก็ได้) จะมีโอกาสพบปะนักเรียนไทย (ที่ยังสาว) และสานมิตรไมตรีกันได้ยาวนาน

ขอรอคำตอบด้วยค่ะ

ขอสอบถามเพิ่มเติมด้วยค่ะว่า ปกติเวลากลับจากการประจำการที่ต่างประเทศแล้ว จะสลับประเทศต่อเลยหรือว่ากลับมาที่ไทยก่อนคะ

            ตอนนี้ นึกถึงนิยายเรื่องหนึ่ง คือ รักเร่ ของ โสภาค สุวรรณ
            ความรักของหญิงสาวนักเรียนไทย "วายูน" ที่ได้พบรักกับ "ดร.รามิล" เลขาทูต อนาคตไกล แต่ความรักของเธอมีอุปสรรค
(สถานที่คือ เวียนนา ออสเตรีย)

พอคุณหมอเอ่ยถึงเรื่องนี้ ทำให้นึกถึงอีกเรื่อง ทิวาหวาม ของเพ็ญแข วงศ์สง่า

หนูเคยได้ยินชื่อนิยายเรื่องรักเร่ แต่ยังไม่เคยได้อ่านเลยค่ะ ส่วนทิวาหวามนี่ไม่เคยได้ยินชื่อเลย คงต้องตามหามาอ่านซะแล้ว


หนูขอบพระคุณทุกๆ ท่านจริงๆ ค่ะที่กรุณามาให้คำตอบกับนักหัดเขียนอย่างหนู โดยปกติแล้วหนูจะเขียนนิยายที่ตัวเองค่อนข้างมีความรู้ความเข้าใจอยู่แล้ว แต่นิยายที่พระเอกเป็นหม่อมเจ้า หรือแนวนักการทูตหนุ่มนี่เป็นอะไรที่ติดอยู่ในใจ แบบอยากเขียนสักครั้งจริงๆ ค่ะ

ความจริงหนูเคยเห็นนิยายหลายเรื่องที่มีนักเขียนหลายท่านเขียนลงเว็บไซต์บ้าง หรือตีพิมพ์รวมเล่มบ้าง ก็เขียนเรื่องเกี่ยวกับพระเอกที่เป็นเชื้อพระวงศ์หรือมีตำแหน่งนักการทูตเยอะเหมือนกัน นี่ก็อยากเขียนบ้างแต่ว่าไม่ได้รู้จักกับคนเขียนคนอื่นและไม่มีช่องทางที่จะติดต่อได้เลย เลยต้องมาขอสอบถามในเรือนไทย ถ้าไม่หาข้อมูลเลยมันรู้สึกผิดยังไงก็ไม่รู้ค่ะ เพราะหนูเคยเขียนนิยายแล้วลงให้อ่านในเว็บพันทิปครั้งหนึ่ง จำได้ติดใจเลยว่านิยายหนูมีชื่อของตัวละครหญิงเป็นชื่อดอกไม้แบบดอกไม้ปกติเลย เซ็ตติ้งเป็นสมัยรัชกาลที่ 5 ค่ะ ปรากฎว่ามีท่านหนึ่งในนั้นทักท้วงว่าชื่อดอกไม้ที่หนูเเขียน ในสมัยรัชกาลที่ 5 น่าจะยังไม่มี ไม่ใช่พืชพื้นถิ่น ตอนนั้นหนูช็อกมากเลยค่ะ  ::) ตั้งแต่นั้นมาคือถ้าจะเขียนอะไรก็ต้องมีข้อมูลที่อยากจะเขียนอยู่ในมือก่อน แต่ก็เข้าใจความรู้สึกของคนที่รู้มาเจอนิยายที่เขียนโดยผู้เขียนที่ไม่ได้หาข้อมูลมามากพอ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่หนูได้อ่านนิยายที่มีบทบรรยายเกี่ยวกับการพิจารณาคดีในศาลไทย ประเทศไทย เซ็ตติ้งเป็นยุคปัจจุบัน แต่คนเขียนบรรยายว่าทนายลุกขึ้นแถลงว่า "ข้าแต่ท่านผู้พิพากษา และคณะลูกขุน..." นี่ก็ช็อกอีกเหมือนกัน 555

ที่สำคัญ หนูรู้สึกว่าตอนนี้เวลาเขียนนิยาย ยิ่งลงในเว็บไซต์เป็นตอนๆ ก่อน ยิ่งเสี่ยงต่อการถูก "แหก" ง่าย บางครั้งตัวนักอ่านเองไม่มีความเข้าใจมากพอก็เอานิยายของเราไปด่าซะงั้น (กรณีล่าสุดคือ นักอ่านไม่รู้จักคำว่าฝนห่าใหญ่ และเข้าใจว่านักเขียนเขียนคำหยาบคาย เลยเอาไปด่าในทวิตเตอร์) บางคนก็ติดความรู้ความเข้าใจผิดๆ จากนิยายไปเลย ซึ่งมีแบบนั้นจริงๆ ค่ะ หนูเลยอยากรู้ข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ

ดังนั้นทุกท่านอย่าเพิ่งรำคาญหนูนะคะ  ;D


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 21 ต.ค. 23, 22:03
เอาใจช่วยให้แต่งสำเร็จและรออ่าน(ฟรี) ครับ :P


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 22 ต.ค. 23, 14:49
เอาใจช่วยให้แต่งสำเร็จและรออ่าน(ฟรี) ครับ :P

หนูจะพยายามค่ะ แต่ขอคุณประกอบเป็นแหล่งข้อมูลนักเรียนนอกด้วยได้ไหมคะ  :) ;D


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 ต.ค. 23, 19:14
ท่านทูตตัวจริงมาแล้ว  ขอบคุณค่ะ

ถามคุณตั้งแทนคุณเจ้าของกระทู้ว่า มีโอกาสไหนบ้างที่ข้าราชการสถานทูต ที่ยังหนุ่ม (ตำแหน่งไหนก็ได้) จะมีโอกาสพบปะนักเรียนไทย (ที่ยังสาว) และสานมิตรไมตรีกันได้ยาวนาน

ขออภัยอาจารย์ครับ เมื่อวานนี้ไปงานศพเพื่อน เลยไม่ได้ให้ความเห็นกับข้อปุจฉาของอาจารย์  ;D 

เรื่องแรก ผมเป็นเพียงผู้ที่เคยทำงานเฉพาะด้านภายใต้เอกสิทธิ์ทางการทูต (diplomatic immunity) ในตำแหน่งที่ผู้คนมักจะชอบใช้คำว่า"ทูต"นำหน้าชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจนั้นๆ เช่น ทูตพานิชย์ ทูตอุตสาหกรรม ทูตแรงงาน ทูตทหาร ... คำเรียกในอีกลักษณะอื่นๆก็  เช่น ผู้แทนสำนักงาน... ผู้ดูแลนักเรียนไทย      ตำแหน่งเหล่านี้ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบของประเทศใดๆส่วนมาก ดูจะมีตำแหน่งของสถานะทางการทูตตั้งแต่ระดับ Counsellor (ที่ปรึกษา) จนถึงระดับ Minister (อัครราชทูต)  แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นตำแหน่งระดับ Minister Counsellor (อัครราชทูตที่ปรึกษา) ซึ่งอยู่กลางๆระหว่างสองตำแหน่งที่กล่าวมา    อนึ่ง ระดับตำแหน่งสำหรับผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูตเหล่านี้ หากเป็นผู้ที่มิได้ปฏิบัติงานอยู่ในสายงานหลักทางการทูต (กระทรวงการต่างประเทศ) ก็จะมักจะมีวงเล็บท้ายชื่อที่บ่งถึงภารกิจของตน ซึ่งโดยนัยก็คือบ่งชี้ถึงต้นตอของตนที่สังกัดอยู่ ซึ่งคำที่อยู่ในวงเล็บท้ายชื่อนี้มีผลค่อนข้างมากในการปฏิบัติภารกิจต่างๆให้ประสบผลสำเร็จและเกิดผลสัมฤทธิ์


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 22 ต.ค. 23, 20:25
สำหรับกรณี ..."มีโอกาสไหนบ้างที่ข้าราชการสถานทูต ที่ยังหนุ่ม (ตำแหน่งไหนก็ได้) จะมีโอกาสพบปะนักเรียนไทย (ที่ยังสาว) และสานมิตรไมตรีกันได้ยาวนานนักการทูตหนุ่ม" นั้น

ที่ขยายความมานั้น อย่างน้อยก็ให้ข้อมูลว่า ผู้ที่ไปประจำการในฐานะหรือสถานะนัการทูตนั้น  ออท.(เอกอัครราชทูต) น่าจะอยู่ในวัยอายุ ประมาณ 50++/-   อท.(อัครราชทูต)ที่เป็นเบอร์สองของ สอท.(สถานทูต)นั้นก็น่าจะอยู่ในวัยประมาณ 50+/--   อัครราชทูตที่ปรึกษาที่เป็นเบอร์สามของ สอท. ก็น่าจะอยู่ในวัยประมาณ 40++/-    ที่ปรึกษาก็น่าจะอยูัในวัยประมาณ 35+/-  เลขานุการเอก โท ก็น่าจะอยู่ในวัยประมาณ 30 +/-  ส่วนเลขานุการตรี ก็น่าจะอยู่ในวัย 25++   

มีโอกาสใดบ้าง ?  ก็ดูจะมีไม่มากนักครับ  งานที่มีโอกาสจะได้พบเห็นกันก็จะมีเช่น งานที่จัดภายในพื้นที่ของสถานทูต งานที่จัดในพื้นที่สาธารณะประเภทการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ และงานเฉพาะกิจ/เฉพาะกรณีต่างๆ 


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 ต.ค. 23, 18:04
ลืมไปว่า ผู้เดียวที่มีโอกาสพบและใกล้ชิดกับนักเรียนไทยมากที่สุด ก็คือผู้ดูแลนักเรียนไทย

ขอให้ข้อมูลประกอบด้วยว่า แต่ละสถานทูตที่เราอาจจะเห็นว่ามีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการอยู่เป็นจำนวนมากนั้น  สถานทูตของประเทศใหญ่ๆก็อาจมีถึงหลักร้อยหรือหลายร้อยคน  สถานทูตของประเทศเล็กๆก็อาจมีได้ในระดับหลายสิบคน   ในกลุ่มคนที่ทำงานในสถานทูตเหล่านี้ ที่เป็นเจ้าหน้าที่ทางการทูตที่มีเอกสิทธิ์คุ้มครองจริงๆนั้นจะมีอยู่ไม่มากนัก  สำหรับสถานทูตของประเทศเล็กๆอาจจะมีอยู่ในระดับ 10-30 คน (รวมทุกหน่วยงาน) ผู้คนนอกจากนี้จะเป็นกลุ่มคนที่เรียกกันว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (local staff) ซึ่งมักจะประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติและสัญชาติ เช่น พนักงานขับรถก็นิยมจะเป็นพวกฟิลิปินส์  มีสถานทูตหลายประเทศใช้พ่อครัว/แม่ครัวคนไทย ....

เลยทำให้นึกถึงอีกหนึ่งโอกาสสำหรับการพบปะกันระหว่างนักการทูตกับนักเรียน ก็คือ กรณีการมาฝึกงาน กรณีมาช่วยงานในช่วงปิดภาดเรียน กรณี กรณีเกิดปัญหากระทันหันต้องค้างแรมจากเหตุที่ไม่คาดฝัน


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 ต.ค. 23, 18:55
คุณ atomicno1 ถามว่า "ปกติเวลากลับจากการประจำการที่ต่างประเทศแล้ว จะสลับประเทศต่อเลยหรือว่ากลับมาที่ไทยก่อนคะ" 

ในเชิงของการกระทำที่เป็นจริง ด้วยที่คำสั่งจะออกในรูปของการพ้นจากตำแหน่งเดิม ย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ในที่ใหม่ ทำให้ต้องมีเรื่องของการเดินทาง  สำหรับในระดับ ออท.นั้น มีกรณีที่จะต้องกลับมาเพื่อรับมอบอำนาจสำหรับการเป็นผู้มีอำนาจเต็มในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐที่จะไปประจำการ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับมอบโดยตรงจากประมุขของรัฐ   สำหรับนัการทูตในระดับอื่นๆนั้น ก็จะมีทั้งลักษณะการเดินทางต่อไปยังประเทศใหม่โดยตรงเลย และแบบการเดินทางผ่านหรือกลับมาด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ลาพัก มีข้อจำกัดเรื่องของการเดินทางโดยตรง มีข้อจำกัดด้านระเบียบ ความไม่พร้อมที่ปลายทาง ... ฯลฯ   


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 25 ต.ค. 23, 02:32
ขอโทษจริงๆ ค่ะที่มาตอบช้ามาก

ก่อนอื่นขอขอบพระคุณคุณ naitang อีกครั้งนะคะที่ได้กรุณามาให้คำตอบอย่างละเอียดเลย ซาบซึ้งใจมากจริงๆ ค่ะ

ท่านทูตตัวจริงมาแล้ว  ขอบคุณค่ะ

ถามคุณตั้งแทนคุณเจ้าของกระทู้ว่า มีโอกาสไหนบ้างที่ข้าราชการสถานทูต ที่ยังหนุ่ม (ตำแหน่งไหนก็ได้) จะมีโอกาสพบปะนักเรียนไทย (ที่ยังสาว) และสานมิตรไมตรีกันได้ยาวนาน

ขออภัยอาจารย์ครับ เมื่อวานนี้ไปงานศพเพื่อน เลยไม่ได้ให้ความเห็นกับข้อปุจฉาของอาจารย์  ;D 

เรื่องแรก ผมเป็นเพียงผู้ที่เคยทำงานเฉพาะด้านภายใต้เอกสิทธิ์ทางการทูต (diplomatic immunity) ในตำแหน่งที่ผู้คนมักจะชอบใช้คำว่า"ทูต"นำหน้าชื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจนั้นๆ เช่น ทูตพานิชย์ ทูตอุตสาหกรรม ทูตแรงงาน ทูตทหาร ... คำเรียกในอีกลักษณะอื่นๆก็  เช่น ผู้แทนสำนักงาน... ผู้ดูแลนักเรียนไทย      ตำแหน่งเหล่านี้ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบของประเทศใดๆส่วนมาก ดูจะมีตำแหน่งของสถานะทางการทูตตั้งแต่ระดับ Counsellor (ที่ปรึกษา) จนถึงระดับ Minister (อัครราชทูต)  แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นตำแหน่งระดับ Minister Counsellor (อัครราชทูตที่ปรึกษา) ซึ่งอยู่กลางๆระหว่างสองตำแหน่งที่กล่าวมา    อนึ่ง ระดับตำแหน่งสำหรับผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูตเหล่านี้ หากเป็นผู้ที่มิได้ปฏิบัติงานอยู่ในสายงานหลักทางการทูต (กระทรวงการต่างประเทศ) ก็จะมักจะมีวงเล็บท้ายชื่อที่บ่งถึงภารกิจของตน ซึ่งโดยนัยก็คือบ่งชี้ถึงต้นตอของตนที่สังกัดอยู่ ซึ่งคำที่อยู่ในวงเล็บท้ายชื่อนี้มีผลค่อนข้างมากในการปฏิบัติภารกิจต่างๆให้ประสบผลสำเร็จและเกิดผลสัมฤทธิ์

อย่างนี้หมายความว่าท่านปฏิบัติหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของรัฐในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ท่านสังกัดอยู่ หนูเข้าใจถูกใช่ไหมคะ

สำหรับกรณี ..."มีโอกาสไหนบ้างที่ข้าราชการสถานทูต ที่ยังหนุ่ม (ตำแหน่งไหนก็ได้) จะมีโอกาสพบปะนักเรียนไทย (ที่ยังสาว) และสานมิตรไมตรีกันได้ยาวนานนักการทูตหนุ่ม" นั้น

ที่ขยายความมานั้น อย่างน้อยก็ให้ข้อมูลว่า ผู้ที่ไปประจำการในฐานะหรือสถานะนัการทูตนั้น  ออท.(เอกอัครราชทูต) น่าจะอยู่ในวัยอายุ ประมาณ 50++/-   อท.(อัครราชทูต)ที่เป็นเบอร์สองของ สอท.(สถานทูต)นั้นก็น่าจะอยู่ในวัยประมาณ 50+/--   อัครราชทูตที่ปรึกษาที่เป็นเบอร์สามของ สอท. ก็น่าจะอยู่ในวัยประมาณ 40++/-    ที่ปรึกษาก็น่าจะอยูัในวัยประมาณ 35+/-  เลขานุการเอก โท ก็น่าจะอยู่ในวัยประมาณ 30 +/-  ส่วนเลขานุการตรี ก็น่าจะอยู่ในวัย 25++   

มีโอกาสใดบ้าง ?  ก็ดูจะมีไม่มากนักครับ  งานที่มีโอกาสจะได้พบเห็นกันก็จะมีเช่น งานที่จัดภายในพื้นที่ของสถานทูต งานที่จัดในพื้นที่สาธารณะประเภทการส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ และงานเฉพาะกิจ/เฉพาะกรณีต่างๆ 


เลยทำให้นึกถึงอีกหนึ่งโอกาสสำหรับการพบปะกันระหว่างนักการทูตกับนักเรียน ก็คือ กรณีการมาฝึกงาน กรณีมาช่วยงานในช่วงปิดภาดเรียน กรณี กรณีเกิดปัญหากระทันหันต้องค้างแรมจากเหตุที่ไม่คาดฝัน

อา...ตอนแรกตัวเอกของหนูตั้งใจให้เป็นเลขานุการเอก อายุประมาณ 31-32 นี่พอเป็นได้อยู่สินะคะ

พอเข้าใจแล้วล่ะค่ะ ถ้าอย่างนั้นหนูอาจจะต้องลองปรับเปลี่ยนให้เจอกันข้างนอก คือตอนแรกวางเอาไว้ให้เจอกันในสถานทูตเพราะได้ติดตามข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไป แต่หลังจากนั้นก็เหมือนจะไม่มีเรื่องที่จะต้องไปสถานทูตอีก ถ้าอย่างนั้นอาจจะเปลี่ยนสถานการณ์ที่จะต้องพบปะกัน (หลังจากครั้งแรก) ให้อยู่ด้านนอกสถานทูตน่าจะมีโอกาสมากกว่า อย่างเช่น ตัวเอกประสบอุบัติเหตุแล้วอีกคนไปเจอโดยบังเอิญ อาจจะพอเป็นไปได้มากกว่า หรืออย่างที่คุณ naitang ได้แนะนำมาเรื่องการฝึกงาน ก็น่าสนใจมากๆ เช่นกันค่ะ เพียงแต่อาจจะมีคำถามเพิ่มเติมว่าแล้วโดยส่วนใหญ่นักศึกษาจะมาฝึกงานในด้านไหนได้บ้างคะ

อย่างเวลาหนูไปฝึกงานในหน่วยงานที่ตัวเองเรียนมา บางอย่างก็ทำไม่ได้ แต่บางอย่างพี่ๆ ในที่ฝึกงานก็ปล่อยให้ทำเลย  ;D

คุณ atomicno1 ถามว่า "ปกติเวลากลับจากการประจำการที่ต่างประเทศแล้ว จะสลับประเทศต่อเลยหรือว่ากลับมาที่ไทยก่อนคะ" 

ในเชิงของการกระทำที่เป็นจริง ด้วยที่คำสั่งจะออกในรูปของการพ้นจากตำแหน่งเดิม ย้ายไปดำรงตำแหน่งใหม่ในที่ใหม่ ทำให้ต้องมีเรื่องของการเดินทาง  สำหรับในระดับ ออท.นั้น มีกรณีที่จะต้องกลับมาเพื่อรับมอบอำนาจสำหรับการเป็นผู้มีอำนาจเต็มในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐที่จะไปประจำการ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับมอบโดยตรงจากประมุขของรัฐ   สำหรับนัการทูตในระดับอื่นๆนั้น ก็จะมีทั้งลักษณะการเดินทางต่อไปยังประเทศใหม่โดยตรงเลย และแบบการเดินทางผ่านหรือกลับมาด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ลาพัก มีข้อจำกัดเรื่องของการเดินทางโดยตรง มีข้อจำกัดด้านระเบียบ ความไม่พร้อมที่ปลายทาง ... ฯลฯ   

ตรงนี้หนูขอสอบถามเพิ่มเติมได้ไหมคะ ว่าหากหนูจะเขียนให้ตัวเอกที่เป็นนักการทูตต้องเดินทางกลับไทยก่อน อาจจะกลับมาเพื่อประจำการที่กระทรวงก่อนที่จะออกโพสต์อีกครั้ง มีความเป็นไปได้ไหมคะ หรือถ้าออกโพสต์แล้วต้องออกตลอดเลยคะ

ขอบคุณคุณ naitang อีกครั้งค่ะ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 ต.ค. 23, 18:34
จากข้อสังเกตเห็นในช่วงเวลาที่ทำงานอยู่ในระบบพหุภาคี การย้ายของนักการทูตระดับต่ำกว่า อท.ลงมาของประเทศต่างๆมักจะเป็นการย้ายกลับประเทศเมื่อได้ปฏิบัติงานครบระยะเวลาประมาณ 4 ปี  เป็นลักษณะของการสลับสับเปลี่ยนเพื่อการเปิดโอกาสให้บุคลากรต่างๆมีโอกาสได้เรียนรู้ เพิ่มทักษะ และพัฒนาตนเองในเรื่องของ capacity และ capability ของตน   สำหรับในระดับ อท. นั้น ส่วนมากดูจะเป็นการย้ายเพื่อเตรียมแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่ง ออท.ที่ประเทศหนึ่งใด

อันที่จริงแล้วก็ยังมีบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งที่เรียกว่า Ambassador หากแต่เป็นทูตที่มีอำนาจในฐานะตัวแทนของประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์กรนานาชาตินั้นๆ เช่น UN ที่ New York, UN ที่ Vienna, WTO (การค้าขาย), IAEA (เรื่องปรมาณู) ...   ทูตเหล่านี้มีอำนาจในเรื่องเฉพาะขององค์กรนั้นๆ  ซึ่งในหมู่ของคนทำงานก็จะเรียกกันสั้นๆว่า "ทูต" และให้เกียรติกันที่จะใช้คำนำหน้าชื่อของบุคคลนั้นว่า Ambassador  ภายใต้ความเข้าใจว่ามิใช่ทูตที่เป็นตัวแทนของประเทศ  เรียกเป็นทางการหน่อยก็ใช้คำว่า (ซื่อประเทศ)..Ambassador to..(ชื่อองค์กร)+ชื่อคน (Mr...)   เท่าที่ได้สัมผัสมา ทูตเฉพาะภารกิจนี้ก็มีเจ้าหน้าที่ๆทำงานให้เป็นการเฉพาะเหมือนกัน แต่ทั้งหมดก็ดูจะเป็นเจ้าหน้าที่ของสถานทูตนั้นเอง  อย่างไรก็ตามก็มีที่มีทูตเฉพาะภารกิจเหล่านั้นมีสถานที่ทำการ/สำนักงานตั้งแยกออกไป ซึ่งก็มีทั้งบุคลกรที่ได้สถานะทางการทูตและที่ไม่มีทำงานอยู่ด้วยกัน   


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 25 ต.ค. 23, 19:27
ยังมีอีกโครงสร้างหนึ่งที่อาจจะลืมนึกถึงไป คือเรื่องของ'กงสุล' 

งานการกงสุลมีภาระกิจพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของความเป็นอยู่และทุกข์สุขของผู้คนของตนที่ดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศนั้นๆ รวมทั้งในกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจต่างๆ

งานของสำนักงานกงสุลทำให้เจ้าหน้าที่มีโอกาสได้พบปะกับผู้คนได้มากที่สุด เพราะจะมีผู้คนมาพบ มาหารือ มาบ่น มาระบาย.. สารพัดเรื่องจริงๆ ไม่ต่างไปมากนักจากที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจภูธร หรือศูนย์ช่วยเหลือใดๆที่เกี่ยวกับวงจรชีวิตตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: atomicno1 ที่ 26 ต.ค. 23, 16:52
ยังมีอีกโครงสร้างหนึ่งที่อาจจะลืมนึกถึงไป คือเรื่องของ'กงสุล' 

งานการกงสุลมีภาระกิจพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของความเป็นอยู่และทุกข์สุขของผู้คนของตนที่ดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศนั้นๆ รวมทั้งในกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจต่างๆ

งานของสำนักงานกงสุลทำให้เจ้าหน้าที่มีโอกาสได้พบปะกับผู้คนได้มากที่สุด เพราะจะมีผู้คนมาพบ มาหารือ มาบ่น มาระบาย.. สารพัดเรื่องจริงๆ ไม่ต่างไปมากนักจากที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจภูธร หรือศูนย์ช่วยเหลือใดๆที่เกี่ยวกับวงจรชีวิตตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย

พอพูดถึงประเด็นนี้แล้วอยากรู้ต่อเลยค่ะ

และถ้าเป็นกงสุล ตำแหน่งของกงสุลคือแยกออกมาจากตำแหน่งทูตเลยมั้ยคะ หรือว่าเป็นนักการทูตตำแหน่งกงสุล ยอมรับว่าค่อนข้างสับสนกับตรงนี้นิดนึงค่ะ ที่หนูเคยทราบคือ กงสุลก็จะคล้ายๆ สถานทูตแต่ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ที่ไม่ใช่เมืองหลวง และมีท่านกงสุลประจำการอยู่ ประมาณนี้ใช่มั้ยคะ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 26 ต.ค. 23, 17:21
เพื่อช่วยบรรเทาแรงให้คุณตั้งและท่านอื่นๆที่สละแรงและเวลามาให้ความรู้  อยากขอให้คุณ atomicno1 ช่วยใช้กูเกิ้ลค้นศัพท์ต่างๆที่อ่านเจอในกระทู้นี้มาก่อนจะตั้งคำถาม     อย่างเช่นหาความหมายของคำว่า กงสุล ซึ่งหาไม่ยากเลยในกูเกิ้ล
ไม่เข้าใจตรงไหนค่อยถามคุณตั้ง   ก็จะเบาแรงของท่านลงได้มาก
เป็นนักเขียนต้องค้นคว้าหาข้อมูลหลายทาง ให้คล่องตัว จะประหยัดเวลาในการเขียนหนังสือได้มากค่ะ  อย่ารอคำตอบอย่างเดียว


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 ต.ค. 23, 18:41
งานกงสุลเป็นในลักษณะที่เล่าความไป  ส่วนมากจะมีที่ทำการเป็นกิจจะลักษณะอยุ่ในพื้นที่ของสถานทูต ซึ่งดูจะใช้คำเรียกว่า Consulate  แต่ก็มีแบบที่สถานที่ทำการแยกอยู่กันคนละที่กับตัวสถานทูต ซึ่งอันนี้ไม่รู้ว่าจะเรียก Consulate หรือ Consulate General  

ในกรณีที่มีบางพื้นที่เป็นแหล่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเดินทางไปมาระหว่างผู้คนของทั้งสองประเทศมาก หรือมีเหตุอื่นใดที่สมควรก็(อาจ)จะมีการตั้งสำนักงานแยกออกไปอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในพื้นที่นั้นๆ มีการจัดให้มีเจ้าหน้าที่มากพอที่จะให้บริการ ก็จะเรียกว่า สถานกงสุล (Consulate) หรือสถานกงสุลใหญ่ (Consulate General)  บรรดาเจ้าหน้าที่ส่งไปประจำการก็ถือเป็นลักษณะของเจ้าหน้าที่ทางการทูต หากแต่จะได้รับเอกสิทธิทางการทูตไม่เท่าเทียมกับผู้ที่ทำงานในกิจการทางการทูต(สถานทูต)   สถานกงสุลใหญ่ก็จะมีตัวบุคคลที่เป็นกงสุลใหญ่ (Consul General) มีรองกงสุล (Vice Consul) และ Consul

สำหรับกงสุลกิตติมศักดิ์นั้น โดยลักษณะง่ายๆก็คือ งานฝากให้ทำ ไม่มีเอกสิทธิทางการทูตใดๆ  มีแต่ความพอใจในเรื่องของเกียรติบศชื่อเสียงของตน ได้รับสิทธิพิเศษบ้าง และการได้รับการอำนวยความสะดวกที่มากกว่าปกติ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 26 ต.ค. 23, 20:09
ก็มีเรื่องน่าจะหาอ่านเป็นความรู้ประกอบเพิ่มเติม ที่อาจจะเป็นประโยชน์ในการนำไปต้นเหตุของเรื่องราวในเรื่องราวที่จะเขียนต่างๆ    ลองหาอ่านหนังสือที่เขียนเรื่อง phobia หรือหนังสือในมุมที่เรียกว่า cultural shock หรือ do and don't  ที่เกี่ยวกับประทศต่างๆ (ลองค้นดูโดยใช้ชื่อประเทศนำคำว่า phobia หรือ cultural shock หรือ do and don't)  ได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 28 ต.ค. 23, 22:11
โดนท่านอาจารย์ดุเอานิดนึง คุณ atomicno1 หายไปเลย ผมก็กำลังตามอ่านเรื่องการทูตได้ความรู้มากมายจากท่าน naitang อยู่ มีข้อสงสัยเหมือนกันเลยอดเลย   



กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 30 ต.ค. 23, 18:44
คุณประกอบได้กระตุ้นให้ผมได้เห็นว่ามีผู้ตามอ่านกระทู้นี้มากอยู่พอสมควร  คิดว่าเรื่องราวทางปฎิบัติในวงการทูตคงจะเป็นเรื่องที่ให้ความสนใจกัน ก็เลยจะขอเล่าขยายความไปตามที่เหมาะสมตามประสบการณ์ที่ได้ประสบมา

ก็จะขอบอกเล่าเสียแต่แรกว่าตนเองไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ทางการทูต (Diplomat) ที่ทำงานโดยตรงด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  เป็นแต่เพียงผู้ที่ได้รับสถานะเป็นบุคคลทางการทูตเพื่อประโยชน์ในการทำงานตามภารกิจเฉพาะทาง (เรียก Diplomat เช่นกัน) 

Diplomat ได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มครอง(Privilege & Immunity)จากรัฐผู้รับ  ง่ายๆก็คือ เอกสิทธิ์นั้น เป็นเรื่องทางแพ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของภาษีต่างๆ คือไม่ต้องเสีย   ส่วนในด้านความคุ้มครองนั้น เป็นเรื่องทางอาญาและอสังหาริมทรัพย์ คือไม่ถูกจับ ไม่ถูกบุกรุก ยึด

เอกสิทธิ์และความคุ้มครองนี้ เป็นการให้กับบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายในเขตอาณาของรัฐผู้รับ และเป็นการพิจารณาให้โดยรัฐผู้รับว่าจะให้กับผู้ใดตามที่รัฐผู้ส่งขอไป   การถือหนังสือเดินทางเล่มสีแดง (Diplomatic Passport) เดินทางไปใหนมาใหนในประเทศใดๆ จึงมิได้หมายความว่าผู้นั้นจะมีเอกสิทธิ์และความคุ้มครองใดๆ  เพียงอาจจะได้รับความสะดวก ความเกรงใจ และความอะลุ่มอล่วยมากกว่าคนทั่วๆมากกว่าปกติไปบ้างเท่านั้น   


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ต.ค. 23, 18:12
เป็นเรื่องปกติที่ผู้ที่ทำงานในสายงานหนึ่งใดย่อมจะต้องมีการทำงานในเรื่องเดียวกัน ทำงานร่วมกัน ติดต่อประสานงานกัน ประสานสัมพันธ์กัน ... ในภาษาไทยดูจะใช้คำว่า "วงการ" ในภาษาอังกฤษดูจะใช้คำว่า Circle  ซึ่งในแต่ละวงการนั้นมันมีได้ทุกขนาด สลับซับซ้อนกันอยู่ สุดแท้แต่จะตั้งชื่อให้หรือจะใช้คำเรียกเช่นใด

ในงานทางด้านการทูตก็มีวงที่เรียกว่า Diplomat Circle ซึ่งการดำเนินการระหว่างกันดูจะเน้นในบริบทของการประสาน/สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ที่มาปฏิบัติงานด้านการทูตอยู่ในประเทศเดียวกัน โดยเฉพาะในระดับ ออท.ลงไปถึงระดับหัวหน้าสายงานของสถานทูต(ที่เขาเห็นควร) งานที่แต่ละสถานทูตนิยมจัดขึ้นและออกบัตรเชิญ จนท.ทางการทูตของประเทศต่างๆนั้น(ที่เขาเห็นควร) หลักๆก็จะเป็นงานวันชาติ งานสำคัญเฉลิมฉลองเรื่องหนึ่งใด และงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์เฉพาะกลุ่มประเทศ ...  ซึ่งงานที่จัดในวงการทูตแบบพหุภาคีกับในวงแบบทวิภาคีก็มีความต่างกันอยู่ไม่น้อย   


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 ต.ค. 23, 19:17
หลังบ้านของ จนท.ที่ทำงานในระบบ UN ก็มีวงการเหมือนกัน เรียกว่า UN Women's Guild หากแต่ต้องเป็นสมาชิก วงนี้มีทั้งหลังบ้านของบรรดา จนท.ทางการทูตต่างๆและ จนท.ขององค์กรในสังกัดของ UN เช่น UN Women's Guild - Vienna, (- Geneva...)  กิจกรรมพื้นฐานคือการลงแรงช่วยกันหาทุนเพื่อนำไปช่วยพัฒนาสังคม/ชุมชนยากไร้ในประเทศต่างๆ   ดูเผินๆก็คล้ายเป็นวงการแก้เหงาของบรรดาหลังบ้าน แต่หากเชื่อในอิทธิพลของหลังบ้านว่ามีพลังมากน้อยเพียงใดกับหน้าบ้าน ก็น่าจะพอรู้ได้ถึงพลังที่เป็นประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ

สำหรับผู้แทนที่ทำงานในระบบพหุภาคี  หากตั้งใจทำงานในลักษณะเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ที่สำคัญใดๆ ก็จะเห็นว่าวงที่เรียกว่า ฝ่าย "Secretariat" (ฝ่ายเลขานุการ) จะเป็นวงที่มีความสำคัญมาก  ไม่ว่าจะเป็นวาระงานแบบทวิภาคี พหุภาคี หรือการประชุมระหว่างรัฐใดๆ ...             


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 พ.ย. 23, 19:09
เมื่อมีกลุ่มคนที่ทำงานอยู่ในวงวิชาชีพหรือวงอื่นใดเดียวกัน ก็ย่อมจะต้องมีลักษณะของกระบวนวิธีการปฏิสัมพันธ์ที่เป็นที่ยอมรับในหมู่เดียวกัน ทั้งมวลก็ตั้งอยู่บนฐานของความสุภาพ ซึ่งก็มีในด้านของการปฏิบัติตัว เช่น การแต่งกาย อากัปกริยา มารยาท การพูดจา การกิน ... (ก็คือเรื่องของ Etiquette) และในด้านของการกระทำที่เหมาะสมระหว่างกัน เช่น เรื่องของการให้เกียรติ การติดต่อประสานกัน ขั้นตอนอันพึงทำในเรื่องใดๆ... (ก็คือเรื่องของ Protocol)

แน่นอนว่า กฎ กติกา มารยาทของแต่ละวงการเหล่านี้ก็ย่อมมีความแตกต่างกันไปในลักษณะสังคมและวัฒนธรรมที่ต่างกัน แต่มันก็มีกรอบใหญ่ๆของมารยาทและการปฏิบัติที่พึงกระทำที่เป็นพื้นฐาน ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันของผู้คนทั้งโลก         


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 พ.ย. 23, 19:34
เกิดสงสัยขึ้นมากับการใช้คำว่า  วง กับ วงศ์  กับการใช้กับเรื่องของงาน และกับเรื่องของคน ครับ   

วงการ วงวิชาการ วงวิชาชีพ วงงาน วงเจ้าหน้าที่ วงทูต วงเลขานุการ วงข้าราชการ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 พ.ย. 23, 19:07
กฎ กติกา มารยาทในแต่ละสังคม/วงการก็มีการเน้นและให้ความสำคัญในแต่ละเรื่อง ในแต่ละเวลา และในแต่ละสถานะการณ์ในระดับที่แตกต่างกันออกไป  ซึ่งในสังคมวงกว้างทั่วๆไป การกระทำใดๆที่ต่างกันนั้นก็พอเป็นที่ยอมรับกันได้ในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้อง    แต่ในสังคมที่เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น มันมีเรื่องของศักดิ์ศรี อำนาจ และกิ๋น ทั้งของประเทศและของคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มันก็เลยมีข้อกำหนด กฏ กติกาต่างๆที่มากกว่าปกติ แถมมีความหยุมหยิมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่มีมาช้านานแล้ว และก็มีทั้งแบบรุ่นเก่าและแบบรุ่นใหม่อีกด้วย ทั้งมวลก็เกิดมาจากการยอมรับกระบวนพิธี/วิธีของของแกบ้าง-ของฉันบ้าง สะสมกันมา เอามารวมกันจนเป็นลักษณะกลางๆที่ยอมรับกันเป็นสากล  แบบแผนกลางๆเหล่านี้ใช้กันในทุกประเทศ พร้อมๆไปกับมีการปรับหรือแต่งเติมให้เหมาะสมกลมกลืนไปกับประเพณี สังคม วัฒนธรรม และสถานการณ์ของประเทศตน

ดูเผินๆแล้วก็คล้ายกับเป็นเรื่องที่ไม่มีความสำคัญอะไรมากนัก  แต่ในความเป็นจริงแล้ว การปฏิบัติที่พึงมีความสอดคล้องหรือที่มีการออกนอกลู่ในเรื่องใด อาจจะส่งให้เกิดผลในองค์รวมตามมาในทางบวกหรือในทางลบต่างๆมากมาย  เพราะมันเป็นการแสดงออกของตัวเราให้อีกฝ่ายหนึ่งเขาได้รู้จักและประเมินเราในเกือบจะทุกมิติ    ปรัชญาตามตำราพิชัยสงครามซุ่นวู "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง" ยังคงเป็นเรื่องที่ทุกผู้คนใช้อยู่ทั้งในลักษณะที่ตั้งใจหรืออยู่ในจิตสำนึก   
     


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 พ.ย. 23, 19:18
เขียนมาตั้งนาน กดผิด เลยหายไปเลย ว่ากันใหม่พรุ่งนี้ครับ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 พ.ย. 23, 18:15
ขอยกตัวอย่างการกระทำบางอย่างที่พอจะสังเกตและพอจะบอกอะไรๆได้ 

ฝรั่งกินอาหารด้วยส้อมในมือซ้ายและมีดในมือขวา แบบยุโรปจะถือมีดและส้อมตลอดเวลา ใช้มือซ้ายและการคว่ำส้อมเพื่อเทินอาหารเข้าปาก    ส่วนแบบอเมริกันเมื่อหั่นอาหารแล้วจะวางมีดและส้อม สลับส้อมไปใช้มือขวาในการตักอาหารเข้าปาก

การใช้ช้อนและส้อมซึ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วๆไป หากแต่ มีแต่คนไทยหนึ่งเดียวเท่านั้นที่ใช้ส้อมช่วยในการกอบอาหารไปไว้บนช้อนให้เรียบร้อยก่อนตักเข้าปาก ก็เป็น etiquette บนโต๊ะอาหารอย่างหนึ่งที่นานาชาติเขายอมรับกัน

ตะเกียบเป็นของที่ใช้กันทั่วไป ก็มีเรื่องของมันเช่นกัน  แบบจีน จะวางตะเกียบจะอยู่ทางขวามือ หันด้านปลายออกไปจากตัวเรา    แบบญี่ปุ่นจะเป็นการวางด้านบนของชุดถ้วยชามที่จะใช้กินอาหาร หันปลายตะเกียบไปทางด้านซ้ายมือ   แบบเกาหลี ใช้ตะเกียบโลหะ วางแบบจีนพร้อมไปกับช้อนที่มีด้ามยาวกว่าปกติ(ช้อนซุป ใช้กินกิมจิน้ำ_Mul Kimchi)

เนกไทของผู้ชายที่เป็นแบบลายแถบ/เส้นทะแยง    แบบของยุโรป(โดยเฉพาะ อังกฤษ)จะทะแยงลงจากซ้ายไปทางขวา แบบอเมริกันจะทะแยงลงจากขวาลงไปทางซ้าย   เนกไทแบบนี้มีที่มาที่ไปของมัน เรียกกันว่า Regiment tie หรือ Rapp tie   เป็นเนกไทที่ไม่ใช้ผูกไปในงานสำคัญๆ สำหรับงานพิธีสำคัญต่างๆจะใช้เนกไทสีพื้นที่สุภาพ

ก็ไม่ต้องไปซีเรียสกับมันมากมายในสิ่งที่พึงทำหรือไม่พึงทำ  เพียงควรจะรู้ไว้และรู้ให้ลึกมากพอที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนและภาระงานต่างๆ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 04 พ.ย. 23, 20:20
ยังติดตามอยู่นะครับ  ในงานเลี้ยงแบบฝรั่งนี้มีโอกาสที่จะใรการใช้ตะเกียบบ้างไหมครับ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 พ.ย. 23, 20:44
ที่เล่ามา น่าจะพอทำให้คุณ atomicno1 จินตนาการเรื่องราวต่างๆออกไปในอีกได้อีกมุมหนึ่งได้พอสมควร  

น่าจะลองหาอ่านเพิ่มเติมเรื่องราวของฉากทัศน์ของการเมืองและเรื่องราวระหว่างประเทศช่วงปี พ.ศ.2500 ว่าจะมีอะไรๆบ้าง  ซึ่งทั้งมวลก็ดูจะอยู่ในบริบทของเรื่องเดียว คือเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ภายใต้อุดมการณ์ระหว่าง Capitalism, Communism และ Socialism     ซึ่งก็มีเหตุการณ์ต่างๆในแถบบ้านเรามากมาย เช่น การปฏิวัติในประเทศไทย  การยุติการสู้รบของฝรั่งเศสในเวียดนาม  ความขัดแย้งใน สปป.ลาว  มาเลเซียได้รับเอกราช  สงครามเกาหลี  การตั้งองค์กร SEATO ที่กรุงเทพฯ และที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องก็คือ การกำเนิดพุทธมณฑล ...ฯลฯ ดูคล้ายกับเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่เมื่อเอามาเชื่อมต่อกันในเชิง chronology  พ่วงเข้าไปด้วยเกล็ดเล็กๆน้อยจากประวัติศาสตร์ในวงกว้าง บางทีก็ทำให้ได้ฉุกคิดในบางเรื่องขึ้นมา จะถูกหรือผิดในบริบทของ conspiracy theory ก็ยังได้สนุกใจที่ได้ฝันไป  ;D


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 05 พ.ย. 23, 18:36
คิดว่าในงานเลี้ยงแบบฝรั่งจะไม่มีการเลือกเมนูอาหารที่เกี่ยวข้องกับการใช้ตะเกียบ ครับ  เพราะเป็นลักษณะของการกินอาหารแบบจานใครจานมัน ไม่ว่าจะเป็นการเสิร์ฟอาหารให้แต่ละคนหรือด้วยการตักอาหารจากจานกลางใส่จานของแต่ละคน 

อย่างไรก็ตาม ก็มีกรณีที่มีการใช้ตะเกียบ แต่ก็ควบคู่ไปกับการจัดให้มีมีดและส้อมวางใว้พร้อมให้ใช้ เช่น ในงานประเภท working lunch หรือ working dinner  ซึ่งมักจะเป็นงานที่จัดโดยเจ้าภาพที่เป็นประเทศที่ใช้ตะเกียบในการกินอาหาร


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 พ.ย. 23, 07:08
โดนท่านอาจารย์ดุเอานิดนึง คุณ atomicno1 หายไปเลย ผมก็กำลังตามอ่านเรื่องการทูตได้ความรู้มากมายจากท่าน naitang อยู่ มีข้อสงสัยเหมือนกันเลยอดเลย   
ยุคนี้ คำว่า "เกรงใจ" กลายเป็นตัดโอกาสในการเรียนรู้ไปแล้ว ??? ???


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 06 พ.ย. 23, 14:13
ผมยังตามเป็นนักเรียนอยู่ครับ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 พ.ย. 23, 17:39
เพิ่งนึกออกภาพของนักเรียนนอกในสมัย พ.ศ.2500 

นึกย้อนไปในยุคประมาณ พ.ศ.2505-2510+ ได้มีการเปิดมหาวิทยาลัยใน ตจว. ในลักษณะของมหาวิทยาของภูมิภาคในหลายจังหวัด (เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา)  อาจารย์รุ่นแรกๆของมหาวิทยาลัยเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนระดับเตรียมอุดมศึกษา(ม.7, ม.8) ที่ส่อบไล่ได้คะแนนสูงระหว่างอันดับที่ 1 ถึงที่ 50  ซึ่งในช่วงระดับหนึ่งจะได้รับทุนไปศึกษาต่อใน ตปท. เข้าใจว่าพวกสายวิทยาศาสตร์ทั้งหมดจะไปเรียนต่อกันในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก ใช้เวลาเรียนอยู่ประมาณ 8-10 ปี  เมื่อกลับมา ส่วนหนึ่งก็ไปเป็นอาจารย์ตามมหาวิทยาลัยที่กล่าวถึง   สำหรับกลุ่มที่ไปเรียนในยุโรปนั้น(โดยเฉพาะอังกฤษ) ผมไม่มีความรู้ใดๆที่เกี่ยวข้อง  รู้แต่เพียงว่า หลังจากประมาณ พ.ศ.2510 เป็นต้นมา อาจารย์ของมหาวิทยาลัยดูจะไปเรียนต่อ ป.โท ป.เอก ในอังกฤษกันเป็นจำนวนมาก     


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 08 พ.ย. 23, 20:20
เรียนปริญญาเอกที่อเมริกาจะต้องมีสอบหลายสอบครับ อย่างสายวิทยาศาสตร์นอกจากผลภาษาอังกฤษแล้วอาจยังต้องมีคะแนนผลสอบ GMAT หรือ GRE วัดความรู้คณิตพื้นฐาน, ภาษาอังกฤษ และวิชาเฉพาะของแต่ละสาขาอีก  พอไปเรียนแล้วต้องเรียนผ่าน coursework หแล้วสอบ qualifying exam ผ่าน ถึงจะเป็น PhD candidate เต็มตัว     แต่ในสายอังกฤษถ้ามีผลภาษาอังกฤษ ได้รับการตอบรับสามารถไปแล้วเริ่มทำวิจัยได้เลย สอบก็มีแค่สอบหัวข้อ แต่ไม่ต้องสอบโน่นนี่เยอะแยะเท่าครับ คนเลยนิยมไปอังกฤษไม่น้อย

ทั้งอเมริกา อังกฤษ ก่อนจบต้องสอบป้องกันวิทยาพิพนธ์อีกทั้งคู่ แต่ก่อนหน้านั้นอังกฤษดูจะสะดวกสบายกว่าหน่อยครับ


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 พ.ย. 23, 18:55
ผมเรียนต่อในอเมริกา จะไม่ค่อยเหมือนใครเขาหน่อยตรงที่เรียนในระบบ Quarter มิใช่ระบบ Semester    เริ่มแรกด้วยการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อปรับฐานการพูดและการเขียนให้เป็น proper English    สามเดือนผ่านไปสอบ qualify exam. แบบรุมซักโดย prof. 5 คน เพื่อดูระดับความรู้ทางวิชาการและที่เกี่ยวข้อง ว่าจำเป็นจะต้องเรียนเพิ่มเติมในเรื่องใดบ้าง จากเรื่องเครียดก็เปลี่ยนเป็นเรื่องคุยกัน ผลคือผ่านและได้เป็น candidate ในการศึกษาระดับ Post Grad.  ก็สามารถเริ่มทำวิทยานิพนธ์ได้เลย แต่ต้องลงทะเบียนเรียนวิชาใดก็ได้ เพื่อให้ได้หน่วยกิตครบ  ทำวิจัยอยู่ไม่นานก็จะจบเอาภายใน 1 ปี  ก็เลยถูกขอให้ขยายประเด็นทำวิจัยต่อไป ทำให้ได้พบกับการใช้ความรู้และวิทยาการบางอย่างในการพิสูจน์และยืนยันเหตุการณ์ทางธรณีวิทยาบางอย่างที่เกิดขึ้นมาในอดีต  ตอนสอบ defend thesis ก็เลยไม่เครียด เป็นสภาพของการนั่งคุยกันเสียมากกว่า เลยจบภายใน 2 ปีเต็ม

ในช่วงการทำ Thesis ก็มีการติดต่อเข้ามา เสนอตัวรับเขียนวิทยานิพนธ์  ที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยห้องแถวและที่ว่าจบมาด้วยการซื้อปริญญานั้นมีมาตั้งแต่สมัยโน้นแล้ว  โดยระบบของการไปเรียนต่อในระดับ Post Grad. ทุกคนจะต้องเสนอวิทยานิพนธ์และผ่านการอนุมัติจึงจะจบได้   ทุกคนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร (พูด เขียน) ทั้งในทางวิชาการและในชีวิตประจำวัน  การใช้ภาษาอังกฤษของคนที่ว่าจบเมืองนอกมา เลยทำให้เราพอจะใช้เป็นข้อพิจารณาในเรื่องอื่นใดได้


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ประกอบ ที่ 09 พ.ย. 23, 21:11
ข้อสังเกตุของผม คนพวกที่ซื้อปริญญามา โดยเฉพาะ ป เอก มักจะชอบเติมยี่ห้อ ดร. นำหน้าชื่อแบบฟุ่มเฟือยครับ เช่นตั้งชื่อใน Facebook ก็ต้องมี ดร.นำหน้าชื่อ หรือให้สัมภาษณ์อะไร ก็ต้องใส่ยี่ห้อหน้าชื่อ เห็นได้ในนักการเมืองบางคน  ในขณะที่พวกที่จบมาแบบจบเองจริง ๆ ไม่ค่อยเห็นใครใส่ยี่ห้อ ดร. ไว้ ยกเว้นจำเป็นต้องใส่

สรุปพวกที่ชอบมีเฟอร์นิเจอร์เยอะ ๆ ประดับชื่อนี่ มักจะเก๊


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 23, 19:49
ไม่ทราบว่ายุคคุณตั้งไปเรียน ต้องสอบ TOEFL หรือเปล่านะคะ ไม่เห็นเอ่ยถึง

ยุคดิฉัน ถ้านักเรียนต่างชาติไปเรียนต่อในระดับ Post Grad  คือสูงกว่าปริญญาตรี ต้องได้คะแนน TOEFL เกิน 550 ขึ้นไป มหาวิทยาลัยในอเมริกาถึงจะรับ  บางแห่งเขี้ยวกว่านี้ เรียกถึง 600  
นอกจากนี้ยังต้องสอบ GRE  เพื่อดูว่าพื้นทางภาษาและความรู้แน่นพอจะไปเรียนหลักสูตรของเขาได้ไหวหรือไม่  จำไม่ได้แล้วว่าคะแนนผ่านต้องเท่าไหร่

ระบบ quarter  ทำให้เรียนได้ปีละ 4 เทอม รวม Summer ด้วย  ทำให้จบได้เร็วกว่าระบบ Semester ซึ่งเรียนได้แค่ปีละ 2 เทอม + Summer เป็น 3 เทอม    
บางคนเรียนจบปริญญาโทภายในปีเดียว  โดยมากเป็นข้าราชการที่ได้ทุนหรือลาไปเรียน  ต้องการกลับบ้านเร็วๆ  ก็ขอให้อาจารย์ที่ปรึกษาจัดวิชา  หรือเรียกว่าอัดวิชาก็คงจะได้   เพื่อให้เรียนจบได้ภายใน 1 ปี

ระบบการเรียนขั้นสูงกว่าปริญญาตรีในอเมริกา ต้องเรียนวิชาต่างๆ เรียกว่า course works  จนสะบักสะบอมพอสมควร  ถึงจะมีสิทธิ์ทำวิทยานิพนธ์   ถ้าเป็นปริญญาโทเรียกว่า Thesis   ส่วนปริญญาเอกเรียกว่า Dissertation
ขั้นตอนคือหลังจากเรียนวิชาได้ครบตามหลักสูตรแล้ว ก็ทำ หัวข้อ หรือ outline ของวิทยานิพนธ์  หัวข้อในที่นี้ไม่ได้หมายถึงหัวข้อเรื่อง   แต่หมายถึงทำ 3 บทแรกก่อน แล้วไปสอบ  กรรมการจะพิจารณาว่าหัวข้อที่นำเสนอมาโอเคไหม   ถ้าโอเคว่าใช้ได้ ก็ทำบทที่ 4 และ 5  ต่อจนจบ  
ถ้าใช้ไ่ม่ได้ ต้องไปเขียนมาใหม่ คือไปนับหนึ่งใหม่นั่นเอง   หัวข้อเก่าที่ทำมาแทบตายก็ลงถังขยะไป



กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 10 พ.ย. 23, 19:58
ข้อสังเกตุของผม คนพวกที่ซื้อปริญญามา โดยเฉพาะ ป เอก มักจะชอบเติมยี่ห้อ ดร. นำหน้าชื่อแบบฟุ่มเฟือยครับ เช่นตั้งชื่อใน Facebook ก็ต้องมี ดร.นำหน้าชื่อ หรือให้สัมภาษณ์อะไร ก็ต้องใส่ยี่ห้อหน้าชื่อ เห็นได้ในนักการเมืองบางคน  ในขณะที่พวกที่จบมาแบบจบเองจริง ๆ ไม่ค่อยเห็นใครใส่ยี่ห้อ ดร. ไว้ ยกเว้นจำเป็นต้องใส่

สรุปพวกที่ชอบมีเฟอร์นิเจอร์เยอะ ๆ ประดับชื่อนี่ มักจะเก๊
ดิฉันเคยทำ term paper เรื่อง Degree For Sale  ในอเมริกามีปริญญาห้องแแถวเกล่ื่อนกลาดมาก  แต่โดยมากเป็นสายสังคม และสายธรรมะ คือดีกรีที่พวกศาสนาจารย์หรือนักบวชเขาเรียนกัน  สายแพทย์ไม่เคยเห็นค่ะ
ในยุคนั้นชาวบ้านอเมริกันส่วนใหญ่นึกว่าคำนำหน้า Dr. ของบุคคล หมายถึงแพทย์อย่างเดียว  อาจารย์ฝรั่งของดิฉันเล่าว่าเคยขึ้นเครื่องบินไปประชุมอะไรสักอย่าง    ใส่คำว่า Dr. นำหน้าชื่อ  บังเอิญได้นั่งติดกับคุณยายอเมริกันคนหนึ่ง   แกก็คุยเรื่องโรคภัยไข้เจ็บให้ฟังแล้วถามอาจารย์ทำนองปรึกษา   อาจารย์ตอบว่า "ผมไม่ได้เป็นหมอครับ"
คุณยายย้อนถามว่า " Dr. ที่ไม่ใช่หมอ  มีด้วยหรือ?"
นี่คงเป็นสาเหตุหนึ่ง ทำให้ฝรั่งที่จบ Ph.D  เขินๆไม่ค่อยกล้าใส่คำนำหน้าอื่นนอกจาก Mr. ก็เป็นได้
 


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 พ.ย. 23, 11:42
   ข้อมูลที่ดิฉันให้ไป เป็นการไปอเมริกายุค 70s แต่นึกขึ้นได้ว่า เพื่อนที่เรียนจบมัธยมต้นแล้วไปเรียนต่อ ที่อังกฤษกับอเมริกาก่อนหน้านั้น  คือในยุค 60s เล่าว่า ทั้งๆไปทุนส่วนตัว แต่กพ. ก็ต้องเรียกให้ไปรับการอบรมก่อนออกเดินทางด้วย  คือไปอบรมมารยาทตะวันตก เช่นมารยาทบนโต๊ะอาหาร วิธีการกินที่ไม่เหมือนคนไทย   
   คนอังกฤษกับอเมริกันใช้มีดกับส้อม ไม่ใช้ช้อน  ช้อนมีไว้สำหรับซุป เป็นช้อนกลมๆเรียกว่าช้อนซุป  กับอีกอย่างคือช้อนเล็กสำหรับของหวาน  แต่วิธีกินไม่เหมือนกัน
   คนอังกฤษจับส้อมในมือซ้าย มีดในมือขวา  หั่นเนื้อหรือผักในจานเป็นช้ิ้นก่อน ด้วยการใช้มีดในมือขวาหั่น แล้วเอาส้อมในมือซ้ายตรึงเนื้อหรือผักไว้ให้อยู่กับที่  พอหั่นเป็นช้ิ้นเล็กออกมาจากชิ้นใหญ่ได้ก็ใช้ส้อมในมือซ้ายจิ้มอาหารส่งเข้าปาก โดยคว่ำส้อม  กินไปหั่นไป
   ส่วนคนอเมริกัน ตอนแรกจับส้อมกับมีดแบบเดียวกับอังกฤษ   แต่พอหั่นเนื้อหรือผักเสร็จก็จะเปลี่ยนมือ ย้ายส้อมจากมือซ้ายมาไว้ในมือขวา แล้วจิ้มอาหารเข้าปากด้วยมือขวา   หั่นหลายๆชิ้นก่อน ไม่งั้นถ้ากินไปหั่นไป เปลี่ยนมือไปด้วย   จะชุลมุน
   เวลากินอาหารเส้น เช่นสปาเกตตี้  ใช้ส้อมหมุนพันอาหารเป็นก้อน แล้วส่งเข้าปาก   ไม่หั่นสปาเกตตี้เป็นท่อนๆ
   ส่วนการกินซุป (เดี๋ยวนี้อาจจะเลิกแบบนี้แล้ว) คือจิบซุปจากด้านข้างช้อน   ไม่ใช่เอาช้อนใส่ปากอย่างเวลาเรากินแกงจืด    ถ้าซุปใกล้หมดถ้วย แล้วจะกินให้หมดถ้วย   ให้ตะแคงถ้วยซุปออกจากตัว ไม่ตะแคงเข้าตัว ตักกินซุปที่เหลือให้หมด


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 พ.ย. 23, 19:21
ตอนที่ผมไปเรียนนั้น มีแต่การใช้ผลการสอบ TOEFL และผลการศึกษาในระดับ ป.ตรี  ส่งไปพร้อมกับใบสมัครเข้าเรียน และพร้อมกับหนังสือรับรองภาระค่าใช้จ่ายในระหว่างการเล่าเรียน หากมหาวิทยาลัยรับเข้าเป็นนักศึกษา ก็จะส่งหนังสือตอบรับมาพร้อมกับเอกสารที่เรียกว่า I-20 เพื่อเอาไปยื่นขอวีซ่า(นักเรียน)เข้าสหรัฐฯ  วีซ่าประเภท I-20 จะมีอายุ 1 ปี จึงต้องส่งพาสปอร์ตไปประทับตราต่ออายุพร้อมกับหนังสือรับรองของมหาวิทยาลัยทุกๆปี

เมื่อไปถึงและเริ่มเปิดเรียน นักศึกษาใหม่ที่เป็นต่างชาติทั้งหมดจะถูกทดสอบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษแบบ proper English ซึ่งเกือบทั้งหมดจะทดสอบไม่ผ่าน  จะต้องเข้าชั้นเรียนอังกฤษฉบับเร่งรัด สามเดือนทดสอบใหม่ครั้งหนึ่ง หากทดสอบผ่านถึงจะถูกส่วตัวไปยังภาควิชาที่ตอบรับให้เราเข้าศึกษาต่อ เพื่อจะได้เริ่มเรียน course works  ก็จะเป็นการพบกับด่านที่สองที่ทำการทดสอบโดยคณาจารย์ของภาควิชาที่รับเรา ซึ่งเป็นการทดสอบความรู้ทางวิชาการ หากความรู้ในมุมใดของ ป.ตรี ตั้งแต่ ระดับ 101 ไปจนจบไม่เข้าขั้น ก็จะถูกกำหนดให้เรียนซ้ำเป็นรายวิชาไป เมื่อผ่านทั้งหมดแล้วจึงจะได้เป็น candidate ในการศึกษาระดับ Post Grad  ก็มีนักศึกษาเป็นจำนวนไม่น้อยที่ต้องเสียเวลาเรียนซ้ำในลักษณะนี้ บางคนเสียเวลาทั้งปีเลยทีเดียว ที่เห็นว่าใช้เวลาในการไปเรียนกันนานปี ส่วนหนึ่งก็มาจากเหตุนี้ เพราะต้องรอเวลาที่จะมีการเปิดสอนในวิชานั้นๆ เวลาว่างมาก..ก็เลยหาความสุขใส่ตัวมากขึ้น บ้างก็ทำงาน บ้างก็เที่ยวเตร่ .... คุ้นเคยชีวิตชิลๆมากเข้าก็เลยเอาไปเป็นวิถีในการเรียน  :D

แต่แรกก็ไม่เข้าใจหรอกครับว่า เราก็สอบ TOEFL ผ่านแล้ว ไฉนจึงต้องเรียนภาษาอังกฤษฉบับเร่งรัดใหม่ มาถึงบางอ้อก็เมื่อตอนทดสอบผ่านมาแล้ว ว่าภาษาอังกฤษของเราที่ว่าพอได้นั้นแท้จริงแล้วมันก็เป็นเพียงภาษาที่ใช้กันในหมู่คนทำงานทั่วๆไป เป็นภาษาพูด(colloquial)  แต่ในทางวิชาการและในเอกสารที่เป็นทางการนั้น จะต้องสื่อความที่ถูกต้องและชัดเจนผ่านรูปแบบประโยคที่ใช้ การใช้คำศัพท์ การเรียงถ้อยความ และ grammar ต่างๆ  สุดท้ายก็คือใช้ประโชน์ในการเขียน Thesis ซึ่งต้องเป๊ะทั้งข้อมูล เรื่องราว และความถูกต้องในด้านของภาษา   


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 พ.ย. 23, 20:15
เรื่องของคำนำหน้าว่า Dr. ที่ อ.เทาชมพู บอกเล่ามานั้นเป็นเรื่องจริง  นามบัตรที่เคยเห็นในสมัยนั้น มีแต่ชื่อ นามสกุล แล้วต่อท้ายด้วย PhD. ในระดับ ศ. ก็ใช้เพียง Prof. นำหน้าชื่อ และตามท้ายด้วย PhD.

สำหรับหมอ ก็จะใช้คำว่า Dr. นำหน้าชื่อแล้วต่อท้ายด้วย MD.

ที่จริงแล้วยังมีระดับ ป.เอก ในบางสายวิชาและสายอาชีพ ใช้คำแสดงวุฒิต่อท้ายที่ต่างออกไป เช่น DEng  PDEng  DSc  แต่จำไม่ได้ว่าเคยเห็นเขาใช้คำว่า Dr. นำหน้าชื่อหรือไม่


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 12 พ.ย. 23, 18:55
เมื่อครั้งที่ยังทำงานอยู่ เคยคุยกับผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ และคนที่จบการศึกษาในระดับ ป.เอก ที่เป็นคนยุโรปในแผ่นดินใหญ่ สแกนดิเนเวียน และในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์  ได้รับความรู้ในเรื่องของระบบการศึกษาในระดับ Post Grad.ในยุโรปพอสมควร  เมื่อไปประจำการในพื้นที่ด้านยุโรปตะวันตก ก็ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกพอประมาณ รวมทั้งของยุโรปตะวันออกที่มีพื้นที่ติดต่อกัน   แน่นอนว่าระบบการศึกษาก็ย่อมจะต้องมีความแตกต่างกัน  ที่มีความเหมือนกันก็คือ ทุกระบบจะต้องมีการเรียน Course works ในระดับหนึ่งตามเส้นทางสู่เป้าหมายของการศึกษาสูงสุด บ้างก็แล้วแต่นักศึกษาจะเลือก บ้างก็เป็นวิชากำหนดหรือบังคับ   

เมื่อตั้งใจจะเรียนในระดับ Post Grad. โดยนัยของระบบการศึกษาของเขา (ยุโรป)  ก็หมายความว่าบุคคลนั้นๆมีเป้าของการศึกษาไปอยู่ที่ระดับ ป.เอก   สำหรับคนที่ไปไม่ไหว คนที่ตกหล่นอยู่กลางทาง เมื่อคณาจารย์เห็นว่ามีความรู้เพิ่มเติมมากพอในระดับหนึ่ง ก็จะได้รับประกาศนียบัตรยืนยันวุฒิความรู้นั้นๆ (Diploma) ซึ่งเทียบเคียงได้กับระดับ ป.โท ที่เราคุ้นกัน   ก็จึงอาจจะเป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้เราได้เห็นชื่อวุฒิแปลกๆ ซึ่งก็บ้างก็จะเป็นวุฒิบนพื้นฐานทางวิชาการ  บ้างก็จะเป็นวุฒิบนพื้นฐานทางวิทยาการ บ้างก็จะเป็นวุฒิบนพื้นฐานเฉพาะสาขาวิชาการ   

แต่ก่อนนั้น ดูคล้ายกับว่าในระบบการเรียน Post Grad. ของยุโรปนั้น จะไม่มีระบบ/ระดับที่เรียกว่าเป็นการเรียน ป.โท   เท่าที่ได้ยินได้ฟังมา ระบบการเรียน ป.โท ในยุโรปนั้นมีพื้นฐานเริ่มต้นจากกรณีที่นักศึกษาที่ได้รับทุนไปเรียนต่อในหลายประเทศในยุโรประยะเวลาประมาณ 2 ปีแล้วได้รับ Diploma   เมื่อกลับประเทศตน ได้รับการประเมินวุฒิต่ำกว่าพวกที่ได้วุฒิ ป.โท  ก็เลยมีการเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนให้เป็น วุฒิ ป.โท เหมือนๆกัน   

ก็เป็นภาพที่ผมเห็น ที่ได้ประมวลมาจากข้อมูลที่พอมี     


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 13 พ.ย. 23, 19:24
ผมไปเรียนในช่วงปี 1970+ ในมหาวิทยาลัยในพื้นที่เทือกเขา Appalachian บริเวณรอยต่อพื้นที่ระหว่างรัฐฝ่ายเหนือกับรัฐฝ่ายใต้ ได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งตกค้างทางสังคมของอเมริกันจากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองในอดีต พร้อมไปกับสังคมที่กำลังพลวัติจากเหตุการณ์น่าสลดใจภายในประเทศที่ผ่านมาไม่กี่ปี และพร้อมๆไปกับสังคมที่กำลังปรับตัวกับการรองรับผู้อพยพกรณีสงครามเวียดนามยุติลง

จะไม่ขยายความละเอียดลงไป เพียงแต่เป็นการนำเรื่องเข้ามาสู่ความเห็นโดยสรุปทั่วๆไปว่า ในเรื่องในเชิงของ Racism นั้น มีภาพปรากฏให้เห็นน้อย มีแต่ในเรื่องในเชิงของ Apartheid ที่ยังเห็นได้ค่อนข้างจะเป็นปกติ     สำหรับคนผิวสีอื่นใด(เอเซีย)นั้น ดูจะมีแต่เรื่องในเชิงของ Prejudice   สมัยนั้น ชาวอเมริกันที่อยู่ในพื้นที่ชนบทนอกเมืองเกือบจะไม่รู้จักประเทศไทยและคนไทยเอาเลย

เมื่อภาพในช่วงทศวรรษ พ.ศ.2520+/- เป็นเช่นนี้  ก็คงพอจะนึกภาพย้อนยุคของสังคมอเมริกันในช่วง พ.ศ.2500 ก่อนเหตุการณ์ที่ได้เล่าความว่า น่าจะเป็นเช่นใดได้บ้าง   


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 พ.ย. 23, 20:24
   ดิฉันไปเรียนช่วงเดียวกับคุณตั้ง ในรัฐไกลปืนเที่ยง ที่ชาวบ้านฝรั่งไม่รู้ว่าไทยแลนด์คืออะไรที่ไหน   หลายครั้งพอบอกว่ามาจากไทยแลนด์  เขาก็ร้องอ๋ออย่างเข้าใจว่า "Oh! Taiwan"
   Racism หรือการแบ่งแยกผิวมีน้อย  ที่มีน้อยเพราะรัฐนี้(เกือบ)ไม่มีคนผิวดำ  เป็นรัฐคนผิวขาวที่อพยพจากทางตะวันออกมาตั้งหลักแหล่งเมื่อปลายศตวรรษที่ 19   คนต่างถิ่นสำหรับพวกเขาคือพวกอเมริกาใต้ เช่นเมกซิกัน ที่อพยพมาเป็นแรงงานในฟาร์ม  รั
    รัฐนี้หนักไปทางเกษตรกรรม  ไม่มีอุตสาหกรรม   เลยมีอาหารการกินสมบูรณ์มาก  มีเนื้อวัว   ไก่ นม เนย ผัก สรุปว่าผลผลิตจากฟาร์มมีให้กินไม่อั้นด้วยราคาถูก   ส่วนหมูหาซื้อได้ในซูเปอร์ แต่คนอเมริกันไม่นิยมเท่าเนื้อวัว
   เมืองที่ดิฉันอยู่ไม่มีคนผิวดำเลยนอกจากนักศึกษาจากรัฐอื่น มาเรียนกันไม่กี่คน     สำหรับฝรั่งแก่ๆในเมือง  ยังคงมีกลิ่นอายของการเหยียดผิวอยู่มาก  ตกทอดมาตั้งแต่ยุคหลังสงคราม   เช่นบางคนไม่ยอมให้คนผิวดำมาเช่าอะพาร์ตเมนต์ของตัวเอง  หรือเรียกพวกเขาว่า Negro ตรงๆ   คำนี้ถือเป็นคำเหยียดหยามรุนแรง  เดี๋ยวนี้ไม่ใช้กันแล้ว
    ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รังเกียจนักศึกษาเอเชียอย่างเราๆ แต่ส่วนน้อยเช่นคนแก่(อีกนั่นแหละ)ค่อนข้างดูถูก   (พวกผิวขาวยุคเก่ามักมีนิสัยรังเกียจคนผิวสีอื่นๆค่อนข้างมาก)  สาเหตุหนึ่งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รังเกียจเพราะเขารู้ว่าเรามาชั่วคราว เรียนจบแล้วก็กลับบ้าน   ระหว่างเรียนก็เอาเงินมาเพิ่มเติมรายได้ให้เมืองเขาโดยตลอด
  แต่ถ้าเรียนจบแล้วอยู่ทำงานต่อละก็  ทัศนะเขาจะเปลี่ยนไปทันที  คือปฏิบัติต่อเราอย่างพลเมืองชั้นสอง   ต่อให้เก่งแสนเก่งก็อย่าหวังว่าจะได้ตำแหน่งการงานก้าวหน้าล้ำพวกผิวขาวได้    การเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง  ผิวขาวจะชิงชัย  ผิวเหลืองจะเป็นรอง
   อคติแบบนี้สมัยนั้นเรียกว่า Discrimination  ซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย  แต่ในยุคนั้น ยังไม่มีการจัดการให้เด็ดขาดเหมือนยุคนี้  ยังคงกล้อมแกล้มกล้ำกลืนกันไปได้   ปัญญาชนไทยจำนวนมากที่โยกย้ายจากไทยไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในอเมริกาจะรู้เรื่องนี้ดี    หลายคนจึงเลือกกลับมาอยู่บ้านเดิมเมื่อเกษียณแล้ว  หอบเงินเกษียณมาใช้ในไทยสบายกว่าหลายเท่า
   คนไทยหลายคนโดยเฉพาะคนรุ่นลูกหลานไม่รู้ว่า  Racism เป็นเรื่องเจ็บปวดขนาดไหน  เพราะเป็นคนไทยเจ้าของประเทศ ไม่เคยเจอคำนี้     ไปอยู่ต่างแดนแล้วจะรู้สึก    


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 14 พ.ย. 23, 14:08
   อีกเรื่องที่คุณตั้งน่าจะอธิบายได้ดีกว่าดิฉัน    
   ทศวรรษ 2500  อเมริกาอยู่ในช่วงการเมืองนอกประเทศที่สำคัญ คือสงครามเวียดนาม  มีผลกระทบทั้งสังคมอเมริกัน และสังคมไทย  ทั้งที่ตัวสงครามอยู่นอกประเทศ คือเป็นความขัดแย้งระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้
    ช่วงเริ่มของสงครามอยู่ในยุคประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี   อเมริกาเข้าไปสนับสนุนเวียดนามใต้ อย่างเต็มตัว ด้วยการเพิ่มความช่วยเหลือทางทหาร  ส่งกำลังทหารอเมริกันและพันธมิตรของอเมริกันเข้าไปรบ อเมริกาทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ลงไปในเวียดนามเหนือและลาว
    สงครามนี้ยืดเยื้อมาตลอดทศวรรษที่ 2500  ส่งผลกระทบไปถึงประเทศใกล้เคียงเช่นเขมรและลาว   ไทยเองก็หวุดหวิดจะโดนด้วย  
    ในอเมริกา สงครามที่ยิดเยื้อไม่รู้จบ ทำให้คนหนุ่มสาวที่ตอนแรกอาสาไปรบด้วยความฮึกเหิมที่จะทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติ  เกิดเปลี่ยนใจเห็นว่าเป็นการเปลืองชีวิตผู้คนโดยใช่เหตุ   แล้วยังไม่ใช่การรบเพื่อป้องกันประเทศชาติของตนโดยตรง  เกิดกระแสต่อต้าน ไม่ยอมรับเกณฑ์ทหาร ไม่สนับสนุนการทำสงครามต่อไป  
   ยุคนี้เกิดกลุ่มหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่เรียกตัวเองว่า "บุปผาชน" ไทยเรียกว่าฮิปปี้   พวกนี้ต่อต้านขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมๆของยุคพ่อแม่  ปล่อยผมยาวรุงรัง แต่งตัวสีสดมีลวดลายดอกไม้ หรือลายน่าเวียนหัว   ไม่ทำงานทำการ ออกมาใช้ชีวิตอิสระข้างถนน ค่ำไหนนอนนั่น  นยมเซกซ์เสรี   เสพกัญชา และต่อต้านสงคราม   การหันหลังให้คริสตศาสนามานับถือลัทธิแปลกๆโดยเฉพาะจากอินเดีย ก็เริ่มในยุคนี้
  





กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 พ.ย. 23, 19:04
จะลองฉายภาพครับ

สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติเมื่อ 1945  แล้วต่อด้วยสงครามเกาหลีที่เริ่มในปี 1953 ยุติในปี 1955  ต่อด้วยสงครามเวียดนามในทันที  สงครามทั้งสามนี้ อเมริกันเป็นหัวหอกนำการสู้รบทั้งหมด    ในช่วงเวลาของสงครามเวียดนามนั้น ก็เกิดกรณีจะมีการติดตั้งจรวดที่ประเทศคิวบาโดยรัสเซีย (ปี 1962) ตามติดมาด้วยประธานาธิบดี John F Kennedy ของอเริกาถูกลอบสังหาร (ปี 1963)  ตามต่อมาด้วยการลอบสังหาร Rev. Martin Luther King ในปี 1968 ซึ่งเป็นผู้นำการเรียกร้องสิทธิความเสมอภาคของอเมริกันชนทุกคน ทุกผิวสี ...   สงครามเวียดนามยุติลงในปี 1975

ก็พอจะเห็นว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ชีวิตของหนุ่มสาวอเมริกันชนทั้งหลายมีภาระส่วนหนึ่งผูกอยู่กับเรื่องของการเป็นทหารที่อาจจะต้องถูกส่งไปสู้รบกับ ??? ในพื้นที่ใดๆในโลกที่ห่างไกลจากประเทศของตน   เป็นเรื่องหนึ่งที่คงจะไม่มีผู้ใดชอบและเห็นด้วยมากนัก ก็เป็นลักษณะพื้นฐานปกติของมนุษย์ที่นิยมใช้ชิวิตในด้าน defensive มากกว่าในด้าน offensive 
 


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 14 พ.ย. 23, 20:15
ในอีกภาพหนึ่ง

ผู้คนในโลกในวงกว้างล้วนอยู่กับสภาพเหตุการณ์ของโลกที่ตึงเครียด จะฟัดกันด้วยระเบิดนิวเคลียร์เมื่อใดก็ไม่รู้  เรื่องของสันทนาการจึงเข้ามามีบทบาท เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ทุกผู้คนรู้สึกคลายความเครียดได้อย่างดี  เรื่องของหนัง(ภาพยนต์)และเพลงจึงดูจะเป็นที่นิยมดูและฟังกัน 

ในยุโรปคงอยู่ในช่วงของการรื้อฟื้นประเทศและของเก่าทั้งหลาย ?   แต่ในอเมริกามีการพัฒนาและค้นพบดนตรีในลักษณะใหม่ จังหวะใหม่ ท่วงทำนองใหม่...  หลุดพ้นจากกติกาของเพลงคลาสสิค  เกิดเพลงในจังหวะที่เร็วขึ้น (กลุ่มเพลง POP) ในขณะที่พวกประเภท Big Band หรือ Jazz Band ค่อยๆหายไป   เกิดกลุ่มเพลง Rock และ Soft Rock ที่ผลมผสานสไตล์ Blue เข้าไป  เพลงประเภท Ballard มีมากและมีอิทธิพลจนในปัจจุบัน   

ก็เห็นว่าเพลงที่เปลี่ยนไปจากแบบนุ่มนวล ไปสู่แบบกระแทกกระทั้นและมีเนื้อเพลงที่เล่าความได้อย่างเข้าถึงความรู้สึกที่อยากระเบิดออกมาเหล่านี้ ก็คือตัวผลักดันแรกๆให้เกิดอารมณ์เคลิ้ม มีมนต์สะกด ซึ่งเมื่อผนวกกับของมึนเมาเข้าไปด้วย ชีวิตก็เลยรู้สึกสุขสบายไปกับสายลมแสงแดด


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 15 พ.ย. 23, 18:37
ในอีกมุมหนึ่ง หนุ่มสาวก็หันไปใช้สิทธิเสรีภาพในเรื่องของความเชื่อ ผันตัวเองเข้าไปเป็นสาวกของนิกาย/ศาสนา/ลัทธิต่างๆที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุขของมนุษยชาติ ดังที่ อ.เทาชมพู กล่าวมา   เรื่องนี้ทำให้เกิดการปฏิบิติตนในสองลักษณะ คือ ปฏิบัติตนค่อนข้างจะเคร่งครัดอยู่ในหลักเกณฑ์พึงปฏิบัติของความเชื่อนั้นๆ กับปฏิบัติตนอย่างเสรีตามที่ใจของตนประสงค์ พวกนี้ก็คือที่เรียกว่า พวกฮิปปี้

พวกฮิปปี้ ดูจะอยู่กันมากแถบรัฐชายฝั่งมหาสมุทรด้านตะวันตก (แปซิฟิก)  ถัดเข้ามาในแผ่นดินดูจะเป็นพื้นที่ของหมู่ชนที่อยู่ในสังกัดของความเชื่อ ลัทธิ นิกายต่างๆ    พื้นที่ตอนกลางของประเทศด้านเหนือและด้านใต้เป็นพื้นที่ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ส่วนพื้นที่ช่วงกลางระหว่างเหนือกับใต้เป็นพื้นที่โล่งกว้างทำเกษตรกรรม   ในช่วงที่ไปเรียนได้มีโอกาสสัมผัสกับพื้นที่เหล่านี้เล็กน้อย ไม่เคยเห็นสิ่งตกค้างที่เป็นลักษณะของฮิปปี้เลย

ทางฝั่งตะวันออกด้านเหนือดูจะไม่มีพวกฮิปปี้จริงๆ มีแต่เพียงลักษณะการแต่งการกายเพียงเล็กๆน้อยๆตามสม้ยนิยม  เมื่อลงมาทางใต้ ยิ่งไม่เหลือสิ่งตกค้างใดๆของฮิปปี้เลย   หากแต่มีกลุ่มผู้คนที่เรียกรวมๆกันว่าเป็นพวก Pilgrim ซึ่งมีการตั้งบ้านเรือนอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน มีลักษณะสำคัญคือ เคร่งศาสนาและดำเนินชีวิตแบบคนรุ่นอพยพ/บุกเบิก  ที่ไม่มีฮิปปี้ในพื้นที่ทางใต้นี้ก็อาจจะเป็นเพราะมีกลุ่มคนที่เป็นพวก supremacist อยู่มากพอสมควร (KKK, Redneck, Roughneck)  ส่วนในพื้นที่ทางเหนือก็อาจจะเป็นเพราะสว่ามีพวก white collar อยู่เป็นส่วนมาก   


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ย. 23, 11:23
พวกฮิปปี้สิงสู่อยู่ทางตะวันตก (ซึ่งเป็นรัฐใหม่กว่าทางตะวันออกหรือทางใต้)   เมืองที่ขึ้นชื่อคือซานฟรานซิสโก  จนมีเพลงฮิทเพลงนี้ออกมา

https://www.youtube.com/watch?v=7I0vkKy504U


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ย. 23, 11:25
https://www.youtube.com/watch?v=m9a8qqUpI8A


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 16 พ.ย. 23, 11:31
ถ้าถามว่าฮิปปี้พวกนั้นเป็นยังไงต่อมา จนถึงยุคปัจจุบัน  อย่างหนึ่งคือหนุ่มสาวยุคนั้นกลายเป็นปู่ย่าตาทวดไปหมดแล้ว   ถึงอยากจะคึกคะนองหรือยึดมั่นในอุดมการณ์ยังไง สังขารก็ไม่เป็นใจอยู่ดี
ขอยกตัวอย่างชีวิตของคุณยายในคลิปข้างล่างนี้   เธอเติบโตมาเป็นสาวฮิปปี้ ใช้ชีวิตอิสระสุดเหวี่ยง  โดดข้ามเส้นศีลธรรมรวมทั้งทำแท้งด้วย   แต่มาถึงปูนนี้ คุณยายกลายเป็นคนเคร่งศาสนา เชื่อมั่นในพระเจ้า


https://www.youtube.com/watch?v=VGUphMguO3M


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ย. 23, 10:43
กลับไปทบทวนวิธีเรียนในระดับปริญญาโทและเอก
มหาวิทยาลัยที่ดิฉันเรียนใช้ระบบภาคเรียนแบบ quarter  ปีหนึ่งมี 3 เทอม คือ Fall Quarter ( ไม่เรียกว่า Autumn) Winter quarter และ Spring Quarter แต่ละช่วงใช้เวลาเรียน 10 สัปดาห์  และยังมี Summer Quarter เปิดในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน   เรียนสั้นหน่อยคือ 8 สัปดาห์
นักศึกษาอเมริกันส่วนใหญ่เรียน 3 เทอม  เอาเวลาตอนปิดเทอม Summer ไปทำงานหาเงินมาเป็นค่าใช้จ่าย เพราะพ่อแม่อเมริกันไม่ส่งลูกเรียนระดับมหาวิทยาลัยอย่างพ่อแม่ไทย   เด็กอเมริกันส่วนใหญ่พออายุ 18 ก็ออกจากบ้าน ไปหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเอง       พวกนี้มีอยู่มากที่ไม่เรียนต่อระดับอุดมศึกษา  ถ้าหางานทำได้ก็ทำเลย  ส่วนใหญ่เป็นประเภทแรงงานซึ่งมีค่าจ้างรายชั่วโมงรวมแล้วมากพอจะเลี้ยงตัวเองได้
บางคนเรียนต่อที่  Community College (วิทยาลัยชุมชน) 2 ปี ที่สอนฝึกอาชีพคล้ายๆอาชีวะของบ้านเรา  พอจบก็ประกอบอาชีพได้ รายได้ดีกว่าเรียนจบมัธยมเฉยๆ   
ส่วนคนที่มาเรียนมหาวิทยาลัย  สะดวกหน่อยเพราะมหาวิทยาลัยมีเงินให้กู้เรียน แลบ กยศ ในบ้านเรา   ทำงานแล้วก็ผ่อนใช้ไปจะสิบยี่สิบปีก็ตามแต่    แต่ก็ต้องทำงานเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว หรือเพิ่มจากที่มหาวิทยาลัยให้กู้ยืม
ส่วนนักเรียนไทยเรียนซัมเมอร์กันเกือบทั้งนั้น   เพื่อจะได้จบกลับบ้านเร็วๆ 

จำนวนหน่วยกิตปริญญาโท คือ 45 หน่วยกิต  แบ่งเป็น 2 โปรแกรม คือ 1  ทำวิทยานิพนธ์  2  สอบรวบยอดให้ผ่าน
ถ้าเรียนปริญญาเอกต่อจากปริญญาโท เรียนอีก 90 หน่วยกิต  ต้องผ่านทุกวิชาก่อนจะทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก   ก่อนทำต้องส่งหัวข้อวิทยานิพนธ์ เรียกว่า Outline คือทำ 3 บทแรก  ให้กรรมการตรวจพร้อมผ่านสัมภาษณ์ด้วย   ถ้าผ่านก็ทำต่อจนจบได้รับปริญญา ถ้าไม่ผ่านก็เก็บเสื้อผ้ากลับบ้านได้   เขาไม่ให้อยู่ต่ออีก
มีปริญญา Post-doctorate   คือเหนือปริญญาเอก  เป็นการทำวิจัย     แต่คนไทยมักไม่เรียนกัน เพราะในยุคนั้น กพ.ไม่ได้ตีราคาให้สูงกว่าปริญญาเอก    แต่ปัจจุบันเห็นเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในบรรดาอาจารย์มหาวิทยาลัยของไทยที่จบปริญญาเอกแล้ว แต่อยากทำงานทางวิชาการต่อยอดขึ้นไปอีก


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 23 พ.ย. 23, 13:30
      การเรียนในระดับปริญญาโท จะไม่เน้นด้านเลกเชอร์อย่างระดับปริญญาตรี แต่จะออกมาในรูปของ seminar  หรือสัมมมนา   คือนักศึกษาจะได้รับมอบหมายให้ไปค้นคว้าในห้วข้อย่อยที่เกี่ยวกับชื่อวิชานั้น เช่น Seminar in Victorian Literature หรือ Seminar in Psychological Conceptions  อาจารย์ก็อาจสั่งให้ไปศึกษาค้นคว้างานของนักเขียนหรือกวียุควิคตอเรียนคนใดคนหนึ่ง เขียนลงไปเป็น term paper  หรืองานวิจัยย่อย  แล้วนำมาเสนอในห้อง ให้อาจารย์และเพื่อนฝูงฟัง   จบแล้วก็อภิปรายถกเถียงกัน   ถ้ามีข้อสงสัย เจ้าของงานต้องตอบให้ได้หมด   จะมาบอกในห้องว่าไม่รู้ หรือขอตัวไปค้นคำตอบก่อน  ไม่ได้เด็ดขาด  แล้วก็เอาที่รายงานและที่เพิ่มเติมในชั้น มาส่งเป็นรายงานให้อาจารย์ตอนปลายเทอม
     การเรียนในยุคนั้นลำบากกว่ายุคนี้มาก   เพราะการอ้างอิงต้องพึ่งหนังสือเป็นหลัก ซึ่งไม่ค่อยจะมีพอในห้องสมุด  หนังสือ 1 เล่มมีคนอ่าน 3-10  คนก็ต้องเข้าคิวกันแล้ว  จากนั้นเมื่อได้หนังสือมาต้องลอกบทที่ต้องการลงด้วยมือ เพราะการถ่ายเอกสารยังไม่มีด้วยซ้ำ  ถ่ายเอกสารด้วยแฟกซ์เป็นอะไรไม่มีใครรู้จักเพราะยังไม่ถือกำเนิด    ยิ่งอินเทอร์เน็ตแล้วไม่มีใครวาดภาพอนาคตได้ถึง
     การพิมพ์รายงานต้องพิมพ์ดีดลงในกระดาษไข แล้วเอากระดาษไปพริ้นท์จากเครื่องพิมพ์ที่มหาวิทยาลัยมีให้ใช้ที่ตึก University Center  ระบบนี้ อเมริกาเรียกว่า ditto  ไทยเรียกว่าโรเนียว
    แหล่งอ้างอิงอีกอย่างในห้องสมุดคือ อ่านไมโครฟิล์มที่ถ่ายลงเป็นเล่มๆสำหรับหนังสือหายาก   ต้องจ้องจอมัวๆชวนปวดตามากๆ   แต่ก็ไม่มีทางเลือกมากนัก
    ชั่วโมงเรียนมีตั้งแต่ 7.00 น. ไปจน 20.00 น. อย่างหลังเรียกว่า night class   เป็นการเรียนที่ทรมานมากในฤดูหนาว  เพราะเจ็ดโมงเช้ายังมืดสนิทเหมือนตีสอง  ต้องเดินลุยหิมะที่กองสูงเลยเข่าจากที่พักไปถึงตึกเรียน  ยิ่งวันไหนหิมะตก  ก็ยิ่งตระหนักว่า นรกเย็นก็มีกับเขาเหมือนกัน ไม่ใช่แค่นรกร้อนที่มีกระทะทองแดงเท่านั้น   ส่วนตอนเย็นในฤดูหนาวเริ่มมืดขมุกขมัวตั้งแต่สี่โมงเย็น เลยสี่โมงแล้วมืดสนิท   การไปเรียนชั่วโมงกลางคืนในอาคารใหญ่ที่เปิดชั้นเรียนเพียงไม่กี่ชั้น    จึงไม่ต่างอะไรจากนั่งอยู่ในหนังสยองขวัญ   


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 23 พ.ย. 23, 19:31
ตามที่เคยทราบมาตั้งแต่ครั้งไปเรียนต่อ  ว่ามหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ พอจะจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็น ม.ที่รัฐบาลกลางให้การสนับสนุนหนักหน่อย   กลุ่มที่สอง เป็น ม.ในเชิง ม. ของแต่ละรัฐตั้งขึ้นมา มีรัฐเป็นแกนหลักในการให้การสนับสนุน   และกลุ่มที่สาม เป็นกลุ่ม ม.เอกชน   สำหรับรูปแบบของชื่อ ม.ต่างๆ ก็มีการใช้คละกันทั้งสามกลุ่ม (U.  of ..., ....State U.  และแบบชื่อเฉพาะแล้วตามท้ายด้วย U

แต่ละ ม. ก็จะมีเฉพาะบางสาขาวิชาการที่มีความเป็นหนึ่ง หรือตัว ม. เองได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับต่างๆเมื่อเทียบกันในระหว่าง ม.ทั้งสามกลุ่ม  ในการจะเลือกเข้าไปเรียนใน ม. เหล่านี้ สำหรับนักศึกษาในระดับ ป.ตรี จะมีองค์ประกอบในการตัดสินใจชุดหนึ่ง  แต่ในระดับ ป.โท และ ป.เอก ผู้ที่จะเลือกเข้าไปเรียนจะใช้องค์ประกอบของการตัดสินใจอีกชุดหนึ่ง เช่น หากเน้นออกไปทางการเป็นนักวิชาการ บ้างก็จะให้ความสำคัญกับกลุ่ม ศ. ที่โด่งดังที่สอนหรือวิจัยอยู่ใน ม. นั้นๆ  บ้างก็พิจารณาโดยการเปรียบเทียบปริมาณเอกสาร/สิ่งพิมพ์ที่อยู่ในห้องสมุด (หลักหลายล้าน Items) ....   หากเป็นกรณีที่เน้นไปทางการยกระดับวุฒิก็จะมีชุดที่ใช้ในการพิจารณาอีกอย่างหนึ่ง

ก็ดูจะไม่แปลกที่เมื่อจบมาแล้ว ได้วุฒิมาแล้ว ก็น่าจะมีความรู้ทัดเทียมกัน อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งก็น่าจะเป็นเช่นนั้น  แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันมีความต่างกันในมิติของความรู้และตรรกะความคิดแบบลึกซึ้ง   Reference ที่ใช้ในการอ้างถึงใน Thesis และ Dissertation  หรือใน Paper ต่างๆ จะเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญในอันดับแรกในความรู้ลึกๆของนักศึกษาคนนั้นๆ เพราะมันมาจาก Journal ซึ่งแต่ละ Journal มันก็มีระดับของความเชื่อถือของแต่ละวงการความรู้นั้นๆ   Journal ที่มีอยู่ในห้องสมุดต่างๆจึงเป็นหนึ่งในตัวที่บอกถึงระดับความรู้และความสามารถทางวิชาการขององค์กรนั้นๆ
 


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 พ.ย. 23, 13:21
อีกอย่างที่นึกได้คืออัตราเงินในยุคนั้น 1 ดอลล่าร์ = 20 บาทบวกเศษสตางค์อีกนิดหน่อย
เมื่อเทียบกับไทย ของกินของใช้ของอเมริกาน่าจะแพงมากสำหรับคนไทย   แต่ถ้าเทียบกับค่าครองชีพของเขาแล้วถูก  ถ้าไปเรียนในเมืองใหญ่ หรือว่าทางรัฐตะวันออก ในรัฐที่มีมหาวิทยาลัยดังๆอยู่อย่างในนิวยอร์ค หรือแมสสาชูเส็ตต์  ค่าเล่าเรียนและค่ากินอยู่แพงกว่ารัฐทางตะวันตก  ยกเว้นคาลิฟอร์เนียที่แพงลิบโลก
สิ่งที่ถูกกว่าไทย เท่าที่นึกออกคือน้ำมันรถ   เติมทีละ 5 เหรียญก็พอใช้หลายวัน   และราคารถยนต์  รถขนาดกลางของไทยเป็นแสนแล้วในตอนนั้น อเมริกา รถสวยๆยังราคาไม่กี่หมื่น  นักเรียนไทยจึงมีรถใช้กันง่ายดาย

จำได้ว่ารถอเมริกันยี่ห้อ Pontiac  รุ่น Firebird  3500 CC  ใหม่เอี่ยมป้ายแดง  ไม่เอาออพชั่นพิเศษ  ราคา 2,200 ดอลลาร์ เท่ากับ 44,000  บาทไทย  


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 27 พ.ย. 23, 20:04
กรณีของผมเป็นการลงทุนร่วมกัน 4 คน ซื้อ Station Wagon เก่ามาใช้ในราคา  $ 400  จำได่ไม่แม่นแล้วว่าเป็น Chevrolet หรือไม่  โชคดีที่มันไม่เคยรวนเลยครับ  ส่วยมากจะใช้เฉพาะเสาร์/อาทิตย์ งานหลักก็ใช้ไปศูนย์การค้าเพื่อจับจ่ายของกินและของใช้ เพราะว่าอยู่ห่างไปจากมหาวิทยาลัยมาก บางช่วงปิดเทอมก็ชวนกันไปเที่ยวนอกเมืองและตามอุทธยานต่างๆบ้าง

ในยุคนั้น เป็นช่วงแรกๆของอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกันที่เริ่มผลิตรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบออกสู่ตลาด  พร้อมๆไปกับรถนั่งขนาดกลางที่ใช้เครื่องยนต์ 6 สูบ  เริ่มต่างไปจากเดิมที่นิยมใช้รถขนาดใหญ่ใช้เครื่องยนต์ 8 สูบ  แล้วก็ยังผลิตรถประเภทเฟี้ยวหลายรุ่นออกสู่ตลาด เช่น Ford Thunderbird .... แข่งตลาดกับรถสปอร์ตต่างๆจากค่ายอิตาลี   ก็แปลกอยู่ที่ไม่ผลิตพวกรถสปอร์ตขนาดเล็กแข่งกับของยุโรป (Jaguar E Type, Porsche ....     


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 27 พ.ย. 23, 21:06
ทบทวนความจำว่านักเรียนไทยสมัยโน้นนิยมใช้รถอะไรบ้าง   ในเมื่อรถราคาถูก  หลายคนที่เป็นนักเรียนทุน พก.(พ่อกู)
ไม่ใช่ทุนก.พ.  จึงมีรถสวยๆให้ขับกันว่อน   
รถฟอร์ดเป็นที่นิยมมาก เช่นฟอร์ดคาเมโร และฟอร์ดมัสแตง   ราคาคิดเป็นเงินไทยไม่กี่หมื่น   ปาป๊าในไทยขนหน้าแข้งไม่ร่วง
แต่ถ้าไม่ใช่รวยเฉยๆแต่เป็นพวกเจ้าของกิจการที่รวยมาก    ก็จะมีรถพอร์ช ( porche) ที่คนไทยเรียกว่าปอเช่ ขับไปเรียนค่ะ 


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 28 พ.ย. 23, 20:02
นึกถึงความต่างในสำเนียงและการใช้ภาษาของคนอเมริกันที่มีพื้นเพอยู่ในภูมิภาคต่างๆของประเทศ 

แต่ดั้งเดิมคิดว่าสำเนียงแบบอังกฤษเป็นแบบฉบับมาตรฐานของภาษาอังกฤษ จริงๆแล้วไม่ใช่เลย  ที่ ม.ที่เรียนอยู่ ได้ฟังภาษาอังกฤษแบบอเมริกันหลากหลายสำเนียงของนักศึกษาและของชาวบ้าน แรกๆก็ฟังและเข้าใจแบบกระท่อนกระแท่น สื่อสารไปเขาก็ไม่ค่อยเข้าใจเรา นึกว่าภาษาอังกฤษของเราน่าจะแย่เอามากๆเลยทีเดียว ดูจะพอใช้ได้แต่เพียงใช้การอ่านและการเขียน  มาถึงบางอ้อก็ตอนไปเยี่ยมเพื่อนที่นิวยอร์ก สื่อสารกับใครก็ดูรู้เรื่องเข้าใจกันดีทั้งกับคนอเมริกันและคนต่างชาติ  อ้าว.. ภาษาของเราก็อยู่ในระดับที่พอใช้ได้นี่   เกิดความเข้าใจขึ้นมาว่าไม่ต้องเป็นกังวลกับเรื่องของสำเนียงนัก การออกเสียงควบกล้ำให้ครบและออก accent ให้ถูก เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่ามาก เพราะว่ามันเป็นตัวคำที่เป็นศัพท์ที่ให้ความหมายว่ากำลังคุยกันในสิ่งใดและในความหมายใด    แต่ก่อนโน้นเราเรียนภาษาอังกฤษแบบอังกฤษอังกฤษ เราจึงรู้จักและใช้ศัพท์แบบอังกฤษซึ่งมีศัพท์เป็นจำนวนไม่น้อยที่ต่างไปจากที่คนอเมริกันเขาใช้กัน  ก็ไม่ต้องไปกังวลว่าอยู่ที่ใหนจะต้องใช้ศัพท์คำใด  คนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เขาก็ไม่ต่างกับเราที่เราสามารถสนทนาด้วยภาษาไทยกันกับคนที่ใช้ภาษาไทยในประเทศอื่นได้


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 พ.ย. 23, 20:21
อเมริกามี 50 รัฐ แต่ละรัฐมีเอกลักษณ์ของตัวเอง    รัฐทางตะวันออกซึ่งเป็นรัฐเก่าแก่กว่าทางตะวันตก มีอะไรหลายอย่างแตกต่างจากรัฐทางตะวันตก  สำเนียงพูดก็ไม่เหมือนกันแล้ว   
ทางตะวันตกโดยเฉพาะรัฐคาวบอยอย่างเทกซัส มีสำเนียงพื้นบ้านที่คนอเมริกันเรียกว่า "เหน่อ"  ถ้าอยากรู้ว่าเหน่อเมกันเป็นไงให้ดูได้จากหนังที่มีเพลงคันทรีหรือเพลงลูกทุ่งฝรั่ง   นอกจากนี้รัฐทางใต้ก็ยังมีสำเนียงท้องถิ่นที่เหน่อมากอีกแบบหนึ่ง  คนละแบบกับทางตะวันตก
https://www.youtube.com/watch?v=IzyTLJWNkas


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 พ.ย. 23, 20:24
สำเนียงชาวใต้

https://www.youtube.com/watch?v=CB_nhquynN0


กระทู้: อยากทราบข้อมูลของนักเรียนนอกและนักการทูตในสมัยปี พ.ศ. 2500 ค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 29 พ.ย. 23, 09:29
ชีวิตนักเรียนไทยมีอะไรให้เล่าอีกเยอะ   แต่ตอนนี้คุณเจ้าของกระทู้หายไปแล้ว  คงไม่ได้เข้ามาอ่านอีก   ดิฉันขอจบกระทู้ไว้แค่นี้นะคะ