เรือนไทย

General Category => ประวัติศาสตร์ไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: เทพกร ที่ 06 ก.ย. 12, 11:18



กระทู้: อาจารย์ที่ถวายการสอนวิชาภาษาไทยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: เทพกร ที่ 06 ก.ย. 12, 11:18
เรียนท่านผู้รู้ทุกท่าน ผมอยากทราบว่า
อาจารย์ที่ถวายการสอนวิชาภาษาไทย
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน คือท่านใด
และพอจะทราบประวัติบ้างไหมครับ
เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ท่านประทับที่ต่างประเทศตั้งแต่ทรงพระเยาว์
แต่การใช้ภาษาไทยของท่านเป็นเยี่ยม
ไม่ว่าจะเป็นพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ ที่ทรงพระราชนิพนธ์
หรือแ้ม้กระทั่งพระราชนิพนธ์แปลครับ

 :)


กระทู้: อาจารย์ที่ถวายการสอนวิชาภาษาไทยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: ลุงไก่ ที่ 06 ก.ย. 12, 12:36
ขอแทรกเรื่องไว้ในกระทู้นี้สักนิด

อาจารย์ที่ถวายการสอนภาษาไทยแก่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ช่วงยังพระชนม์เยาว์วัย คืออาจารย์กำชัย ทองหล่อ


กระทู้: อาจารย์ที่ถวายการสอนวิชาภาษาไทยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: เทพกร ที่ 07 ก.ย. 12, 11:35
ขอบพระคุณลุงไก่ครับ  ;D แล้วของพระองค์อื่น พอจะทราบไหมครับ?


กระทู้: อาจารย์ที่ถวายการสอนวิชาภาษาไทยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 ก.ย. 12, 14:44
ไม่ทราบค่ะ  ได้แต่เดาว่าท่านหนึ่งในจำนวนนี้คือท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา


กระทู้: อาจารย์ที่ถวายการสอนวิชาภาษาไทยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
เริ่มกระทู้โดย: เทพกร ที่ 08 ก.ย. 12, 09:55
ลองให้อาจารย์กู้ คนดู พบว่า อาจารย์ที่ถวายการสอนวิชาภาษาไทย
แด่ยุวกษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ และสมเด็จพระเชษฐภคินี
คือ นายเปรื่อง ศิริภัทร์
ท่านใดพอจะทราบประวัติท่านไหมครับ?

"...สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงเอาพระทัยใส่ในการศึกษาของพระราชโอรสธิดามาก
โปรดให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชอนุชาทรงศึกษาที่โรงเรียนเอกอล นูเวลล์ เมืองโลซาน จนถึงปี 2484
ซึ่งในช่วง 2 ปีสุดท้ายของการศึกษาที่โรงเรียนแห่งนั้น โปรดให้ทรงเข้าเป็นนักเรียนประจำ
เพื่อให้ทรงทราบชีวิตของนักเรียนประจำที่ต้องช่วยพระองค์เองทุกอย่าง
ส่วนสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนนานาชาติที่เมืองเจนีวา
นอกจากนี้ทรงหาพระอาจารย์สอนพิเศษประจำที่พระตำหนัก
ทรงจ้างหญิงชาวอังกฤษเป็นพระพี่เลี้ยงระหว่างโรงเรียนปิดภาคฤดูร้อน
เพื่อฝึกฝนภาษาอังกฤษถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เรื่องการศึกษาภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีไทยก็มิได้ทรงละเลย
โปรดให้นายเปรื่อง ศิริภัทร์ พระอาจารย์ถวายพระอักษรไทยที่ทางรัฐบาล
ส่งมาถวายพระอักษรแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชอนุชา และสมเด็จพระเชษฐภคินี
ดังนั้นการตัดสินพระทัยประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงวิกฤตการณ์สงครามโลก
การศึกษาของพระราชโอรสธิดาจึงมิได้หยุดชะงัก

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงพระปรีชาสามารถด้านการศึกษา
ในปี 2485 ทรงสอบผ่านชั้นสุดท้าย เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย
และได้ทรงเข้าศึกษาวิชาเคมีต่อที่มหาวิทยาลัยโลซาน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลก็ทรงเปลี่ยนแผนกการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเช่นกัน
หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายในปี 2486
เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ได้ทรงเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซาน
และอีกสองปีต่อมา สมเด็จพระราชอนุชาก็เสด็จเข้าศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน..."

อ้างอิงจาก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9480000092547