เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ไพลินภัทร ที่ 25 ม.ค. 14, 02:02



กระทู้: อยากทราบเรื่องสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: ไพลินภัทร ที่ 25 ม.ค. 14, 02:02
ดิฉันทราบมาว่า ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ยังนิยมสร้างบ้านเป็นเรือนไทยใต้ถุนสูง
แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ตั้งแต่รัชกาที่๔ มีการรับอิทธิพลมาจากจีนและตะวันตก
จึงอยากทราบความแตกต่างของสถาปัตยกรรมบ้านเรือนในรัชกาลที่ ๔ ๕ ๖ ค่ะ
อีกเรื่องหนึ่งที่สงสัยก็คือเรื่องเรือนปั้นหยา และเรือนขนมปังขิง
ทั้งสองเหมือนหรือต่างกันอย่างไรคะ และสยามเริ่มมีการสร้างเรือนทั้งสองรูปแบบตั้งแต่รัชกาลใด?


กระทู้: อยากทราบเรื่องสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 25 ม.ค. 14, 07:42
ขอแนะนำให้ศึกษาจากหนังสือเล่มนี้ครับ

พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
วิจัยโดย ดร.วิมลสิทธิ์ หรยางกูรและคณะ

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์
248/1 พระราม 9 ซอย 17 พระราม 9
แขวง บางกะปิ เขต ห้วยขวาง
กรุงเทพมหานคร 10310

02 319 6555


กระทู้: อยากทราบเรื่องสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: winter_rain ที่ 25 ม.ค. 14, 07:50
เรือนปั้นหยา มีหลังคาเอียงลาดทั้งสี่ทิศ ภาษาชาวบ้านเรียก จั่วล้ม คือล้มหากันทั้งสี่ด้าน

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=bite25&month=11-2009&date=12&group=15&gblog=28

เรือนตามลิ้งค์ เริ่มสร้างกีนตั้งแต่่ สมัย ร5 เริ่มมากใน ร6 ต่อไปถึง ร7
เป็นบ้านเรือนของผู้ลากมากดีค่ะ รายละเอียดเยอะพอควร
บ้านชาวบ้านธรรมดาก็ยังคงเป็นใต้ถุนสูงเหมือนก่อน


ว่าไปแล้วปั้นหยา ก็มีใช้มากในบ้านคอนกรีตยุคปัจจุบัน
คือบ้านจัดสรรทั้งหลาย ที่หลังคาไม่เป็นจั่ว แต่เป็นจั่วล้มสี่ทิศ


ผิดถูก ขอท่านผู้รู้ช่วยแก้ไขค่ะ


กระทู้: อยากทราบเรื่องสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลางค่ะ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 06 ก.พ. 14, 12:07
เรือนปั้นหยา คือเรือนที่หลังคาไม่มีหน้าจั่ว   หลังคาสี่ด้านเอนเข้าบรรจบกันคล้ายรูปปิรามิด   ส่วนตัวเรือนจะชั้นเดียวหรือสองชั้นก็ได้
เรือนขนมปังขิง  คือเรือนที่มีไม้ลายฉลุติดตรงชายคา    ลายประดับแบบนี้ฝรั่งเรียกว่า gingerbread  เราแปลตรงตัวว่าขนมปังขิง

ซ้าย เรือนปั้นหยา   ขวา เรือนขนมปังขิง  ผสมด้วยหน้าจั่วตรงหน้าเรียกว่าเรือนมะนิลา