เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 6281 ขัติยราชปฏิพัทธ รักเร้นในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
Rattananuch
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 22 ม.ค. 24, 18:58

ขอบคุณค่ะอาจารย์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 23 ม.ค. 24, 09:16

   เรื่องนี้ก็น่าเห็นใจพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ   พระองค์ท่านอยู่ของท่านดีๆ   แบกภาระราชการบ้านเมืองหนักหนาสาหัสอยู่แล้ว  เพราะเราก็รู้กันว่าในรัชกาลนี้  ต้องรบทัพจับศึกกันหนักไม่น้อยกว่าสมัยธนบุรี  อยู่ๆลูกชายมาก่อเรื่องงามหน้าให้ปวดพระเศียรหนักขึ้นไปอีก  ก็เป็นธรรมดาที่จะพิโรธมากมาย  อดกลั้นไว้ไม่อยู่
   ไหนท่านจะเกรงพระทัยพี่น้องเจ้าฟ้าบุญรอด  ถ้าเป็นภาษาชาวบ้านก็คงจะเรียกว่า "เขาจะพากันถอนหงอกกู"   ไหนจะเกรงว่าเรื่องอื้อฉาวออกไป   ทั้งกรมราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) และกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข(วังหลัง)  จะดูถูกวังหลวงว่าใช้ไม่ได้   มีแต่เรื่องเละเทะเป็นที่เสื่อมเสีย รู้ถึงไหนอายถึงนั่น
   ทางออกที่ทรงคิดได้เฉพาะหน้า คืออย่างแรกต้องจัดการกับตัวการที่ทำผิดกฎมณเฑียรบาลให้พ้นออกไปจากวังเสียก่อน   เพื่อแสดงว่าไม่ได้ทรงนิ่งดูดาย และไม่เปิดโอกาสให้เกิดเรื่องขึ้นมาอีก   จึงรับสั่งให้ท้าวนางไปขับไล่เจ้าฟ้าบุญรอดให้ออกไปเสียจากพระบรมมหาราชวังในคืนวันนั้น
    ส่วน "พ่อโฉมเอก"  พระราชบิดาก็ลงโทษเป็นอันดับ 2  คือทรงทราบว่าพระราชโอรสทรงค้าสำเภา  คือจัดสินค้าต่างๆ มาฝากลงสำเภาล่องไปขายเมืองจีน และซื้อของเมืองจีนล่องมาขายเมืองไทย  ก็รับสั่งห้ามไม่ให้เจ้าพนักงานรับลงเรือดังแต่ก่อน  คือตัดรายได้ทั้งหมด    และรับสั่งห้ามไม่ให้เสด็จเข้าเฝ้าอีก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 23 ม.ค. 24, 09:32

    ฝ่ายเจ้าฟ้าบุญรอด เมื่อท้าวนางนำพระบรมราชโฮงการมาทูลให้ทรงทราบ  ก็รับสั่งใช้ให้ข้าหลวงกับโขลนจ่าที่ในวังออกไปทูลแก่กรมหลวงเทพหริรักษ์ พระเชษฐา ที่วังริมป้อมจักรเพชร (อยู่ตรงเชิงสะพานวัดราชบูรณะ)  ทูลสารภาพเรื่องราวทั้งหมด  ขอให้กรมหลวงเทพหริรักษ์จัดเรือมารับเสด็จในค่ำวันนี้
    ฝ่ายกรมหลวงเทพหริรักษ์ ไม่รู้อีโหน่อีเหน่อะไรมาตั้งแต่ต้น     พอรู้เรื่องก็เปรียบเสมือนฟ้าผ่าลงมากลางวัง   แน่นอนว่าต้องพิโรธไม่น้อยไปกว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ   แต่จะทำอะไรได้  จะเปรี้ยงปร้างด่าทอหรืออาละวาดตอบกลับไปก็ทำไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะโดยฐานะก็ทรงเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่พระองค์หนึ่งในพระราชวงศ์   ถึงขัดเคืองพระทัยขนาดไหนก็จำเป็นต้องอดกลั้น ไม่วู่วาม รักษาศักดิ์ศรีของผู้ใหญ่   
 ไม่มีทางอื่นนอกจากรับสั่งให้เจ้ากรมจัดเรือที่นั่งสำปั้นเก๋งมารับเสด็จเจ้าฟ้าบุญรอด ออกจากวังหลวงไปในค่ำวันนั้น  แต่ในพระทัยท่านจะคิดอะไรยืดยาวขนาดไหน เราคงเดาได้ไม่ยาก

     ฝ่ายตัวการใหญ่ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อรู้ว่าความแตก  เจ้าจอมแว่นช่วยเหลือได้เพียงแค่นี้  คือช่วยให้ทรงรอดไม่ถูกโบยหลังหรือจำคุกทั้งฝ่ายหญิงฝ่ายชาย    เจอโทษเพียงแต่เจ้าฟ้าบุญรอดถูกขับไล่ไสส่งออกจากวัง  ต้องไปอยู่วังกรมหลวงเทพหริรักษ์      ท่านก็เสด็จตามไปในค่ำวันนั้น เข้าเฝ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์   ทูลรับผิดชอบ และทูลวิงวอนจะขอรับเจ้าฟ้าบุญรอดไปไว้พระราชวังเดิม ซึ่งทรงอยู่กับพระมารดา 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 24 ม.ค. 24, 11:33

      เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระเชษฐาของเจ้าฟ้าบุญรอด น่าจะเป็นเจ้านายที่เข้มแข็ง   ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหม   เมื่อเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรเข้าไปสารภาพผิด และขอรับเจ้าฟ้าบุญรอดไปอยู่ด้วยกัน    ถ้าท่านเป็นคนที่ไม่คิดอะไรมาก  กับไม่อยากหาเรื่องมาใส่ตัว  ก็คงจะยกน้องสาวให้ไปอยู่กับน้องเขยโดยดี ได้หมดเรื่องหมดราว   เพราะฝ่ายหญิงก็ท้องขึ้นมาถึง 4 เดือน   ถ้าฝ่ายชายเกิดไม่รับขึ้นมาจะยิ่งเสียหายหนักเข้าไปอีก
     แต่เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ท่านแข็งจริง  ก็กล้าตำหนิตรงๆว่า
     "พ่อฉิมทำการดั่งนี้ห้าวหาญนัก เมื่อจะรักใคร่กัน ข้าก็เป็นผู้ใหญ่อยู่ทั้งคน จะมาปรึกษาหารือ ว่าจะรักใคร่เลี้ยงดูกันตามประสาฉันญาติ ก็จะได้คิดผ่อนผันไปตามการโดยสมควร หรือจะกราบทูลให้ในหลวงจัดแจงตบแต่งให้เป็นเกียรติยศ ชื่อเสียงก็จะได้ปรากฏไปภายหน้า"
     ท่านก็ลงท้ายว่า   ในเมื่อเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ใช้วิธีเอาแต่ใจตัวเอง   ไม่เห็นหัวผู้ใหญ่  จะมาพูดกันทำไมเอาตอนนี้
     จากนั้นท่านก็อ้างต่อไปว่า
     " ในระหว่างนี้ในหลวงก็กริ้วกราดมากมายอยู่ ซึ่งข้าจะมอบตัวแม่รอดให้ไปนั้นไม่ได้ ถ้าความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทเข้า ข้าจะพลอยเสียไปด้วย ดูเป็นเต็มใจให้แก่คนผิด"
      แล้วก็มาถึงหมัดเด็ดสุดท้าย คือ
      " น้องของข้า   ข้าเลี้ยงได้ดอก ไม่ต้องให้คนอื่นเลี้ยง"
      สรุปคือ ทำผิดประเพณี ไม่เห็นหัวผู้ใหญ่   ข้าไม่ยกน้องสาวให้ ต่อให้มีลูกออกมา ข้าก็เลี้ยงของข้าเองได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 25 ม.ค. 24, 09:45

     เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เจอคนจริงเข้าก็ได้แต่ทรงพระกันแสง    ทูลสารภาพรับผิดอยู่นาน เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ท่านก็ไม่ยอมให้เจ้าฟ้าบุญรอดเสด็จไป   ไม่ว่าเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรจะทูลวิงวอนจนอ่อนพระทัยยังไง  ท่านก็ยืนกรานไม่ยอมอนุญาตท่าเดียว     ในที่สุด พระเอกของเราก็ต้องยอมแพ้  ทูลลาเสด็จกลับข้ามไปวังอีกฟากของเจ้าพระยา    แต่ท่านก็ไม่ได้ทอดทิ้ง    รับสั่งใช้นางข้าหลวงมาเฝ้าเยี่ยมเยียนพระอาการเจ้าฟ้าบุญรอดอยู่เสมอไม่ขาดวัน
     ต้องนับว่าเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์องค์นี้พระทัยเด็ด   ไม่เห็นแก่หน้าใคร  ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก   จะว่าไปท่านทำอย่างนี้ก็เสี่ยงกับอนาคตองค์เองและพระขนิษฐาอยู่ไม่น้อย    ในเมื่อใครๆก็รู้ว่าเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่   อย่างไรเสียวันข้างหน้าก็ต้องได้ขึ้นครองราชย์    ใครไปขัดพระทัยท่านในวันนี้ อนาคตเห็นทีจะไม่รุ่ง
      แต่เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ท่านก็ไม่เกรงข้อนี้  ถือว่าทำผิดแล้วจะมาลอยนวลเอาง่ายๆไม่ได้     ถึงท่านจะลงโทษเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรไม่ได้ เพราะฝ่ายนั้นใหญ่เกิน  แต่ท่านก็ลงโทษน้องสาวท่านได้
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 25 ม.ค. 24, 10:30

กำลังสนุกเลยครับ ติดตามอย่างใกล้ชิด  ขอแอบถามให้สปอยล์หน่อยครับ ทารกในครรภ์คือพระจอมเกล้าในกาลต่อมาหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 25 ม.ค. 24, 10:33

กำลังสนุกเลยครับ ติดตามอย่างใกล้ชิด  ขอแอบถามให้สปอยล์หน่อยครับ ทารกในครรภ์คือพระจอมเกล้าในกาลต่อมาหรือเปล่าครับ
ตอบแบบไม่ยอมสปอยล์   -   ไม่ใช่ค่ะ
ป.ล. ห้ามคุณหมอเพ็ญชมพูมาเฉลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 26 ม.ค. 24, 09:47

    เหตุการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ผ่านไป ๓ เดือน   เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรคงจะมี "สายข้างใน" ซึ่งก็คงไม่ใช่ใครอื่นนอกจากคุณจอมแว่น    ส่งข่าวให้รู้ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงหายพิโรธแล้ว   เจ้าฟ้าจึงเสด็จเข้าไปเฝ้าวังหน้า  สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ให้พาพระองค์ท่านเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว  ช่วยเจรจากราบทูลไกล่เกลี่ย ขอรับพระราชทานโทษ  แปลอีกทีคือให้อาช่วยเกลี้ยกล่อมพ่อให้ยกโทษให้ลูกชาย
      สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเห็นพระทัย    และคงทรงเห็นว่าอยู่กันแบบนักโทษอย่างนี้ก็ย่อมไม่มีอะไรดีขึ้น    หลานก็ใกล้จะคลอดออกมาแล้ว  ท่านจึงพาเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรเข้าไปเฝ้า ทูลเกลี้ยกล่อมว่า
     "ลูกกับหลานรักกัน ขุนหลวงกริ้วกราดเอาเป็นมากเป็นมาย เห็นเป็นไม่สมควรกันหรือ   ขอพระราชทานโทษทั้งสองคนนี้ให้พ้นโทษเสียเถิด"
     เมื่อสมเด็จพระราชอนุชามาขอทั้งที   ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็คงจะอ่อนลงมากแล้ว   แต่ท่านจะรับปากง่ายๆก็ไม่เหมาะอยู่ดี   จึงทรงตอบว่า
      "  ผู้หลักผู้ใหญ่ก็ยังมีอยู่    เมื่อจะรักใคร่กันก็บอกกล่าวกันก่อน ถ้าไม่มีผู้ใหญ่จัดการให้   ก็ควรจะเก็บไว้ลำพังกับตัวเอง   นี่เขาไม่คิดนับถือผู้ใหญ่ คิดเอาเองแต่อำเภอน้ำใจ ไม่คิดกลัวเกรง  ทำเหมือนดูถูกรั้ววัง     ดังนี้เจ้าก็ยังเห็นดีอยู่หรือ"
      พระเจ้าอยู่หัวท่านชิงติเตียนพระราชโอรสเสียก่อน ก็เพื่อกันมิให้กรมพระราชวังบวรฯ จะทันกล่าวติเตียนออกมา  และที่สำคัญก็คือมิให้กรมหลวงเทพหริรักษ์เสียพระทัย ว่าพ่อเข้าข้างลูก   เป็นใจเห็นด้วยที่ลูกมาหยามเกียรติหลาน  ท่านก็ต้องแสดงทุกอย่างให้เห็นว่าท่านไม่ได้เข้าข้างลูกท่าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 26 ม.ค. 24, 09:56

   กรมพระราชวังบวรฯ ท่านก็คงจะดูออก  จึงกราบทูลเอออวยไปว่า
   " พ่อฉิมไม่ได้บอกกล่าวให้ผู้ใหญ่รู้ก่อน  ถือเป็นข้อละเมิด   ความจริง ถ้ามาบอกขุนหลวงหรือผู้ใหญ่อื่นๆ ทุกคนก็ต้องเต็มใจให้คู่กันทั้งนั้น    ด้วยอายุเราท่านทั้งหลายนี้จะอยู่ไปได้สักกี่ร้อยปี ภายภาคหน้าจะได้ใครสืบตระกูลต่อไปเล่า นี่ก็ลูกชาย นั่นก็หลานสาว  ได้เป็นคู่กัน   หลานปู่ออกมาก็จะได้สืบตระกูล มีสายเลือดของพวกเราทุกฝ่าย"
    กรมพระราชวังบวรฯ ท่านก็ฉลาดพอจะย้ำในข้อที่ว่าเจ้าฟ้าทั้งสองนั้นเหมาะสมจะเป็นคู่กันทุกประการ  จะได้กันด้วยวิธีไหนนั่นก็ลงโทษกันไปแล้ว   แต่นี่กำลังจะได้หลานคนใหม่   ซึ่งมีสายเลือดสูงส่งกว่าหลานคนก่อนๆ ที่ล้วนเป็นลูกเจ้าจอมหม่อมห้ามทั้งนั้น  ก็ควรจะงดโทษ เห็นแก่หลานที่กำลังจะเกิดมาไม่ดีกว่าหรือ"
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกท่านก็คงหายพิโรธแล้วละค่ะ    เพียงแต่ขอให้มีคนมาเปิดทางให้จบกันด้วยดีก็พอ   ท่านไม่ต้องมาเสียผู้หลักผู้ใหญ่ทำการทุกอย่างเอง    กรมพระราชวังบวรฯ มาขอโทษแทนหลานทั้งที  ก็สมเหตุผลที่จะยกโทษให้แล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 27 ม.ค. 24, 09:20

      เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯหายพิโรธ   พระราชโอรสก็เสด็จเข้าเฝ้าได้เหมือนกัน  ส่วนเรื่องค้าขายสำเภา จัดสินค้าส่งขายทำได้ตามปกติ   เรียกได้ว่าถูกลงโทษสถานเบาแค่ 3 เดือน   ขั้นต่อไปท่านก็เสด็จมาที่วังของเจ้าฟ้า กรมหลวงเทพหริรักษ์ ทูลขอรับเจ้าฟ้าบุญรอดไปไว้พระราชวังเดิมที่ท่านประทับอยู่ ด้วยพระครรภ์แก่ จวนจะประสูติพระโอรสอยู่แล้ว
     เมื่อพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานอภัยโทษแล้ว   เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์จะดึงดันไม่ยอมท่าเดียว ก็เหมือนไม่เห็นแก่หน้าผู้ใหญ่    ท่านก็ต้องกลืนเลือด  ยอมประนีประยอมกับน้องเขย
     เรื่องเดินมาถึงตรงนี้  ก็ต้องขอยกย่องเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์จริงๆ  ว่าท่านมีความเป็นผู้ใหญ่ที่เห็นการณ์ไกล   เป็นพี่ชายที่ห่วงใยน้องสาวประหนึ่งบิดาห่วงบุตรี และเป็นคนตรงไปตรงมาไม่เห็นแก่หน้าใคร
     ท่านดูออกว่าแม้เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรจะแสดงความรักใคร่ห่วงใยเจ้าฟ้าบุญรอดอย่างแท้จริง   ไม่เคยทอดทิ้งเมื่อเกิดอุปสรรค   แต่น้องเขยของท่านองค์นี้ก็มีทั้งลูกมีทั้งเมียจำนวนมาก  แบกพะรุงพะรังอยู่เต็มหลัง   เจ้าฟ้าบุญรอดเข้าไปทีหลัง น่าจะเจอเรื่องเดือดร้อนรำคาญใจจากเมียๆที่เขาอยู่มาก่อน       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 27 ม.ค. 24, 09:20

     ท่านจึงรับสั่งตรงๆว่า
    " ลูกเมียของพ่อฉิมก็มีอยู่มาก เกรงว่านานไป จะเกิดอริวิวาทกัน บุญรอดก็จะต้องร้องไห้ ข้ามแม่น้ำกลับมาหาพี่ว่าผัวเห็นคนอื่นดีกว่า    จะได้ความอัปยศแก่คนทั้งหลาย"
     เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ทรงดักคอไว้ล่วงหน้า   เพื่อปรามน้องเขยว่าอย่าทำอะไรให้น้องสาวท่านเสียใจเป็นอันขาด   เรื่องเสียใจนั้นก็ดูออกว่าไม่ใช่เรื่องอื่น นอกจากเรื่องเจ้าชู้ของน้องเขยนั่นละค่ะ
     เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้ยินเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์กำราบเอาไว้ล่วงหน้าแบบนี้  ก็ทรงปฏิญานว่า ท่านจะมิให้บุตรและภริยาทั้งปวงที่มีก่อนหน้านี้  หรืออาจจะมีหลังจากนี้ เป็นใหญ่กว่า หรือเสมอกับเจ้าฟ้าบุญรอด    อีกนัยหนึ่งคือเจ้าฟ้าบุญรอดเป็นเมียเอก ใหญ่สุด
     โดยส่วนตัว   เห็นว่า เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ท่านอาจเห็นตัวอย่างจากคุณหญิงนาคกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าก็เป็นได้    ใครอ่านกระทู้นี้แต่ต้นก็คงจำได้ว่า หลังจากดุ้นฟืนแสมหวดเปรี้ยงลงไปบนหัวเมียน้อยคือคุณจอมแว่นแล้ว    หญิงสาวผู้มาทีหลังก็เป็นฝ่ายชนะ  สามีไม่ได้เกรงใจภรรยาเอกพอจะเลิกกับเมียน้อย หรือไกล่เกลี่ยประนีประนอมให้อยู่กันแบบต่างคนต่างอยู่    แต่ว่าสามีภรรยาขาดจากกันไปเลยตลอดชีวิต
     ถ้ากรณีแบบนี้เกิดขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง   เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ท่านก็สงสารน้องสาวที่จะมีชะตากรรมเดียวกับคุณหญิงนาค  จึงชิงปรามไว้เสียก่อน
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 27 ม.ค. 24, 14:51

“น้องเขยของท่านองค์นี้ก็มีทั้งลูกมีทั้งเมียจำนวนมาก  แบกพะรุงพะรังอยู่เต็มหลัง   เจ้าฟ้าบุญรอดเข้าไปทีหลัง น่าจะเจอเรื่องเดือดร้อนรำคาญใจจากเมียๆที่เขาอยู่มาก่อน..”

ฟังอาจารย์บรรยายถึงตอนนี้เกิดประเด็นสงสัยว่า  ถึงจุดสำคัญนี้เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรท่านมีลูกเมียกี่คนแล้วกันแน่ เลยไปส่องดูพระราชสันตติวงศรัชกาลที่2ตั้งแต่ที่ประสูติองค์แรกจนถึงปีพ.ศ 2344 -2345 อันเป็นช่วงที่เกิดเหตุการณ์ราชปฏิพัทธนี้
ปรากฏว่า พระองค์ท่านมีพระโอรส-ธิดาแล้ว 36 พระองค์ เจ้าจอมมารดาของพระโอรส-ธิดา 20 ท่าน พระชนมายุขณะนั้นเพียง 34 พระชันษา พระราชนิเวศน์ที่พระราชวังเดิม น่าจะเริ่มแออัดยัดเยียดแล้ว

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33596

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 27 ม.ค. 24, 15:46

ขอบคุณค่ะคุณ Jalito  เข้ามาอ่านเงียบๆอยู่ตั้งนาน   ยกมือขึ้นมาบ้าง  ก็ยินดีค่ะ
ขอขยายความให้คุณ Jalito และท่านอื่นๆที่เข้ามาอ่าน ทราบว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกยาเธอทั้งสิ้น 73 พระองค์   มีพระเจ้าลูกยาเธอ 18 พระองค์ได้ทรงกรม

ปัจจุบัน  ราชสกุลที่สืบเชื้อสายมาจากต้นสกุลที่เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ 2  คือ   
1   กปิตถา   Kapittha na Ayudhya   สืบเชื้อสายจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากปิตถา   กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์   
2  กล้วยไม้   Kluaymai na Ayudhya   สืบเชื้อสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากล้วยไม้   กรมหมื่นสุนทรธิบดี   
3  กุญชร   Kunjara na Ayudhya   สืบเชื้อสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์   
4  กุสุมา   Kusuma na Ayudhya   สืบเชื้อสายจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุสุมา กรมหมื่นเสพสุนทร   
4  ชุมแสง   Xumsaeng na Ayudhya   สืบเชื้อสายจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมแสง  กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา      
5  เดชาติวงศ์   Tejativongse na Ayudhya   สืบเชื้อสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามั่ง กรมพระยาเดชาดิศร   
6  ทินกร   Dinakara na Ayudhya   สืบเชื้อสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
7  นิยมิศร   Niyamisar na Ayudhya   สืบเชื้อสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนียม      
8  นิลรัตน   Nilaratna na Ayudhya สืบเชื้อสายจาก   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิลรัตน์ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา
9  ปราโมช   Pramoja na Ayudhya   สืบเชื้อสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปราโมช  กรมขุนวรจักรธรานุภาพ   
10  พนมวัน   Phanomvan na Ayudhya   สืบเชื้อสายจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์   
11   ไพฑูรย์   Baidurya na Ayudhy   สืบเชื้อสายจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์   
12  มรกฎ   Marakata na Ayudhya   สืบเชื้อสายจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามรกฎ กรมขุนสถิตย์สถาพร   
13   มหากุล   Mahaku na Ayudhya   สืบเชื้อสายจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโต  กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์
14  มาลากุล   Mālakul na Ayudhya   สืบเชื้อสายจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
15  เรณุนันทน์   Renunandana na Ayudhya   สืบเชื้อสายจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเรณู   
16   วัชรีวงศ์   Vajrivansa na Ayudhya   สืบเชื้อสายจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายกลาง กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์   
17   สนิทวงศ์   Snidvongs na Ayudhya   สืบเชื้อสายจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม  กรมหลวงวงศาธิราชสนิท   
18  อรุณวงษ์   Arunvongse na Ayudhya   พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวงษ์ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ
19  อาภรณ์กุล   Abharanaku na Ayudhya   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์
20
บันทึกการเข้า
Rangson Boontham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50



ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 27 ม.ค. 24, 21:57

สวัสดีครับ เข้ามาอ่านด้วยใจจดจ่อ รอติดตามตอนต่อไปครับ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 28 ม.ค. 24, 10:27

            ตั้งข้อสังเกตประเด็นความว่า กรมหลวงเทพหริรักษ์ พระเจ้าหลานเธอถือว่าตนเป็นลูกพี่ ส่วนเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
เป็นลูกน้องตามที่นับด้วยวัยและลำดับอาวุโสบุพการี ทั้งที่กรมหลวงอิศรสุนทรเป็นถึงราชโอรสและว่าที่กษัตริย์องค์ต่อไป แต่
กรมหลวงเทพหริรักษ์ก็ไม่(ค่อยจะ) แสดงความยำเกรงนัก
           เรื่องนี้ มองว่า เหตุเนื่องจากต่างกำเนิดเป็นสามัญชนแล้วขึ้นมาเป็นชั้นเจ้าในแผ่นดินใหม่ยังไม่นาน ยังคงไม่คุ้นเคยกับ
จารีตธรรมเนียมในรั้วในวัง จึงยังคงประพฤติตามความคุ้นเคยเดิม
           ดังที่เคยมีเกร็ดเล่าเรื่อง - เมื่อร.1 ทรงหลั่งน้ำพระเนตร สู่พระราชโองการ “เอาธรรมเนียมอย่างไพร่ มาประพฤติเถิด”

https://www.silpa-mag.com/history/article_18316

(ตัดต่อย่อย่น)     ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ฉบับโรงเรียนหลวงสวนกุหลาบ บันทึกไว้เพียงสั้น ๆ ว่า
                      สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทอน พระชนมายุได้ยิสิบเอ็ดพรรษา ควรจะบรรพชา
อุปสมบท แต่สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ ทั้งเจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศร สองพระองค์พระชนมายุเกิน
อุปสมบทแล้ว ยังหาได้ทรงเปนภิกษุไม่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดอนุญาตให้ออกทรงผนวช
ครั้น ณ วันอาทิตย เดือนแปด ขึ้นค่ำหนึ่ง เวลาเช้าสามโมง
          จึงเสนาบดีปฤกษาให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงผนวชก่อน ถึงอ่อนพระชนมพรรษา ก็เป็น
ลูกหลวงเอก มีบันดาศักดิ์สูงกว่าสมเด็จพระเจ้าหลานเธอทั้งสองพระองค์นั้น เปนโอรสสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ พระชนม์แก่กว่าก็จริง
แต่บันดาศักดิ์ต่ำกว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอให้ทรงผนวชทีหลัง

           แต่ “เกร็ด” ที่ได้มาจากหนังสือชุมนุมพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับทำให้เราทราบว่า
 
           ครั้นถึงเวลาทรงผนวช เจ้าพนักงานได้เชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ทรงบรรพชาก่อน เจ้าคุณพระตำหนักใหญ่
(สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กรมพระเทพสุดาวดี) ที่เสด็จอยู่ในฉากใกล้ที่ประทับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทอดพระเนตร
เห็นเข้า ก็ทรงขัดเคือง บ่นว่าต่าง ๆ นานา ทรงไม่ยินยอมให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ซึ่งถือว่าเป็นน้อง จะได้ทรงผนวชก่อนพี่
            เสียง “ทรงบ่น” นี้ เข้าถึงพระกรรณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงรำคาญพระราชหฤทัย จึงมีพระราชดำรัส
ตรัสถามเหล่าขุนนางที่จัดพระราชพิธี เสนาบดีผู้ใหญ่ก็กราบทูลว่า ที่จัดดังนี้ถูกต้องแล้วตามพระราชประเพณี ที่จะให้สมเด็จพระเจ้า
หลานเธอทรงผนวชก่อนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ไม่เคยมีเยี่ยงอย่าง
            กรมพระเทพสุดาวดี เจ้าคุณพระตำหนักใหญ่ ทรงได้ฟังก็ยิ่งขัดเคือง ทรงบ่นว่าด้วยพระวาจาซึ่งคงจะรุนแรงทีเดียว
(พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงกรมพระเทพสุดาวดีว่า ทรงมีทิฐิมานะมาก และวาจาก็มักจะร้ายแรง)
            ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่ทรงสดับอยู่ ทรงพระโทมนัสจนถึงกับมีน้ำพระเนตรและมีพระราชโองการ ความว่า
    
            “จงเอาธรรมเนียมอย่างไพร่ ๆ มาประพฤติเถิด ให้จัดลำดับตามอายุเกิด ใครแก่ให้ไปหน้า ใครอ่อนให้ไปหลัง หรือตามลำดับ
บรรพบุรุษที่นับตามบุตรพี่บุตรน้องนั้นเถิด เพราะเราเกิดมาเป็นไพร่ ได้มาเป็นเจ้านายเมื่อเวลาเป็นเบื้องปลายอายุแล้ว”


            ในที่สุด เจ้าพนักงานก็ต้องจัดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอสองพระองค์ เป็นนาคเอก นาครอง ส่วนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
ต้องทรงผนวชเป็นพระองค์สุดท้าย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง