เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 93518 วีรเวร-วีรกรรมของร.ล.ธนบุรีในยุทธนาวีที่เกาะช้าง
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 21:42

นาวาโทหลวงพร้อมวีรพันธุ์ (พร้อม วีระพันธุ์) ผู้บังคับหมวดเรือที่ ๓ กองเรือที่ ๑ และผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 28 ก.ย. 11, 22:01

เมื่อเกิดสงครามที่ไม่มีการประกาศในกรณีย์พิพาทระหว่างไทยและฝรั่งเศสแล้ว ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๓ กระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่งตั้ง พลเรือตรี หลวงสินธุสงครามชัย ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นแม่ทัพเรือ และในวันเดียวกันนั้นเอง กองทัพเรือได้ออกคำสั่งที่ ๑๓๓/๘๓ ตั้ง “ทัพเรือ” ขึ้น ซึ่งทัพเรือนี้เป็นหน่วยรบเฉพาะกิจ จัดกำลังเป็น กองเรือ ๓ กองคือ

กองเรือที่ ๑ นาวาเอก หลวงสังวรยุทธกิจ (สังวร สุวรรณชีพ ต่อมาเป็นพลเรือตรี) เป็นผู้บังคับกองเรือ แบ่งออกเป็น ๒ หมวด คือ
หมวด ๑ ประกอบด้วย ร.ล.ศรีอยุธยา เรือตอร์ปิโดใหญ่ ๓ ลำ ( .ร.ล.ภูเก็ต ร.ล.ปัตตานี ร.ล.สุราษฎร์) เรือดำน้ำ ๒ ลำ (ร.ล.มัจฉานุ ร.ล.สินสมุทร)
หมวด ๓ ประกอบด้วย ร.ล.ธนบุรี เรือตอร์ปิโดใหญ่ ๓ ลำ(ร.ลชลบุรี .ร.ล.สงขลา ร.ล.ระยอง) และ ร.ล.บางระจัน

กองเรือที่ ๒ นาวาเอก ชลิต กุลกำม์ธร (ต่อมาเป็นพลเรือตรี) เป็นผู้บังคับกองเรือ แบ่งออกเป็น ๒ หมวด คือ
หมวด ๒ ประกอบด้วย ร.ล.ท่าจีน เรือตอร์ปิโดใหญ่ ๓ ลำ (ร.ล. ตราด ร.ลชุมพร ร.ล.จันทบุรี) เรือดำน้ำ ๒ ลำ (ร.ล.วิรุณ ร.ล.พลายชุมพล)
หมวด ๔ ประกอบด้วย ร.ล.แม่กลอง เรือตอร์ปิโดเล็ก ๓ ลำ (ร.ล.กันตัง ร.ล.คลองใหญ่ ร.ล.ตากใบ) และ ร.ล.หนองสาหร่าย

กองเรือที่ ๓ นาวาโท หลวงพรหมพิสุทธิ์ (พิสุทธิ์ ยูปานนท์ ต่อมาเป็นพลเรือตรี) เป็นผู้บังคับกองเรือ ประกอบด้วย เรือรบรุ่นเก่า๓ลำ (ร.ล.สุโขทัย  ร.ล.เจ้าพระยา  ร.ล.พระร่วง) เรือยามฝั่ง ๖ ลำ เรือลำเลียง๖ลำ (ร.ล.สีชัง ร.ล.พงัน ร.ล.ช้าง ร.ล.เสม็ด ร.ล.จวง ร.ล.คราม ร.ล.บริพารพาหน)

ส่วนเรือธงสำหรับการบัญชาการของแม่ทัพเรือ คือ ร.ล.อ่างทอง (อดีต เรือพระที่นั่งมหาจักรี ลำที่สอง)
ต่อมาเมื่อขึ้นพ.ศ.๒๔๘๔ ได้มีการย้ายร.ล.หนองสาหร่ายมาแทนร.ล.บางระจันในหมวดที่ ๓ ร่วมกับ ร.ล.ธนบุรี


รายละเอียดพวกนี้ผมเอามาลงไว้ให้ข้อมูลครบๆเท่านั้น ท่านจะอ่านผ่านๆไปก็ได้ รับรองไม่มีใครมาออกข้อสอบ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 05:40

เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2484 น.อ. หลวงสังวรยุทธกิจผู้บังคับการกองเรือที่๑ ได้สั่งการให้หมวด๒ ในบังคับบัญชาของ น.ท.หลวงพร้อมวีรพันธุ์ ไปผลัดเปลี่ยนกับหมวด ๑ ที่มี ร.ล.ศรีอยุธยาเป็นเรือนำยังเกาะช้าง

ร.ล.ธนบุรีมีน.ท.หลวงพร้อมวีรพันธุ์ เป็นผู้บังคับการเรือ  เรือรบในหมวดมี ร.ล.ระยอง  ร.ล.สงขลา ร.ล.ชลบุรี  และเรือช่วยรบ ร.ล. หนองสาหร่าย ออกเดินทางจากฐานทัพสัตหีบเวลา๒๒๐๐ ถึงหมู่เกาะช้าง ๐๙๐๐ เข้าทอดสมอทางทิศใต้ใกล้ๆกับเกาะง่าม และทำการรับมอบหน้าที่จากเรือหมวด ๑

รูปหลวงพร้อมวีรพันธุ์ผมมีเหมือนกัน แต่คนละรูปกับที่คุณหนุ่มสยามนำมาช่วยเสริม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 11:14


นักบินที่ทำการบินขึ้นไปไล่ล่าเครื่องบินทะเลของฝรั่งเศสที่บินมาตรวจการในวันที่๑๗ มกราคม แล้วยิงเอาใบพัดเครื่องของตนเองนั้นชื่อ ร.ท.ประสงค์ คุณะดิลก ครับ ส่วนร.อ.บุญนำ สังขภูติท่านเป็นคนออกคำสั่ง

ร.ท.ประสงค์ คุณะดิลกท่านรับราชการจนถึงตำแหน่งสูงสุดเป็นถึงเสนาธิการกองทัพอากาศ ยศพลอากาศเอก

จากนั้น พลอากาศเอก ประสงค์ คุณะดิลก ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมคณะรัฐมนตรี คณะที่ 41 ของไทย (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2523) ที่มีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี

นายทหารที่ผ่านวีรกรรมร.ล.ธนบุรี จนใหญ่โตได้เป็นรัฐมนตรียังมีอยู่อีก 2-3 ท่านค่ะ  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 17:29

รายละเอียดของร.ล.ธนบุรี


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 17:31

เรือตอร์ปิโดใหญ่ ร.ลชลบุรี .ร.ล.สงขลา ร.ล.ระยอง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 19:38

ก่อนจะไปเกาะช้าง ร.ล.ธนบุรีได้ซ้อมยิงเป้าด้วยกระสุนจริงที่สัตหีบ เรื่องนี้ น.อ.หลวงสังวรยุทธกิจได้เขียนในสมุดบันทึกความจำส่วนตัว ซึ่งทายาทนำมาพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ผมไปอ่านพบเข้าโดยบังเอิญ ความตอนหนึ่งว่า “ต่อมาอีก๑วัน น.ท.สุนทร (ช่วยวงศ์วาน) มารับหน้าที่(ตำแหน่งผู้บังคับการร.ล. ศรีอยุธยา) จากหลวงชำนาญ (น.ต. หลวงชำนาญอรรถยุทธ) ทางเรือได้จัดเลี้ยงรับ-ส่งผ.บ.หมวดเรือเก่า-ใหม่ น.ท.สุนทรบอกว่าแม่ทัพเรือมาด้วย เวลานั้นประจำอยู่ร.ล.อ่างทอง และเมื่อได้ทราบผลการยิงกระสุนจริงของร.ล.ธนบุรี ซึ่งคลาดเคลื่อนจากที่หมาย ต่ำไป๓๐๐เมตร ในระยะการยิง๘๐๐๐เมตรแล้ว น.ท.สุนทรเห็นว่าควรสอบ Calibration ปืนเสีย”(หมายถึง ตรวจสอบและปรับศูนย์เครื่องเล็งปืน(ของร.ล. ศรีอยุธยา)เสียด้วย)

เรื่องนี้นายป้อมปืนท้ายของร.ล.ธนบุรีไม่ได้เอ่ยถึง จึงน่าจะแปลว่า เมื่อซ้อมยิงเห็นกระสุนพลาดเป้า ก็ได้ทำการปรับศูนย์เล็งปืนแล้วตามปกติวิสัย ก่อนจะแล่นออกมาประจำหน้าที่ ผมจึงยกเรื่องนี้ขึ้นมาให้เป็นข้อพิจารณาในเรื่องผลของการยิงในระหว่างการรบที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 19:46

ก่อนจะถึงฉากบู๊ ผมจะขออธิบายการยิงปืนใหญ่ในป้อมปืนทั้งหัวและท้ายของเรือรบรุ่นนั้นเสียหน่อย
 
การยิงของป้อมปืนกระทำได้๒วิธี

วิธีแรก ทำการยิงภายในบังคับของหอควบคุมการยิง เรียกว่ายิงจากศูนย์รวม
หอควบคุมการยิงอยู่บนส่วนที่สูงที่สุดของเรือ มีเครื่องเล็ง ประกอบด้วยกล้องวัดระยะทาง กล้องวัดสูงต่ำของเป้า และกล้องสำหรับเล็งที่หมายซึ่งมีระบบหันหอควบคุมการยิงให้หมุนตามไปให้ตรงกับเป้าเสมอ เมื่อหอควบคุมการยิงหมุนไปหยุดที่แนวใด จะส่งสัญญาณไปที่ป้อมปืน ให้หมุนป้อมตามไปที่ทิศเดียวกัน และกระดกปืนให้สูงต่ำตามองศาที่กล้องเล็งไว้ เมื่อป้อมปืนทั้งสองพร้อม จะส่งสัญญาณกลับไปที่หอควบคุมการยิง ต้นปืนจะเป็นผู้สั่งกดสวิสท์เพื่อทำการยิงทันทีต่อไป

การยิงภายในบังคับของหอควบคุมการยิงนี้จะมีความแม่นยำสูง การCalibration  ที่กล่าวมาคือการตรวจสอบความถูกต้องของอุปกรณ์ที่ต้องทำงานร่วมกันของหอนี้  ปกติการยิงทุกตับ ต้นปืนจะต้องตรวจกระสุนตก และแก้ศูนย์เพื่อสั่งยิงให้เข้าเป้าหมายทุกครั้ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 19:53

วิธีที่สอง ป้อมปืนทำการยิงโดยอิสระ

ปกติการยิงภายในบังคับของหอควบคุมการยิงจะให้ผลมากกว่าการยิงโดยอิสระมาก เพราะการยิงพร้อมกันของปืนทุกกระบอกกลุ่มกระสุนจะตรวจสอบง่าย อำนาจระเบิดก็จะร้ายแรงมากถ้าโดนเป้า นายป้อมเพียงแต่สั่งการให้คนประจำป้อมทำหน้าที่หันป้อมและกระดกปืนตามแนวและองศาตามสัญญาณที่ปรากฎเท่านั้น ไม่ต้องห่วงว่าจะมองไม่เห็นเป้า เล็งไม่ถนัดเพราะเรื่อโคลงตลอดเวลา หรือตรวจสอบกระสุนตกไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าที่เห็นนั้นเป็นของกระบอกไหน เป็นต้น

แต่เมื่อเกิดเหตุขัดข้องใดไม่สามารถทำการยิงภายในบังคับของหอควบคุมการยิงได้ นายป้อมจะเป็นผู้สั่งการยิงปืนแต่ละกระบอกแทนต้นปืน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 22:14

ในเรือปืนหนักนี้ ป้อมปืนทั้งหัวและท้ายแบ่งออกเป็น๓ชั้น ชั้นบนที่เป็นป้อมครอบตัวปืนคู่โผล่แต่กระบอกออกไปนั้น เรียกว่าห้องปืน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 22:16

ชั้นที่๒อยู่ล่างลงมาเป็นห้องลำเลียงกระสุน มีทหารทำหน้าที่อุ้มกระสุนจากที่เก็บเข้าเครื่องลำเลียงคล้ายลิฟท์ ส่งขึ้นไปยังห้องปืน

ชั้นที่๓เป็นห้องล่างสุด เป็นห้องลำเลียงนัดดิน นัดดินคือห่อดินปืน เก็บอยู่ในคลังที่สร้างอยู่ติดกันในส่วนท้องเรือใต้ระดับน้ำ มีทหารทำหน้าที่ลำเลียงนัดดินส่งขึ้นไปบนห้องปืน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 22:18

ปืนในห้องปืน แต่ละกระบอกมีทหารประจำอยู่กระบอกละ ๙ คน ในการยิงนัดหนึ่งๆจะทำหน้าที่ร่วมกัน เริ่มตั้งแต่พลลูกเลื่อนทำการเปิดลูกเลื่อนท้ายปืน พลกระสุนจะนำกระสุนไปวางที่เปล(ราง) พลรุนกระสุนจะเดินเครื่องรุนกระสุนเข้าไปในรังเพลิง พลนัดดินก็บรรจุนัดดิน เมื่อเสร้จแล้วพลลูกเลื่อนจะปิดท้ายปืน พลกระดกปืนก็จะทำหน้าที่การดกปืนตามที่ศูนย์ตั้งระยะไว้ พลหันป้อมปืนก็จะหันป้อมให้ตรงที่หมาย เมื่อตรงแล้วป้อมปืนนั้นก็พร้อมยิง



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 22:21

ผมมีภาพการทำงานของทหารในป้อมปืนเรือฝรั่งประมาณสมัยของร.ล.ธนบุรีมาให้ชมด้วย ในป้อมปืนคงร้อนมาก ทหารต้องถอดเสื้อทำงาน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 29 ก.ย. 11, 22:23

ส่วนรูป animation ภาพแม้จะทันสมัยกว่าเรือรบสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่๒มาก เพราะมีเครื่องทุ่นแรงหมดแล้ว แต่ก็พอทำให้เข้าใจงานของป้อมปืนและหน้าที่ของทหารประจำป้อมได้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 30 ก.ย. 11, 07:16

๑๖ มกราคม  กองเรือหมวด๒ ทั้งหมดไปจอดรวมตัวกันอยู่ปากอ่าวสลักเพชร บริเวณเกาะง่ามซึ่งซึ่งกำลังเตรียมการก่อสร้างสถานีทหารเรือเล็กๆอยู่ มีร.ล.เทียวอุทกซึ่งป็นเรือใช้งานทั่วไปจอดอยู่ก่อนแล้ว ใกล้เที่ยงน.ท.หลวงพร้อมวีรพันธุ์ได้รับคำสั่งทัพเรือทางวิทยุ ให้หาสถานที่ปักไม้วัดเพื่อตรวจสอบระดับน้ำขึ้นสูงสุดและต่ำสุดใน๑สัปดาห์ จึงนำนายทหารทหารขึ้นบกไปปฏิบัติ หลังกลับขึ้นเรือในตอนเย็นได้สั่งการให้จ่า๒พลฯ๒ที่ว่างอยู่ ไม่ได้เข้าเวรยาม ขึ้นไปประจำการบนเกาะง่ามชั่วคราวเพื่อจดระดับน้ำ บังเอิญจ่าคนหนึ่งเป็นพลหันป้อมปืนท้าย ซึ่งไปจากเรือโดยที่นายป้อมไม่ทราบ

ครั้นตอนเย็นเครื่องบินทะเลของฝรั่งเศสมาบินวนตรวจการณ์ เรือทุกลำสั่งทหารเข้าประจำสถานีรบแต่ไม่ได้ทำการยิงเพราะอยู่สูงเกินไป ผู้บังคับการเห็นว่า การจอดเรือรวมกันเป็นหมู่ในยามค่ำคืนอาจไม่ปลอดภัย จึงมีคำสั่งให้ย้ายเรือ โดยให้ร.ล.ระยองออกไปรักษาการณ์เป็นเรือลาดตระเวนหน้าที่บริเวณใต้เกาะกูดเพื่อระวังหน้า ส่วนร.ล.ธนบุรี  ร.ล.หนองสาหร่าย รวมทั้ง ร.ล.เทียวอุทก ให้ย้ายไปอยู่ที่เกาะลิ่ม ด้านตะวันออกของเกาะช้าง  ร.ล.ชลบุรีและ ร.ล. สงขลา ให้ทอดสมออยู่ที่เดิม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง