เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 7130 สุนทราภรณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 19 ม.ค. 24, 17:10

 ความพิเศษอีกอย่างของสุนทราภรณ์ ที่ไม่ซ้ำแบบเพลงร่วมสมัย   คือเพลงที่แต่งให้สถาบันการศึกษาต่างๆ  ผู้ที่ผ่านรั้วมหาวิทยาลัยน่าจะเคยได้ยินกันมาทุกคน
  เพลง "ดาวจุฬา" แต่งขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  เป็นเพลงจังหวะบีกิน  ใช้สำหรับเต้นรำ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูงในสังคมไทยยุคนั้น    เพลงนี้บันทึกเสียงสองครั้ง ครั้งแรกบันทึกกับแผ่นครั่งตราสุนัขหน้าสีเขียวเมื่อปี 2492 บันทึกครั้งที่ 2 ปีพ.ศ. 2512 คุณวินัย จุลละบุษปะขับร้องทั้งสองครั้ง
  ตำนานเพลงนี้มี 2  อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือครูเอื้อแต่งให้นิสิตคณะบัญชีจุฬา ชื่อโสภาพรรณ สุมาวงศ์บุตรสาวของพระมนูเวทย์วิมลนาท(มนูเวทย์ สุมาวงศ์) อดีตประธานศาลฎีกา กับคุณหญิงแฉล้ม  ต่อมาเธอสมรสกับ พลโทณรงค์ สาลีรัฐวิภาค   มีบุตร 5 คน หนึ่งในนั้นคือพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ
  ตำนานที่ 2 คือเพลงนี้ครูเอื้อแต่งให้คุณ พงศ์พริ้ง ศิริออร์  คนเล่าอ้างอิงว่า ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เป็นคนเล่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 20 ม.ค. 24, 08:41



ลูกสาวเคยมาถามแม่ว่า เพลงจามจุรี ศรีจุฬา เขาว่าเป็นเพลงอาถรรพณ์ใช่ไหม  ใครร้องแล้วจะเรียนไมจบต้องรีไทร์    แม่ตอบว่าสมัยแม่ไม่เคยมีความเชื่อนี้  ร้องกันมาไม่รู้กี่หนแล้วก็ยังเรียนจนจบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 20 ม.ค. 24, 08:45



เพลงนี้ต่างหากที่ไม่อยากร้อง ตอนเรียนปี 1-3 กลัวจะต้องลาจากก่อนถึงเวลา   ถ้าปี 4  แล้วก็พอร้องได้เพราะยังไงก็ไม่รีไทร์แน่
เสียงของคุณมัณฑนาเยือกเย็นโหยหวน ฟังเศร้าสลดน่าใจหาย     จนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครร้องได้เหมือนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 20 ม.ค. 24, 08:47

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 20 ม.ค. 24, 08:49

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 20 ม.ค. 24, 08:53

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 20 ม.ค. 24, 08:54

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 20 ม.ค. 24, 08:56

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 20 ม.ค. 24, 08:57

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 20 ม.ค. 24, 09:00

เพลงสถาบันทหาร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ม.ค. 24, 10:18 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 21 ม.ค. 24, 10:21

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 21 ม.ค. 24, 10:23

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 21 ม.ค. 24, 10:27

บันทึกการเข้า
พี่วรภัทรของพี่ชายใหญ่
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 21 ม.ค. 24, 17:53

ในขณะที่ผมกำลังหาข้อมูลเพื่อที่จะเขียนนิยาย "สุนทราพาฝัน" ข้อมูลที่ผมประทับใจที่สุด เห็นจะเป็นข้อความที่ครูเอื้อ สุนทรสนาน กล่าวกับครูใหญ่ นภายน ถึงหลักการบรรเลงดนตรีเพื่อการลีลาศว่า

...ใหญ่ ถ้าได้เป็นหัวหน้าวงดนตรี จงจำไว้อย่างหนึ่ง คือเวลาบรรเลงเพลงลีลาศ ไม่จำเป็นต้องให้นักดนตรีอวดฝีมือกันมาก โดยเฉพาะเครื่องดนตรีประเภทรักษาจังหวะ เช่น เปียนโน เบส กลอง กีต้าร์ ขอให้เล่นลงจังหวะให้แน่น เมื่อจังหวะแน่นแล้วพวกนักลีลาศเขาก็จะได้สนุกสนาน กับการเต้นรำที่ลงจังหวะได้พร้อมกับดนตรี

ไม่ใช่กีต้าร์ ก็เล่นโซโล่ โชว์ว่าฉันเก่งมีฝีมือ เล่นลอยไปก็ลอยมาหาจังหวะไม่ได้

ต่อไปก็กลอง คือหัวใจของวงดนตรี มีหน้าที่รักษาจังหวะ แต่กลับไปเล่นพลิกแพลงโซโล่โชว์ฝีมือ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่รักษาหน้าที่ของตัวเอง

ทีนี้ก็เบสซึ่งก็มีหน้าที่รักษาจังหวะเหมือนกัน สมควรจะดีดให้มันลงจังหวะเพื่อให้มันแน่น กลับไปเล่นแบบว่า พี่เก่งโว้ย เดิน ๔ เดิน ๘ ให้มันแสบไปทั้งวง

เหลือเปียนโนอีกตัวหนึ่งก็พึ่งจังหวะไม่ได้ ดีดเป็นน้ำไหลไฟลามทุ่ง ไม่มีแม้แต่ทำนองเพลง

แล้วจะเอาจังหวะที่ไหนไปให้เข้าลีลาศกันล่ะ!

ข้อสำคัญควรจำไว้ให้แม่น เราเล่นดนตรีเพื่อให้นักลีลาศเขาได้เต้นรำกันอย่างสนุกสนาน ไม่ใช่เล่นดนตรีให้เราสนุก แต่ถ้าอยากสนุก อยากโชว์ฝีมือให้คนเขาชม ก็ต้องถึงคราวที่เราไปเล่นโชว์บนเวทีอย่างเดียว ไม่มีใครเขาห้าม เล่นตามสบายเถิดพ่อคุณพ่อทูนหัว...

นี่คือความตั้งใจใหญ่หลวงของครูเอื้อ ที่กำหนดแนวทางดนตรีการไว้ชัดเจน จนทำให้แนวดนตรี #สุนทราภรณ์ มีความแม่นยำ หนักแน่น สมกับราชาแห่งเพลงลีลาศ และอาจจะถือได้ว่าเป็นวงดนตรีลีลาศที่ดีที่สุดในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์

ขอคารวะ และรำลึกถึงคุณูปการทางดนตรี
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด
ครูเอื้อ สุนทรสนาน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 22 ม.ค. 24, 10:55

น่าประทับใจจริงๆค่ะ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง