เรือนไทย

General Category => ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 15:13



กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 15:13
เนื่องจากมีสมาชิกนำภาพเขียนสวยๆบนเพดานมาลง ทำให้นึกถึงการประดับเพดานในงานสถาปัตยกรรมไทย
อันที่จริงผมไม่มีความรู้เรื่องราวเชิงลึกเท่าไหร่ เพียงแต่เวลาไปดูงานตามวัดมันจะมีอะไรให้สนใจเป็นจุดๆ
เพดานเป็นอีกหนึ่งจุดที่บางครั้งก็ดูบ้างไม่ได้ดูบ้าง เพราะบางที่ก็ไม่ได้มีการประดับให้อลังการเป็นที่น่าสนใจมาก
ดังนั้นในที่นี้อาจไม่ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมด ทุกท่านสามารถโต้แย้งได้ตามสมควรครับ

อย่างไรก็ดี ดาวเพดาน ก็เป็นชื่อที่เราพอจะคุ้นเคย หรือจะมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกก็แล้วแต่ผู้รู้อยากจะอธิบายตาม
ความเข้าใจหรือองค์ประกอบอื่นที่นำมาพิจารณา แม้ในระยะหลังๆมาการใช้ดาวเพดานในสถาปัตยกรรมไทย
จะถูกบั่นทอนลงไป ทำให้เราไม่ค่อยจะตื่นเต้นกันเมาเท่าไหร่แล้ว ดาวเพดานก็ยังต้องทำหน้าที่ของมันอยู่
เพื่อไม่ให้ฝ้าเพดานมันดูโล่งเกินไป ถึงบางที่มันจะไม่ใช่ดาวแล้วก็ตาม

ตามที่จริงการที่จะเรียกว่าสมัยรัตนโกสินทร์ บั่นทอนรายละเอียดของดาวเพดานไป ก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องซะทีเดียว
เพราะดาวเพดานสมัยเก่าๆเลย เท่าที่ผมรู้จักก็ทำหน้าที่เป็นเพียงลายประดับเรียบๆ แล้วค่อยมาพัฒนาให้เป็นมิติมากขึ้น
และก็ถูกลดรายละเอียดลงไปอีกที
..ภาพที่ลงนี้ไม่ได้เรียงแบบตามยุคสมัยนะครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ส.ค. 10, 15:15
ขอเข้ามารอชมเป็นคนแรกครับ.. ;D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 15:18
สวัสดีครับ

ภาพแรกลายเพดานรูปดอกบัวแกะจากหินชนวน จากพช.พระนคร ชอบรูปแบบมากครับ เรียบๆง่ายไดีแต่ลงตัว
พี่กุมาลงต่อด้วยนะ ผมไม่มีรูปเพดานวัดศรีชุม หรือใครมีก็เอามาลงให้ผมชมบ้างนะครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 15:24
ลายตรงมุมนี้สวยถูกใจครับ มีแกะเป็นดอกไม้จำพวกนี้ประดับ ส่วนตัวยังสรุปไม่ได้ว่าจะเรียกว่าดอกอะไรดี
แต่คล้ายดอกอะไรก็เรียกแล้วกันเนอะครับ กระหนกเป็นเลขหนึ่งไทยโค้งสลับกันออกมา ว่างๆต้องเอาไปนั่งเทียบ
ดูกับลายแกะบนเสมาหินทรายแดง
ลายดอกบัวที่มีลักษณะเหมือนถูกทับให้แบน มีการออกแบบกลีบเลียนแบบของธรรมชาติให้เป็นงานสองมิติ
แล้วแบะชั้นเปลี่ยนมุมมองเป็นสามส่วน คือส่วนนอกเป็นกลีบที่บานออก ส่วนในเป็นกลีบที่หุบเข้า แต่ไม่ได้อ้างอิงตามลักษณะ
ของดอกบัวตามธรรมชาติทั้งหมด เพราะมีเส้นเกสรที่ขอบของวงนอกเพื่อเติมเต็มเส้นวง
วงกลมชั้นในสุดเลยก็ตกแต่งเป็นกลีบเล็กรอบพื่นที่ว่าง แทนตำแหน่งของเม็ดบัว เจาะรูตรงกลางด้วยเหมือนจะทำอะไรสักอย่าง
.... เป็นรูปแบบการแปลงความงามตามธรรมชาติ ให้อยู่ในงานศิลปะเพื่อนำมาใช้งาน เป็นการกระทำของช่างทั่วโลก


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 16 ส.ค. 10, 15:25
เกาะกระทู้ ^____^


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 15:31
อ้าว... สวัสดีครับ

การใช้ลวดลายประดับเรียบๆระนาบเดียว ยังไม่ซ้อนเป็นมิติออกมา คงเป็นรูปแบบที่ใช้กันทั่วไปในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาตอนต้น
ส่วนที่เก่ากว่านั้นผมไม่รู้ครับ ต้องตามไปดูพุกาม เขมร ชวาหรืออินเดีย คงมีประเด็นอะไรดีๆออกมาเพิ่มเติม
ลายเพดานแกะหินชนวนอีกแผ่นหนึ่ง จากพช.รามคำแหงครับ อันนี้รูปแบบสู้อันด้านบนไม่ได้ แต่ชอบลายสี่เหลี่ยมซ้อนตรงกลางครับ

เริ่มจากลายที่ขอบสี่เหลี่ยมนอกสุด ทำเป็นกลีบๆอย่างกลีบบัวต่อไปมีการทำเป็นรูปแบบอื่นๆด้วยครับ ลายที่มุมหรือค้างคาว?นั้นเป็น
แบบรูป1ใน4ของลายดอกไม้หรือร่วมแบบเดียวกับความคิดของลายประจำยาม ตรงกลางเป็นลายดอกบัวแต่คงเป็นบัวคนพันธุ์กับอันบน
ชิ้นนี้คงเป็นรูปบัวเผื่อน ..? 55




กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 18:00
เรื่องราวของระับบลายหรือวิวัฒนาการของลาย ในหนังสือกระหนกในดินแดนไทย ของอาจารย์สันติ เล็กสุขุมอธิบายไว้ครับ
หรือมีภาพให้ดูในหนังสือของอาจารย์น. ณ ปากน้ำ ที่อ้างอิงไว้ก็เพราะผมอ่านงานของอาจารย์สองท่านนี้น่ะครับ

ต่อมาเป็นลายเพดานของคูหาพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ตัวอย่างงานชิ้นนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่มักใช้กล่าวอ้างถึง
งานในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง รูปแบบรวมๆยังคล้ายแบบแผนของเพดานแกะหินชนวนด้านบน
แต่มีการใส่รายละเอียดโดยการเพิ่มลายดอกลงไปในกลีบบัวแต่ละกลีบด้วย และแบบแผนดอกบัวก็ประยุกต์ให้ทิ้งห่างจากดอกบัวจริง
ไปมากกว่าเดิมเยอะขึ้น


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 18:15
ลายค้างคาวหรือลายที่มุมฉากนั้น ทำแบบแผนลายเป็นเส้นขดอย่างกลีบดอกหรือใบไม้ เพิ่มรายละเอียดเป็นรูปเทพพนมด้านใน
แล้วแตกลายออกไปด้านข้าง (รูปแบบอย่างนี้เหมือนของพม่าก็ใช้นะครับ แต่ยังไม่แน่ใจต้องถามท่านอื่นอีกทีหนึ่ง) ลายดอกใบที่แทรกอยู่ใน
งานสลักไม้ชิ้นนี้ยังดูมีความคล้ายของธรรมชาติอยู่ แม้รูปแบบโดยรวมจะถูกปรับให้เป็นลายประดิษฐ์
ส่วนที่กลีบบัวของวงกลมใหญ่ ระหว่างกลีบแต่ละกลีบจะมีรูปดอกไม้ลักษณะคล้ายดอกจำปี?ก้านยาวๆ ลักษณะดอกแบบนี้ก็พบได้
ในลายสลักบนหินทรายด้วยเช่นกัน และคงจะมีใช้กันมานานก่อนหน้า



กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 18:23
เรื่องแบบแผนของลายที่ปรากฏในงานแต่ละงานหรือแต่ละชิ้น มีความปนเปของรูปแบบที่ช่างจะทำจะนึกทำขึ้นมาได้เอง
ลักษณะของงาน และความลงตัวของพื้นที่ มักจะผลักดันให้ช่างสร้างรูปแบบของลายออกมา ซึ่งบางที่รูปแบบนั้น
อาจได้อิทธิพลจากของเดิมที่ช่างเคยพบ งานจากอารยะธรรมอื่นๆ หรือจินตนาการที่สร้างใหม่แต่ใช้รูปแบบความคิดร่วมกับของเก่า
... ภาพนี้แสดงกลีบของวงชั้นในครับ

ว่าแต่ไม่มีใครเข้ามาช่วยเลย ให้ผมมั่วอยู่คนเดียว  T-T


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ส.ค. 10, 18:39
กำลังตามดูเพลินๆอยู่ทีเดียว...ขอบคุณมากที่ลงภาพ CU ด้วย...ทำให้เห็นรายละเอียดของภาพ....



คุณvirain ไม่ต้องห่วงดอกครับ.....ดึกกว่านี้อีกหน่อย....มากันตรึมเลยละครับ



สังเกตุหลายครั้ง...สมาชิกชมรมเรา...เป็นประเภทนอนดึกน่ะครับ
เช้าๆจะไม่ค่อยพบ???

 ;D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ส.ค. 10, 18:42
ขอความรู้หน่อยครับ...
หินชนวนใน คห. 2 กับ คห.5 เป็นคนละสีกัน..



ไม่ทราบว่าหินชนวนที่เราใช้ในงานแกะของไทยมีกี่สีครับ?


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 16 ส.ค. 10, 18:48
อยากให้ฉันรักบางกอก มั่วละคะ ....  ;D

ตามอ่านอยู่นะ ลงมาเลย

เรื่องสีต่างกัน ขึ้นอยู่กับแหล่งวัตถุดิบที่ได้มาหรือป่าวคะ คิดแบบขวานผ่าซาก..


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 18:49
คงจะถามผมลึกไปนะครับ ผมเองก็ตอบไม่ได้จริงๆ คุณกุรุกุราเห็นงานลักษณะนี้มาเยอะ คงจะพอตอบได้เพราะพี่เขามีภาพอยู่หลายชิ้น
แต่ยังไงเสมาก็ใช้ถ้าสืบหาแหล่งผลิตได้ก็น่าจะตอบได้นะครับ

แวะมาดูที่คานไม้ตรงนี้บ้างครับ ผมเองไม่รู้ชื่อเรียกจริงๆของมัน จะเรียกว่าขื่อได้ไหมก็ไม่รู้ วานท่านใดรู้ชี้แจงด้วยนะครับ
ลักษณะการแกะที่คานไม้เหนือหัวเสาร่วมในนี้ เท่าที่ผมเคยพบเห็นมีอยู่ด้วยกันสองแห่ง คือที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ไม่รู้ว่ามีที่อื่นอีกหรือไม่
ข้อสังเกตที่มองเห็นอย่างหนึ่งก็คือ การวางคานไม้ลักษณะนี้ไว้บนหัวเสารูปบัวโถ ไม่ได้เสียบแทรกลงไปในบัว
คงเกิดจากการใช้รูปแบบโครงสร้างเครื่องไม้ของหลังคาไม่เหมือนกัน


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 18:53
คิดเหมือนกันเลยพี่แพร ... แต่สีที่ว่านี้ผมไม่แน่ใจนะครับ เพราะตอนถ่ายรูปที่พช.พระนครเขาส่องไปโทนสีเหลือง
ส่วนที่พช.รามคำแหงเขาไม่ส่องไฟ บางทีอาจเกิดจากสภาพภายนอก??

ลายที่แกะชุดนี้ผมเคยลงไปแล้วในกระทู้ ศิลปะในหัวเมืองเหนือของกรุงศรีอยุธยา ยังไงกระทู้นี้ก็ขอลงไว้พอเป็นตัวอย่างนะครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 18:56
และภาพนี้เป็นของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลกครับ ลักษณะคล้ายๆกันเพียงแต่เหมือนว่าจะแกะประณีตกว่า


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 19:12
ลายแกะนี้แกะได้เป็นระเบียบงดงามมากครับ ลักษณะของดอกบัวถูกทำให้มีมิติขึ้นมาเหมือนดอกไม้จริง
แม้จะไม่เหมือนดอกบัวหลวงแต่ก็คิดว่าน่าจะได้รูปแบบมาจากดอกบัวครับ? ส่วนลายที่ใช้คั่นเพื่อเติมเต็ม
ช่องว่างระหว่างดอกนั้นทำเป็นดอกไม้ ซึ่งประดิษฐ์ให้ส่งเกสรแยกไปสองทางที่ปลายเพื่อให้รับกับวงโค้ง

อีกจุดหนึ่งซึ่งพอสังเกตได้ก็คือ ลายกลีบบัวที่เรียงอยู่บริเวณขอบลบมุม?ของคานนี้ มีลักษณะแบบปลายกลีบหักชน
แล้วแตกเป็นรูปอย่างใบไม้ทิ้งลงมา อาจารย์สันติกล่าวไว้ในหนังสือว่า เป็นลายที่พบในศิลปะพุกามอีกด้วย
.... เสียดายที่ผมเองก็ถ่ายภาพมาไม่ละเอียดเท่าไหร่


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: luck-rama ที่ 16 ส.ค. 10, 20:47
มารอชมอีกคนครับ ;)


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 21:21
สวัสดีครับ

ต่อมาเป็นกลุ่มลายเพดานจากธรรมาสน์ที่ผมเอามารวมไว้ด้วยกัน ที่เอาธรรมาสน์เข้ามาเกี่ยวด้วยนั้น
ก็เพราะธรรมาสน์มีการประดับพื้นที่ฝ้าเพดานเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ดีครับ เพดานของธรรมาสน์หลังเก่าๆในประเทศไทยก็พอมีให้ดูอยู่บ้าง นอกจากที่ผมลงก็คงมีซุกๆซ่อนๆอยู่
ก็คงได้แต่ต้องตามดูกันต่อไป เพียงแต่ธรรมาสน์บางหลังนี้ผมเองอาจจะติดขัดในการบอกที่อยู่ ขอบอกอ้อมๆแล้วกันเนอะ
ทางชมรมจะได้ไม่ถูกกล่าวหา...


ภาพแรก ลายเพดานธรรมาสน์วัดนกใหญ่(นามสมมุติ) ใช้แบบแผนเหมือนลายเพดานหินชนวนชิ้นแรก แต่มีลายแถบแบบหน้ากระดานที่ใช้ระเบียบแปลกหน่อย
ตรงที่ใช้ตัวกระกนกโค้งแบบเลขหนึ่งไทยคั่นลายดอกไม้กลมๆ โดยส่งลายวนไปในทิศทางเดียวกัน ที่มุมฉากก็ใช้ดอกบัว?หรือดอกโบตั๋น?
ลายค้างคาวที่มุมฉากเป็นเลขหนึ่งไทยหันเข้าชนกัน ใช้ลายรูปใบไม้ปิดจังหวะที่โค้งชน แล้วแตกลายเป็นวงโค้งสลับลดขนาดกันออกมา
แต่ลายดอกบัวถูกแกะให้มีมิติขึ้น กลีบบัวชั้นนอกมีลักษณะปลายถูกบากสองจังหวะ และมีกลีบเล็กปลายมนด้านใน
ถัดเข้าไปเป็นกลีบปลายบากจังหวะเดียวแกะพื้นเป็นเส้นๆคล้ายเกสร ถัดไปอีกเป็นกลีบลายบากจังหวะเดียวเช่นกันไม่แกะเส้นเกสร
แต่ทำเป็นร่องให้โค้งมีแกนตรงกลาง ชั้นสุดท้ายเป็นกลีบแบบหุบเข้าปลายแหลม วงกลมตรงกลางนูน ทำให้ดูออกว่าดอกบัวที่ประดับในเพดาน
ของธรรมาสน์ก็เริ่มไม่เป็นดอกบัวแล้ว แต่ก็คงใช้แนวความคิดของดอกบัวอย่างลายเพดานรุ่นเก่าเช่นกัน
แม้ว่าเพดานของธรรมาสน์ชุดนี้ น่าจะเป็นชุดที่เก่าที่สุดแล้วเท่าที่ผมหาพบ?




กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 21:35
ธรรมาสน์หลังที่สองที่มีลายเพดานน่าสนใจก็คือ ธรรมสาน์วัดวิหารไม้(นามสมมุติ)
มีลักษณะการออกแบบเป็นที่น่าสนใจมาก เริ่มจากลายค้างคาวที่มุมทำเป็นเลยหนึ่งไทยหันเข้าชนกัน
ปลายด้านหนึ่งถูกโค้งเข้ามาจบกันแล้วปิดด้วยดอกกลม และที่มุมก็แกะเป็นกลีบซ้อนชั้นกัน
ลายพื้นแกะเป็นลายก้านขดที่เป็นระเบียบ โดยมีดอก(คล้ายบัวตูม?)แปดดอกซ้อนออกมา ว
างตำแหน่งรอบดอกบัวกลมตรงกลาง และมีรายละเอียดแบบใบไม้ธรรมชาติแทรกเติมเต็มพื้นที่
ส่วนดอกบัวกลมตรงกลางแกะเป็นกลีบปลายแหลมซ้อนชั้นที่วงนอกสุด ชั้นถัดมาแกะเป็นเกสร
และวงในสุดเหมือนเอาไว้ใส่อะไรสักอย่าง


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 ส.ค. 10, 22:00
5555 มีวัดนามสมมติด้วย มารอดูคนตั้งกระทู้ก่อน รอจองที่ครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 16 ส.ค. 10, 22:03
ที่วัดกุฎีทอง ตรงข้ามวัดธรรมิกราช
ยังอยู่หรือเปล่า


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 22:06
หลังที่สามคือธรรมาสน์ในพช.สมเด็จพระนารายณ์ ธรรมาสน์หลังนี้ลายเพดายดูเป็นระเบียบกะทัดรัดดีครับ
มีลายแถบแบบหน้ากระดานเป็นกรอบรอบ ใช้ลายดอกกลมสลับกับลายสี่เหลี่ยมขนมเปีกปูนแบบแผนทำนอง
ลายก้ามปู ลานค้างคาวที่มุมเป็นทำเป็นเลยหนึ่งไทยหันเข้าชนกัน
แต่สอดก้านชูลายเพื่อปิดจังหวะโค้งชน ซึ่งได้ทำรูปแบบตรงส่วนนี้ต่างกันเล็กน้อย กระหนกที่เป็นวงโค้งมีกาบประดับ
ดอกบัวกลมตรงกลางทำเป็นกลีบยาว ปลายไม่หักเข้าแต่ทำเป็นเส้นปีกกาชี้ออกให้แหลม พื้นแกะย่อตามเส้นรอบนอกลงไปหนึ่งชั้น
และย่อเป็นกลีบปลายมนอีกหนึ่งชั้น มีกลีบซ้อนเป็นเส้นเรียวๆปลายแหลม อีกสองชั้นถัดไปเป็นกลีบทำนองเดียวกับชั้นนอกแต่เล็กกว่า
ไล่ขนาดกัน ส่วนกลีบชั้นสุดท้ายเป็นกลีบเล็กๆรอบๆวงในสุดที่นูนโค้งออกมา


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 ส.ค. 10, 22:06
เกรงว่าวัดกุฎีทองจะกลายเป็นตำนานไปเสียแล้วนะครับ เพราะไปถามกันหลายหนแล้ว กลายเป็นธรรมาสน์ลึกลับจับต้องไม่ได้ หรืออาจกลายเป็นคาร์บอนไปแล้ว :'(

ดาวเพดานที่น่าจะเก่าสุดในประเทศไทยแล้วนะครับ อันนี้ อยู่ใต้พระไตรโลกยวิชัยเหยียบพระศิวะ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 22:08
ธรรมาสน์วัดกุฎีทองได้ยินแว่วๆว่ามันก็เป็นชิ้นๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าไอ้ชิ้นๆที่ว่าปัจจุบันหายไปไหนแล้วครับ
พี่กุมาต่อเลยครับ ...  แทคทีม   ;D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 ส.ค. 10, 22:11
ดูกันชัดๆแบบไม่ค่อยชัด ;D จากปราสาทหินศรีิวิมายปุระ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 ส.ค. 10, 22:18
ดาวเพดานจากไหนไม่รู้ ไปเจอในวัดใหญ่ในจังหวัดพระศิวโลก :D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 ส.ค. 10, 22:20
ดาวเพดานสมัยอยุธยาตอนกลางที่ศิวโลก ???


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 22:36
อ่านะ ถึงขนาดเปลี่ยนเทพกันเลยทีเดียว 555
เพดานนั้นน่าจะเป็นเพดานจากในกรุพระปรางค์ของวัด อาจารย์สันติก็กล่าวถึงไว้
ว่าน่าจะราวรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรฯ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 ส.ค. 10, 22:52
ดาวเพดานกรุงรัตนปุระอังวะ วัดบากายาจอง สร้าง 1834 หรือ พ.ศ.2377


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 16 ส.ค. 10, 22:57
เป็นกระทู้ที่ชมได้เพลินตาเพลินใจ...ไม่เมือยคอ...

แต่รู้สึกต้องเข้าระหัส/ถอดระหัสสนุกเพราะทั้งชื่อวัด/ชื่อจังหวัด/ชื่อเทพ..นามสมมุติทั้งนั้นเลยนะคุณกุ  คุณเน


 ;D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 ส.ค. 10, 22:58
ดาวเพดานอมรปุระ วัดจ๊อกตอจี ขออนุญาตฉายซ้ำ เผื่อใครยังไม่เคยชมครับ เห็นอิทธิพลศิลปะไทยชัดมากๆ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ฉันรักบางกอก ที่ 16 ส.ค. 10, 22:59
อย่าลืม วัดสระบัวนะ

เพิ่งขับรถผ่าน ... อยากเข้าไปอีกจัง


เข้ามาเป็นกำลังใจคนโพสจ๊ะ


ปล. คุณ srisiam ก็จะได้ให้คนชมรู้สึกน่าติดตาม น่าค้นหายังไงละคะ ....


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 16 ส.ค. 10, 23:04
อืม เหมือนจริงๆครับ ระบบการวางคล้ายกันทีเดียวเนอะ

แต่ตอนถ่ายรูปนี่เมื่อยมากครับ ลำบากลำบนสมใจ  ;D
... ต้องขอโทษด้วยสำหรับคนที่เข้ามาชม เพราะบางทีมันก็ไม่สบายใจ เดี๋ยวของหายแล้วมันก็นะ...
แต่ที่จริงมันก็บอกได้นะไม่ได้ลึกลับอะไร

พี่แพรไปแอบเมียงๆมองๆล่ะสินะ ว่าแต่ผ่านไปได้ยังไงครับนี่..


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 ส.ค. 10, 23:06
เอามาลงเลยๆ :D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: asia ที่ 16 ส.ค. 10, 23:08
    
    จริงหรือครับที่ว่า วัดสระบัว เป็นวัดที่สร้างสมัยรัตนโกสินทร์ โดยช่างเมืองเพชร ที่เลียนแบบอยุธยา และดาวเพดาน นั้น ทำมาจากสังกะสี
ขอท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วยน่ะครับ  :-X


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 ส.ค. 10, 23:12
ดาวเพดานโบสถ์มหาเต่งดอจี กรุงพุกาม แต่เขียนสมัยคองบอง

ปล.จริงหรือครับพี่เซีย :o


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 16 ส.ค. 10, 23:23
ดาวเพดานแบบจีนๆ ที่วัดนาค... (จงเติมคำในช่องว่าง) ในกรุงเทพพระมหานคร


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 ส.ค. 10, 00:01
วัดสระบัวเราก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็นศิลปะแบบอยุธยาได้แล้วมั้งครับ ส่วนเรื่องจะสร้างสมัยไหนอันนี้ก็ไม่รู้แฮะ.. ;D
ว่าแต่ ถ้าผมมั่วอะไรไปก็เข้ามาทักท้วงผมบ้างนะครับ ...

ปล.มีคำในช่องว่างเลยหรือนี่ 555

ธรรมาสน์หลังที่4 อยู่ที่วัดสว่าง(นามสมมุติ) นนทบุรี  :(
ลายเพดานมีกรอบแบบลายหน้ากระดาน เป็นลายดอกกลมสลับลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยออกลายโค้งจากด้านทั้งสี่
ของสี่เหลี่ยมขยมเปียกปูนนั้น เป็นแบบเลขหนึ่งไทยหันเข้าชนกัน
ลายค้างคาวที่มุมลายเป็นเส้นขดอย่างกลีบดอกหรือใบไม้ คล้ายกับที่มุมของเพดานคูหาพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
แต่ด้านในทำเป็นวงโค้งๆประกอบกันเป็นลายแบบดอกโบตั๋น?หรือดอกบัว?
ถัดเข้าไปเป็นพื้นที่ประดับกระจกซึ่งมีรูปปุ่มนูนๆแปดปุ่ม ล้อมรอบรูปดอกบัวกลมตรงกลาง ที่กลีบชั้นนอกสุดดอกรูปดอกบัวทำเป็น
รูปกลีบยาวที่ปลายหยักแหลมออก พื้นแกะเว้าลงไปตามเส้นกลีบและเว้าลงไปอีกทีเป็นแนวยาวปลายมน มีกลีบซ้อนอีกสองชั้น
ชั้นถัดมาแกะทำนองเดียวกันแต่ลดกลีบซ้อนลงเป้นชั้นเดียว ถัดไปอีกเป็นกลีบทรงสามเหลี่ยมซ้อนกลีบอีกสองชั้น ก่อนจะเป็นกลีบเล็ก
ปลายๆมนๆเหมือนเส้นหยักล้อมรอบวงชั้นใน ที่นูนออกมามากจนเป็นครึ่งทรงกลม




กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 ส.ค. 10, 00:02
ธรรมาสน์หลังที่5 อยู่ในพช.สมเด็จพระนารายณ์เช่นเดียวกัน สามารถระบุได้ว่าราวสมัยสมเด้จพระนารายณ์
ภาพนี้ผมไม่ได้ถ่ายเจาะละเอียดมา แต่สามารถสังเกตได้ว่าเขาเพิ่มมิติโดยการใช้แถบในตำแหน่งเดียวกับหน้ากระดาน
ยกขึ้นมาอีกระดับแล้วย่อมุมทำให้ไม่มีลายค้างคาวด้านใน แต่เมื่อเกิดที่ว่างที่มุมด้านนอกก็ต้องบรรจุลายด้านนอกแทน 
ถัดเข้าไปเป็นพื้นที่ประดับกระจก มีดอกกลมแปดดอกล้อมรอบดอกกลมใหญ่ตรงกลาง ดอกกลมเล็กๆทั้งแปดดอกนี้แกะเป็นกลีบดอกชั้นเดียว
ดอกบัวตรงกลางกลายสภาพไปอีกขั้นเพราะแต่ละชั้นแกะทำนองกลีบเดี่ยวๆแยกกันไม่มีกลีบซ้อน กลีบยังเป็นแบบกลีบยาวหยักแหลมที่ปลาย
วงในสุดทำหน้าที่คล้ายฐานที่รองลูกแก้วที่นูนออกมากว่าครึ่งทรงกลม

การลดบทบาทของลายที่ซับซ้อนลงนี้คงเกิดจากการต้องการใช้พื้นที่ประดับกระจก และเน้นมิติสำหรับพื้นที่ประดักระจกนั้นด้วย


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 ส.ค. 10, 00:04
ธรรมาสน์หลังที่6 เป็นธรรมาสน์หลวงอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
รูปแบบของการประดับเพดานของธรรมาสน์หลังนี้แปลกออกไปอีกขั้นหนึ่ง จำเป็นต้องเริ่มจากดอกบัวดอกใหญ่ตรงกลาง
ซึ่งมีกลับชั้นนอกสุดเป็นกลีบเรียวยาวขึ้นกว่าเดิม และเป็นกลีบเดี่ยวแยกกัน ปลายแหลมบากเป็นขยักหักขึ้นและสะบัดเล็กน้อย
กลีบที่ซ้อนก็ทำเป็นกลีบเดี่ยวเช่นกันแต่เหมือนเป็นเส้นอย่างของเกสรดอกไม้ กลีบทำนองนี้ซ้อนลดกันเข้ามาสามชั้นก่อนจะ
เป็นพุ่มที่มีกลีบซ้อนๆกันอย่างเป็นระเบียบทรงอย่างกับขันน้ำ ต้อมาเป็นชั้นเกสรโดยแกะเป็นเส้นๆบนผิวที่นูนออกมาเกือบครึ่งทรงกลม
แล้วประดับลูกแก้วในที่สุด
ถัดออกมาก็เป็นแนวเส้นของสันไม้แคบๆที่ยื่นออกมาจากพื้น มีการย่อที่มุมตามจังหวะของเสาที่แยกเป็นสามต้น ถัดออกไปอีก
ก็เป็นดอกกลมจำนวน 12 ดอกวางล้อมพื้นที่ของดอกใหญ่ตรงกลาง โดยวางตำแหน่งที่มุมมุมละ1ดอก และที่ด้านด้านละ2ดอก
ดอกกลมนั้นทำเป็นกลีบโค้งหยักๆรอบวง ปลายหักขึ้นเพื่อเพิ่มมิติให้เหมือนดอกไม้จริง เป็นกลีบเช่นนี้2ชั้นก่อนจะเป็นพุ่มกลีบ
ทรงสามเหลี่ยมปลายแหลมที่ใช้ประคองลูกแก้ว ดอกเล็กแต่ละดอกนั้นยังถูกล้อมด้วย สันไม้สี่เหลี่ยมย่อมุมอีกทีทำนองเดียวกับดอกใหญ่
และมีแท่งไม้กลึงกลมปักรายไว้ไม่เป็นระเบียบนักเพื่อใช้พื้นที่หน้าตัด ที่สันไม้และพื้นที่หน้าตัดของแท่งกลมเหล่านั้นก็ถูกประดับด้วยกระจก

ธรรมาสน์ของวัดใหญ่นี้ผมยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างแต่คงมีการซ่อมแน่นอน ซึ่งการซ่อมแต่ละครั้งนั้นจะ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรคงต้องแยกวิเคาระห์กันอีกทีหนึ่งครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 17 ส.ค. 10, 00:06
ธรรมาสน์หลังที่7 เป็นธรรมาสน์ยาวของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเช่นกัน เพดานของธรรมาสน์ยาวนี้แบ่งช่วงออกเป็น5ช่วงด้วยกัน
โดยห้องกลางจะเป็นพื้นที่ภายใต้เรือนยอด ลายในห้องนี้จะเป็นทำนองเดียวกับที่ธรรมาสน์บุษบก อีกสองห้องขนาบห้องกลางนั้นจะมีรูปแบบแตกต่างออกไปมาก
จากรูปแบบเพดานในที่อื่นๆจึงขอละไว้เพียงแต่เอารูปมาให้ชมเท่านั้นก่อนครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 ส.ค. 10, 09:40
เน แกน่าจะไปเรียนประวัติศาสตร์ศิลปะว่ะ บรรยายทำไธโปโลจี้ได้ขนาดนี้ เด็กปวศ.อายไปเลย :P


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 17 ส.ค. 10, 09:42
แล้วดาวเพดานวัดคุณนายตะกุย นี้จะกำหนดอายุเท่าไหร่ดีครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: luck-rama ที่ 17 ส.ค. 10, 17:43
มาดู รหัสลับดาวินชี หรือเปล่าเนี่ยะ?  :P ไม่เมื่อยคอแต่มึนๆ กับเกมส์เติมคำในช่องว่าง และถอดรหัสนามสมมุติ :-X


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 18 ส.ค. 10, 01:14
โอย... พี่กุก็ว่าไป ว่าแต่ไธโปโลจี้นี่อะไรคับ

แต่เพดานธรรมาสน์วัดนางตะกายนายตะกุยนี่แปลกไปอีกครับ เท่มากมาย  :o
แต่บังเอิญมันมาคล้ายกับเพดานธรรมาสน์หลังที่จะมาลงต่อนี้พอดีเล้ย



กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 18 ส.ค. 10, 01:25

ธรรมาสน์วัดบางช้างอ้อย (นามสมุมติ) นนทบุรี เป็นธรรมาสน์ที่มีความน่าสนใจเพราะโดยรูปทรงและลวดลายต่างๆ แสดงให้เห็นว่า
เป็นงานที่น่าจะสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่เพดานนั้นใช้รูปแบบคล้ายคลึงกับเพดานธรรมาสน์ในพช.สมเด็จพระนารายณ์ (คคห.21)
ซึ่งเป็นหลังที่มีอายุเก่าไปกว่ามาก เริ่มจากลายแถบแบบหน้ากระดานที่เป็นกรอบนอกสุด ใช้ลายดอกกลมสลับกับลายสี่เหลี่ยมขนมเปีกปูน
แบบแผนทำนองลายก้ามปู ที่มุมเป็นลายดอกเหลี่ยม ลายแถบหน้ากระดานนี้แบ่งจังหวะได้สวยงามมาก


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 18 ส.ค. 10, 01:26
ลายค้างคาวที่มุมทำเป็นเลยหนึ่งไทยหันเข้าชนกัน มีการสอดก้านชูลายอย่างดอกโบตั๋น?ดอกบัว? เพื่อปิดจังหวะโค้งชน
ส่วนดอกบัวกลมดอกใหญ่ตรงกลาง ชั้นนอกแกะเป็นกลีบยาวปลายแหลมบากโค้งๆตามเส้นรอบเป็นจังหวะ พื้นที่ภายในกลีบ
ก็แกะทำนองเดียวกับเส้นรอบนั้น มีกลับซ้อนอีกสองชั้นลดขนาดกันลงไป ชั้นถัดมาเป็นกลีบทรงสามเหลี่ยมแกะลายซ้อนชั้น
ทำนองเดียวกับกลีบชั้นนอก มีกลีบซ้อนอีกสองชั้นเช้นกัน กลับชั้นในสุดเป็นพุ่มของกลีบทรงสามเหลี่ยมซ้อนกันหลายชั้น
ล้อมประคองวงในที่แกะนูนออกมาไม่มากนัก


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 18 ส.ค. 10, 01:43
ก่อนจะไปดูเพดานของจริง ก็มีตัวอย่างของธรรมาสน์อีกหลังหนึ่งให้ชมครับ เป็นธรรมาสน์ริมทางของวัด...จรรยาวาส (เติมคำในช่องว่าง) หุหุ
ธรรมาสน์หลังนี้น่าจะสร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย และมีแบบแผนของเพดานคล้ายกับเพดานธรรมาสน์ในพช.สมเด็จพระนารายณ์อีกหลังหนึ่ง (คคห.38)
ซึ่งหลังนั้นมีจารึกบอกว่าสร้างสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แม้ธรรมาสน์ริมทางหลังนี้จะไม่เก่าเท่าหลังนั้น แต่ก็ใช้แบบแผนของเพดานอย่างเดียวกัน

...ตัวอย่างของเพดานธรรมาสน์สองหลัง(ล่าสุด)นี้แสดงให้เห็นว่า แม้จะมีการพัฒนารูปแบบและรายละเอียด ของงานประดับเพดานให้เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ
แต่การเลือกหรือเอารูปแบบเดิมมาใช้ ก็เป็นเรื่องปกติที่ช่างสามารถจะทำได้ หรือไม่ก็อาจเป็นการออกแบบแล้วบังเอิญใช้แนวความคิดที่ตรงกันก็ได้


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 18 ส.ค. 10, 07:26
ขอท่านเจ้าของกระทู้...ได้รวบรวมกระทู้นี้แล้วพิมพ์เป็นหนังสือขายได้เลยครับ.....


จะรอซื้อ....





ได้ความรู้ดีมาก....ได้ถอดระหัส...เพลินๆอีกตะหาก....ขอบคุณมากๆๆๆๆ

 ;D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 18 ส.ค. 10, 18:41
เก่งว่ะ ไปเรียนประวัติศาสตร์ศิลปะเถอะ ท่าจะรุ่ง

ดาวเพดานวัดคุณนายตะกุยไม่ใช่เพดานธรรมาสน์ครับ เป็นเพดานหรือฝ้าของพระอุโบสถ เขาถอดจากของเดิม แล้วก็แปะไว้เหนือพระประธานเฉยๆ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 18 ส.ค. 10, 19:28
ก็ไม่ขนาดนั้นหรอกครับ ....

นึกแล้วอยากไปดูของจริงมาก อยากไปอยุธยาอีกแล้ว  ;D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 18 ส.ค. 10, 20:20
เพดานที่ใช้ในอาคารจริงนั้น ก็มีแบบแผนคล้ายๆกับอาคารจำลองอย่างบรรดาธรรมาสน์ครับ แต่เป็นเพราะอาคารจริง
นั้นมีพื้นที่ของเพดานเยอะกว่า ดังนั้นการประดับฝ้าเพดานจึงต้องมีรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นมา และก็เป็นสิ่งที่ช่างจะคิด
ออกแบบงานได้กว้างขวางกว่า
อย่างไรก็ดีงานประดับฝ้าเพดาน ของอาคารตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไป นั้นมีหลักฐานเหลืออยู่ให้ดูไม่ได้มากมายนัก
เหตุผลสำคัญก็คือสภาพภูมิอากาศ ฝ้าเพดา่นนั้นเป็นส่วนที่อยู่ใกล้กับหลังคา และจัดเป็นส่วนหนึ่งในงานไม้ของเครื่งบน
ซึ่งมีหน้าที่กันแดดกันฝน ดังนั้นจึงเป็นส่วนที่จะชำรุดและต้องมีการซ่อมแซมอยู่ตลอด เพื่อให้สามารถใช้งานอาคารนั้นๆได้ต่อไป
เมื่อมีการซ่อมแซม ช่างที่ทำงานก็สามารถหยิบเอารูปแบบและความคิดใหม่ๆ เข้าไปใส่ในงานซ่อมนั้นได้ ทำให้งานเก่าถูกแทนที่ไป
แต่ก็มีบางแห่งที่จะรักษารูปแบบเดิมเอาไว้หรือใช้ของเดิมอยู่
นอกจากนี้ก็ยังมีฝ้าเพดานที่เคยอยู่ในคูหาพระปรางค์ เช่นเพดานของคูหาพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ในพช.รามคำแหง
และเพดานของคูหาพระปรางค์ ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก เป็นต้น

แห่งแรกที่มีตัวอย่างของงานประดับเพดานที่น่าสนใจก็คือ ฟ้าเพดานของพระเมรุทิศวัดไชยวัฒนารามครับ แม้ปัจจุบันส่วนสำคัญอย่างดาวเพดาน
หรือดอกบัวกลมตรงกลางจะสูญหายไปแล้ว ก็ยังหลงเหลือรูปแบบของการวางตำแหน่งโดยรวมไว้ให้ชม โดยหากมองโดยรวมของพื้นที่เต็มแล้ว
จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสทั้งหมดออกเป็นช่องๆ (มีการเหลื่อมของการก่ออิฐเข้ามา ด้วยเหตุผลทางโครงสร้าง)
โดยการวางสันไม้ยื่นออกมเป็นแนวอย่างตาราง ที่จุดตัดประดับด้วยลายดอกเหลี่ยม สันไม้นี้ลบคมมีร่องรอยการประดับกระจก พื้นที่ด้านในสี่เหลี่ยม
จตุรัสย่อยแต่ละอัน จะมีชั้นย่อมุมเพื่อสร้างมิติ ก่อนจะถึงพื้นหลักที่เป็นระนาบที่ให้ติด
ดอกบัวกลม สำหรับช่องตรงกลางเป็นช่องสี่เหลี่ยมจตุรัสซึ่งมีพื้นที่มากสุด และมีรอยวงกลมปรากฏ แสดงให้รู้ว่าเป็นดอกบัวกลมอันที่ใหญ่ที่สุด
ส่วนอันอื่นจะมีขนาดเล็กลงไปสังเกตได้จากรอยนั้น
แบบแผนของเพดานของพระเมรุทิศนี้ มีความแตกต่างจากเพดานธรรมาสน์ที่พบตรงที่มีการแบ่งพื้นที่ซับซ้อน
นั่นเป็นเพราะขนาดของงานที่ใหญ่กว่ามาก และมีความจำเป็นเรื่องความแข็งแรงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ดังนั้นเมื่อเห็นการประดับประดาฝ้าเพดาน ในลักษณะที่ซับซ้อนนี้ ก็อาจทำให้จิตนาการได้ถึงท้องฟ้ายามคำ่คืน
และดาวเพดานถ็ถูกนำมาเรียกใช้ในที่สุด??
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นช่างอาจจะจินตนาการประกายแสงของดวงดาว ให้ถ่ายทอดออกมาโดยใช้รูปแบบของดอกไม้มาตั้งแต่ต้นก็ได้??


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 18 ส.ค. 10, 20:57
ฝ้าเพดานของวัดสระบัว เป็นอีกหนึ่งที่สำคัญในการดูรูปแบบของการประดับฝ้าเพดาน เพราะมีรูปแบบอยู่ถึงสามรูปแบบด้วยกัน
รูปแบบแรกเป็นการประดับด้วยการเขียนลายบนพื้นไม้ที่ทาสีแดง กรอบรูปสี่เหลี่ยมผื้นผ้าที่มีด้านยาวขนานกับผนังสกัดของอาคาร
จะถูกตีกรอบด้วยสันไม้ที่ยื่นออกมาจากพื้นระนาบ สันไม้นี้ถูกลบมุมสองข้างจนขอบมาชนกันเป็นสัน ที่จุดตัดสันที่ถูกลบคมจะไม่มี
เพราะต้องใช้ผื้นที่บนสันไม้นี้ เขียนกลีบของลายเพื่อประกอบให้เป็นลายประจำยามแบบสี่กลีบ
พื้นที่ด้านในเขียนดอกบัวกลมดอกใหญ่ตรงกลาง โดยขีดเส้นวงกลมเป็นชั้นๆ 4 ชั้น ชั้นนอกสุดเขียนเป็นกลีบยาวมีบ่าปลายแหลม และมีกลีบซ้อนหนึ่งชั้น
แล้วเขียนลายในพื้นที่ว่าง ชั้นที่2เขียนเป็นลายกระจังตาอ้อยออกลายก้านขดสองฝั่ง ถัดเข้ามาเขียนเป็นกลีบรูปสามเหลี่ยมบานออกมีกลีบซ้อน
ชั้นในสุดเป็นพื้นที่ว่าง


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 18 ส.ค. 10, 21:06
เมื่อพื้นที่สีเหลี่ยมผืนผ้าบรรจุลายดอกกลมดอกใหญ่ไว้ตรงกลาง ก็จะทำให้เหลือพื้นที่บริวเณด้านกว้างกับด้านยาวไม่เท่ากัน
เมื่อที่บริเวณด้านกว้างมีพื้นที่มากกว่า จึงต้องบรรจุลายดอกกลมเข้าไปได้เพียงฝั่งละสามดอก ทำนองล้อมดอกกลมดอกใหญ่ตรงกลาง
โดยใช้ลายค้างคาวที่มุมฉากรับจังหวะกับเส้นวงโค้ง เพื่อปรับพื้นที่ว่างก่อนจะเพิ่มลายอย่างเส้นริบบิ้นเข้าไป สร้างอารมณ์เคลื่อนไหว


เห็นได้ว่าการประดับเพดานลักษณะนี้ ใช้แบบแผนคล้ายกับเพดานธรรมาสน์ด้วย
เช่นธรรมาสน์ของวัดสว่างติการาม (นามสมมุติ) นนทบุรี (คคห.37)


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 18 ส.ค. 10, 21:10
ดาวเพดานวัดสระบัว ดูทีไรก็อัศจรรย์ใจทุกที ทำไปได้นะคนเรา

แต่ลืมอันนี้ได้ไง เดี๋ยวเขาน้อยใจหมด :P


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 18 ส.ค. 10, 21:13
ก็คิดถึงอยู่ครับ แต่ไม่มีรูปอ่ะ  ;D
อ่ะนะไหนๆพี่กุเอามาลงแล้ว ก็ต่อเลยครับ ...
หลายที่ผมเองก็ไม่มีรูป พี่ก็เอามาลงให้ผมดูบ้างนะ ..หุหุ [color]


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 18 ส.ค. 10, 21:15
อันนี้ด้วย ดาวเพดานวัดใหม่ประชุมพล พระนครหลวงอยุธยา (ไม่ต้องปิดบังเพราะขโมยไม่ได้) :'(


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 18 ส.ค. 10, 21:25
สวยงามมากมาย  :o
เพดานในเจดีย์วัดใหม่ประชุมพลนี้ รูปแบบคล้ายคลึงกับเพดานของพระเมรุทิศวัดไชยวัฒนารามอยู่นะครับนี่
เสียดายที่ยังไม่เคยไปดูสักที ....ที่ปราสาทนครหลวงมีบ้างไหมครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 18 ส.ค. 10, 21:35
เกรงว่าปราสาทนครหลวงจะไม่มีอะไรที่น้องเนต้องการเหลือแล้วล่ะครับ

ดูกันชัดๆเนาะ ;D ดาวเพดานวัดใหม่ประชุมพล ใช้สีคล้ายๆศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณารามเลย

จากรูปแบบเจดีย์ ฮิตมากในสมัยพระเจ้าปราสาททอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ศาลาการเปรียญวัดใหญ่จะต้องเป็นสมัยปราสาททอง? งงไหมเนี่ย


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 18 ส.ค. 10, 21:36
อีกๆครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 18 ส.ค. 10, 21:51
โอ้วว สวยงามดีจริงๆ โทนสีแจ่มออกแบบสวย มีอีกป่าวพี่

ปล.ถ้างงก็คงงกันตั้งแต่ที่ผมพิมพ์แล้วล่ะครับ หุหุ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 18 ส.ค. 10, 21:52
สีมันแจ่มเพราะโดนโฟโต้เฉาะีครับ :(


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 18 ส.ค. 10, 21:56
อ่านะ .... :)

ว่าแต่ไม่มีที่อื่นอีกเหรอครับ ที่น่าจะเก่ากว่าสมัยพระนารายณ์ขึ้นไป
แล้ววัดศรีชุมละพี่ได้ถ่ายมาบ้างไหม


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 18 ส.ค. 10, 21:59
มันก็เป็นภาพลายเส้นสลักเป็นเรื่องเป็นราว ชาดกรกช่องหาใช่ดาวเพดานบานบุรีไม่


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 19 ส.ค. 10, 20:49
เพดานของวัดสระบัวรูปแบบที่2 มีรูปแบบตารางคล้ายวัดไชยวัฒนารามแต่แบ่งช่องต่างไป
คือแบ่งช่องกลางเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมเกือบจตุรัสซึ่งมีพื้นที่มากที่สุด และแบ่งพื้นที่รอบนอกเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก
จำนวน12ช่อง มีสันไม้ลักษณะเดียวกับช่องที่แล้วมาแบ่งพื้นที่ดังกล่าว
ที่ช่องกลางมีดอกบัวกลมดอกใหญ่อยู่กึ่งกลาง ดอกบัวนี้ชั้นนอกหรือล่างสุดแกะเป็นกลีบๆแยกกันไม่มีกลีบซ้อนย่อย
ลักษณะกลับเป็นกลีบยาวมีบ่าปลายแหลม ชั้นถัดมาก็แกะทำนองเดียวกัน ก่อนจะเป็นกลีบพุ่มเป็นชั้นๆ ประดิษฐ์ให้ยาวออกมาก
จนดูคล้ายหัวเม็ดทรงมัณฑ์ กลีบพุ่มชั้นแรกแกะเป็นกลีบยาวปลายแหลมไม่มีบ่ามีการซ้อนกลีบย่อย ชั้นต่อมาก็ทำนองเดียวกัน
แต่ลดขนาดวงลงซึ่งชั้นนี้ทำทีประคองลูกกลมๆแต่มีการประดิษฐ์ให้มากขึ้น โดยการกลึงออกมาจนดูคล้ายหัวเม็ด



กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 19 ส.ค. 10, 20:55
ดอกบัวดอกใหญ่นี้ถูกล้อมรอบด้วยดอกกลม ซึ่งมีกลีบโค้งสั้นๆชั้นเดียวอีกจำนวน 8 ดอก แล้วเขียนลายดอกสี่เหลี่ยม
บนพื้นไม้เป็นลายดอกเหลี่ยมทรงข้าวหลามตัด เชื่อมดอกกลมทั้ง 8 ดอกนั้น
ลายค้างคาวที่บริเวณมุมฉากของพื้นที่ใหญ่นั้น ใช้รูปแบบต่้างออกไปจากเดิม โดยแต่เดิมนั้นลายค้างคาวจะอยู่ตรงพื้นที่ว่างบริเวณ
และคอยรับเส้นวงโค้งที่ขยายออกจากดอกกลางในแนวรัศมี แต่ลายค้างคาวชุดนี้ไม่ออกแบบให้รับวงโค้งดังกล่าว


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 ส.ค. 10, 20:59
ตกลงเป็นสังกะสีปะ

สงสัยมานานแล้วว่า ไอ้ดวงขาวๆของวัดสระบัวมันคืออะไร ทาสีไว้เฉยๆนี่เอง


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 19 ส.ค. 10, 21:02
พื้นที่สีเหลี่ยมย่อยใช้รูปแบบของการย่อมุม เข้ามาล้อมรอบดอกกลมตรงกลาง ซึ่งมีดอกกลมที่ทำลอยตัวรูปแบบเดียวกับดอกกลมอันเล็ก
8 ดอกในช้องกลาง แต่ในช่องสี่เหลี่ยมย่อยนี้เขียนลายเป็นกลีบซ้อนเพิ่มเติมเข้าไป และมีการเขียนแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละช่องอีกด้วย
ลายที่มุมฉากนอกพื้นที่ย่อมุมก็มีการบรรจุลายต่างกันออกไปในแต่ละช่องเช่นกัน

เมื่อมองเพดานของวัดสระบัวนี้ ก็เหมือนจะทำให้มองเห็นดาวและท้องฟ้าในจินตนาการครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 19 ส.ค. 10, 21:04
ทาสีแล้วมันก็ดูเป็นดาวดีนะครับ  ;D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 ส.ค. 10, 21:07
ดูใกล้ๆแล้วเขียนเบี้ยวด้วยล่ะ ;D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 19 ส.ค. 10, 22:38
ขอเพิ่มเติมเรื่องวัดสระบัวหน่อยนะคับ เดิมเราก้อเชื่อว่าเป็นอยุธยา พอวงการศิลปะเจริญขึ้น มีทฤษฎีใหม่ๆมา ก้อทำให้เราได้คิดได้ค้นกันขึ้นไปอีก
๑ เรื่องที่ว่าสร้างสมัยไหน ตอบได้ว่า สร้างก่อน พศ ๒๓๑๐ คับ
เพราะผนังพระอุโบสถแห่งนี้ มีรอยจารึกข้างพระประธาน เป็นรอยเขียนเล่าถึงพระมหาธาตุ ที่ "กระทำปาฏิหาริย์ พังลงแล"
ระบุวันเดือนปีไว้ว่า พระพุทธศักราชล่วงแล้ว .๓๑๐ พระวษา สังขยาเดือน.ล่วงแล้ว ๖เดือน ๒วัน อันเป็นปัจจุบันปีนี้ ..นวศกอยู่ในเหมกรดู เดือน ๑๒ แรม๒ ค่ำ วัน๒ เพลาเย็น
อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว คำนวณว่าตรงกับวันจันทร์ ที่ ๙ พฤศจิกายน ส่วน พศ เทียบแล้ว ตรงกับ ๒๓๑๐ คับ

การจารึกอะไรแบบนี้ เป็นวิธีพื้นเมืองของเราประการนึงที่ใช้บันทึกเหตุการณ์สำคัญยิ่งของบ้านเมืองหนึ่งๆเอาไว้
คนรุ่นหลังเราอาจไม่เข้าใจ ไปลบทิ้ง ทาสีทับ ที่วัดสระบัวนี่ก้อโดนทาทับตอนซ่อมคับ
เคราะห์ดีของเมืองเพชร สีใหม่ดันลอก ให้อาจารย์ล้อมกะอาจารย์เสยย์ เกิดเจริญ ไปเจอเข้าพอดี

จารึกแบบนี้ ยังมีที่วัดมหาธาตุด้วยคับ ครูพิณ อินฟ้าแสง เจอตอนซ่อมเมื่อเจ็ดสิบปีก่อน
แต่ที่นี่กล่าวถึงพระปรางค์พังสมัย รัชกาลที่๔
ก็สรุปได้ว่าพระธาตุนี้พังหลายครั้งคับ

๒ ดาวเพดาน สังกะสี ไม่ทราบจริงๆคับ คงต้องรอซ่อมแล้วให้เจ้าหน้าที่กรมศิลป์(ที่มีความรู้และสำนึกมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ)

เป็นคนชี้แจงคับ
คุณกุเคยแนะนำว่า ให้แอบเอาไม้เขี่ยๆลงมาดู5555



กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 19 ส.ค. 10, 22:51
แถมด้วยภาพเมรุลอย พศ ๒๔๘๗ คับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 ส.ค. 10, 22:59
ถ้ามีจารึก 2310 ปีกรุงแตกพอดี แปลว่าเพชรบุรี ไม่ได้รับผลกระทบอะไรเท่าไหร่จากสงคราม แต่ไม่ทราบว่าที่จารึกไว้นี้เป็นปีสร้างหรือปีซ่อม อาจจะพังเสียจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งก็เป็นได้ครับ

วัดมหาธาตุ พิษณุโลก ก็มีจาึรึกแอบๆอยู่ตามขื่อตามฝ้า สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งรู้ได้แน่ว่าเป็นจารึกหลักฐานการซ่อม

ส่วนพระมหาธาตุ ที่กระทำปาฏิหาริย์ ไม่แน่ใจว่าจะหมายถึงพระมหาธาตุเมืองเพชร หรือหมายถึงพระมหาธาตุที่ไหน อาจจะเป็นเจดีย์เล็กๆหน้าวัดก็ได้ แต่ก่อนคำเรีัยกมหาธาตุ มักใช้กับเจดีย์ทรงปรางค์ (แต่ไม่เสมอไป อ้างจากเอกสารปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์) แต่ก็ไม่จำกัดขนาด เจดีย์เล็กๆบางทีก็เรียกเป็นมหาธาตุได้ ถ้าหากหมายถึงเหตุการณ์ของวัดโดยเฉพาะ

ช่วยกันคิดหน่อยนะครับ ผมไม่ค่อยมีหลักฐานเรื่องวัดสระบัวเลย


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 ส.ค. 10, 23:05
ของอ้างคุณโอมนิดนึงนะครับ

พระพุทธศักราชล่วงแล้ว .๓๑๐ พระวษา สังขยาเดือน.ล่วงแล้ว ๖เดือน ๒วัน อันเป็นปัจจุบันปีนี้ ..นวศกอยู่ในเหมกรดู เดือน ๑๒ แรม๒ ค่ำ วัน๒ เพลาเย็น

ตรงกับวันที่ 9 พฤศจิกายน 2310

เป็นหลักฐานดีๆอันนึงที่แสดงว่าคนแต่ก่อนเปลี่ยนปีพุทธศักราชกันวันวิสาขบูชา ไม่ได้เปลี่ยนตอนปีใหม่มกราคมแบบทุกวันนี้


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 19 ส.ค. 10, 23:07
ว้าวว  :o  เพิ่งทราบนะครับนี่ ขอบคุณคุณโอห์มครับที่นำความรู้มาฝากกัน ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็ยิ่งหมายความว่าช่างเมืองเพชรนั้นเก่งมากครับ
และน่ายกย่องด้วย คิดถึงกระบวนการสืบเนื่องแล้ว น่าจะมีการเสนอให้เป็นมรดกโลกไปเลยทีเดียว

การที่คุณโอห์มนำข้อมูลมาเสนอนี้ ก็เป็นสิ่งยืนยันที่น่าสนใจเกี่ยวกับการที่ช่างจะหยิบตัวอย่างของงานมาใช้ออกแบบ ทั้งเรื่องรูปแบบและรายละเอียด
ซึ่งเป็นสิ่งที่มีการยืดหยุ่นในการนำมาใช้เสมอ ไม่ว่าจะผลจากโครงสร้าง สภาพ แนวคิด และเงื่อนไขประกอบอื่นๆมากมาย

สำหรับเรื่องดาวเพดานนี้อย่างที่ผมกล่าวไว้แล้วครับว่า ฝ้าเพดานเป็นส่วนหนึ่งของงานเครื่องไม้ของหลังคาเครื่องบน ย่อมมีการปรับเปลี่ยนแก้ไข
เพื่อประโยชน์ในการใช้งานครับ แต่อย่างไรก็ดีช่างมีสิทธิ์ที่จะเลือกรูปแบบในการซ่อมงาน ได้หลายทาง เช่น การทำใหม่หมดเลยตามแบบสมัยนิยมหรือความคิดตัวเอง
การทำใหม่หมดแต่เลียนของเดิมเท่าที่ทำได้ การเลือกใช้ของเดิม สำหรับชิ้นที่ใช้ได้ก็เอามาซ่อมแซมแล้วใส่กลับเข้าไป เป็นต้น
ดังนั้นเพดานของวัดสระบัว ก็ยังถือเป็นรูปแบบที่เราสามารถศึกษาได้ครับ เพราะมีรูปแบบของงานอื่นๆ ที่เราพอจะอ้างอายุได้เพื่อมาเทียบเคียงครับ
เรื่องเพดานที่ผมนำมาลงนี้ ก็มีจุดประสงค์เพื่อที่จะเสนอเนวคิดมุมมองออกมา เพื่อให้คนที่สนใจจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ต่อไป





กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 19 ส.ค. 10, 23:08
เดือนพฤศจกา ๒๓๑๐ งง เหมือนกันคับว่าแตกไปยัง คำนวณไม่เป็น
แล้วพระธาตุก้อพัง ทีนี้จารึกนี่เป็นรอยขีดเขียนเฉยๆ นั่นคือแปลว่าโบสถ์ต้องสร้างมาก่อนแล้ว
เพราะในภาพถ่ายเป็นการเขียน แบบไม่มีพิธีรีตองเลย เหมือนเด็กมือบอนเขียนเล่าลงไปเฉยๆอย่างนั้นเลยคับ

ส่วนว่าพระธาตุองค์ไหน ความเห็นส่วนตัวผมว่าในสำนึกคนพื้นที่ หมายถึงพระธาตุใหญ่ หลักเมืองอยู่ที่เดียวแหละคับ
สมัยนั้น จากวัดสระบัว ก้อคงมองเห็นวัดมหาธาตุได้ชัดๆ พอเห็นพระธาตุพัง  มันเกิดอารมณ์สะเทือนอย่างรุนแรงนะคับ
ถึงขั้นต้องไปเขียนโน้ตเอาไว้ 55


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 19 ส.ค. 10, 23:14
อืม.. คุณโอห์มอธิบายได้มีเหตุผลมากๆครับ หลังจากกรุงแตก พระมหาธาตุก็พังทลาย ขนาดคนสมัยนี้ฟังแล้วยังอินตาม ... T-T

ไม่ว่าจะพุดอย่างไร ดีชั่วคนเราก็มีความรู้สึกเสียใจกับสิ่งที่ตัวเองผูกพัน สมัยนั้นคนแถบบนั้นคงสะเทือนใจกันยกใหญ่เพราะสูญเสีย
ความั่นคงไปหมด แม้จะไม่ได้รับการถูกโจมตีโดยตรงก็ตาม


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 19 ส.ค. 10, 23:33
กรุงศรีอยุธยาแตกวันที่ 7 เมษายน 2310 เดือนพฤศจิกาก็หลังกรุงแตกนานพอดู ถ้าเมืองเพชรได้รับผลกระทบจริงๆก็คงมีเวลาฟื้นตัวได้แล้ว

พระธาตุจะพังด้วยสาเหตุอะไรไม่ทราบแน่ชัดเลยครับ แต่คงมิใช่ภัยสงคราม ถ้าขนาดทำพระธาตุพังได้ ทั้งเมืองคงไม่เหลือแล้ว คิดว่าน่าจะเป็นด้วยซ่อมมามากเหลือเกิน ด้วยขนบแผนผังพระธาตุเมืองเพชรผิดแผกชาวบ้านชาวเมืองเขา กลับไปคล้ายวัดมหาธาตุ ราชบุรี และมหาธาุตุ สุโขทัย ซึ่งผังอย่างนี้ ทั้งที่ราชบุีรี และสุโขทัยก็เป็นการเติมต่อเหมือนกัน (แล้วก็พังเหมือนกันด้วย)

คนจะเขียนยังงี้ได้คงเป็นโหรหรือพระคำนวณเวลาได้ ท่านคงเห็นผนังวัดเป็นไดอารี่....


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 19 ส.ค. 10, 23:42
ขอพากระทู้ออกอ่าวนะคับ กรุงแตกเนี่ย ผมว่าสำหรับคนเพชร คนบ้านแหลมหรืออะไรก้อแล้วแต่
ถึงไม่เกี่ยวกะเรา แต่มันก้อกระทบคับ การค้าขายมันก้อชะงัก ที่เคยมี"ชาวยี่สารบ้านแหลม ปลากุเราปลาทูปลากระเบนย่าง ทอดเรือขายหน้าวัดแพนงเชิง"
มันก้อทำไม่ได้คับ ยุคนั้นนี่คงเสื่อมกันจริงๆล่ะคับ

เทียบกับตอน ๑๙ พค ที่บ้านผมเทครัวกันมาอยู่ที่เพชรนี่แหละคับ (บ้านอยู่ราชปรารภ!!!พ่อขับมอไซจากบ้านที่ปทุมธานีมารับแม่ตอนตีสี่คับ พ่อบอกเห็นคนเมานอนกันเกลื่อนกลาด ยางรถไหม้มากมาย เอาขอนไม้มาขวางทางตามปากซอยต่างๆ)  จากนั้นก้อไปเอารถที่บ้านพี่ชาย ธนบุรี แล้วมาปักหลักที่เพชรคับ

การที่ศิลปะอยุธยามาเบิกบานที่เพชรได้อย่างมั่นคง ถ้าเราลองเปลี่ยนจากคำว่า พ่อผม แม่ผม เป็นกลุ่มช่างฝีมือต่างๆ ดูล่ะคับ
น่าจะเห็นภาพกันได้คับ ให้ลองคิดเล่นๆคับ ไม่มีหลักฐานอะไรทั้งสิ้น 55(แต่แน่ล่ะว่า ก่อนหน้านั้นก็มีศิลปะแบบนี้อยู่ที่เพชรอยู่แล้ว)
 
ส่วนเรื่องพัง พระธาตุที่เพชรพังบ่อยมากคับ บรรดาช่างหรืออาจารย์ต่างๆของเมืองเพชรที่เคยมีประสบการณ์ปีนขึ้นไปบนยอดพระธาตุ ต่างบอกว่า ข้างบนลมแรงมาก การสร้างครั้งหลังๆในยุคที่ระบบศักดินาดูดเอากำลังทรัพย์สิน หรือผู้คนต่างๆไปไว้ที่อยุธยาหมดแล้วนั้น ก้อคงซ่อมกันอย่างตามมีตามเกิดคับ ถึงได้พังเอาๆขนาดนี้  ๒๓๑๐ พัง, ๒๓๕๗  พระซ่อมกันเอง , ๒๔๐๖ พังอีก รัชกาลที่ ๔ ใหซ่อม แต่ไม่เสรจ(ขนาดนี้แล้วยังไม่เสรจ ระบบศักดินารวมศูนย์นี่ดูดได้สุดๆจริงๆคับ 55) รัชกาลที่ ๕ ใหซ่อมต่อ กะลังซ่อมก้อพังลงมาอีก จนกระทั่ง ๒๔๗๑ ที่บรรดาเจ้าอาวาส เศรษฐีเมืองเพชรต่างๆระดมทุนกันซ่อมโดยไม่ใช้ก่ออิฐถือปูน ใช้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กคับและยอดข้างบนกลวงคับ จึงได้มั่นคงมาจนทุกวันนี้
เพิ่มเติมอีกว่า บนยอดสุดนั้น มีพื้นที่ให้เดินเล่นได้ประมาณ ๑ ห้องเรือนไทย และในยุคสงครามโลกที่ต้องพรางแสง ปิดไฟไม่ให้ข้าศึกเห็น พระและชาวบ้านต้องปีนเพื่อเอาใบมะพร้าวสดมาผูกแขวนพรางองค์พระธาตุซึ่งทาสีปูนขาวสะท้อนแสงจันทร์ทุกวัน ไม่ให้เครื่องบินเห็นยอดขาวโดดเด่นได้ จนกระทั่งสงครามยุติคับ

แล้วพฤศจิกา ๒๓๑๐ กะเมษา ๒๓๑๐ นี่อะไรมาก่อนกันคับ ยังงงอยู่ ปฏิทินเร็ว ช้าอะไร งง มากเลยย 555 ช่วยชี้แจงหน่อยคับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 20 ส.ค. 10, 09:10
ไม่เกี่ยวกับปฏิทินเร็วช้าครับพี่โอม แค่คิดดูว่าคนแต่ก่อนเขาเปลี่ยนปีพุทธศักราชกันวันวิสาขบูชา คือเดือนหก เพราะฉะนั้น ในจารึกถึงได้บอกว่า หกเดือนล่วงมาแล้ว เลยตรงกับเดือนสิบสอง

ผมก็พากระทู้ออกอ่าวบ้านแหลมเหมือนกัน

เมืองเพชรครานั้นเห็นจะได้รับผลกระทบน้อย มิเช่นนั้นคงไม่มีตำนานพระยาตากเอาแม่มาฝากไว้บ้านแหลม ทั้งภาคใต้ก็ยังหาใช่ทางเดินทัพของพม่าสมัยอยุธยาไม่ (ต่างจากสมัยรัตนโกสินทร์)

เพิ่งเคยได้ยินเรื่องการเปรียบเทียบความกว้างของยอดปรางค์เท่าหนึ่งห้องเรือนไทย ทำให้ผมนึกถึงความกว้างของปล่องเหลี่ยม ที่ราชบุีรี? คนแถวนั้นว่ากว้างขนาดตั้งวงไพ่ตองได้วงนึง ::)



กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 20 ส.ค. 10, 10:18
อ่านแล้วเพลิดเพลินดีแท้ น่าเอาไปเขียนบทภาพยนต์  :o


ปล.ยังไม่หลุดครับ ยังไงก็ยังมีปล่องพระธาตุ เรื่องเพดานเหมือนกัน 5555


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 20 ส.ค. 10, 10:38
แกเล่นสิเน เป็นกำนันบ้านแหลมไง


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 20 ส.ค. 10, 10:47
ขอเล่นเป็นพระเอกดีกว่าครับ เลือกนางเอกเป็นพอลล่า 5555


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: luck-rama ที่ 20 ส.ค. 10, 11:04
ถึงจะออกอ่าว แต่กลับฝั่งมาพร้อมความรู้และสาระแถมความบันเทิง ;D  ขอบคุณครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 20 ส.ค. 10, 11:07
พอลล่าเป็นนางนกเอี้ยงหรอ :D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 21 ส.ค. 10, 12:15
เพดานรูปแบบที่ 3 ของวัดสระบัวนั้น เป็นส่วนที่อยู่เหนือองค์พระประธาน เพราะฉะนั้นจึงเป็นเพดานที่มีการออกแบบให้ดูดีที่สุด
แม้ปัจจุบันตำแหน่งของพระประธาน จะไม่ได้อยู่ตรงกึ่งกลางของพื้นที่เพดาน แต่คิดว่าแต่เดิมนั้นองค์พระจะต้องประดิษฐาน
อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางพอดี ดังเช่นที่วัดใหญ่สุวรรณารามนั่นเอง

เริ่มจากดอกบัวกลมดอกใหญ่ที่อยู่ตรงกลาง ดอกบัวนี้ออกแบบเป็นกลีบเดี่ยวไม่มีกลีบย่อย ตัวกลีบยาวปลายแหลมซ้อนกันจำนวนสามชั้น
ก่อนจะเป็นกลีบพุ่มลอยตัวออกมาสองพุ่มลดขนาดกัน แบบแผนคล้ายอย่างเดียวกับพุ่มของหัวเม็ด ดอกกลมใหญ่นี้จะถูกล้อมรอบด้วยดอกกลม
เล็กจำนวน 10 ดอก และถูกล้อมรอบด้วยกรอบสี่เหลี่ยมย่อมุม ซึ่งเป็นสันไม้ที่ยื่นออกมาจากพื้นระนาบ สันไม้นี้จะถูกลบคมทั้งสองฝั่ง
พื้นที่บนสันไม้นี้ประดับดอกเหลี่ยมเล็กๆเป็นจุดๆ
ถัดออกมาจะเป็นพื้นที่ที่ถูกล้อมด้วยกรอบย่อมุมชั้นนอกอีกที ทำให้มีลักษณะเป็นพื้นที่อย่างแถบหน้ากระดาน ซึ่งมีการประดับด้วยดอกกลมสลับดอกเหลี่ยม
ทรงข้าวหลามตัด เป็นแบบแผนคล้ายลายหน้ากระดานก้ามปูมาก

ที่มุมฉากนอกกรอบย่อมุมชั้นนอกสุดบรรจุลายค้างคาวเข้าไป ส่วนที่กึ่งกลางของด้านทั้งสี่ มีการเพิ่มเติมแผ่นรูปทรงสามเหลี่ยมด้านแอ่นโค้งเข้า
ภายในกรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านั้น โดยที่แผ่นสามเหลี่ยมที่ด้านกว้างจะมีขนาดใหญ่กว้าที่ด้านยาว เพราะเกิดการการใส่ดอกกลมในพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
ทำให้เกิดพื้นที่บริเวณด้านกว้างมากกว่าพื้นที่บริเวณด้านยาว


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 21 ส.ค. 10, 12:29
เพดานของวัดใหญ่สุวรรณารามนี้ก็มีแบบแผนคล้ายกับวัดสระบัวมาก และมีความประณีตมากกว่าเพราะมีขนาดอาคารที่ใหญ่กว่า และมีสถาณะสูงส่งกว่า
จึงทำให้คิดได้ว่าวัดสระบัวจะได้แบบแผนจากที่วัดนี้ไป แต่การที่ผมนำภาพของวัดสระบัวลงไปก่อนนั้น เป็นเพราะว่าลวดลายที่นั่นเห็นได้ชัดกว่า
และก็เป็นรูปแบบที่นำเอามาอธิบายได้ง่ายกว่าครับ

เริ่มจากแบบแผนของเพดานเหนือองค์พระประธาน ซึ่งเพดานชุดนี้ออกแบบให้สัมพันธ์กับตำแหน่งของพระประธานได้อย่างดี
โดยดอกบัวกลมอันใหญ่ที่กึ่งกลาง ชั้นนอกหรือล่างสุดแกะเป็นกลีบๆแยกกันไม่มีกลีบย่อย ลักษณะเป็นกลีบยาวปลายแหลม
ชั้นถัดมาก็แกะทำนองเดียวกันอีกสองชั้น รวมเป็นกลีบลักษณะนี้สามชั้น ก่อนจะเป็นกลีบพุ่มประดิษฐ์ให้เป็นพุ่มๆออกมากสามพุ่ม
ทรงคล้ายหัวเม็ดทรงมัณฑ์ กลีบพุ่มชั้นแรกแกะเป็นกลีบยาวปลายแหลมไม่มีบ่ามีการซ้อนกลีบย่อย ชั้นต่อๆมาก็ทำนองเดียวกัน
แต่ลดขนาดวงลง นอกจากนี้ที่ปลายยังต่อก้านออกมาอย่างสวยงาม เพื่อแขวนร่มขาวกางเหนือองค์พระประธานด้วย


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 21 ส.ค. 10, 12:32
ส่วนแบบแผนโดยรวมอื่นๆก็ดูคล้ายกับ เพดานลักษณะเดียวกันนี้ของที่วัดสระบัวมาก เพียงแต่ถูกประดับตกแต่งมากขึ้น
เพราะมีขนาดห้องที่ใหญ่กว่าและน่าจะเป็นช่างที่มีฝีมือมากกว่า?


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 21 ส.ค. 10, 12:37
เพดานห้องอื่นนอกเหนือจากเพดานเหนือองค์พระประธาน ก็ตกแต่งทำนองเดียวกับที่วัดสระบัว แต่เขียนลายประณีตตกแต่งได้อลังการกว่า
แต่เสียดายว่าเคยถูกซ่อมแซมโดยการทาสีทับ? จนทำให้เห็นลวดลายไม่ชัดเจนนัก
ภาพนี้เป็นดอกกลมที่กึ่งกลางของเพดานชุดต่อมา


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 21 ส.ค. 10, 12:39
สันไม้ที่แบ่งช่องและพื้นที่ในช่องสี่เหลี่ยมย่อยก็ทำแบบเดียวกันครับ (ดูเพดานวัดสระบัว คคห.64)


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 21 ส.ค. 10, 12:40
สถานที่ต่อมาก็คือเพดานของวัดหน้าพระเมรุฯ อยุธยาครับ เพดานของวัดนี้มีชื่อเสียงและมีความงดงามเช่นกัน
เรียกว่างดงามอยู่แล้วโดยไม่ต้องไปแขวนสิ่งอื่นแปลกปลอมเข้าไป เพราะพอแขวนไปแล้วก็บดบังความงามดั้งเดิมออกไปทันที

เพดานของวัดหน้าพระเมรุนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเหมือนกันทุกห้อง ทำให้แนวเสากับฝ้าเพดานจะนำสายตาให้เราเห็นภาพความงาม
ขององค์พระประธานอย่างเต็มที่


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 21 ส.ค. 10, 12:51
ส่วนรูปแบบของฝ้าเพดานแต่ละห้องนั้น ก็ออกแบบมีลักษณะใกล้เคียงกับเพดานวัดใหญ่สุวรรณารามอยู่มาก
และหลังจากนี้เพดานที่เหลือตามวัดอื่นๆที่สร้างในสมัยอยุธยา ก็แทบจะใช้แบบแผนนี้ทั้งสิ้น แต่ก็จะตัดทอนกันออกไปบ้าง
โดยที่ไม่ว่าจะเกิดจากการออกแบบหรือซ่อมแซมก็ตาม


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 21 ส.ค. 10, 13:23
แชนเดอเลียสวยจัง


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ohm md ที่ 23 ส.ค. 10, 11:56
อยากให้ใครสักคนเขียนลายพุ่มข้าวบิณฑ์สีทึบๆบนพื่นดำที่ผนังหลังพระประธานจังเลย
ปล ช่วยไปบอกอาจารย์..  ด้วยก้อดีคับ พระทองวัดไตรมิตรที่มีพื้นหลังเป็นพื้นขาวเนี่ย คิดได้ยังไง
ออกแบบมณฑปพระพุทธรูปนะ ไม่ใช่พระเมรุ 55


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 23 ส.ค. 10, 20:53
ผมเห็นแล้วขัดใจกับมณฑปวัดไตรมิตรจริงๆ สงสัยคนทำจะไม่เคยไปพิษณุโลก ออกแบบมาขาวจั๊วสลับทอง องค์พระเลยกลืนหายไปเลย เอากลับไปตั้งหน้าม่านเหมือนเดิมดีกว่า เสียดายของจริงๆครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 23 ส.ค. 10, 21:33
พระสุวรรณปฏิมาฯวัดไตรมิตร คิดว่าหลายคนที่เห้นก็คงคิดแบบนั้นครับ
แต่วัดหน้าพระเมรุคงไม่เป็นไรมั้งครับ เพราะเสาแดงก็รับองค์พระพอดีแล้ว ผมว่านะ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 23 ส.ค. 10, 21:42
มันคงเป็นความคิดเรื่อง "ห้องสีขาว" เป็นสัญลักษณ์ของความสะอาด ต่อมา ทุกอย่างในโลกเลยต้องเป็นสีขาว


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 24 ส.ค. 10, 09:19
เอ้าดูซะ พระสุวรรณปฏิมากร ยืมเข้ามา http://www.fotocoffees.com/board/showthread.php?t=1461


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 24 ส.ค. 10, 09:47
ยินดีที่ได้เห็นท่านหัวหน้ากลับเรือนครับ.............



เรื่องพระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตร.....ก็คงคล้ายที่เคยคุยกันเรื่อง ราชรถในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ............
วิธีบรรเทาเครียด....ก็จัดการเปลียนฉากหลังให้เป็นดังเราอยากเห็นซะ..........พอทุเลาได้อยู่บ้าง....

 ;) ;) ;D

55555555



กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 24 ส.ค. 10, 09:49
หากคุณกุ ใช้วีเรย์ แปลงฉากหลังถวายท่าน................

คงจะงามกว่านี้หลายเท่า... :D ;D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 24 ส.ค. 10, 10:03
วีเรย์ทำไม่ได้ทุกอย่างครับ ตัดต่อรูปต้องโฟโต้เฉาะลูกเดียว 5555


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 24 ส.ค. 10, 10:12
มีเพดานมาให้ดูด้วย ;D
 ... ใช้เพดานรูปแบบอยุธยาเช่นนี้แล้ว ก็น่าจะใช้รูปแบบของอาคารที่นำสายตาที่อย่างวัดหน้าพระเมรุ วัดพระพุทธชินราช ด้วยเนอะ
แสดงให้เห็นชัดเจนว่าคติสมัยก่อนพระเป็นหลัก โดยที่สมัยนี้อาคารเป็นหลัก?หรือเปล่านะ ...
มีคนทำงานมาให้เราใช้เป็นกรณีศึกษาก็นับว่ามีค่ามากทีเดียว


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 24 ส.ค. 10, 10:17
ก็ใช้วีเรย์บวกโฟโตเฉาะซีคุณกุ.......
555


รออีกนิด.....จะเอาผลงานสยองขวัญ-ชวนขนหัวลุกของกรมศิลป์ฯในความดูแลของกระทรวงวัฒนธรรมฯยุคประชาธิปัตย์   มาให้ดู




เตรียมยาดมไว้ด้วย

 ;D >:(


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 24 ส.ค. 10, 10:31
เป็นมณฑปที่แคบๆคงใช้เสานำสายตาคงยากนะ

รอคุณศรีสยามเปิดโปงประเทศไทยอยู่ึีครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: srisiam ที่ 24 ส.ค. 10, 22:23
ดุเดือดเกินไปครับคุณกุ...ผู้น้อยด้อยปัญญา..มิบังอาจ


แค่จะถ่ายภาพผลงานบางแห่ง.....สดๆร้อนๆของ(บริษัทรับเหมาในความควบคุมของ)กรมศิลป์ฯ....มาให้ดู
 :o ;D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 20:41
ขอกลับมาต่อเรื่องเพดานนี้อีกสักหน่อยครับ เพราะเรียงภาพไว้นานแล้วไม่ได้เอามาลงสักที  ;D

ย้อนกลับไปที่ตัวอย่างเพดานที่พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลกก่อนครับ ปัจจุบันมีการซ่อมแซมเอาของใหม่ไปติดไว้ที่พระปรางค์ ซึ่งแบ่งเป็น2ชุด ชุดแรกเป็นชุดเพดานของห้องทางเข้าสู่ห้องคูหาภายในเรือนธาตุ และชุดที่สองเป็นเพดานของคูหาเรือนธาตุของพระปรางค์

 
การประดับเพดานของห้องทางเข้าคูหาพระปรางค์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯนั้น ใช้รูปแบบตารางแบ่งช่องสำหรับบรรจุดอกกลมที่ไม่ใช่ดอกบัว แต่เป็นลักษณะของกลีบปลายโค้งมน
มีเส้นกลางกลีบ ล้อมรอบพื้นที่วงกลมนูนเล็กน้อยจำนวนสองชั้น ที่มุมมีลายประดับเป็นรูปเลขหนึ่งไทยหันชนกันสองรูป คือมีรูปเล็กโอบรูปใหญ่ไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อเติมเต็ม
พื้นที่มุมฉาก และแตกลายบังคับพื้นที่ว่างให้อยู่ในรูปวงกลมรับตัวดอกกลมนั้น


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 20:43
สำหรับลายหน้ากระดานที่สันไม้ริมนอกมีแบบอย่างน่านสนใจ คือใช้ลายในแผนพังสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสลับดอกสี่กลีบ
โดยลายในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนนั้นมีดอกกลมตรงกลาง แล้วแตกช่อเป็นกระหนกรูปเลยหนึ่งไทยสลับลดขนาดกันสองวง
และมีลักษณะคล้ายกาบมาประดับแต่กาบยังไม่มาหุ้มทับตัวกระหนก ปลายกาบสะบัดพริ้วอยู่ในระเบียบของพื้นที่สี่เหลี่ยมขอนมเปียกปูน
ลายชุดนี้ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ว่างซึ่งมีกรอบเป็นก้านลาย ที่ปลายหยักเป็นบ้าแล้วม้วนเป็นกระหนก อยู่ในตำแหน่งของก้ามปู
อย่างระเบียบลายประจำยามก้ามปูทั่วไป

ส่วนลายดอกสี่กลีบนั้นอยู่ในจุดคั่นจังหวะรับรับชุดก้ามปูนั้นไว้อย่างหน้าชม กลีบดอกใช้เส้นหยักมีบ่าปลายแหลม บรรจุลายสามแฉกอย่างใบมะตูม
ปกติแล้วระเบียบลายเช่นนี้มักมีประดับเป็นท้องไม้ของธรรมาสน์บางองค์
เช่น ธรรมาสน์ของวัดราชบูรณะ ในพช.รามคำแหง ธรรมาสน์วัดโชติฯ ธรรมาสน์วัดศาลาปูน เป็นต้น


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 20:45
สำหรับเพดานในคูหาเรือนธาตุของพระปรางค์นั้นแบ่งช่องเป็นตาราง โดยช่องตรงกลางมีพื้นที่มากที่สุดบรรจุดอกกลมขนาดใหญ่มีลายที่มุมฉาก
ล้อมรอบด้วยช่องที่มีขนาดเล็กกว่าแบ่งเป็นสองชั้น ชั้นนอกจำนวน20ช่อง และถัดเข้ามาอีก12ช่อง จึงมีช่องตารางที่มีพื้นที่เท่ากัน
ล้อมรอบอยู่รวม32ช่อง ภายในช่องเหล่านั้นมีลายดอกกลมทำนองเดียวกับเพดานที่ห้องทางเข้า  

แต่เพดานชุดนี้มีจุดน่าสังเกตว่าซ่อมหรือทำใหม่ จึงนำมาลงไว้เพื่อให้โยงไปหาลายเฟื่องรอบนอกเท่านั้นครับ



กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 20:48
...


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 20:52
ชิ้นส่วนลายเฟื่องนั้นมีของเก่าหลงเหลือมาเก็บรวมไว้กับโบราณวัตถุอื่นๆ ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุครับ

ทำนองลายเฟื่องประดับอยู่โดยรอบนั้นมีลักษณะคล้ายกับกลีบดอกบัวซ้อนกัน เส้นกลีบมีลักษณะเป็นเส้นหยักสองจังหวะ
มีปลายยอดแหลม ปลายเส้นขมวดเป็นเลขหนึ่งไทยหันหลังชนกัน ภายในกลีบบรรจุลายช่อดอกไม้มีดอกกลม
มีกระหนกและใบไม้ประดับปนกันอย่างเป็นระเบียบ กลีบซ้อนเส้นกลีบตรงปลายแหลม บรรจุลายช่อดอกไม้
แต่เป็นดอกตูมหรือทำนองดอกบัว?หรือดอกโบตั๋น?

ที่จำเป็นต้องย้อนกลับมากล่าวถึงเพดานชุดนี้ก็เพราะว่า เป็นงานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง ในกลุ่มดาวเพดานประเภทตาราง
อย่างเพดานที่วัดไชยวัฒนาราม และวัดใหม่ประชุมพลเป็นต้น

ทั้งนี้ยังสามารถทำให้พอจินตนาการได้ว่า เพดานของคูหาพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงนั้น
ก็มีลักษณะเป็นช่องตารางในทำนองเดียวกันนี้ก็เป็นได้


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:09
คคห.106

ลายชุดนี้ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ว่างซึ่งมีกรอบเป็นก้านลาย ที่ปลายหยักเป็นบ้าแล้วม้วนเป็นกระหนก อยู่ในตำแหน่งของก้ามปู
อย่างระเบียบลายประจำยามก้ามปูทั่วไป


แก้ไข : ที่ปลายกรอบหยักเป็นบ่าหนึ่งจังหวะและมีปลายโค้งมน ตัวกระหนกแทรกออกมา คล้ายระเบียบประจำยามก้ามปู


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:11
สำหรับเพดานอีกชุดที่ต้องกล่าวถึง ก็คือเพดานภายในอุโบสถวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ซึ่งคาดว่าคงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกฐ
เพดานหลักๆแบ่งเป็นสี่ห้องขนาดเท่าๆกัน และเพดานเหนือพระประธานกับเพดานบริเวณเหนือประตูทางเข้า ซึ่งเป็นช่องขนาดเล็กอีกสองช่อง
เพดานทั้งสี่ห้องมีแบบแผนเป็นคู่ๆ กล่าวคือช่องที่สองและช่องที่สามจะมีแบบแผนเดียวกัน โดยช่องที่หนึ่งกับช่องที่สี่นั้นก็จะใช้แบบแผนเดียวกัน


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:15
เพดานคู่กลางหรือห้องที่สองและสามนั้น มีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมฝืนผ้า สันไม้ที่เป็นกรอบนั้นมีลายหน้ากระดานประจำยามก้ามปูสลับลายลูกฟัก
ช่องตางรางหกช่องบรรจุดอกกลมขนาบพื้นที่ตรงกลางฝั่งละสามช่อง ทำให้พื้นที่ตรงกลางกลายเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ซึ่งพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสนี้สามารถบรรจุลายดอกกลมได้พอดีกับพื้นที่ ดอกกลมใหญ่นั้นแกะแบนๆ มีสันเป็นเส้นวงกลมประดับกระจกล้อมรอบ
มีพุ่มอย่างดอกบัวโผล่มาจากเส้นวงนี้ และแตกลายเป็นกระหนกรับกับส่วนโค้งของเส้น
ดอกกลมใหญ่แบ่งกลีบเป็นสี่ชั้น ชั้นนอกสุดเป็นกลีบยาวมีบ่า ปลายแหลมนิดหนึ่งอย่างใบเสมา
ตรงกลางของแต่ละกลีบมีพื้นที่ติดกระจกเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม และมีกลีบซ้อน
ชั้นถัดมาทั้งสองชั้นเป็นกลีบปลายหยักเข้าแกะดุนพื้นที่ตรงกลาง
กลีบชั้นในสุดเป็นกลีบโค้งล้อมรอบพื้นที่วงกลม



กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:19
เพดานคู่นอกหรือห้องที่หนึ่งและสี่นั้น มีลายหน้ากระดานที่สันกรอบนอกคล้ายกับเพดานคู่กลาง ถัดเข้ามาแกะเหมือนลายเฟื่องหรือคล้ายทำนองกระจังธรรมาสน์
คือมีลักษณะเป็นกระจังปฏิญาณตัวเล็กและใหญ่สลับกัน
ลายที่มุมฉากออกแบบเป็นลายช่อ คือมีก้านยื่นออกมาจากมุมมีกลีบดอกปลายโค้งสามกลีบและแตกเป็นตัวกระหนกแยกไปสองฝั่ง
ตรงกลางเป็นดอกกลมใหญ่ที่ถูกล้อมรอบด้วยเส้นวงกลม ทำนองดอกกลมใหญ่คล้ายกับดอกกลมใหญ่เพดานคู่กลาง แต่ไม่มีพื้นที่ประดับกระจกในกลีบชั้นนอกนั้น
ด้านข้างของดอกกลมใหญ่ถูกล้อมรอบด้วยดอกกลมเล็กข้างละ6ดอก จัดระเบียบเพื่อเติมเต็มเนื้อที่ให้สมบูรณ์


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:38
ที่เพดานคู่นี้มีรายละเอียดต่างกันที่น่าสนใจอยู้ด้วยครับ
คือนอกจากจะไม่มีลายเฟื่องแล้วก็คือลายหน้ากระดานที่กรอบ ซึ่งออกแบบให้เป็นดอกกลมสลับกับก้านวงของกระหนก
โดยที่บริเวณกึ่งกลางของแต่ละด้านของแถบหน้ากระดานนี้จะมีลายดอกเหลี่ยมอยู่ และลายกระหนกที่แตกมาชนกับดอกเหลี่ยมนี้
จะมีลักษณะที่ต่างไป มีลักษณะที่พลิกแพลงน่าสนใจมาก



กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:39
ลายที่มุมของเพดานห้องนี้ก็ต่างไปเช่นกัน โดยใช้ลายดอกบัวตูมที่มุมแล้วแตกลายบริเวณปลายดอกเป็นวงโค้ง
มีกระหนกแทรกออกไปและมีสันกรอบรองรับด้วย


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:41
ส่วนเพดานช่องเล็กเหนือประตูทางเข้านั้น มีลายหน้ากระดานที่กรอบนอกสุด ใช้ระเบียบแบบลายลูกฟักกับประจำยามก้ามปู
แต่ออกแบบให้มีเส้นกรอบลายลูกฟักมาขดพันกันเป็นดอกคั่นจังหวะที่ด้าน และใช้ลายดอกเหลี่ยมประจำยามก้ามปูที่มุม
ดอกกลมแบ่งเป็นดอกใหญ่สามดอกเรียงกันในแนวยาว และใช้ดอกเล็กเติมเต็มพื้นที่
เพดานเหนือองค์พระฝางซึ่งเป็นพระประธานนั้นไม่ปรากฏลวดลาย แต่คาดว่าอาจจะมีก็ได้




กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:42
ต่อมาเป็นตัวอย่างเพดานจากวัดปราสาท นนทบุรี ซึ่งใช้ดอกกลมขนาดใหญ่ตรงกลาง และใช้เส้นสี่เหลี่ยมย่อมุมสองเส้นกำหนดพื้นที่หน้ากระดาน
ซึ่งคร่าวๆก็คล้ายกับระเบียบของเพดานวัดใหญ่สุวรรณารามหรือวัดหน้าพระเมรุ คคห.และ
แต่ต่างไปตรงที่ในพื้นที่ของส่วนหน้ากระดานนั้นถูกเปลี่ยนเป็นการเรียงดอกกลมโดยรอบ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:45
เพดานเหนือพระประธานในศาลาดิน วัดสิงห์ ปทุมธานี เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่ระเบียบถูกคลี่คลายออกไปอีก
โดยมีกรอบสี่เหลี่ยมย่อมุม1ชั้นล้อมรอบ และใช้ลายค้างคาวที่มุมรับเส้นวงที่ขยายออกมาในชั้นสุดท้าย


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:47
เพดานพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ลักษณะโดยรวมคล้ายตารางแบ่งเป็นช่องๆ โดยมีขื่อเป็นตัวแบ่งแต่ไม่ใช้สันไม้วางในแนวขวาง
แต่ใช้ลายค้างคาวที่มุมกั้นจังหวะแทน และลายที่มุมนั้นเมื่อหันหลังชนกันจึงอยู่ในทรงสามเหลี่ยม ในแต่ละช่องนี้มีกรอบสี่เหลี่ยมย่อมุม
ล้อมรอบพื้นที่ซึ่งจัดเรียงเป็นดอกกลมเล็กแปดดอกล้อมรอบดอกกลมใหญ่ตรงกลาง


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:48
หลังจากนี้ขอจัดเป็นหมวดอื่นๆ ที่นำตัวอย่างมาให้ชมกันครับ

ชิ้นแรกเพดานจากพระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:56
ชิ้นที่สอง เพดานธรรมาสน์จากวัดแห่งหนึ่ง ใช้ระเบียบกรอบสี่เหลี่ยมย่อมุม


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 04 ม.ค. 11, 23:57
ชิ้นที่สาม เพดานธรรมาสน์วัดใหญ่... ใช้ดอกกลมดอกใหญ่ ล้อมรอบด้วยดอกกลมเล็กๆ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 05 ม.ค. 11, 00:04
เพดานธรรมาสน์วัดใหญ่... เดิมคงมีดอกกลมตรงกลาง ล้อมรอบด้วยกรอบแปดเหลี่ยม และกรอบสี่เหลี่ยมย่อมุมตามลำดับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 05 ม.ค. 11, 00:08
ธรรมาสน์วัดโพธิ์ มีกรอบสี่เหลี่ยมย่อมุม


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 05 ม.ค. 11, 00:10
เพดานธรรมาสน์จากเมืองโบราณ สมุทรปราการ มีกรอบสี่เหลี่ยมย่อมุมอยู่เช่นกัน


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 05 ม.ค. 11, 00:12
เพดานจากธรรมาสน์ของวัดแห่งหนึ่ง..


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 05 ม.ค. 11, 00:14
เพดานธรรมาสน์จากวัดอีกแห่งหนึ่ง..


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 05 ม.ค. 11, 00:15
เพดานธรรมาสน์จากวัดกลาง...


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 05 ม.ค. 11, 00:17
เพดานธรรมาสน์ยาวจากวัดแถวๆปทุมธานี


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 05 ม.ค. 11, 00:19
เพดานธรรมาสน์จากวัดปากน้ำ...


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 23 ม.ค. 11, 18:11
สัปดาห์ที่ผ่านมาได้ไปลพบุรี จึงได้ถ่ายภาพเพดานชิ้นสำคัญสองชิ้นเพื่อจะนำมาลงไว้ในกระทู้นี้
เพื่อรวบรวมภาพงานประดับเพดานเอาไว้ให้พอเป็นเค้าโครงสำหรับการศึกษาต่อๆไปได้

งานชิ้นแรกคือเพดานประดับในคูหาพระปรางค์สามยอด (องค์กลาง) ซึ่งน่าจะทำขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เนื่องจากภายในคูหาพระปรางค์นั้นเป็นผังกากบาท ซึ่งทำให้พออ้างอิงถึงการประดับเพดานพระมหาปราสาท ที่มักเป็นผังจัตุรมุขได้


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 23 ม.ค. 11, 18:12
ลักษณะการจัดวางเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยอยุธยาปลาย แต่ดอกกลมทั้งหมดทำเป็นลายทองบนพื้นแดงแทนการแกะไม้ประดับ
..คุณกุรุกุลาเคยนำรายละเอียดของงานชิ้นนี้มาแนะนำแล้ว หากย้อนไปชม


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 23 ม.ค. 11, 18:13
สำหรับชิ้นที่สองนี้เป็นหลักฐานงานประดับเพดาน ที่เก่าที่สุดเท่าที่ผมมีหลักฐานอยู่
เป็นชิ้นส่วนที่เหลือจากการชำรุดของเพดานภายในคูหาพระปรางค์องค์น้อย
ด้านทิศใต้ของปรางค์ประธาน มหาธาตุลพบุรี (16ค) ซึ่งเหลือส่วนลายหน้ากระดาน
แกะไม้เหนือกรอบประตูด้านทางเข้า


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 23 ม.ค. 11, 18:15
งานชิ้นนี้อ้างอิงจากลวดลายภายนอกแล้ว พบว่าใช้ลายแบบเดียวกัน ซึ่งกำหนดอายุตามหนังสือ กระหนกในดินแดนไทย
ของ ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม ว่าเป็นงานในช่วง พุทธศตวรรษที่19 ซึ่งหน้ากระดานชั้นนอกสุดเป็นลายดอกกลมสลับบั้ง 
หน้ากระดานชั้นถัดมาหักหายไปแล้วบางส่วน แต่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกระหนกในลายหน้ากระดาน ของงานปูนปั้นของพระปรางค์องเดียวกันนี้


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 23 ม.ค. 11, 18:16
ลายเส้นสันนิษฐาน แม้อาจไม่ถูกต้องแต่เพื่อให้เห็นเค้าลายชัดเจนมากขึ้น


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 25 ม.ค. 11, 09:43
ว้าว วาดสวย วาดให้หน่อยจิ จะเอาไปประกอบทีสิส


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: virain ที่ 26 ม.ค. 11, 01:06
ขอบคุณครับ
วาดอะไร... จัดมาครับ
ตอนนี้ว่าง  ;D


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 26 ม.ค. 11, 17:56
วาดลายวัดมหาธาตุ ราชบุรีทั้งแผงเลย ยกชุด จัดให้ได้ไหมครับ  :P


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 29 ก.พ. 12, 01:35
(http://a6.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/s720x720/424157_345244508842920_100000721218208_1073242_1461759290_n.jpg)




เห็นกระทู้หล่นไปร่วมปี...
เหตุเพราะทั้งคนปุจฉาและวิสัชนาก็ไม่ได้เข้ามาโพสต์อะไรในเรือนกันนานแล้ว

ดาวเพดานดวงนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานคัดลอก 'วัดใหญ่สุวรรณาราม'
ที่ผมกับพี่ยีน jean1966 ทำร่วมกันอยู่ครับ..
ดูแล้วคาดว่าน่าจะเข้ากับเรื่องราวของกระทู้
เลยขอเอามาแปะลงในกระทู้ที่คิดถึงเสียหน่อย

ดวงนี้เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ครับ
ซ่อมทับลงบนโครงลายสมัยอยุธยาอีกทีนึง
ภาษาเก่าเรียกงานแบบนี้ว่างานปิดแบบ คือ ปิดทองลงบนแบบที่ฉลุไว้
ทุกวันนี้อาจจะเรียกว่างานพิมพ์แบบ paper block หรืออะไรก็แล้วแต่
(อันนี้เห็นแวบๆผ่านตามา ไม่รู้จะผิดหรือถูกนะครับ)


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 29 ก.พ. 12, 01:42
(http://a3.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/s720x720/427574_345252625508775_100000721218208_1073247_874886752_n.jpg)




ส่วนภาพนี้เป็นลายเดิมสมัยอยุธยาครับ
ผมยังไม่เคยเห็นจากงานตีพิมพ์ชิ้นไหนๆ
คาดว่าผู้สนใจศิลปะไทยทุกๆท่านที่ได้เข้ามาชมภาพๆนี้...
น่าจะเป็น 'ผู้โชคดี' กันทุกคน...

ที่มีโอกาสได้เห็นดาวเพดานในศิลปะอยุธยาแท้ๆ
ดวงสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา ที่หายสาบสูญไปแล้วร่วม 300 ปี
ต้องขอบพระคุณ คุณ ไพโรจน์ พิทยเมธีครับ
ที่พยายามแล้วพยายามเล่า จนถ่ายภาพดาวเพดานดวงนี้ออกมาเป็นภาพได้

ส่วนคนที่ต้องขอบคุณมากที่สุด คงหนีไม่พ้นคุณ jean1966 ครับ
ที่สู้อุตส่าห์คัดลอกงานชิ้นนี้ขึ้นมาให้เป็นรูปเป็นร่าง
และช่วยสันนิษฐานเพิ่มเติมรายละเอียดที่หายไปแต่ละส่วนด้วย


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 29 ก.พ. 12, 01:44
(http://a5.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/s720x720/417610_353287544705283_100000721218208_1092362_1888798021_n.jpg)




ประจานกันซะหน่อย... ฝีมือพี่ชายเรา คริคริ  ;D
ใครจะชม จะเชียร์ จะอะไรก็แล้วแต่... ไม่รู้ล่ะ ผมขอติ!!



































จะยั่วน้ำลายกันไปถึงหนายค๊าบบบบบบบบบ  :'(


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: jean1966 ที่ 01 มี.ค. 12, 11:57
ไม่ต้องติแล้วเสร็จมาดๆเมื่อวาน


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 01 มี.ค. 12, 13:52
ที่จริงความลับเล็กๆน้อยๆ แบบนี้ มีซุกๆซ่อนๆ อยู่ทั่วไป
ตามแหล่งโบราณคดีแต่ละแหล่งนะครับ....

สำคัญที่สุด อยู่ที่คนค้นคว้านี่แหละ...
ว่าจะไป 'ค้น' และ 'คว้า' มาให้พวกเราได้สักแค่ไหน...
เห็นลายนี้แล้วได้แต่บอกว่าคนไทยทั้ประเทศ
ติดหนี้บุญคุณพี่ยีนมากโขเชียวครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 04 พ.ค. 12, 22:04
ให้ดูเล่นๆ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 07 พ.ค. 12, 14:29
เอามั่งๆ.... แต่เรา... ให้ดูจริงๆ!  ;D



(http://a5.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/s720x720/575129_348999295161348_129323423795604_972285_969483433_n.jpg)


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 07 พ.ค. 12, 14:34
(http://a7.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/405027_342293262498618_129323423795604_957232_1716163951_n.jpg)



อีกสักดวง... สำหรับผมดวงนี้เป็นดวงนึงที่สวยที่สุดในศิลปะไทยครับ


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 07 พ.ค. 12, 14:38
ให้ดูแต่ดาวอย่างเดียว... ไม่สนุกหรอก...
พี่ยีนเหนื่อยอีกแล้วนะครับ คราวนี้ :)



(http://a7.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/559373_344773258917285_129323423795604_961794_1192208474_n.jpg)


กระทู้: แหงนดูศิลปะบนเพดาน
เริ่มกระทู้โดย: puyum ที่ 26 พ.ค. 12, 22:21
สวย สวยครับ ทั้ง ๑๔๕และ ๑๔๖
หายเงียบกันไป คงเมื่อยคอ ภาพนี้ไม่ต้องแหงน