เรือนไทย

General Category => หน้าต่างโลก => ข้อความที่เริ่มโดย: tubtimthai ที่ 30 ก.ย. 12, 17:21



กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 30 ก.ย. 12, 17:21
สวัสดีครับ ผมเป็นสมาชิกใหม่ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ

รู้จักเว็บนี้เพราะกำลังค้นข้อมูลเรื่องทับทิมสยามอยู่ เจอเนื้อหาจากกระทู้ ว่าด้วยเรื่องรัตนชาติ http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5014.0 (http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5014.0) แล้วประทับใจจึงสมัครเป็นสมาชิกขอพูดคุยด้วยคนนะครับ

เพื่อไม่เป็นการเยิ่นเย้อขอเล่าพร้อมฝากข้อข้องใจบนบ่นไว้ในที่นี้ดังนี้ครับ

ผมเผอิญได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องราวของพลอยและทับทิมสยามโดยบังเอิญ พอลองค้นคว้าหาความรู้สักพักก็เกิดพบว่า มันมีมากมายที่เป็นเรื่องต่างคนต่างกระแสต่างทรรศนะ มีทั้งที่ออกจะดูแปลกๆ และขัดแย้งกันจนทำให้เกิดความสงสัยว่า

- จะหาคนที่เคยเห็นได้สัมผัสทับทิมสยามจริงๆ ได้น้อยมากจริงๆ หรือครับ มีใครเคยเห็นทับทิมสยามขนาด 20 กะรัตบ้างไม๊ครับ

- ผมทราบว่าปัจจุบันไม่มีใครนำทับทิมสยามออกมาขายหรือประมูลเลย นั่นเพราะผู้ครอบครองไม่อยากนำมาอวดมาขายให้ใครอีกแล้ว ทั้งที่สมัยก่อนทับทิมสยามเคยอุดมสมบูรณ์ มีการขุดออกมามากมายและกระจายไปทั่วโลก หรือที่เงียบหายไปนี้เป็นเพราะมันสูญหายตกหล่นไปตามกาลเวลา ไม่มีหลงเหลืออยู่แล้วกันแน่

- ทับทิมสยามดีเด่นกว่าทับทิมพม่าจริงหรือไม่แค่ใหน หรือเป็นเพราะเกิดต่างสมัยกันจึงเปรียบเทียบกันไม่ได้ครับ
  ผมได้ข้อมูลมาว่าทับทิมสยามโดดเด่นกว่าทับทิมของทุกชาติ แต่พออ่านบทความของต่างชาติกลับพบว่าเค้าให้ชั้นเป็นรองทับทิมพม่าจากเมือง mogok ทั้งการตั้งเกรดตั้งราคาแล้วทับทิมสยามแพงที่สุดยังเป็นรองของพม่า หรือนั่นเป็นแค่เพราะกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะทับทิมไทยหาไม่ได้แล้วจึงไม่มีประโยชน์ที่จะยกชั้นไว้ให้สูง ผมลองเมล์คุยกับฝรั่งบางคน ทั้งที่เป็นคนในวงการ เค้าบอกว่าไม่มั่นใจว่าชื่อทับทิมสยามนี้เป็นพลอยลักษณะใด แต่จากคำบอกเล่าของผู้รู้คนไทยกลับบอกว่า ทับทิมพม่านั้นเทียบทับทิมสยามไม่ได้เลย หรือเป็นเฉพาะความนิยมของแต่ละชาติๆ ไป

- ประวัติและชื่อชั้นของทับทิมไทยไม่ค่อยมีการบันทึกไว้มากนัก แทบจะเหลือเพียงเรื่องราวเล่าขาน เท่าที่บันทึกก็ไม่มีการเผยแพร่เป็นภาษาต่างชาติ ทับทิมไทยดีเด่นแค่ใหนจึงมีแค่คนไทยเท่านั้นที่รู้
   ผมศึกษา เรื่องประวัติทับทิมสยามจากอินเตอร์เน็ตเป็นหลักครับ เรื่องทับทิมไทยที่บันทึกไว้ในเว็บไทยก็เป็นเรื่องพื้นๆ แต่กับฝ่ายฝรั่งเค้ากลับเขียนเป็นตำราเป็นที่อ้างอิง ผมศึกษาจากเว็บ www.ruby-sapphile.com ในส่วนหนึ่งครับ เจ้าของเว็บเค้าเป็นฝรั่งที่มาอยู่เมืองไทยยาวนานและเป็นผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญด้านพลอย (จากคำแนะนำตัวเองที่เค้าเขียนไว้) ทุกวันนี้เค้าเป็นเป็นมือพลอยและหินสีรวมไปถึงเพชรอันดับต้นๆ ของโลกไปแล้ว เป็นคนที่เมื่อพูดอะไรเรื่องพลอยขึ้นมาแล้วคนแทบทั้งโลกจะนิ่งฟัง ทรรศนะของเค้าต่อทับทิมสยามดูไม่ค่อยดีนักเลยครับในความรู้สึกผม
   บนหน้าเว็บของเค้าก็อ้างอิงประวัติทับทิมสยามจากบันทึกเก่าๆ ของชาวฝรั่งเช่นกัน คงทำได้เท่านั้นเพราะฝ่ายไทยไม่มีบันทึกหรือมีก็เข้าไม่ถึง ฝรั่งคนนี้เค้าเขียนตำราชื่อ ruby&sapphile ที่เปรียบได้ว่าเป็นหนังสือเล่มแรกหรือหนังสือ ก. กา ที่ผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องพลอยระดับอินเตอร์ฯ ต้องอ่านและต้องเก็บไว้อ้างอิง ผมยังหามาอ่านทั้งเล่มไม่ได้เพราะขายหมดไปนานแล้ว แต่บางเรื่องจากหนังสือที่เผยแพร่บนเว็บนั้นมีอะไรหลายอย่างที่ขัดแย้งกับข้อมูลจากกระทู้ในเว็บนี้ที่ผมอ้างถึง แต่ตำรานั้นเรียกได้ว่าเป็นบันทึกประวัติศาสตร์โลกไปแล้ว ในอีกด้าน เรื่องราวความดีเด่นของทับทิมสยามของคนไทยกลับกลับเป็นแค่เรื่องบอกเล่า รู้กันแต่เฉพาะในหมู่คนไทยวงแคบๆ และกำลังเลือนหายไปหมดสิ้น ผมอยากเห็นบันทึกเรื่องทับทิมสยามอย่างเป็นแก่นสารและโต้แย้งชาติอื่นๆ ได้ในเรื่องที่ไม่ถูกต้องจริงๆ ครับ

- อีกเรื่องที่ได้ยินมาคือการเผาพลอย ใครจะเผาก่อนหลังไม่ใช่ประด็นหลัก แต่ที่เกิดการเผาจนกลายเป็นวิธีการแพร่หลายและมีอิทธิพลระดับโลกนี้เกิดที่ไทยนี่เอง เป็นเพราะไฟใหม้ตลาดพลอยเมืองจันทร์ฯ หลังไฟสงบเจ้าของร้านก็เข้าไปเขี่ยหาพลอยของตัวเองจากกองขี้เถ้า ความเรื่องเผาพลอยแล้วสวยขึ้นจึงเกิดและระบาดไปทั่วโลก อันนี้เคยมีไฟใหม้ตลาดจริงหรือเปล่าครับใครทราบบ้าง

- ปัจจุบันชื่อเสียงการเผาพลอยในสมัยใหม่นี้ไทยโด่งดังที่สุด ผู้ให้กำเนิดตำราเผาพลอยก็คนไทยนี่แหละ และคนเดียวกันนี้ก็ให้กำเนิดวิธีเผาพลอยแบบเติมแก้วด้วย เรื่องนี้ทำให้คนไทยมีชื่อเสียงและไถูกพูดถึงอย่างชื่นชมในความช่างคิดไปทั่วโลก แต่อีกด้าน ฝรั่งต่างชาติบางกลุ่มกลับตำหนิอย่างรุนแรงต่อเรื่องนี้ ตอนนี้ชื่อเสียงของไทยเรื่องพลอยเริ่มด่างพร้อยแล้ว กระแสนิยมกลับตีกลับไปหาพลอยธรรมชาติที่ไม่มีการเติมแต่งเป็นอย่างมาก ผมผมเองก็เห็นผู้คนบน ebay เริ่มพูดคุยกันหลายกระทู้แล้วว่า "ถ้าคิดจะซื้อพลอยหรืออัญมณีอย่าซื้อที่ทำจากจีนและไทย เพราะมันเป็นของเกรดต่ำเกือบ 100%"
   ที่จริงมันก็เผากันทั้งโลกนั้นแหละ (กว่า 90%) แต่ประเทศไทยถูกตีตราไปแล้วจากผู้ซื้อนี่สิ อันนี้ว่ามันน่ากลัวมาก (แต่รัฐบาล/ผู้ค้าพลอยไทย/สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กลับกำลังมุ่งไปทางสนับสนุนการแต่งเติมนี้อย่างเต็มตัว)

ขอบคุณครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 30 ก.ย. 12, 18:47
ไม่มีความรู้เรื่องธุรกิจอัญมณีเลยค่ะ    เรื่องทับทิมพม่าและทับทิมสยามก็เหมือนกัน
รู้แต่ว่าสมัยก่อน 1960s  ไม่เคยได้ยินชื่อทับทิมสยาม  แต่รู้จักพลอยสีแดงของจันทบุรี     ทับทิมอย่างเดียวที่ได้ยินชื่อคือทับทิมพม่า

คุณทับทิมไทยถามแบบมืออาชีพ    เห็นจะต้องส่งไม้ต่อให้คุณ Naitang   ขอให้ใช้สิทธิ์พาดพิงอีกครั้ง

พอดีไปเจอเว็บนี้ค่ะ เลยเอามาลงไว้ให้พิจารณา
ทับทิมสยาม แหล่งใหญ่อีกแหล่งหนึ่ง ของทับทิม ที่ปัจจุบันแทบจะเหลือแต่แหล่ง ไม่ค่อยเหลือเม็ดทับทิม ไว้ให้ขุดสักเท่าไร แต่ถ้าดูในตลาดทับทิมของไทย ก็ดูยังครองตลาดเกินครึ่งกว่าทับทิมจากแหล่งอื่น ในสมัยที่พม่ายังรุ่งเรือง ก่อนปี 1962 ทับทิมไทยแทบจะไม่เป็นที่สนใจ ของเหล่าพ่อค้าพลอยเลย ด้วยความที่ ทับทิมไทย มีสีแดงคล้ำมากกว่า ส่วนใหญ่ติดสีม่วง แม้ว่าจะมีขนาดใหญ่กว่า สะอาดกว่าก็ตาม แต่พอพม่า เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 1962 และปิดการทำเหมืองพลอยอย่างเป็นทางการหมด จึงทำให้พลอยพม่า หายากมากขึ้น จะมีให้เห็นบ้าง ก็จากการประมูลปีละครั้ง ของรัฐบาล หรือจากพวกที่ลักลอบนำออกมา ซึ่งนับเป็น ปริมาณที่น้อยมาก ทับทิมไทย จึงได้โอกาสแจ้งเกิด ประกอบกับการค้นพบกรรมวิธี ที่เรียกว่า Cooking หรือ เผาพลอย ทำให้ทับทิมไทยที่เคย ติดม่วง หรือแดงคล้ำ กลับสุกใส ไร้สีอื่นเจือปน จนแทบแยกไม่ออก ว่าเม็ดไหนของไทย เม็ดไหนของพม่าราคาของทับทิมไทย

ในปัจจุบันจึงสูงกว่า สมัยก่อนมาก โดยเฉพาะภายหลัง จากการลดค่าเงินบาทในปี 1985 ราคาทับทิมไทย สูงขึ้นประมาณ 30 - 50 % และในตลาดส่วนใหญ่ ก็มีแต่เพียงทับทิมไทยขาย จึงทำให้ทับทิมไทย ครองตลาดเกินกว่าครึ่ง ในตลาดโลก ลูกค้าที่ซื้อทับทิมจากไทย มีทุกตลาด อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และศูนย์กลาง การซื้อขายทับทิมของโลก จะอยู่ที่กรุงเทพฯ

ทับทิมไทย มีสีแดงเข้ม โทนสีมืด อาจเป็นแดงส้ม (แดงลายไทย) แดงดำ แดงติดม่วง (น้ำเงิน) หรือ แดงชมพู ทับทิมขนาดใหญ่เกือบ 100 % ผ่านการเผามาแล้ว เพราะปรับปรุงสี

ถ้าดูด้วยเครื่องฟลูออเรสเซ็นส์ ทับทิมไทย จะเฉื่อยในคลื่นสั้น ไม่แดงเหมือนทับทิมพม่า และเวียตนาม ส่วนรอยตำหนิภายใน มักพบของเหลว 2 phase เป็นแผ่นฟิล์มบางๆ และตำหนิแบบดาวเสาร์ ที่เป็นผลึกอยู่ตรงกลาง Fingerprint หรือพบตำหนิรูปเส้นเข็มหรือ หรือ Repeated Twining ผลึก และผลึก Nagative และตำหนิของเหลวพวก Fingerprint แต่สังเกตว่าจะไม่พบเส้นเข็มรูทิลภายในพลอยไทย รวมทั้งไม่ค่อยจะพบแถบสี หรือเส้นสี หรือ หรือ Treacle ภายในด้วย

 http://www.weloveshopping.com/template/e1/show_article.php?shopid=22655&qid=66056


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ก.ย. 12, 21:31
ทับทิม เป็นแร่ตระกูลคอรันดัม ซึ่งไทยเรียกว่า "กะรุน" ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ชนิดครับ

๑. ทับทิม (สีชมพู จนถึงแดง)

๒. แซบไฟร์ (สีอื่น ๆ)

ทับทิมสยามนั้นแหล่งเกิดที่จันทบุรี และตราด มีสีแดงอมม่วง เล็กน้อยครับถือเป็นแหล่งที่กำเนิดทับทิมที่มีคุณภาพสวยมาก ส่วนพลอยพม่าจะมีสีแดงอมชมพูต่างกันชัดเจน



กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 30 ก.ย. 12, 21:43
งานวิจัยของ รัก หรรษจเวก ฝ่ายแร่รัตนชาติ กองเศรษฐธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ได้เปิดเผยความเป็นมาของการเผาพลอยไว้ว่า ไม่ต่ำกว่า 100 ปีมาแล้วที่คนไทยรู้จัก การหุงพลอย หรือ การเผาพลอยเพทายที่นำมาจาก บ่อข่า จังหวัดรัตนคีรี ประเทศเขมร เพทายที่นำมาเผาจะได้สีน้ำทะเลเข้มลึก


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  เผาพลอย ต้นกำเนิดที่เริ่มจากความบังเอิญ  (http://www.google.co.th/webhp?sourceid=toolbar-instant&hl=th&ion=1&qscrl=1&rlz=1T4GFRE_thTH327TH328#hl=th&qscrl=1&rlz=1T4GFRE_thTH327TH328&sa=X&ei=RFloUOqMJ4bXrQf024CQCw&ved=0CBwQvwUoAQ&q=%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2&spell=1&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.&fp=8cc54c457575558d&biw=1659&bih=762&ion=1)


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 01 ต.ค. 12, 01:32
ขอบคุณทุกท่านที่ตอบครับ

ขอบคุณคุณเทาชมพูที่หาข้อมูลมาให้ เนื้อความที่อ้างถึงผมตีประเด็นได้หลายทาง แต่ตามไปอ่านแล้วก็คิดว่านี่คงเป็นมุมมองของผู้ค้าพลอยที่อยากให้ผู้ซื้อคล้อยตาม ที่น่าห่วงคือตลาดผู้ซื้อมันกว้างและตลาดต่างชาติเค้าคิดอีกอย่างไม่เหมือนเรา โดยเฉพาะประโยคที่เขียนว่า

"คำว่า ทับทิมพม่า ทับทิมสยาม ทับทิมซีลอน จะใช้เป็นเพียงพื้นฐานของคุณภาพสีเท่านั้นคือใช้เป็นสื่อแทนสี มิได้เกี่ยวข้องกับแหล่งที่เกิดเลย กล่าวคือ อาจพบทับทิมที่มีสีเหมือนกับทับทิมสยามในพม่า หรืออาจพบทับทิมสีเหมือนทับทิมพม่าในไทย ได้เช่นกัน"

นั้นผมว่าค่อนข้างผิดมหันต์ เหล่าสถาบันผู้ตรวจสอบรับรองคุณภาพชั้นนำสามารถตรวจหาแหล่งที่มาที่น่าจะเป็นของทับทิมแต่ละเม็ดได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ การกล่าวสีเหมือนกันมาจากที่ใหนก็เหมือนๆ กัน อันตรายครับ หากผู้ซื้อซื้อสินค้าราคาแพงไปแล้วเมื่อนำไปขอใบรับรองและพบว่าถูกหลอกหรืออ้างชื่อทับทิมประเทศอื่น ความน่าเชื่อถือของผู้ขายจะไม่เหลืออีกต่อไป เหมือนกล่าวว่าส้มเขียวหวานมาจากประเทศใหนๆ ก็เหมือนกัน เทรวมกันแล้วคัดสีคัดขนาดให้เป็นกลุ่มๆ แล้วบอกส่งๆ ไปว่ามาจากใหนสักแห่งที่ดูน่าเชื่อก็เสร็จเรื่องไปอย่างนั้นเลยครับ แล้วไม่งั้นเราก็ซื้อ "ทับทิมสังเคราะห์" จากจีนมาขายก็ได้ เจ้านั้นเค้าขายเป็นกิโล (เช่น http://www.alibaba.com/product-gs/524371634/High_Quality_Rough_Ruby_Stone.html (http://www.alibaba.com/product-gs/524371634/High_Quality_Rough_Ruby_Stone.html)) เฉลี่ยแล้วตกกะรัตไม่กี่บาท สวยกว่าของแท้อีกครับ แนวความคิดของประโยคที่ผมยกมาจึงน่าห่วงมาก

ขอบคุณคุณ siamese ที่ให้ข้อมูลครับ เรื่องเผาพลอยผมไม่ค่อยติดใจ ใครจะเผาก่อนเผาหลังก็เผาเหมือนกัน บางคนว่าเพราะไฟใหม้ตลาด บางคนว่าเพราะไฟใหม้บ้านพ่อค้าพลอย ส่วนคนฝรั่งบางคนอ้างถึงย้อนไปไกลถึงอียิปต์โน่น ส่วนตัวผมเองสนใจพลอยธรรมชาติไม่เผาหรือทำอะไรนอกจากล้างน้ำเปล่า อาจจะเป็นที่ความชอบครับ

ส่วนเรื่องสีของพลอยนี่ยังเป็นเรื่องยาว พลอยบ่อใหม่ของพม่า (Mong Hsu) คุณภาพไม่ดีในบทความนี้ก็เขียนถึง http://www.ruby-sapphire.com/flux_healing_mong_hsu_ruby.htm (http://www.ruby-sapphire.com/flux_healing_mong_hsu_ruby.htm) ในนั้นระบุเป็นนัยๆ ว่าคนที่เผานั้นเป็นคนไทย ซึ่งเค้าไม่ชื่นชอบ โดยเฉพาะเผาแบบเติมองค์ประกอบอื่นลงไป สถาบันรับรองบางแห่ง เช่น GIA ถือว่าไม่ใช่ทับทิมเลยทีเดียว แต่ปัญหาใหญ่คือ "ทรรศนะและการฝังค่านิยม" ของเรากำลังมุ่งสวนกับกระแสของต่างชาติอย่างแรง ที่สำคัญไทยคือตัวการใหญ่ที่ทุกคนกำลังโทษอยู่ตอนนี้ครับ

ส่วนเหมือง mogok ที่โด่งดัง ที่สีสวยนั้นก็เป็นเม็ดที่เป็น 1 ใน 1,000 หรือ 1 ใน 10,000 ซะด้วย ถ้าเทียบกับทับทิมสยามระดับเดียวกันผมว่าไม่แน่ วันนี้พม่าเองก็ยอมรับอย่างชัดเจนแล้วว่าของเค้าไม่ใช่สีเลือดนก แต่เป็นสีของตานกพิรายเผือก ผู้คนเข้าใจผิดไปเองต่างหาก จาก http://www.mogok-rubies.com/mogok_rubies.php (http://www.mogok-rubies.com/mogok_rubies.php) ในข้อความ

อ้างถึง
The color Pigeon Blood Ruby red, is not associated with the color of a pigeon’s blood but rather the color of a white pigeon’s eye. So many have made this mistake.

ซึ่งก็แปลก ความจริงก็ไม่มีใครระบุได้แน่ชัดว่าสีเลือดนกพิราบเป็นสีแดงแบบใหน (บันทึกเก่าๆ ของฝ่ายตะวันตกก็ยอมรับไว้เช่นนี้) อันที่จริงไม่มีใครอยากเห็นหรืออยากลองเอานกพิราบมาเชือดดู แต่ที่ผมว่าแปลกคือสีของเลือดหมูยังเป็นสีของเลือดไม่ใช่สีของตาหมูเผือกซักหน่อย แต่สีเลือดนกกลับไม่ใช่ซะอย่างนั้น

สีแดงแบบทับทิมแดงของพม่าในความคิดผมคิดว่ามันแดงแบบแก้วสี มองอีกทีเหมือนแก้วใส่น้ำแดง ฝรั่งนิยามว่าเป็น vivid red อันนั้นตรงที่สุดแล้ว

แต่แดงแบบในตำนานมีคนกล่าวว่า มันเหมือนหยดเลือดที่หยดออกมาจากตัวนกพิราบใหม่ๆ แดงแบบเหมือนมีน้ำเต้นระริกอยู่อย่างนั้น อันนี้เขียนพรรณาเกินจริงไว้หรือไม่ไม่ทราบ แต่ถ้าแดงแบบทับทิมไทยผมบอกได้ว่ามันเป็นอีกแบบ ไม่สวยใสเหมือนของพม่าเค้า บางเม็ดที่สวยเห็นได้ชัดเลยว่าเป็นแดงแต่เป็นแดงแบบเปื้อนเลือด คือถ้าเอาวางไว้เดินถอยห่างมาหน่อยรู้สึกได้ชัดเลยว่าเหมือนชิ้นเนื้อสดๆ ที่หั่นมาใหม่ๆ วางอยู่ และเป็นชิ้นเนื้อมีเลือดฉ่ำอยู่เหมือนจะไหลหยดได้จริงๆ

ไม่รู้เหมือนกันว่านั่นจะดูเหมือนชิ้นเนื้อของนกพิราบใหม หรืออาจจะแค่ชิ้นเนื้อวัว ไม่รู้ว่าผู้คนจะชอบสีแดงฉูดฉาด (vivid red) ของพม่าไปซะแล้วทั้งหมด ถ้าเช่นนั้นแดงแบบเลือดไม่ว่าจะเป็นเลือดนกฟ้าหรือเลือดพญาครุฆก็คงไม่มีความหมาย เพราะแดงแบบเลือดได้เปลี่ยนไปเป็นแดงแบบตานกพิราบเผือกไปซะแล้ว

สำหรับผมตอนนี้ที่ยังไม่เคยเห็น "ทับทิมพม่าธรรมชาติ" ที่สวยแบบในรูป ถ้าตามในรูปยอมรับว่าทับทิมพม่าแดงสวยกว่า ใสกว่า อันนี้จริง แต่เรื่องที่ว่าของพม่าเค้าเป็นที่หนึ่ง และทับทิมไทยเทียบชั้นไม่ได้เลยนั้นผมยังสงสัยอยู่ จึงอยากตามหาบันทึกหรือข้อมูลจากปากผู้รู้ถึงตอนสมัยที่ทับทิมไทยรุ่งเรืองนั้นว่าสู้เค้าได้หรือไม่ อย่างไรครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: Sujittra ที่ 01 ต.ค. 12, 11:03
ผมไม่มีความรู้เรื่องเพชรพลอยหรอกครับ แต่อ่านในกระทู้แล้วเกิดความงง ผมถามตนเองว่า ถ้าทับทิมแบ่งออกเป็นทับทิมและแซบไฟร์ (ตามความเห็นของท่านSiamese) ถ้าผมไปพบหินที่มีค่าก้อนหนึ่งที่สีไม่แดงถึงชมพู ผมควรจะเรียกว่า ทับทิม(ชื่อในภาพรวม)หรือแซบไฟร์(ชื่อเมื่อถูกจัดเป็น subgroup แล้ว) และถ้าผมเรียกว่า ทับทิม ผู้อ่านจะทราบได้อย่างไรว่า ผมหมายถึงทับทิม(ในภาพรวม) หรือทับทิม(ที่เป็นsubgroup)
เพื่อความกระจ่างก็เลยลองถามอากู๋และน้าวิกิ ได้ความดังนี้ครับ

แร่รัตนชาติ หรือ รัตนชาติ (อังกฤษ : gemstone) เป็นกลุ่มประเภทของแร่ประเภทหนึ่ง โดยหมายถึง แร่หรือหินบางชนิด หรืออินทรียวัตถุธรรมชาติที่นำมาเจียระไน ตกแต่ง หรือแกะสลัก เพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ มีความงาม ทนทาน และหายาก โดยปกติแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ เพชร และพลอย ซึ่งหมายถึง อัญมณีทุกชนิดยกเว้นเพชร หากผ่านการตกแต่งหรือเจียระไนแล้ว เรียกว่า อัญมณี นอกจากนี้ สารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิตที่อาจจัดเป็นรัตนชาติได้แก่ ไข่มุก และปะการังและอำพัน
รัตนชาติหรืออัญมณี เป็นผลึกที่มีมลทินอยู่ภายใน ทำให้มีสีต่าง ๆ กันไป มีความแข็ง สามารถเจียระไนให้เกิดมุม เพื่อให้เกิดการกระจายแสงเห็นความแวววาว มลทินในแร่ ทำให้แร่มีสีต่าง ๆ กัน แร่คอรันดัมบริสุทธิ์ เป็นสารพวกอะลูมิเนียมออกไซด์ มีสีขาว ถ้ามีมลทินจำพวกโครเมียมผสม ทำให้มีสีแดง เช่นทับทิม ส่วน เหล็ก ไทเทเนียม ทำให้มีสีน้ำเงิน (ทับทิมกับไพลิน เป็นแร่คอรันดัมเหมือนกัน แต่มีมลทินต่างชนิดกัน)
เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินอัญมณีได้แก่ ความแข็ง (ตาม Moh's scale), ความถ่วงจำเพาะ และค่าดัชนีหักเหของแสง
ดัชนีหักเหของแสง เป็นค่าคงที่ของอัญมณีแต่ละชนิด จึงใช้ตัดสินว่าเป็นของปลอมหรือไม่ ความแข็งของแร่ก็มีผลต่อราคาของอัญมณีด้วย จึงนำมาทดสอบ โดยการขูดขีดกัน (อาจใช้ตะไบ มือ เหรียญทองแดง มีดพับ, กระจก ทดสอบ) แร่ที่มีรอยขูดขีดจะอ่อนกว่า ซึ่งทดสอบได้

ประเภทของรัตนชาติ

พลอย หรือหินสี ที่สำคัญได้แก่
พลอยในตระกูลคอรันดัม ซึ่งประกอบด้วย Al2O3 โดยมี Al : O = 52.9 : 47.1 โดยมวล การที่พลอยแต่ละชนิดมีสีต่างกันเป็นเพราะมีธาตุเจือปนที่ต่างกัน เช่น ทับทิม มีสีแดง เพราะมี โครเมียม เจือปนอยู่ 0.1 – 1.25 โดยมวล บุษราคัม (แซฟไฟร์สีเหลือง) มี เหล็ก และไทเทเนียม เจือปน ไพลิน (แซฟไฟร์สีน้ำเงิน) มีสีน้ำเงินเพราะมี เหล็ก และ ไทเทเนียม เจือปน พลอยสาแหรก หรือสตาร์ มีรูไทล์ปนอยู่ในเนื้อพลอย
พลอยในตระกูลควอทซ์ เช่น อเมทิสต์ ซิทริน อาเกต เป็นต้น
เพชร เป็นธาตุคาร์บอนที่บริสุทธิ์ มีความแข็งแรงมากที่สุด เพชรที่ดีจะต้องไม่มีสี (ถ้ามีสีสวยงามในกลุ่ม เหลือง ชมพู ส้ม แดง น้ำเงิน จะมีราคาสูงกว่าเพชรสีขาวมากๆเรียกว่า Fancy Diamond)

รัตนชาติไทย

หากจะแปลตามตัว รัตนชาติ ที่เดิมเขียนกันว่า รัตนชาต ก็จะแปลไว้ว่า สิ่งที่ถือกำเนิดมาเป็นแก้ว (รัตน=แก้ว ชาต=เกิด) ซึ่งในประเทศไทยเอง ก็พบว่ามีรัตนชาต ๙ อย่างอันเป็นมิ่งมงคล แต่บางชนิดหายากหรือหาไม่พบในประเทศไทยปัจจุบันแล้ว
รัตนชาต ทั้ง ๙ หรือเรียกว่า นพรัตน์ นั้น โบราณท่านผูกเป็นบทกลอนไว้ว่า
   
เพชรดีมณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์

ซึ่งตามคำกลอนดังกล่าว ไม่ได้เรียงตามระดับราคาหรือค่าความแข็งแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้พบว่าชื่อเรียกในโบราณนั้น ปัจจุบันสามารถหมายถึงรัตนชาตชนิดอื่นได้เช่นกัน ถ้าอ้างอิงตามกลอนบทนี้ สามารถถอดความเป็นรัตนชาต ๙ อย่างได้ดังนี้
๑. เพชรดี หมายถึง เพชร แร่รัตนชาติสีขาว (Diamond)
๒. มณีแดง หมายถึง ทับทิม แร่รัตนชาติสีแดง (Ruby)
๓. เขียวใสแสงมรกต หมายถึง มรกต แร่รัตนชาติสีเขียว (Emerald)
๔. เหลืองใสสดบุษราคัม หมายถึง บุษราคัม แร่รัตนชาติสีเหลือง (แซฟไฟร์สีเหลือง)
๕. แดงแก่ก่ำโกเมนเอก หมายถึง โกเมน แร่รัตนชาติสีเลือดหมู (Garnet)
๖. สีหมอกเมฆนิลกาฬ หมายถึง แซฟไฟร์ แร่รัตนชาติสีน้ำเงิน(ไพลิน) (แซฟไฟร์สีน้ำเงิน)
๗. มุกดาหารหมอกมัว หมายถึง มุกดา หรือ จันทรกานต์ แร่รัตนชาติสีขาวขุ่นคล้ายสีหมอก มีลักษณะพิเศษมีเหลือบรุ้งสีออกฟ้าสีนวล (Moonstone)
๘. แดงสลัวเพทาย หมายถึง เพทาย แร่รัตนชาติสีแดงเข้ม (Hyacinth) เขียนอีกอย่างหนึ่งว่า (Yellow Zircon) (ซึ่งเป็นรัตนชาตชนิดเดียวกัน)
๙. สังวาลสายไพฑูรย์ หมายถึง ไพฑูรย์ เป็นอัญมณีหรือหินสีชนิดหนึ่งหรือแร่รัตนชาติ มีหลายสีเช่น สีเหลืองนวล สีเหลืองทอง สีน้ำผึ้ง สีเขียวแอปเปิล สีน้ำตาล ฯลฯ (Chrysoberyl-cat eye)

ทับทิม หรือ มณี ,รัตนราช,ปัทมราช (อังกฤษ: Ruby) เป็นรัตนชาติชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูลคอรันดัม(Corundum)เช่นเดียวกับบุษราคัม ไพลิน เขียวส่องและ Fancy shappire มีความแข็งรองจากเพชร เป็นที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับมาก เพราะมีสีสวยและมีความแข็งแกร่งเปล่งประกายจับตา เป็นที่นิยมมากกว่าอัญมณีสีแดงชนิดอื่นๆ มนุษย์รู้จักทับทิมมานาน กษัตริย์มักนำมาประดับมงกุฏและสวมใส่ออกขณะรบ เป็นที่แพร่หลายมากๆในชมพูทวีป ทับทิมในภาษาสันสกฤตโบราณคือ "ratanraj" หมายถึงเจ้าแห่งอัญมณีทั้งปวง จนทับทิมถูกขนานนามว่าอัญมณีแห่งราชา ในประเทศไทยนั้นถือว่าทับทิมเป็นอัญมณีหนึ่งในนพรัตน์ โดยธรรมชาตินั้นทับทิมมักมีเนื้อขุ่น ตำหนิมากบางชิ้นทึบแสงดูไม่สวยงามดังนั้นทับทิมในท้องตลาดส่วนใหญ่ผ่านการเพิ่มคุณภาพด้วยความร้อนมาแทบทั้งสิ้น สีที่นับว่าหายากและราคาแพงมหาศาลคือ สีแดงสดแบบเลือดนกพิราบเนื้อใสสะอาดสมบูรณ์แบบทั้งสัดส่วนและประกายขนาด 3-4กะรัตอาจจะมีราคาสูงกว่า 7 หลัก ถ้าสูงกะรัตกว่านี้จะหายากมากๆราคาอาจถึง 8หลักเลยทีเดียว

ผิดถูกอย่างไรต้องขออภัยด้วยครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 01 ต.ค. 12, 14:09
ผมไม่มีความรู้เรื่องเพชรพลอยหรอกครับ แต่อ่านในกระทู้แล้วเกิดความงง ผมถามตนเองว่า ถ้าทับทิมแบ่งออกเป็นทับทิมและแซบไฟร์ (ตามความเห็นของท่านSiamese) ถ้าผมไปพบหินที่มีค่าก้อนหนึ่งที่สีไม่แดงถึงชมพู ผมควรจะเรียกว่า ทับทิม(ชื่อในภาพรวม)หรือแซบไฟร์(ชื่อเมื่อถูกจัดเป็น subgroup แล้ว) และถ้าผมเรียกว่า ทับทิม ผู้อ่านจะทราบได้อย่างไรว่า ผมหมายถึงทับทิม(ในภาพรวม) หรือทับทิม(ที่เป็นsubgroup)
เพื่อความกระจ่างก็เลยลองถามอากู๋และน้าวิกิ ได้ความดังนี้ครับ

ทับทิม หรือ มณี ,รัตนราช,ปัทมราช (อังกฤษ: Ruby) เป็นรัตนชาติชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในตระกูลคอรันดัม(Corundum)เช่นเดียวกับบุษราคัม ไพลิน เขียวส่องและ Fancy shappire มีความแข็งรองจากเพชร เป็นที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับมาก เพราะมีสีสวยและมีความแข็งแกร่งเปล่งประกายจับตา เป็นที่นิยมมากกว่าอัญมณีสีแดงชนิดอื่นๆ มนุษย์รู้จักทับทิมมานาน กษัตริย์มักนำมาประดับมงกุฏและสวมใส่ออกขณะรบ เป็นที่แพร่หลายมากๆในชมพูทวีป ทับทิมในภาษาสันสกฤตโบราณคือ "ratanraj" หมายถึงเจ้าแห่งอัญมณีทั้งปวง จนทับทิมถูกขนานนามว่าอัญมณีแห่งราชา ในประเทศไทยนั้นถือว่าทับทิมเป็นอัญมณีหนึ่งในนพรัตน์ โดยธรรมชาตินั้นทับทิมมักมีเนื้อขุ่น ตำหนิมากบางชิ้นทึบแสงดูไม่สวยงามดังนั้นทับทิมในท้องตลาดส่วนใหญ่ผ่านการเพิ่มคุณภาพด้วยความร้อนมาแทบทั้งสิ้น สีที่นับว่าหายากและราคาแพงมหาศาลคือ สีแดงสดแบบเลือดนกพิราบเนื้อใสสะอาดสมบูรณ์แบบทั้งสัดส่วนและประกายขนาด 3-4กะรัตอาจจะมีราคาสูงกว่า 7 หลัก ถ้าสูงกะรัตกว่านี้จะหายากมากๆราคาอาจถึง 8หลักเลยทีเดียว

ผิดถูกอย่างไรต้องขออภัยด้วยครับ

คือแร่ในตระกูลคอรันดัม มีสองอย่างครับ คือ ตระกูลทับทิม (สีแดง) อย่างหนึ่งกับอีกตระกูลคือพวกแซบไฟร์ (สีอื่น ๆ เช่นสีเขียว สีน้ำเงิน รวมทั้งชมพูอ่อน ๆ ก็มีครับ)


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 02 ต.ค. 12, 12:06
ขอเสริมตามประสาคนเพิ่งศึกษานะครับ

ทับทิมเป็นชื่อเรียกเฉพาะของพลอยสีแดงครับ ส่วนพลอยสีอื่นมีชื่อเรียกอย่างอื่น แต่ไม่โด่งดังและแพงเท่าแต่ความจริงก็เป็นพลอยเหมือนกัน อีกความจริงคือพลอยสีอื่นบางเม็ดราคาแพงกว่าทับทิมเกรดทั่วๆ ไปก็เยอะครับ

แต่การจัดสีของพลอยว่าแดงแค่ใหนจึงเรียกว่าทับทิมนั้นค่อนข้างซับซ้อน เพราะมันมีสีแดงอ่อน ทีแดงเข้ม สีแดงปนสีอื่น หรือสีชมพูเข้มๆ เต็มไปหมด แต่ผู้ค้าทั้งโลกย่อมอยากจัดพลอยชมพูของตัวเองเป็นทับทิมกันทั้งนั้นเพราะแพงกว่า ตอนนี้จึงมีพลอยชมพูที่ถูกเรียกว่าทับทิมเต็มไปหมด แต่ผู้ซื้อบางกลุ่มก็มีเหมือนกันที่ไม่ชอบสีจัดหรือสีแดงเข้มแต่ชอบสีแดงอมชมพูหรือสีชมพูเข้มมากกว่า และไม่ขัดใจที่จะเรียกมันว่าทับทิมด้วย แต่สำหรับองค์กรที่ออกใบรับรองให้อัญมณีบางแห่งมีเกณฑ์ด้านสีที่เข้มงวดมาก สีแดงอ่อนหรือเข้มไปก็ไม่จัดเป็นทับทิมในขณะที่องค์กรอื่นจัดเป็นทับทิมอยู่ก็มีครับ

ตอนนี้ทับทิมจากพม่าหรือแหล่งอื่นเกือบทั่วโลกแทบจะเป็นพลอยสีชมพูแทบทั้งหมด อาจมีแค่ 1 ใน 10,000 หรือ 1 ใน 100,000 เท่านั้นที่จะเรียกได้ว่าเป็นทับทิมจริงๆ ส่วนทับทิมไทยมีปัญหาคือมันสีเข้ม ติดม่วง ติดน้ำตาล ติดทึบ จนจะกลายเป็นโกเมนไปซะเยอะ จึงเป็นปัญหาที่ต่างกันไป แต่ถ้านับเป็นโทนแดงโดยภาพกว้างๆ แล้ว ของไทยออกโทนแดงมากกว่าของที่อื่น และยังมีพลอยไทยบางเม็ดที่เป็นพลอยใสแต่เจือสีแดงนิดหน่อย (แดงเข้มไม่ติดชมพู)  ถูกเรียกว่าเป็น siam red diamond ก็มีเหมือนกัน

แต่ทับทิมสยามหายไปจากตลาดนานมากแล้ว ที่เหลือขุดได้ในช่วงประมาณ 10-20 ปีหลังนี่ก็เป็นทับทิมเม็ดเล็กไม่กี่กะรัต (น้อยกว่า 3 กะรัต) น่าจะทั้งหมดถูกหุงและเจียรนัยแล้ว (เพราะพ่อค้าเข้าใจว่ามันเป็นวิธีมาตรฐานที่จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ลูกค้าน่าจะชอบแบบนี้ตลอดไป) ส่วนที่ยังเป็นเม็ดเดิมๆ เกรดสูงและขนาดใหญ่ (เกิน 3 กะรัต) น่าจะหมดไปจากโลกแล้ว มันจึงทำให้ผมสงสัยว่าทับทิมว่าทับทิมไทยที่ขุดได้ก่อนหน้านั้นหายไปใหน มีคนบอกผมว่ามันยังมีอยู่ แต่คนที่ครอบครองไม่ยอมเปิดเผยหรือนำออกขายไม่ว่าจะราคาแพงแค่ใหน เพราะมันทรงคุณค่าเกินกว่าจะตั้งราคาได้ ผมฟังๆ ดูแล้วก็มีเค้าครับ เพราะเท่าที่ไดด้ยินมาลางๆ ทับทิมสยามเม็ดที่แม้ไม่ใช่เม็ดเอกชั้นเลิศเจ้าของก็ไม่คิดที่จะขายหรือแม้จะเอามาอวดให้ใครรู้ใครเห็นแล้วครับ

ตอนนี้มันจึงเหลือแค่ทับทิมพม่า โดยเฉพาะถ้าเป็นทับทิมจากเหมือง mogok จะแพงมาก ใครๆ ก็ร้องหาแต่ทับทิม mogok เพราะสวยและหายาก ตอนนี้ทับทิมเม็ดแพงสุดเป็นของจาก mogok ซึ่งราคาสูงกว่า 500,000 USD ต่อกะรัต และทับทิมจาก mogok ตอนนี้ก็เริ่มมีสภาพไม่ต่างจากทับทิมสยามเข้าไปทุกวันๆ

ความจริงตลาดทับทิมมีทั้งตลาดที่เปิดเผยและตลาดที่ปิดเงียบ ทับทิมเม็ดสวยถูกขายเปลี่ยนมืออย่างถูกต้องแบบเงียบๆ แม้จะราคาสูงมากแต่ก็ไม่เป็นข่าวเพราะผู้ซื้อผู้ขายต้องการให้เป็นเช่นนั้น ของล้ำค้าบางอย่างก็นำภัยมาให้หากอวดอ้างมากไป จึงมีผู้ผู้บางคนปฏิเสธที่จะซื้อหากข่าวแพร่ออกไปก็มี ผมคิดว่าทับทิมสยามอาจเคลื่อนไหวอยู่ในตลาดนี้ และอาจหยุดเคลื่อนไหวเปลี่ยนมือไปนานแล้วด้วยก็ได้เพราะผู้ซื้อตลาดนี้ซื้อแล้วมักไม่ขายต่อ เก็บไว้เป็นแก้วประจำเมืองอย่างเงียบๆ ตลอดไป ความเชื่อว่าของบางอย่างเป็นของมงคลและให้คุณแก่ผู้ครอบครองนั้นมีอยู่ทั่วโลก ไม่ใช่เป็นเฉพาะคนไทยเท่านั้นนะครับ

ศึกษามาถึงตอนนี้ผมก็คิดว่า การจะตามหาข่าวทับทิมสยามนั้นคงเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้แล้ว แม้จะทำเพื่อกู้ศักดิ์ศรีคืนหรืออะไรก็ตามที ถึงจะตามหาเจอหรือมีคนเอาออกมาขายก็คงไม่พอกับความต้องการ

น้อยใจหน่อยๆ ที่คนไทยไม่บันทึกหรืออยากโต้แย้งแทนกันเท่าไหร่ ตอนนี้ตลาดทับทิมโดยเฉพาะฝรั่งมังค่ากำลังสนุกกับการยกระดับทับทิมพม่ากันใหญ่ หนึ่งในวิธีการคือกดทับทิมสยามให้ต่ำชั้นลงไป เรื่องราวบันทึกดีๆ ที่บันทึกไว้ก็ถูกลืมหรือไม่ก็หยิบมาโต้แย้งหักล้างทิ้งไป แต่ก็อย่างว่าเพราะมันไร้ประโยชน์แล้ว ของดีแค่ใหนแต่ไม่มีของขายก็ป่วยการจะโพนทนาให้เหนื่อยแรง คงประมาณนี้มั๊งครับ

แต่ก็ยังอยากตามหาคำบอกเล่าหรือบันทึกเก่าๆ ของทับทิมสยามอยู่ดีครับ ผมยังเชื่อว่าทับทิมสยามเป็นหนึ่งเหนือทับทิมใดๆ ทั้งโลกอยู่ครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 ต.ค. 12, 20:21
ถูกพาดพิงมาสองสามวันแล้ว ขอนุญาตลงเวทีด้วยครับ

มีเรื่องที่ต้องแยกออกจากกัน คือ เรื่องของความเป็นสินค้าเพื่อการค้าขาย (trade) เรื่องของความเป็นทรัพยากร (resource) เรื่องของความมีค่าแบบ tangible (ราคา) เรื่องของความมีคุณค่าแบบ intangible (วิชาการ)  เรื่องทั้งหมดนี้ไปเกี่ยวข้องในเชิงของความคิดทางเศรษฐกิจในเรื่องของ costing กับ pricing

ruby มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินที่แปลว่า สีแดง 
ผมเองยังมีความเชื่อลึกๆว่า รากเง่าของคำว่า รัตนชาติ แต่ดั้งเดิมแท้ๆก็อาจจะมาจาก รัตนชาด (ที่แปลว่าแก้วสีแดง) และแม้คำว่า ธงชาติ ก็อาจจะมาจาก ธงชาด (ธงแดง) เช่นกัน  ซึ่งอาจจะเป็นเหตุบังเอิญที่คำว่า ชาติ นั้น เมื่อใช้แทนที่คำว่า ชาด ก็ให้ความหมายไปในทางที่หมายถึงกลุ่มหรือตระกูล ซึ่งครอบคลุมความต้องการที่จะกล่าวถึง     ผมมีเห็นส่วนตัวว่า ในอดีตกาลนั้นสีแดงคือสีที่ทำให้เกิดขึ้นได้ง่าย แล้วก็เป็นสีที่สามารถใช้แสดง mark ในหลายๆเรื่อง เพราะว่าเห็นได้ง่าย

สีแดงแต่ดั้งเดิมของมนุษยชาตินั้น ทำได้จากผงของแร่เหล็กที่พบได้ทั่วไปทุกแห่งหน สีผงนี้ในทางวิชาการเรียกว่า  streak     ลองเอาเม็ดข้าวตอกพระร่วง (ของสุโขทัย) มาขีดบนกระเบื้องผิวหยาบสีขาว ก็จะได้เส้นสีแดงๆ และหากทุบให้ละเอียดก็จะได้ผงเป็นสีแดงเช่นกัน   แม้กระทั่งสีของผิวไม้หรือต้นไม้หลายๆอย่างที่เราเอามาดองเหล้าก็จะให้สีออกสีแดง ไวน์แดงก็ให้สีแดง เหล้าวิสกี้ที่บ่มในถังไม้โอ๊ค (ที่เผาด้านใน) ก็ให้สีแดง  จำได้ว่าจนในช่วงต้นๆศตวรรษ 1800 จึงได้มีสีแดงสำหรับการใช้งานทั่วๆไปที่ทำมาจากกระบวนการผลิตทางเคมี

เมื่อเป็นเช่นนี้ ในกาลครั้งหนึ่ง พลอยตามธรรมชาติสีแดงจึงกลายเป็นสิ่งที่ต้องการมาก ส่วนหนึ่งก็เพราะว่า รัตนชาด (แก้วสีแดง) นี้  แม้ว่าที่เกิดตามธรรมชาติและตกสะสมอยู่ตามลำห้วยลำธารนั้นจะสามารถเก็บหากันได้ แต่ก็มีน้อยมากที่จะเป็นเม็ดขนาดใหญ่ๆ  ซึ่งก็ปรากฏว่าเม็ดขนาดเขื่องๆพอที่จะเอามาโชว์กันได้นั้นหากันได้ไม่มากนัก ยิ่งขนาดใหญ่มากเพียงใดก็จะยิ่งแสดงถึงสถานะของความมีอำนาจมากเท่านั้น เพราะว่าหากไม่แน่จริงก็คงจะไม่สามารถครอบครองได้ (จะด้วยการอ้างสิทธิ การยึด ฯลฯ หรือด้วยวิธีการใดก็ตาม)

ในทางวิชาการแล้ว ผลึกแร่สีเหล่านี้ มีทั้งความแข็ง (hardness) ความเหนียว  (toughness) ความเปราะ (brittle) และความถ่วงจำเพาะต่างๆกัน  ซึ่งให้ผลต่อความทนทานต่อสภาพการกัดกร่อนในขณะถูกนำพามาสะสม ซึ่งตกอยู่ในบริเวณที่มีลักษณะทางกายภาพของแหล่งที่มาสะสมกันไม่เหมือนกัน    ผลึกแร่สีแดง เช่น โกเมน (garnet ชนิดต่างๆ) เปราะมากว่าทับทิม จึงพบเป็นเม็ดเล็กๆขนาดไม่ใหญ่กว่าเมล็ดทราย  ผลึกแร่โกเมนขนาดใหญ่จึงต้องแกะมาจากจุดที่พบอยู่ในหินที่เป็นสายแร่ที่ให้แร่นี้    ทับทิมซึ่งเป็นผลึกของแร่ คอรันดัม (corundum) นั้น เป็นพวกแร่ประเภทที่ทั้งแข็ง ทั้งเหนียว และทนทานต่อสภาพการกัดกร่้อนทั้งหลาย และมีความถ่วงจำเพาะมากกว่าเม็ดทรายตามปรกติ จึงเหลือให้เห็นเป็นเม็ดหรือก้อนที่ใหญ่กว่าเม็ดทรายและก็จะตกสะสมร่วมอยู่ในชั้นกรวดเป็นหลัก       

ค่อยๆว่าต่อกันนะครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ต.ค. 12, 12:04
มาเพิ่มเรตติ้งให้กระทู้ค่ะ

ตอนเด็กๆ ดิฉันเห็นทับทิมเจียระไนแบบเดียวคือแบบหลังเบี้ย   ไม่มีเหลี่ยม   ถ้าเป็นพลอยแดงเจียระไนเหลี่ยม  แม่เรียกว่าพลอยแดง    ราคาน้อยกว่าทับทิม
ส่วนพลอยเผาให้มีสีสวยเรียกว่าพลอยหุง    แม้สีสวยมาก แต่ก็ไม่ถือกันว่าเป็นของแท้

ภาพประกอบ
สร้อยพระศอทับทิม ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีเจ้าฟ้า  เป็นแบบหลังเบี้ย


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ต.ค. 12, 13:56
สร้อยพระศอสวยมากนะครับ

อันที่จริงแล้วทับทิมนั้นได้มีการพบตลอดแนวทิวเขาที่เรียกว่า Alpine Himalayan ซึ่งวางตัวยาวต่อเนื่อง (แบบหยาบๆนะครับ) ตั้งแต่เทือกเขาแอลป์ในยุโรปต่อเนื่องผ่านอิหร่าน ปากีสถาน อินเดียตอนเหนือ ลงมาจนถึงพม่าและจีน แล้วแตกปลายออกไป ลงมาทางอาราขันของพม่าก็มี ผ่านเข้าไปลาวตอนบนก็มี ทิวเขานี้แทบจะเป็นแนวแบ่งเขตทวีปยุโรปกับอัฟริกา และยุโรปกับเอเซีย (ในภาพรวม)
 
ทิวเขานี้เกิดจากปูดขึ้นของเปลือกโลกเนื่องจากการชนกันของแผ่นทวีป ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดแรงอัด (pressure) และอุณหภูมิ (temperature) สูงขึ้น ยังผลให้หินแปรเปลี่ยนสภาพจากหินตะกอนหรือหินชั้น (sedimentary rocks) ไปเป็นหินแปร (metamorphic rocks) ในระดับการแปรที่รุนแรงต่างกัน (degree of metamorphism)    ในกระบวนการแปรเปลี่ยนที่เกิดขึ้นกับหินภายใต้ความร้อนและความดันนั้น ได้ทำให้เกิดผลหลายประการ แต่จะไม่กล่าวในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะสองเรื่องที่ปรากฏ คือ เกิดการสลับสับเปลี่ยนของธาตุ (เคมี) โดยเฉพาะจะมีการเคลื่อนย้ายธาตุเหล็กและแมกนีเซียมเข้าไปเพิ่ม (หรือเปลี่ยนแร่เดิมให้เป็นแร่อีกชนิดหนึ่ง) กับเกิดการเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพของตัวหินให้เกิดมีการเรียงตัวของแร่ในเนื้อหิน

ในบริเวณที่เป็นหินปูน จะถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นหินอ่อน (recrystallized limestone และ marble_ กรณีไม่มีธาตุอื่นเข้ามาปน) และหินโดโลไมท์ (dolomite_กรณีมีธาตุแมกนีเซียมเข้ามาปนร่วอยู่อด้วย)   ในกระบวนการแปรเปลี่ยนของหินนี้มีกจะมีหินอัคนี (igneous rocks) โดยเฉพาะหินอัคนีที่มีองค์ประกอบของแร่อยู่ในกลุ่มหินแกรนิต แทรกซอนเข้ามาด้วย ซึ่งในระยะสุดท้ายของการแทรกซอนของกลุ่มหินแกรนิตนี้ จะมีน้ำแร่ร้อนและแกสที่มีธาตุหลายๆอย่างละลายอยู่ (hydrothermal) ที่ทำตัวเสมือนอ่างผสมธาตุต่างๆให้เกิดเป็นแร่ต่างๆ ตกผลึกบ้าง ละลายออกไปบ้าง ตามเส้นทางที่มันแทรกซอนไป  ผลที่ได้ อย่างหนึ่งคือ การเกิดแร่เป็นผลึกค่อนข้างใหญ่ แยกจากกันเป็นเม็ดๆ ธรรมชาติเขาใจดี เขาเลยใส่สีให้กับแร่เหล่านี้โดยการเจือธาตุที่ให้สีลงไป ออกเป็นสีแดงบ้าง ชมภูบ้าง เขียวบ้าง ฟ้าบ้าง ฯลฯ  เมื่อหินผุพังลงไป แร่เหล่านี้ก็เลยถูกน้ำพักพาไหลไปรวมกองกับหินอื่นๆ ภาษาทางเหมืองแร่แถบบ้านเราเรียกชั้นที่มีการสะสมของแร่ที่ขุดนำออกมาใช้ได้นี้ว่า ชั้นกะสะ (deposit layer หรือ placer deposit)

ทับทิมก็เกิดและพบในลักษณะนี้ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีหินอ่อนอยู่ร่วมกับหินแปร    ดังที่เล่ามาครับ ทับทิมจึงมีการพบตลอดทิวเขา Alpine Himalayan เป็นแหล่งใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ตามแต่ธรรมชาติ   ทับทิมจึงมีการพบในหลายประเทศ  จะด้วยลักษณะทางสังคมบางอย่างกระมัง พวกที่เราเรียกว่าแขกขาวจึงมีความสนใจและขุดออกมาใช้กัน  ก็คงจะไม่แปลกอีกนะครับ เรื่องของบรรดาพลอยสีต่างๆจึงจะมีชื่ออิหร่านและอินเดียอยู่ด้วยเสมอ

วิชาการแบบอ่านง่ายๆ (หรือเปล่า??) ครับ ที่เล่ามาก็เพียงเพื่อบอกกล่าวถึงกระบวนการกำเนิดและลักษณะทางธรณีวิทยาบางประการที่เกี่ยวข้องกับทับทิมและหินสีหรือพลอยสีบางชนิดอื่นๆ 



กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ต.ค. 12, 14:20
มาเพิ่มเรตติ้งให้กระทู้ค่ะ

ตอนเด็กๆ ดิฉันเห็นทับทิมเจียระไนแบบเดียวคือแบบหลังเบี้ย   ไม่มีเหลี่ยม   ถ้าเป็นพลอยแดงเจียระไนเหลี่ยม  แม่เรียกว่าพลอยแดง    ราคาน้อยกว่าทับทิม
ส่วนพลอยเผาให้มีสีสวยเรียกว่าพลอยหุง    แม้สีสวยมาก แต่ก็ไม่ถือกันว่าเป็นของแท้


ผมเข้าใจว่า พลอยหลังเบี้ย หรือ หลังเต่า นำมาเข้าแหวนทรงมอญก็สวย ล้อมเพชรก็งามเป็นการเจียแบบโบราณ ซึ่งใช้พลอยดิบมาเจียจึงมีค่ามากกว่า พลอยเจียเหลี่ยมซึ่งอาจจะเป็นพลอยหุงปนเข้ามาก็ได้ครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ต.ค. 12, 14:21
อ่านง่ายขึ้นค่ะ   นักเรียนในชั้นนี้อยู่แค่ม.ปลายสายศิลป์เท่านั้นนะคะ
เอารูปมหาราชามาเสริม   ท่านเหล่านี้ประดับเพชรพลอยกันเพียบ   ดูแล้วตาลาย


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ต.ค. 12, 14:22
ทับทิมของมหาราชา


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 04 ต.ค. 12, 14:34
คงจะด้วยเส้นทางที่คนโบราณใช้เดินเชื่อมต่อกันระหว่างยุโรปกับเอเซีย ที่เรียกกันว่าเส้นทางสายใหมนี้ ผ่านแหล่งทับทิมมากมายหลายแหล่ง ซึ่งผมคิดว่าน่าจะมีการพบกันแล้วในสมัยนั้น แต่สีของทับทิมที่พบกันตลอดแหล่งนั้น อาจจะไม่เตะตาถูกใจ หรือไม่ก็ไม่สามารถจะซื้อหาได้เนื่องจากผู้ครองอิทธิพลตามเส้รทางนั้นไม่ปล่อยขาย หรือไม่ก็กลัวถูกปล้นในระหว่างการเดินทาง ตอนหลังเมื่อยุโรปเข้ามามีอิทธิพลและครองหลายประเทศในเอเซีย จึงได้พบว่ามา อ้อที่พม่านี้แหละคือทับทิมที่มีสีถูกใจ และเม็ดใหญ่งามได้ที่ทีเดียว ก็คงจะเป็นลักษณะนี้แหละครับที่ทับทิมพม่าถึงได้ดังไปทั่ว

ตอนหลังได้รู้ว่าทับทิมแถบเขตต่อแดนไทยกับเขมรนั้นก็มีเหมือนกัน จึงเรียกชื่อแยกออกมาว่าทับทิมสยาม

ในทางวิชาการ ทับทิมสยามก็มีการกำเนิดต่างกันกับทับทิมของพม่า  ของเรานั้นเกิดมาจากกระบวนการแปรของหินที่เรียกว่า contact metamorphism เป็นเรื่องของการแปรด้วยความร้อนเป็นหลัก (high temperature low pressure) ซึ่งได้มาจากหินละลาย (หินลาวาที่เรียกว่าหิน basalt) ที่แทรกตัวแผ่ปกคลุมพื่นที่หินดินดานที่มีปริมาณของธาตุอะลูมิเนียมสูง หินละลายบะซอลท์นี้มีธาตุเหล็กและแมกนีเซียมอยู่ในเนื้อสูงมาก   ในขณะที่ของพม่าอยู่ในพื้นที่ที่เกิดกระบวนการแปรของหินที่เรียกว่า regional metamorphism     แม้ว่าจะเป็นแร่เดียวกันแต่สีสรรและความสว่างใสต่างกัน

ฝอยไปเรื่อยๆ คงยังไม่เบื่อนะครับ หมดเรื่องทางวิชาการแล้วครับ จากนี้ไปก็จะเป็นเรื่องของคุณค่าและราคา


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 04 ต.ค. 12, 14:53
หนังสือภูมิศาสตร์สยาม พ.ศ. ๒๔๖๘ ราคาเล่มละ ๒ บาท ๕๐ สตางค์


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ต.ค. 12, 15:08
หาภาพทับทิมมาประกอบกระทู้   ไปเจอเข้าวงหนึ่ง ของดาวค้างฟ้าลิซ เทเลอร์  ซึ่งนำออกประมูลหลังเธอถึงแก่กรรมแล้ว
เป็นแหวนทับทิมสีแดงสดบริสุทธิ์   ขนาด 8.24 กะรัต ล้อมเพชร    ของขวัญจากสามีดาราใหญ่ด้วยกัน ริชาร์ด เบอร์ตัน ให้เป็นของขวัญคริสต์มาสในค.ศ. 1968  
แหวนวงนี้ตั้งราคาไว้ 1.5 ล้านดอลลาร์    เอาเข้าจริงประมูลขายไปในราคา $4,226,500 ดอลลาร์   เอาสามสิบกว่าคูณเข้าไปเองถ้าหากว่าอยากทราบเป็นราคาเงินไทยนะคะ

ป้าลิซมีคอลเลคชั่นเครื่องเพชรจากสามีหลายคนที่เธอเคยแต่งงานด้วย    ที่เด่นๆก็คือไมค์ ทอดด์ และริชาร์ด เบอร์ตันที่ชอบซื้อเพชรพลอยให้ภรรยาเป็นหลักประกันฐานะ

สงสัยว่าทับทิมของป้าลิซเป็นทับทิมน้ำขนาดไหนกันนี่   ทำไมแพงนัก   อ้อ ในเว็บเขาเรียกว่า pigeon red ruby  แปลว่าทับทิมสีเลือดนกพิราบค่ะ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 04 ต.ค. 12, 15:14
นี่คือต่างหูทับทิมของป้าลิซเช่นกัน   ของกำนัลจากสามีอีกคน ชื่อไมค์ ทอดด์ เป็นผู้กำกับหนังฮอลลีวู้ด   
ห้างคริสตี้นำออกมาประมูล ทีแรกประเมินราคา ว่าน่าจะได้ระหว่าง 80,000 – 120,000 ดอลลาร์   เอาเข้าจริงมีคนประมูลไปในราคา 782,500 ดอลลาร์   เจ็ดเท่าของที่ประเมิน


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 04 ต.ค. 12, 19:05
มาติดตามอ่าน เรื่องเพชรนิลจินดา น่าสนใจอยู่แล้วสำหรับผู้หญิง แต่ผู้รู้จริงกลับเป็นผู้ชาย...


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 04 ต.ค. 12, 19:19

อ้างค.ห.11คุณ Siamese

ผมเข้าใจว่า พลอยหลังเบี้ย หรือ หลังเต่า นำมาเข้าแหวนทรงมอญก็สวย ล้อมเพชรก็งามเป็นการเจียแบบโบราณ ซึ่งใช้พลอยดิบมาเจียจึงมีค่ามากกว่า พลอยเจียเหลี่ยมซึ่งอาจจะเป็นพลอยหุงปนเข้ามาก็ได้ครับ
  
 นอกจากเรื่องรัตนชาติแล้ว มีอีกสิ่งที่น่าสนใจคือการทำเรือนรองรับ....
 ฝีมือช่างทองไทยตามภาคต่างๆมีเอกลักษณืของตนเอง เช่น สุโขทัย เพชรบุรี อยุธยา
 ไม่ทราบว่านอกจากหนังสือช่างทองไทย ที่อาจารย์ท่านหนึ่งเคยเขียนไว้นานแล้ว
 เน้นฝีมือช่างทองเพชรบุรี แล้วมีหนังสืออื่นๆอีกไหมคะ

 แหวนทรงมอญ หน้าตาเป็นอย่างไรคะ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 07 ต.ค. 12, 16:05
ขอบคุณสำหรับคำตอบที่มีค่ามากมายนี้ครับ ผมมั่นใจน่าจะหาอ่านเอ่านจากตำราฝรั่งไม่ได้แน่ๆ ครับ

ขอเสริมเรื่องราวจากที่ได้ศึกษามาเพิ่มลงในนี้ต่อนะครับ ผิดถูกอย่างไรช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

- ความเข้าใจเรื่องการ "หุงพลอย" นั้นเข้าใจว่า ตอนนี้ไม่ใช่เรื่องลึกลับเหมือนแต่ก่อนแล้ว เริ่มมีตำราวิชาการเรื่องการเผาพลอยออกมาเผยแพร่ให้หาศึกษาได้ไม่ยากนัก เตาเผาพลอยที่มีคุณภาพและดีที่สุดก็ทำโดยฝรั่งไปแล้ว ซึ่งน่าจะแถมการอบรมบางอย่างมาด้วย อีกอย่างฝ่ายโน้นเล่นเจาะลึกถึงขั้นระดับโมเลกุลเคมีเพื่ออธิบายปรากฏการด้านสีและความโปร่ง ทั้งก่อนและหลังเผาเป็หลักวิทยาศาสตร์แบบถึงแก่นไปเลย ด้านนี้อาจก้าวไปไกลกว่าช่างไทยแล้วก็เป็นได้

- แท่นเจียรนัยเราก็ยังซื้อจากเมืองนอกทั้งหมดอยู่ เราไม่มีผู้ผลิตเองเลย มีข้อมูลให้เห็นบ้างก็แท่นเจียฯ อุตสาหกรรมที่ ม. จุฬาฯ ผลิตเท่านั้น แต่ยังไม่เป็นเชิงพานิชย์
  ส่วนทางอินเดียนั้นนอกจากที่มีพลอยป้อนอุตสาหกรรมอัญมณีของตัวเองแล้วความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเจียรนัยก็ยังค่อนข้างล้ำหน้ากว่าไทย แม้ฝีมือการออกแบบยังเป็นรองแต่ถ้าหากเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกไม่นานก็คงก้าวข้ามประเทศไทยไปได้ไม่ยาก

- มนุษย์สามารถสร้างอัญมณีจากห้องแล็ปได้เกือบทุกชนิดแล้ว บางอย่างเช่นทับทิมสามารถสร้างเป็นจำหน่ายระดับอุตสาหกรรมได้นานแล้ว สวิสเซอร์แลนด์เป็นผู้นำเข้ารายอัญมณีและเครื่องประดับใหญ่ที่สุดของไทย แต่ก็เป็นผู้ส่งออกทับทิมที่สร้างในโรงงานอันดับหนึ่งของโลกด้วย เพียงแต่ทับทิมสร้างนี้มุ่งเน้นไปที่การใช้งานในอุตสาหกรรมอย่างอื่นที่ไม่ใช่เครื่องประดับ ประกอบกับความนิยมในของแท้จากธรรมชาติยังเข้มข้นอยู่ ราคาของทับทิมจึงไม่ตกลงแต่นับวันจะเพิ่มสูงขึ้น

- ทับทิมแพงกว่าเพชรแต่ก็ยังเป็นรองเพชรสีที่หายากๆ ทับทิมพม่ามีฐานราคาสูงกว่าทับทิมสยาม เพียงแต่ทับทิมน้ำเอกจากเหมืองโมก็อกนั้นพอมีปรากฏให้เห็น แต่ทับทิมสยามน้ำหนึ่งหายไปนานแล้ว ผมจึงยังคงสงสัยอยู่ว่าเทียบฐานราคากันอย่างไร

- ราคาทับทิมแบ่งตามเกรด จึงจะต้องกำหนดเกรดก่อนโดยกำหนดจากความอิ่มของสี ตามมาด้วยความโปร่ง มลทิลในเม็ด (สิ่งปลอมปน) เมื่อจัดเกรดได้แล้วจึงคำนวนราคาตามขนาดน้ำหนักโดยคิดเป็นกะรัต โดย 1 กะรัตเท่ากับ 0.2 กรัม และ 1 ก.ก. จะหนัก 5,000 กะรัต เม็ดใหญ่ๆ เกรดสูงๆ จะหาได้ยาก เพราะของที่เกิดตามธรรมชาตินั้นอะไรที่ขนาดใหญ่ก็ยิ่งมีโอกาสถูกปลอมปนมาก และโดยการใช้งานก็จะใช้ในขนาดไม่ใหญ่นัก เช่น หัวแหวน จะใช้ 1-3 กะรัต ใหญ่หน่อยก็ขึ้นไป 5-7 กะรัต ส่วนสร้อยก็ใหญ่ขึ้นไปหน่อย ส่วนเม็ดขนาดที่ใหญ่มากๆ เช่น 100 กะรัต ก็น่าจะทำอย่างอื่นไม่ได้แล้วนอกจากประดับบนมงกุฎ (อันนี้พอเห็นได้เลาๆ แล้วว่าถ้าวาสนาไม่มีบารมีไม่ถึงแล้ว การจะครอบครองทับทิมเม็ดใหญ่ๆ นั้นอาจไม่เป็นคุณแก่ตัว)

- ราคาซื้อขายไม่เหมือนเพชร ราคากลางสำหรับซื้อขายทับทิมไม่มีข้อกำหนดแน่นอน ราคาอาจมีตังแต่ 10 USD จนไปถึง 150,000 USD ต่อกะรัต สาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคานั้นมีมากมายจนแทบจัดเป็นศาสตรชั้นสูงอีกสาขาได้เลยก็ว่าได้ ตอนนี้ราคาประเมิลพื้นฐานที่ "สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)" ลงประกาศไว้ที่นี่ http://www.git.or.th/thai/info_center/gems_price_list/colored_stone_prices/2012/09/2012_cstones_09.pdf (http://www.git.or.th/thai/info_center/gems_price_list/colored_stone_prices/2012/09/2012_cstones_09.pdf)
ผมสรุปราคาทับทิมดิบขนาด 1 กะรัต ไว้คร่าวๆ ตรงนี้คือ

เกรด    ราคา/กะรัต
(Fine)
  6-7      1,300-2,200 USD/carat
  7-8      2,200-2,600 USD/carat
(Extra Fine)
  8-9      2,600-4,000 USD/carat
  9-10    4,000-7,750 USD/carat

เม็ดขนาด 1 กะรัตที่สวยๆ เท่าที่ทราบนั้นพอหาได้ แต่ใหญ่กว่านั้นถึงสวยก็เป็นเกรดสูงยากเพราะมลทินมาก ราคานี้ดูเหมือนจะแพงนะครับ แต่ราคาจริงๆ ที่ซื้อขายสำหรับเกรดดีๆ นั้นสูงกว่านี้

  *ที่สำคัญ ระดับราคาก็พุ่งสูงขึ้นตามขนาด ผมเรียกมันว่าสูตรระเบิดนิวเคีร์ยเพราะสูตรคำนวนของมันคือ
        ราคา = ราคาต่อกะรัต x ขนาดยกกำลังสอง
   ตัวอย่างเช่น
        ผมมีทับทิมดิบเม็ดสวยเกรด 9 ขนาด 14 กะรัต หากผมจะขายผมก็จะตั้งราคาที่ 4,000 x (14x14) = 784,000 USD
        หรือตกที่ราคา 56,000 USD ต่อกะรัต
        และเมื่อเจียรนัยเสร็จน้ำหนักอาจหายไป 40% จะเหลือ 8.4 กะรัต จึงตกที่ราคาอย่างน้อยราว 93,333 USD ต่อกะรัต

        ดังนั้เมื่อผมขายได้ ผมก็อาจได้เงินถึงประมาณ 23,520,000 บาทจากการขายทับทิม 1 เม็ด (โดยเฉพาะว่ากันว่าถ้าใครมีทับทิมสยามตอนนี้ราคานั้นอยู่ที่ปากกันเลยทีเดียวครับ)

  น่าเสียดายที่ผมจะไม่ได้เงินก้อนนี้เพราะไม่รู้จะไปขายให้ใครและขายที่ใหน และที่สำคัญมันเป็นเรื่องที่ผมสมมุติเอาครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 07 ต.ค. 12, 16:40

อ้างค.ห.11คุณ Siamese



 แหวนทรงมอญ หน้าตาเป็นอย่างไรคะ

ทรงมอญ จะเป็นการเข้าตัวเรือนโดยไม่ใช้หนามเตย เป็นการเข้าตัวเรือนแบบฝังมีการยกขอบขึ้นมาหุ้มไว้แทน มักจะมีบ่าใหญ่ จะล้อมเพชรหรือไม่ล้อมก็ตามใจชอบ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 07 ต.ค. 12, 16:50
ไม่เห็นภาพก็นึกไม่ออกหรอกครับ นี่ ทรงมอญทุกวงเลย


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ต.ค. 12, 18:08
คุณค่า กับ มูลค่า มีความต่างกัน คุณค่าเป็นเรื่องทางนามธรรม ส่วนมูลค่าเป็นเรื่องทางรูปธรรม แต่ทั้งสองเรื่องนี้ได้นำมาผนวกกัน เลยทำให้ไม่สามารถกำหนดมาตรฐานได้  พลอยสีจึงไม่มีราคามาตรฐานสำหรับการอ้างอิง ขึ้นอยู่กับสี ความสว่าง มลทิน ขนาด ฯลฯ  ต่างกับเพชรที่พอจะสามารถกำหนดราคามาตรฐานได้ เพราะว่าใสไม่มีสี (จึงแทบจะไม่มีเรื่องทางนามธรรม) มีเพียง inclusion ซึ่งเป็นจุดเล็กมากๆจนต้องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์จึงจะเห็น และซึ่งได้ใช้เป็นตำหนิประจำตัวของเพชรแต่ละเม็ด

ราคาของทับทิมและพลอยสีอื่นๆ จึงไปขึ้นอยู่กับการกำหนดตามความต้องการข้องผู้ขายและราคาที่ฝ่ายผู้ซื้อพอใจที่จะจ่ายเงินซื้อไป ราคาสุดท้ายก็คือราคาที่ทั้งฝ่ายผู้ขายและฝ่ายผู้ซื้อพอใจ     ซึ่งในหมู่พรรคพวกของฝ่ายผู้ขายก็จะมีความเห็นทั้งในด้าน ขายถูกไปหรือขายได้ราคาดี และในหมู่พรรคพวกของฝ่ายผู้ซื้อก็จะมีความเห็นทั้งในด้าน ซื้อมาในราคาที่ถูกหรือซื้อมาในราคาที่แพงเกินไป เช่นกัน

ราคาของพลอยยังไปขึ้นอยู่กับปริมาณที่ผลิตออกสู่ตลาด ซึ่งไปพัวพันถึงเรื่องของกระบวนกรรมวิธีการในการขุดหาด้วย  แหล่งพลอยเกือบทั้งโลกจึงมักจะป็นการขุดหาด้วยแรงคน มีเครื่องจักรกลเข้าไปช่วยอยู่เพียงเล็กน้อย ระบบนี้ ทำให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างคุณค่าและมูลค่า และยังทำให้เกิดมีการกระจายโอกาสให้กับคนในวงกว้างและในทุกระดับเศรษฐกิจ ที่จะได้เชยชมกันในระยะเวลานาน    หากทำการขุดพลอยในลักษณะการทำเป็นเหมืองด้วยเครื่องจักรกลทันสมัยทุกขั้นตอน เมื่อนั้น พลอยในแหล่งนั้นๆก็จะหมดไปอย่างรวดเร็ว  พลอยนั้นๆก็จะกลายเป็นของเก็บที่มีราคาขายต่อสูงมาก เป็นโอกาสของคนรุ่นเก่ากลุ่มน้อย คนรุ่นใหม่ต่อๆมาจึงเกือบจะไม่มีโอกาสได้เชยชมเลย   ไพลินของ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุร๊ และพลอยจันทบุรี รวมทั้งทับทิมสยาม ได้หมดไปด้วยการขุดหาด้วยวิธีการทำเหมืองแร่ด้วยเครื่องมือสมัยใหม่นี้เอง (ผนวกกับความมีอย่างจำกัดของทรัพยากร)   

 


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 07 ต.ค. 12, 18:53
ในความเห็นและความรู้ที่พอมีส่วนตัวของผมนั้น
 
ผมเห็นว่า ทิบทิมพม่านั้นมีส่วนผสมของธาตุในปริมาณมากพอที่จะให้ความสว่างสดใสเปล่งปลั่งขึ้นมา (เหมือนผิวของมุก) เมื่อกระทบกับแสงอัลตราไวโอเล็ต (UV) ทำให้เกิดผลที่เรียกว่า fluorescence   ดังนั้น แม้กระทั่งจะเจียรนัยแบบหลังเต่า (หรือหลังเบี้ย) และใส่ในเรือนแหวนที่เรียกว่าแบบทรงมอญ ก็ยังเปล่งประกาย โดยเฉพาะในการใส่ในช่วงเวลาก่อนเที่ยงวัน ซึ่งเป็นช่วงที่แสงจากดวงอาทิตย์ให้แสงครบความยาวของทุกคลื่นแสงที่ผสมออกมาเป็นแสงสีขาว (white light) อย่างสมดุลย์ โดยเฉพาะในซีกโลกด้านเหนือ (ละติจูดสูงๆ แถบประมาณ 40 องศาเหนือ)  สำหรับผมนั้น จึงไม่ค่อยจะแปลกใจนักที่ทับทิมพม่าจึงเป็นที่นิยมอย่างมากของคนในยุโรป   

สำหรับทับทิมสยามนั้น มีธาตุที่ให้ผลทาง fluorescence น้อยกว่า โดยธรรมชาติเองทับทิมสยามก็จะมีสีที่ทึบกว่า การเจียรนัยแบบหลังเบี้ยและใส่ในแหวนทรงมอญจึงไม่เปล่งประกาย แต่หากเจียรนัยแบบ facet แล้วใส่ในวงแหวนแบบเกาะด้วยหนามเตย ให้ส่วนก้นของพลอย (pavilion) ลอย  ก็จะเปล่งปลั่ง เล่นกับแสงไฟได้ระยิบระยับดีมากๆ  ทับทิมสยาม (ในสายตาของของผม) ใช้ใส่่ในเวลางานกลางคืนที่มีแสงไฟจากหลายแหล่ง (นีออน และหลอดไฟธรรมดา) จะเด่นกว่ามาก โดยไม่ต้องใช้เพชรเป็นองค์ประกอบช่วยขับความเปล่งปลั่งให้กับทับทิม

ทำยังกับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเลยนะครับ   

   


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 08 ต.ค. 12, 11:09
ทับทิมสยาม (ในสายตาของของผม) ใช้ใส่่ในเวลางานกลางคืนที่มีแสงไฟจากหลายแหล่ง (นีออน และหลอดไฟธรรมดา) จะเด่นกว่ามาก โดยไม่ต้องใช้เพชรเป็นองค์ประกอบช่วยขับความเปล่งปลั่งให้กับทับทิม


แสดงว่าคุณตั้งเคยเห็นทับทิมสยามมาแล้วอย่างใกล้ชิดแน่เลย จึงบรรยายได้ถึงการสะท้อนแสง....ชัดเจน

ขอบคุณsiamese  คุณ NAVARAT.C ที่อธิบายและนำภาพประกอบแหวนทรงมอญมาให้ดูคะ

ดิฉันเรียกแบบนี้ว่าแบบหุ้มขอบ ต่างกับแบบมีหนามเตยเกาะอัญมณี ตรงการยอมให้แสงผ่านด้านข้างของเม็ดพลอย
ถ้าพลอยสีสว่าง ทำแบบทรงมอญก็แข็งแรงดี แต่ถ้าสีเข้มมาก ทำแบบหนามเตยก็จะส่งประกายได้งามกว่า.
โดยเฉพาะทับทิมเนื้อแก้ว และเนื้อแพรที่มีความใส

ถึงตรงนี้ ขอเรียนถามว่า ทับทิมที่ทึบแสง กับที่โปร่งแสงมากๆ มีส่วนผสมของธาติต่างกันมากไหมคะ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ต.ค. 12, 11:20
Al2O3, Aluminium oxide เป็นองค์ประกอบหลักของทับทิมในรูปการตกผลึก ทั้งนี้การตกผลึกของทับทิมก็แล้วแต่ว่าองค์ประกอบของสารรอบข้างมีอะไรบ้าง หากมีแร่ธาตุองค์ประกอบของเหล็กและโครเมียมเข้าไปผสมเจือจาง ก็ทำให้ทับทิมออกมาสีหนึ่ง หากมีเหล็กและโครเมียมเข้าผสมมากก็แดงจัดเป็นต้น

กรณีเช่นนี้ ยกตัวอย่าง "เพชร" จะเห็นง่ายที่สุด ซึ่งเพชรแฟนซีมีหลายสี เช่น เหลือง แดง ชมพู น้ำเงิน ดำ ก็เกิดจากแร่ะาตุต่าง ๆ เข้าไปผสมในเนื้อ จะมากหรือจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับแร่ธาตุที่ปนเข้าไปในเนื้อเข้มข้นมากน้อยแค่ไหนเท่านั้น


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ต.ค. 12, 11:23
แหวนมอญที่คุณ siamese เรียก   แม่ดิฉันเรียกว่าแหวนหัวมอญ    รูปทรงแบบเดิมเป็นแบบเกลี้ยงๆ อย่างในรูปซ้าย   ส่วนรูปขวามีการออกแบบเรือนให้สวยวิจิตรประณีตขึ้นมา
แม่ยังเล่าต่อว่าแหวนหัวมอญแบบนี้  เป็นที่นิยมกันในหมู่เศรษฐีเจ้าของสวน  เป็นเรือนทองเกลี้ยงๆ หัวฝังเพชรเม็ดเดี่ยว  ไม่มีเพชรล้อมหรือออกแบบลวดลายใดๆ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ต.ค. 12, 11:25
สร้อยทับทิมจากห้างคาเทียร์ชุดนี้เป็นสมบัติของป้าลิซที่ได้จากสามี ไมค์ ทอดด์      เป็นทับทิมอินเดีย พม่า หรือสยาม ก็สุดจะเดา  รู้แต่ว่าราคาแพงพันลึกมโหฬาร 


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 08 ต.ค. 12, 13:08
ผมเคยจำคลับคล้ายได้ว่า  ทับทิมพม่านั้นจะมี...สาแหรก อยู่นะครับ

และสมัยก่อนเมื่อพูดถึงทับทิมก็ต้องหมายถึงทับทิมของพม่าเท่านั้น

ทับทิมสยามเกิดขึ้นทีหลัง และความสวยสู้ทับทิมพม่าไม่ได้เลย ราคาก็ห่างไกลกันมาก


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ต.ค. 12, 15:38
สาแหรก=star

เคยเห็นสาแหรกในทับทืม นิลสีน้ำเงิน และไพทูรย์  ที่เจียระไนแบบ หลังเบี้ย แต่ไม่เคยเห็นในพลอยที่เจียระไนเหลี่ยม 
ไม่ทราบว่า cutting แบบเหลี่ยม จะทำให้เกิดสตาร์ในเนื้อพลอยได้หรือเปล่าค่ะ  ต้องถามคุณตั้ง


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 08 ต.ค. 12, 16:28

อ้าว เงิบไปเลย  :-[  เคราะห์ดีที่ออกตัวไว้ก่อน...ว่าคลับคล้าย


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ต.ค. 12, 16:44
สาแหรก=star

เคยเห็นสาแหรกในทับทืม นิลสีน้ำเงิน และไพทูรย์  ที่เจียระไนแบบ หลังเบี้ย แต่ไม่เคยเห็นในพลอยที่เจียระไนเหลี่ยม 
ไม่ทราบว่า cutting แบบเหลี่ยม จะทำให้เกิดสตาร์ในเนื้อพลอยได้หรือเปล่าค่ะ  ต้องถามคุณตั้ง

อันนี้ไม่รู้นะว่าสาแหรกสวยจัด ขาทั้ง 6 คมกริีบแบบนี้ ซื้อหาก็ต้องระวังกันให้มาก อันธรรมชาตินั้นดีอย่างก็เสียอย่าง จะให้น้ำงามสวย ๆ ทั้งหมดเป็นไปได้ยากนะขอรับ  :-[


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 08 ต.ค. 12, 18:47
ผมเคยจำคลับคล้ายได้ว่า  ทับทิมพม่านั้นจะมี...สาแหรก อยู่นะครับ
และสมัยก่อนเมื่อพูดถึงทับทิมก็ต้องหมายถึงทับทิมของพม่าเท่านั้น
ทับทิมสยามเกิดขึ้นทีหลัง และความสวยสู้ทับทิมพม่าไม่ได้เลย ราคาก็ห่างไกลกันมาก


จำได้ว่ามีสแตมป์ไทยออกมานานมากแล้วก่อนปี 2530
เป็นชุดภาพอัญมณีไทยทั้งชุด
หนึ่งในนั้นมีรูปทับทิมไทยที่มี star
เพราะฉะนั้นที่ว่าเฉพาะทับทิมพม่าเท่านั้นที่มี star จึงเป็นข้อความที่ไม่ถูกต้อง


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 08 ต.ค. 12, 19:44
สาแหรก=star
เคยเห็นสาแหรกในทับทืม นิลสีน้ำเงิน และไพทูรย์  ที่เจียระไนแบบ หลังเบี้ย แต่ไม่เคยเห็นในพลอยที่เจียระไนเหลี่ยม 
ไม่ทราบว่า cutting แบบเหลี่ยม จะทำให้เกิดสตาร์ในเนื้อพลอยได้หรือเปล่าค่ะ  ต้องถามคุณตั้ง

ครับ cutting แบบเหลี่ยม ไม่ทำให้เกิดสตาร์ครับ 

ไม่แน่ใจว่าจะใช้คำอธิบายถูกหรือไม่นะครับ  cutting แบบหลังเบี้ย เป็นการใช้ระบบแสงแบบ refraction  (แสงกระดอนกลับบนพื้นผิวของหน้าผลึก_cryatal plane ฟรือ crystal face) เพื่อขับสตาร์ออกมา  ในขณะที่ cutting แบบเหลี่ยม เป็นการใช้ระบบแสงแบบ reflection (แสงสะท้อนกลับไปมาบนพื้นผิวของหน้าที่ตัด_facet plane หรือ facet face) เพื่อขับความเปล่งปลั่งออกมา ซึ่งมักใช้คำว่าการเล่นไฟ    เมื่อจะซื้อพลอยที่เจีรยนัยแบบเหลี่ยม เขาจึงให้เอาพลอยมากลิ้งดูกับแสงไฟว่าระยิบระยับเพียงใด   ในขณะที่ซื้อพลอยที่เจีรนัยแบบหลังเบี้ย เขาจึงให้ดูการเคลื่อนหวของสาแหรก     อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงอยู่ประการหนึ่งเสมอนะครับ (โดยเฉพาะสำหรับผม) ของที่เป็นธรรมชาติแท้ๆนั้น ไม่เคยมีสวยหรือดีเลิศอย่างไม่มีที่ตำหนิ

ผมเคยเห็นพลอยของ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุร๊ ขายในร้านพลอยใน อ.บ่อพลอย   เป็นไพลินธรรมชาติที่ไม่ผ่านการเผา สวยงามมาก เล่นไฟระยิบระยับเลยทีเดียวทั้งด้วยแสงอาทิตย์และแสงไฟ มีอยู่สามเม็ด ทำตุ้มหูกับแหวนได้พอดี ตอนนั้นเขาขายในราคาประมาณ 3,000 บาท (ประมาณ พ.ศ.2516) มีเงินอยู่ในมือแต่ซื้อไม่ได้ เพราะต้องเอาไปทำงาน เสียดายจนบัดนี้เลยครับ     

 


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 08 ต.ค. 12, 20:32
เสียดายแทนค่ะ :'(

เอารูปทับทิมเจียระไนเหลี่ยมและไพลิน หรือ blue sapphire มาประกอบกระทู้


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ต.ค. 12, 21:02
สาแหรก=star

เคยเห็นสาแหรกในทับทืม นิลสีน้ำเงิน และไพทูรย์  ที่เจียระไนแบบ หลังเบี้ย แต่ไม่เคยเห็นในพลอยที่เจียระไนเหลี่ยม 
ไม่ทราบว่า cutting แบบเหลี่ยม จะทำให้เกิดสตาร์ในเนื้อพลอยได้หรือเปล่าค่ะ  ต้องถามคุณตั้ง

การเกิด Star 6 ขา เป็นการเกิดปรากฎการณ์ทางแสงที่เรียกว่า Asterism หากเกิดกับพลอยใดแล้ว ไม่ว่าทับทิม หรือ นี่หร่า ก็จะมีค่ามาก


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ต.ค. 12, 21:08
ข้อมูลเครื่องประดับให้ความรู้เรื่องการเจียพลอยไว้ว่า

การเจียระไนทับทิม ปกติมี ๒ แบบคือ แบบเหลี่ยม (Facets) และโค้งหลังเต่า (Cabochon)

ซึ่งการเจียระไนแบบเหลี่ยมนิยมทำเหลี่ยมแบบเพชร (Brilliant) เพื่อเพิ่มความโปร่งใส โปร่งตาภายในเนื้อทับทิมให้มากขึ้น จะทำให้การเจียระไนให้มีความบางกว่าหรือแบนกว่าเจียระไนเพชร อาจจะเป็นเหลี่ยมขั้น ๆ หรือ แบบผสม

ส่วนการเจียระไนแบบหลังเต่า ปกติจะคัดเลือกจากพลอยที่มีคุณสมบัติต่ำรองลงมาจากชนิดที่นำไปเจียระไนแบบเหลียมแล้ว เช่น พลอยจากพม่า แม่สอง แม่สะเรียง และการเจียแบบหลังเต่า หากกระทำในทิศทางที่ถูกต้องอาจเกิดรูปดาว หรือ สาแหรก

ที่เรียกว่า Star Ruby


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ต.ค. 12, 21:12
สังวาลย์ชุดทับทิม ในสมเด็จพระพันปีหลวง


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 08 ต.ค. 12, 21:15
นวมทอง ใช้ในการพิธีโสกันต์ ชุดนี้เป็นนวมทับทิม


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 09 ต.ค. 12, 01:54
ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันเผยแพร่ความรู้นะครับ

ความรู้จากท่าน naitang รวมทั้งท่านอื่นๆ ทำให้ผมได้มุมมองในมุมใหม่ๆ กว้างขึ้น ไม่เฉพาะในเชิงคุณค่าและความรู้สึก ผมแตกความคิดไปถึงเรื่องการตลาดไปด้วย เพราะฝ่ายทางฝรั่งดูเหมือนจะเข้มแข็งในเรื่องการปั้นมูลค่าอัญมณีมากๆ (ขออภัยที่ใช้คำว่าฝรั่งบ่อยๆ แต่เพื่อให้กระชับในการพิมพ์จึงขอใช้คำนี้นะครับ) แทบจะใช้คำว่า "คุณค่าอยู่ที่คนขุด กำไรอยู่ที่คนขาย" ก็ว่าได้ ตอนนี้แม้มีข่าวราคาทับทิมสูงมากมายแค่ใหนก็ตาม แต่ก็ยังทำให้อดสงสัยและต่อไปอีกไม่ได้ว่า แล้วเจ้าของดั้งเดิมที่ขุดขึ้นมาจะได้อานิสงค์ด้วยแค่ใหนกันครับ

วกกลับมาอีกเรื่องครับ ผมคลัคล้ายคลับคลาว่าทับทิมสตาร์มีองค์ประกอบคนละอย่างกับทับทิมธรรมดาครับ ทำให้เกิดแสงดาว 6 แฉกในเนื้อทับทิม (แล้วผมจะกลับไปหาแหล่งที่มาข้อมูลเอาอ้างอิงอีกทีนะครับ) จึงนิยม (จำเป็นต้อง) เจียรนัยแบบหลังเบี้ยเพื่อโชว์แสงดาว 6 แฉก แต่โดยเนื้อของทับทิมจึงทำให้มีราคาต่ำกว่าครับ ส่วนทับทิมสยามมีทับทิมสตาร์เหมือนกัน อันนี้ฟันธงได้ครับ

ส่วนคำตอบของคำถามว่าเจียรนับแบบเหล่มให้เห็นสตาร์ได้ด้วยเป็นไปได้ใหม คำตอบก็น่าจะเป็นว่า หากสวยพอเจียรนัยแบบเหลี่ยมได้แล้วการจะเห็นสตาร์หรือไม่ก็ไม่สำคัญแล้ว เพราะราคาแบบเหลี่ยมสูงกว่าแบบเบี้ยหลายเท่าตัว และในความจริงแล้วทับทิมที่มีสตาร์ทุกเม็ดที่ไม่สวยพอที่จะเจียรนัยแบบเหลี่ยมได้แม้ฝืนทำก็จะเสียทั้งสองทางและไม่มีราคาครับ แล้วผมก็ยังไม่พบบันทึกที่ว่าทับทิมสตาร์เผาแล้วสวยพอจะเจียรนัยแบบเหลี่ยมได้นั้นยังเหลือสตาร์ให้เห็นอยู่หรือเปล่าครับ

ส่วนเรื่องแหล่งที่เกิดและสภาพการเกิดทำให้ทับทิมสยามและทับทิมพม่าต่างกันผมเห็นด้วยครับ ที่แน่นอนคือแร่อื่นที่อยู่ในพื้นที่ที่เกิดที่เข้าผสมทำให้สีต่างกัน ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากระยะเวลาในการเย็นตัวของลาวาซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่เกิดการตกผลึก และสภาวะอากาศระหว่างการเกิด ผมคิดว่าทับทิมสยามอาจจะเกิดใต้ทะเลครับ ก่อนที่จะเกิดการชนของทวีปและทำให้แผ่นดินส่วนนั้นยกตัวขึ้นสูงเหนือทะเล ต่อมาถูกชะล้างจนแร่ส่วนนั้นโผล่ขึ้นเหนือดิน อันนี้เป็นข้อสันนิษฐานของผมเองนะครับ

อีกสิ่งหนึ่งคือ ทับทิมสยามและทับทิมเขมรนั้นถือว่าเป็นทับทิมที่เกิดจากแหล่งเดียวกันก็ว่าได้ เขมรก็มีทับทิมและจะเรียกว่าทับทิมสยามก็ได้เหมือนกัน เพราะก่อนหน้านั้นพื้นที่ที่พบทับทิมในเขมรตอนนี้เป็นอาณาเขตของประเทศสยาม ดังนั้นตอนนี้ถ้าเราจะหาทับทิมสยามก็อาจต้องไปตามหาที่เขมรเอา

มาอีกเรื่องคือเรื่องไฟและน้ำครับ ทับทิมสวยไฟดีนั้นก็คงหมายถึงทับทิมที่เจียรนัยให้ความเปล่งประกายสวยงาม ยิ่งประกายดีก็ยิ่งถือว่าไฟดีและราคาดีครับ ส่วนน้ำดีนั้นอาจหมายถึงความสวยและอิ่มในสี รวมไปถึงน่าจะเป็นความรู้สึกถึงได้ว่าชุ่มน้ำอยู่ตลอดเวลา ยิ่งมองเหมือนหยดน้ำเต้นระริกอยู่เท่าไหร่ยิ่งน่าจะหมายถึงน้ำดีมากเท่านั้นครับ แต่น้ำกับไฟมันก็เป็นสิ่งที่อยู่คนละขั้วจึงยากที่จะอธิบาย อันนี้เลยทำให้ผมนึกไปว่า ทับทิมแทบทั้งหมดตอนนี้น่าจะหาเจอได้เฉพาะทับทิมไฟดีเพราะเผากันหมดแทบทุกเม็ดแล้ว จะเหลือให้มองเห็นมีน้ำอยู่นั้นคงเหลือน้อยเต็มที แล้วแบบใหนที่มีคุณค่าและราคาดีกว่ากัน ผมก็ผมเลยคิดเลยเถิดไปว่า ทับทิมที่ราคาแพงที่สุดที่ถูกบันทึกอยู่ตอนนี้นั้นเป็นทับทิมพม่าจากเหมืองโมก็อกที่ไม่ผ่านการเผา นั่นอาจหมายถึงทับทิมที่น้ำยังไม่แห้งไป และจะเป็นทั้งทับทิมที่น้ำดีและไฟดี ดังนั้นทับทิมที่ดีจึงน่าจะมีทั้งน้ำและไฟในตัว และยิ่งโดเด่นทั้งสองทางมากเท่าไหร่ยิ่งมูลค่าสูงเท่านั้น นี่คือแนวความคิดที่ผมพอจะเข้าใจเอาเองได้ตอนนี้ครับ

ที่จริงเกณฑ์ความสวยของทับทิมหรืออัญมณีอื่นๆ เอามาจากเพชรอีกทีคือ 4C ซึ่งประกอบด้วย

- Color (สี)
- Clarity(มนทิล ซึ่งตอนนี้แปลไปว่าความโปร่ง ความใส)
- Cut (การเจียรนัย)
- Carat (ขนาด)

เรียงตามลำดับความสำคัญ (แต่ผู้ซื้อบางกลุ่มบางประเทศเรียงต่างไปจากนี้ก็มีเช่น เอา Cut (การเจียรนัย) มาก่อน เป็นต้น -- ข้อมูลนนี้มาจากเว็บฝรั่งที่เล่าถึงความนิยมของผู้ซื้อแต่ละโซนแต่ละชาติ) แต่ในนี้ยังไม่ได้บอกอย่างแน่ชัดถึงองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญแต่มีผลมากคือ ความเปล่งประกาย ซึ่งน่าจะหมายถึงไฟดี แม้มีการบอกไว้เหมือนกันว่าอยู่ในหมวดการเจียรนัยแต่ก็ไม่ชัดเจนอยู่ดี ส่วนอีกข้อคือความหายากซึ่งอาจถึงความหมายโดยรวมของทุกข้อโดยเฉพาะขนาด แต่ตอนนี้ทับทิมจากเหมืองโมก็อกราคาสูงสุดแม้อาจจะสวยเท่าๆ กับเม็ดอื่นที่มาจากแหล่งอื่น แต่อีกครั้งคือก็มีบางแห่งเหมือนกันที่ให้ความสำคัญกับแหล่งที่มา (origin) เป็นอันดับแรก (ดังนั้นข้อนี้จึงเป็นข้อผิดอย่างมากๆ หากพ่อค้าไทยจะอ้างว่าแหล่งที่มาไม่สำคัญ และว่าเค้าเพียงเอาไว้เพื่อลักษณะสีเท่านั้น) และตอนนี้ที่ขัดแย้งอย่งสำคัญที่สุดคือต่างชาติให้ความสำคัญความเป็นธรรมชาติสูงสุด ในขณะที่ผู้ค้าไทยให้ความสำคัญความสวยสุดท้ายของผลงานโดยไม่ให้ความสำคัญของการปรุงแต่งนัก (ซึ่งจะจะปรุงแต่งให้มากที่สุดเพื่อให้สวยที่สุด) อันนี้จึงย้อนกลับมากระแทกเรื่องคุณค่ากับมูลค่าในอีกวงรอบอย่างซับซ้อนครับ

ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนะครับ ความรู้ที่มีก็เก็บเอามาจากหลายแหล่งมาประกอบกัน หลายอย่างฟังจากปากผู้เชี่ยวชาญคนไทยก็ยังไม่ปักใจ (ประกอบกับมีเวลาพูดคุยกันน้อยทำให้สื่อได้ไม่หมด) ก็ได้เอาข้อมูลมาหาต่อในอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ได้ข้อมูลจากคนอื่นๆ รวมทั้งมุมมองต่างชาติด้วยเช่นกัน และหลายๆ บันทึกก็บันทึกจากความรู้สึกของตัว ซึ่งต้องตามหาข้อเท็จจริงต่อให้เจออีกที

เป้าหมายผมคือตามหาความจริงเพื่อเปรียบเทียบทับทิมสยามกับทับทิมจากแหล่งอื่นๆ ว่าของเราดีหรือด้อยกว่าจริงหรือและอย่างไร ตอนนี้ข้อมูลที่ผมได้คือทับทิมสยามเหนือกว่าแต่ไม่อาจเป็นหนึ่งได้ นั่นเพราะว่าหาไม่มีแล้ว ถึงมีแต่ก็จะไม่พอต่อความต้องการจนไม่อาจโด่งดังในวงกว้างได้ครับ

ช่วงหลายมาวันนี้ผมตามหาว่าสีแดงเลือดนกพิราบเป็นแบบใหนโดยการถามเอาจากหลายๆ คน แต่ก็ไม่ยังเค้าเท่าไหร่ มาวันนี้นึกอะไรขึ้นมาได้ซึ่งอาจทำให้ผมได้คำตอบก็เป็นได้ครับ (แต่ก็ไม่ได้คิดไปยิงนกพิราบเอามาดูสีของเลือดนะครับ)

(แหล่งข้อมูลที่พูดถึง สีแดงเลือดนกพิราบ http://www.ruby-sapphire.com/pigeons-blood-mogok.htm (http://www.ruby-sapphire.com/pigeons-blood-mogok.htm))


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: นอแรด ที่ 09 ต.ค. 12, 10:01
ทับทิมสีนกพิราบครับ

อ่านต่อได้ที่นี่ครับ

http://www.allaboutgemstones.com/gemstones_ruby_mogok.html


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 09 ต.ค. 12, 10:24
เข้าใจว่าทับทิมสีเลือดนกพิราบ จะเป็นสีแดงสดแบบนี้เมื่อเจียระไนแล้ว   ไม่ใช่สีแดงออกชมพูอย่างทับทิมพม่าค่ะ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ต.ค. 12, 18:20
ทับทิมและพลอยสีอื่นในตระกูลแร่คอรันดัม เป็นแร่ที่เกิดในโครงสร้างของผลึกระบบหกเหลี่ยม (Hexagonal system) ประกอบด้วยแกนในแนวนอนสามทิศทาง ทำมุม 60 องศาแก่กัน และแกนในแนวตั้งที่ทำมุมตั้งฉากกับแกนในแนวนอน เมื่อมองทางด้านบน (หรือด้านล่าง) ของแกนตั้ง ก็จะเห็นระนาบของหน้าผลึก (crystal face) เป็นเส้นที่สามารถลากเชื่อมต่อกันไปทั้งหกด้าน ผลึกของแร่ต่างๆนั้นจะค่อยๆขยายออกไปจากแกนกลาง ดังนั้น จึงเห็นเป็นเส้นตามแนวระนาบที่หน้าผลึกมาชนกัน  ในกรณีของทับทิมและพลอยในตระกูลแร่คอรันดัม หากแต่ละหน้าผลึกที่พอกตัวออกไปมีความต่างกันในส่วนผสม เราจึงเห็นเป็นหกเส้นหรือหกขาเสมอ ไม่ว่าจะเจียรนัยแบบหลังเต่าหรือแบบตัดเหลี่ยม    หากตั้งแกนตั้งได้ถูกต้อง ในพลอยที่มีเนื้อใส แต่ไม่สะอาดนัก เราก็จะเห็นเส้นของหน้าผลึกเหล่านี้ชัดเจนเหมือนกัน แต่คงไม่เรียกว่าสตาร์   ซึ่งแม้กระทั่งใสมากๆ เมื่อส่องด้วยกล้องขยายก็อาจเห็นได้เช่นกัน     หากเจียรนัยแบบหลังเต่ามันก็จะขับเส้นนี้ออกมาให้เห็นเด่นชัด เนื่องจากความลาดเอียงของพื้นผิวซึ่งมีลักษณะมนของผิวที่ที่เราขัดออกไป ที่เรียกเส้นที่ปรากฎออกมาในลักษณะนี้ว่าสตาร์หรือสาแหรก

ในการเจียรนัยพลอยใดๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบหลังเต่าหรือหน้าตัด สำหรับพลอยที่เม็ดขนาดประมาณถั่วดำขึ้นไป ช่างเจียรนัยที่เก่งๆและชำนาญจึงต้องตั้งแกนให้ถูกก่อนการเจียรนัยเสมอ พร้อมกับต้องตัดสินใจเลือกด้วยว่าจะให้พลอยเม็ดนั้นๆสวยสุดๆหรือต้องการรักษาน้ำหนัก ซึ่งโดยปรกติก็พยายาม maximized ทั้งสองเรื่องนี้ เนื่องจากทั้งสองเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เพิ่มมูลค่าของพลอย

พอจะกล่าวได้ว่าพลอยในทุกตระกูลมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Asterism ซึ่งเป็นผลมาจากแกนดังที่เล่ามาแล้วบ้าง จากการบริเวณเส้นที่ชนกันของผลึกบ้าง หรือจากการตกผลึกแฝดหรือร่วมก็ได้

ก็ให้ความเห็นมาตามที่เคยเรียนรู้มาครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 09 ต.ค. 12, 18:24
ชักเริ่มสงสัยแล้วว่า  ทับทิมที่เรากำลังกล่าวถึงกันนี้ เป็นทับทิมแบบเจียรนัยหลังเบี้ยหรือแบบตัดเหลี่ยม ???


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 09 ต.ค. 12, 19:52
เรื่องสีก่อนนะครับ

ผมเบนเป้าจากการตามหาสีแท้ๆ ของเลือดไปตามหาสิ่งที่ทำให้เกิดสีในทับทิมแทน สิ่งที่ทำให้เกิดสีแดงในทับทิมคือโครเมี่ยม ผมจึงไปตามหาว่าโครเมี่ยมให้สีแดงอย่างไร

ปรากฏว่าโครเมี่ยมเป็นโลหะทึบแสงที่มีสีเงินเทา หากขัดมันจะวาววับสะท้อนแสงและให้สีแบบที่เรารับรู้กันทั่วไปว่าสีโครเมี่ยม แต่เมื่อโครเมี่ยมอยู่ในรูปสาระประกอบอื่นจะให้สีต่างไป

ผมมุ่งไปที่สีแดงก่อน ได้ตัวอย่างสีแดงที่ปรากฏในแร่บางชนิด และสีที่มนุษย์ผสมขึ้นเพื่อใช้เป็นสีสำหรับประโยชน์ใช้สอยต่างๆ ดังตัวอย่างภาพที่ผมยกประกอบมานี้

(http://farm9.staticflickr.com/8032/8070524161_c19ae1ef15.jpg) (http://www.flickr.com/photos/87885019@N06/8070524161/)

(http://farm9.staticflickr.com/8039/8070517578_a812a48b95_s.jpg) (http://www.flickr.com/photos/87885019@N06/8070517578/)

(http://farm9.staticflickr.com/8449/8070521351_f24f108955.jpg) (http://www.flickr.com/photos/87885019@N06/8070521351/)


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 09 ต.ค. 12, 20:54
ทุกคนทราบดีว่า หากต้องการรู้ว่าสีแดงเลือดนกพิราบเป็นอย่างไรนั้นสามารถพิสูจน์ได้ง่ายดาย คือนำเลือดแดงของนกพิราบมาให้ดูก็ได้ข้อยุติ

แต่ในกรณีสีแดงของทับทิมนั้นเค้าไม่ได้หมายถึงสีแดงเหมือนเลือดนกพิราบ แต่เป็นการให้การเปรียบเทียบโดยใช้คำว่า สีแดงดั่งเลือดนกพิราบ ดังนั้นจึงไม่ได้ข้อสรุปง่ายๆ ด้วยการเอาสีแดงของเลือดมาเป็นข้อยุติ

ผมขอยกข้อสันนิฐานของผมไว้ดังนี้ว่า
    ในอดีตเมื่อเกิดการค้นพบทับทิมเป็นครั้งแรกๆ นั้น สีแดงที่มนุษย์ใช้เพื่องานต่างๆมักเอามาจากสีที่ได้จากวัสดุธรรมชาติ ยังไม่มีการสังเคราะห์สีแดงแบบบริสุทธิโดยใช้การตรวจค่าเสป็คตรัมสีของหมึกหรือผงหมึกกัน ดังนั้นหากจะอธิบายสีแดงของหมึกหรือวัตถุใดก็มักเปรียบเทียบกับสิ่งที่ผู้คนรู้จักกันทั่วไป เช่นสีแดงครั่ง สีแดงเลือกหมู เป็นต้น

แต่ในบรรดาสีแดงทั้งหมดที่คนสมัยนั้นผมสันนิฐานว่าสีแดงที่แดงจัดนั้นคือสีแดงเลือดนกพิราบ คือแดงแบบที่ไม่รู้ว่าจะแดงกว่านี้ไปได้อย่างไร ทำนองนี้ (อาจมีสีแดงแบบอื่นที่แดงจัดกว่าแต่คนไม่ค่อยรู้จักหรือยากที่จะอธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจ) ดังนั้นสีแดงอย่างที่สุดของทับทิมก็คือสีแดงแบบทับทิม จะจัดหรืออ่อนหรือเข้มกว่าสีเลือดจริงๆ ก็เป็นแดงแบบทับทิมและแดงได้แค่นั้นเท่านั้นครับ

ผมยกข้อสนับสนุนสันนิฐานของผมมา 1 เรื่องคือ
    ไม่นานมานี้ มีความนิยมในพลอยสีแบบใหม่ เป็นพลอยสีส้มสวยมาก ความสวยของสีทำให้มันโดดเด่นและส่งให้มูลค่าของพลอยชนิดนี้สูงขึ้นเหนือพลอยสีอื่นหลายๆ สี มีการตั้งชื่อเรียกพลอยชนิดนี้ว่า พัดพารัดชา (Padparadscha) หรือพัดพระราชา

(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/b/ba/Padpasmall.jpg)
อ้างอิง: http://en.wikipedia.org/wiki/Sapphire

ส่วนการอธิบายสีของมันว่าเป็นสีส้มลักษณะใดก็ได้อธิบายว่ามันสีเหมือน "ดอกบัวหลวงที่บาน !?"
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/ed/Sacred_lotus_Nelumbo_nucifera.jpg/524px-Sacred_lotus_Nelumbo_nucifera.jpg)
อ้างอิง: http://en.wikipedia.org/wiki/Nelumbo_nucifera
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Padparadscha: http://www.modernjeweler.com/online/article.jsp?siteSection=1&id=529&pageNum=2 (http://www.modernjeweler.com/online/article.jsp?siteSection=1&id=529&pageNum=2)

    จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก และนี่คือข้อสนับสนุนสันนิษฐานของผมว่า สีแดงเลือดนกนั้นอาจ (น่าจะ) ไม่ได้หมายถึงสีแดงเหมือนเลือดจริงๆ แต่เป็นสีแดงแบบทับทิมของมันเองต่างหาก

ดังนั้น
    การตามหาลักษณะสีแดงของมันจึงเปล่าประโยชน์ที่จะไปตามยิงนกพิราบของทุกประเทศทุกชาติมาเพื่อเอาเลือดมาเป็นตัวอย่าง เพื่อหาข้อสรุปเรื่องสีแดงดั่งเลือดนกพิราบของทับทิมว่าเป็นแดงในโทนใดครับ

*** แต่สีแดงแบบตัวอย่างที่ผมยกมานั้น ยังไม่ใช่ข้อสรุปและยังไม่ไใช่คำตอบของสีแดงของทับทิมนะครับ เพียงแต่เป็นการเริ่มต้นของการสืบเสาะหาเพียงเท่านั้น

ติดเรื่องพลอยสตาร์ไว้ก่อนนะครับ แต่ในนี้ก็ได้เขียนถึงเรื่องนี้ไว้บ้างแล้ว สามารถอ่านเป็นข้อมูลคร่าวๆ ได้ครับ
อ้างถึง
Star sapphire
A star sapphire is a type of sapphire that exhibits a star-like phenomenon known as asterism; red stones are known as "star rubies". Star sapphires contain intersecting needle-like inclusions following the underlying crystal structure that cause the appearance of a six-rayed "star"-shaped pattern when viewed with a single overhead light source. The inclusion is often the mineral rutile, a mineral composed primarily of titanium dioxide. The stones are cut en cabochon, typically with the center of the star near the top of the dome. Twelve-rayed stars are occasionally found, or parallel whisker inclusions can produce a "cat's eye" effect.
อ้างอิง: http://en.wikipedia.org/wiki/Sapphire (http://en.wikipedia.org/wiki/Sapphire)

ผิดถูกอย่างไรช่วยชี้แนะด้วยครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ต.ค. 12, 21:06
โบราณท่านอุปมาสีทับทิมไว้ว่า

"ควรห่มสีทับทิม ดังแสงฉาน จะเรืองรับเรืองเดช"

ตำรานพรัตน์ได้กล่าวเอาไว้อย่างน่าประหลาดว่า

ลักษณะปัทมราช (ทับทิม) ชื่อ
ชาติรังคเป็นปฐมชาติ ๑ 
ชื่อกระวินทรเป็นทุตยชาติ ๑
ชื่อเสวรณฑี เป็นตติยชาติ ๑
ชื่อกรวางค เป็นจัตตุชาติ ๑

ปัทมราช (ทับทิม) มีสีต่างกัน ๙ ประการ
๑ สีแดงดังดอกสัตบุษย์เมื่อบาน
๒ ดังดอกจงกลนี
๓ ดอกทับทิม
๔ แมลงเต่าทอง
๕ เปลวประทีปเมื่อใกล้จะดับ
๖ ดั่งพระอาทิตย์แรกขึ้นเมื่อเพลาเช้า
๗ ผลทับทิมอันสุกเข้ม
๘ แดงดั่งดวงตานกจากพราก (Brahmimy duck, Ruddy Goose)
๙ แดงดั่งถ่านเพลิงแดง


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ต.ค. 12, 21:11
ชื่อกระวินทรเป็นทุตยชาติ ๑ มีสีแดงต่างกัน ๙ ประการ

๑ แดงดั่งดอกเสอ้งนา
๒ สีดังดอกไม้แดง
๓ ดอกกระหมุกแดง
๔ สีเลือดกระต่าย
๕ ศีรษะลิงโลด
๖ ชาดหรคุณ
๗ ผลมะกล่ำไฟ
๘ ดอกทองกวาว
๙ ดอกทองหลาง

ชื่อเสวรณฑี เป็นตติยชาติ ๑ มีสีแดงต่างกัน ๕ ประการ
๑ ดังดวงตานกกาเหว่า
๒ น้ำฝาง
๓ ผลสะบ้าสุก
๔ ดอกงิ้ว
๕ ดอกรักแดง

ชื่อกรวางค เป็นจัตตุชาติ ๑ มีสีแดงต่างกัน ๔ ประการ
๑ แดงดั่งสีเหลืองเจือแดงดังผลกระดอมสุก
๒ อิฐแดง
๓ น้ำขมิ้น
๔ สีแดงอ่อนกว่าดอกทองกวาว



กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 09 ต.ค. 12, 21:14
ตำรานพรัตน์ยังบอกถึงการหุงพลอยด้วย ว่า ถ้าในทับทิมมีมลทิน พวกนิลติดปนมาจะเป็นอัปมงคล ต้องเอาด้วยเพลิง

ให้ "น้ำแดงแสงงามบริสุทธิ์ดุจดั่งฟ้าแดงเมื่อตะวันตกและพระอาทิตย์แรกอุทัย" จัดเป็นผลดี


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 10 ต.ค. 12, 14:20
อ่านที่คุณทับทิมสยามเขียน ซึ่งได้กล่าวถึงการวัดค่าสเป็กตรัมของสีแล้ว ก็แสดงว่าน่าจะมีพื้นทางวิทยาศาสตร์ที่ดีมากทีเดียว

คำตอบเรื่องของสีตามที่ต้องการนี้ อาจจะต้องไปค้นหาอ่านในเรื่องเกี่ยวพันกับพลังงานที่อยู่ในสเป็กตรัมของแสงสีขาว (white light_แสงอาทิตย์) ซึ่งเป็นคลื่นอีเล็กโตรแม็กเนติก (electromagnetic wave_คลื่น EM)  และในเรื่องอีเล็กตรอน (ที่วิ่งวนอยู่รอบอะตอมของธาตุต่างๆ) ที่เกิดการกระโดดข้ามไปมาภายในของวงรอบหนึ่งใด (ระหว่าง subshell หรือ sublevel ของ orbit วงหนึ่ง)  เนื่องจากได้รับพลังงานจากคลื่น EM (แสงอาทิตย์) แล้วปล่อยพลังงานออกมาในช่วงของคลื่นแสงที่เราเห็นได้

อนึ่ง เนื่องจากที่ละติจูดต่างๆกัน สเป็กตรัมของแสงอาทิตย์ไม่เหมือนกัน ดังนั้น สีของทับทิมเม็ดเดียวกันที่เห็นในไทยกับเห็นในยุโรปก็จะแตกต่างกันไปบ้าง

ลองพิจารณาดูครับ อาจจะเป็นคำอธิบายที่ต้องการก็ได้

อ้อ ลืมไปว่า ฝรั่งเขาชอบใช้ระบบสีมาตรฐานสำหรับการอ้างถึงต่างๆ บางทีคำอธิบายว่าสีเลือดนกพิลาบนั้น อาจจะมีการเทียบกับสีมาตรฐานของระบบหนึ่งใดเก็บไว้ก็ได้ คือมีอยู่แล้ว 

 


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ต.ค. 12, 16:17
หาแดงเลือดนกพิราบไม่เจอ ก็เลยนึกถึง "แดงเลือดนก" แต่มาเจอ "แดงเลือดเป็ด"  ::)

อันนี้เป็นเลือดเป็นสด ๆ เป็นวัฒนธรรมดื่มเลือดเป็ดของเวียดนามครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ต.ค. 12, 16:23
ตารางเทียบสีทับทิม

ที่มา http://www.gemnation.com/base?processor=getPage&pageName=ruby_color


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: siamese ที่ 10 ต.ค. 12, 16:27
หยิบตัวอย่างสีแดงเลือดเป็ดชามหนึ่ง มาเทียบตารางสี ... ใกล้เคียงแฮะ  ;D


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 10 ต.ค. 12, 21:38
และแล้วกระทู้นี้ก็เลือดสาดจนไห้ หุหุ..

ตอบคุณ naitang ครับ
    ผมลองตามหาแล้วครับ แต่ที่พบจากเว็บของผู้เขียนตำราเรื่อง ruby&sapphire บันทึกไว้ว่า ไม่มีการระบุอย่างชัดเจนไว้ว่าแดงเลือดนกที่ว่าเป็นอย่างไร
อ้างถึง
Pigeon's blood: Chasing the elusive Burmese bird

The Burmese term for ruby is padamya ('plenty of mercury'). Other terms for ruby are derived from the word for the seeds of the pomegranate fruit. [2]

Traditionally, the Burmese have referred to the finest hue of ruby as "pigeon's blood" (ko-twe), a term which may be of Chinese or Arab origin. Witness the following from the Arab, al-Akfani, who described thus the top variety of ruby: Rummani has the colour of the fresh seed of pomegranate or of a drop of blood (drawn from an artery) on a highly polished silver plate. al-Akfani, ca. 1348 AD. Some have compared this color to the center of a live pigeon's eye. Halford-Watkins described it as a rich crimson without trace of blue overtones. Others have defined this still further as the color of the first two drops of blood from the nose of a freshly slain Burmese pigeon. But the pie`ce de re'sistance of pigeon's-blood research has to be that of James Nelson, who finally put the question to rest:

In an attempt to seek a more quantitative description for this mysterious red colour known only to hunters and the few fortunate owners of the best Burmese rubies, the author sought the help of the London Zoo. Their Research Department were quick to oblige and sent a specimen of fresh, lysed, aerated, pigeon's blood. A sample was promptly spectrophotometered.... The Burmese bird can at last be safely removed from the realms of gemmology and consigned back to ornithology.

James B. Nelson, 1985, Journal of Gemmology

After that, the only question remaining is whether or not "spectrophotometered" is a genuine English verb.

Color preferences do change with time. The preferred color today is not necessarily that of a hundred, or even fifty, years ago.
In my experience, the color most coveted today is that akin to a red traffic signal or stoplight. It is a glowing red color, due to the strong red fluorescence of Burmese rubies, and is unequalled elsewhere in the world of gemstones. Thai/Cambodian rubies may possess a purer red body color, but the lack of red fluorescence and silk leaves them dull by comparison. It must be stressed that the true pigeon's-blood red is extremely rare, more a color of the mind than the material world. One Burmese trader expressed it best when he said: "...asking to see the pigeon's blood is like asking to see the face of God."

The second-best color in Burma is termed "rabbit's blood," or yeong-twe. It is a slightly darker, more bluish red. Third best is a deep hot pink termed bho-kyaik. This was the favorite color of the famous Mogok gem dealer, A.C.D. Pain. The literal meaning of bho-kyaik is "preference of the British."

Fourth-best is a light pink color termed leh-kow-seet (literally 'bracelet-quality' ruby). At the bottom of the ruby scale is the dark red color termed ka-la-ngoh. This has an interesting derivation for it means literally either "crying-Indian quality" or "even an Indian would cry," so termed because it was even darker than an Indian's skin. Most dark rubies were sold in Bombay or Madras, India. Ka-la-ngoh stones were said to be so dark that even Indians would cry out in despair when confronted with this quality.
อ้างอิง: http://www.ruby-sapphire.com/pigeons-blood-mogok.htm (http://www.ruby-sapphire.com/pigeons-blood-mogok.htm)

ส่วนที่นี่ก็ระบุเหมือนๆ กัน คาดว่าคงถ่ายทอดตามๆ กันมา http://www.starruby.in/store/info/pigeon-blood-red-rubies (http://www.starruby.in/store/info/pigeon-blood-red-rubies) ครับ

    วันนี้ส่วนใหญ่จึงพูดเกือบจะเป็นเสียงเดียวกันว่า สีแดงของทับทิมแดงที่ดีที่สุดคือสีที่ผู้คนชอบ (ขายดี) มากที่สุด และยกให้แดงเลือดนกพิราบเป็นสีในตำนานที่ยากจะหาเจอ แต่ที่จริงผมตะหงิดๆ สงสัยอยู่นิดหนึ่งครับว่า
    ในอดีตนั้นอัญมณีหลายชนิดถูกจัดเป็นทับทิมด้วยหากมีสีแดง ก่อนที่จะแยกออกเหลือเฉพาะแร่ colrundum เพียงอย่างเดียว พิจารณาโดยไม่แยกออกเหมือนแต่ก่อน ผมว่าสีแดงของ spinel สีแดงนั่นหล่ะใช่เลยครับ
(http://s3.amazonaws.com/readers/2010/10/17/the-black-princes-ruby_1.jpg)
http://j-m-lennox.quazen.com/reference/biography/famous-gemstones-black-princes-ruby/ (http://j-m-lennox.quazen.com/reference/biography/famous-gemstones-black-princes-ruby/)

ถามคุณ siamese พอทราบไหมว่าครับ ตำรานพรัตน์ เขียนขึ้นเมื่อไหร่

    เรื่องหนึ่งคือเรื่องการเผาพลอย คนไทยว่าเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นการเผาเพื่อไล่เสนียดไล่มลทินออก แต่คนโบราณอาจนึกไม่ถึงว่าคนไทยในปัจจุบันจะเก่งและก้าวไปไกลมาก เผาสีเหลืออ่อนให้เป็นสีเหลืองทอง เผาเม็ดที่ดูแทบจะเป็นขี้พลอยอยู่แล้วให้ใสจนมีราคาสูง เผาพลอยอื่นใหนเป็น padparadchar ซึ่งราคาสูงกว่ามากก็ได้ แถมยังสามารถกัดเอามลทินออกด้วยกรดแล้วเติมแก้วเข้าไปแทน ทำให้ขี้พลอยกลายเป็นทับทิมเม็ดสวยก็ได้ ซึ่งมันน่ากลัวมากกว่าน่าดีใจสำหรับคนซื้อทับทิม
    ปกติการเผา (Heat) พลอยนั้นเป็นที่ยอมรับกันในระดับหนึ่ง แต่ต้องเป็นเผาแบบไม่เติมอะไรลงไปเลย (เรียกว่าเผาเก่า) ราคาทับทิมจะถูกว่าที่ไม่เผาในความสวยเดียวกันประมาณ 3 เท่าครับ

    ผมนึกได้ว่าสีที่เราเห็นจากทับทิมนั้นมาจาก 2 ทาง คือ
    1. เป็นสีของที่สะท้อนจากแสงภายนอก ซึ่งเป็นปกติของวัตถุทั่วไป
    2.สีที่เปล่งออกมาจากตัวทับทิมเอง คือเมื่อทับทิมได้รับแสงจากภายนอกซึ่งเป็นพลังงาน พลังงานนี้จะไปกระตุ้นการสั่นของโมเลกุลทับทิม และการสั่นนี้จะเปล่งแสง (Fluorescence) สีเฉพาะของมันออกมา หลักการนี้คือหลักการที่นำทับทิมไปทำแสงเลเซอร์สีแดงนั่นเอง http://en.wikipedia.org/wiki/Ruby_laser (http://en.wikipedia.org/wiki/Ruby_laser)
       แสงที่เปล่งออกมานี้มีความถี่ 694 nM ตรงกับสีแดงสีหนึ่งในแถบช่วงสีแดงในแถบเสป็คตรัมแสง
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/b1/Ruby_transmittance.svg/500px-Ruby_transmittance.svg.png)

ดังนั้นผมจึงได้ปมอีกอย่างหนึ่งคือ แสงที่ทับทิมเปล่งออกมาเป็นความถี่ 694 nM ถัดมาผมตามไปดูที่ทับทิมที่ใช้ทำแสงเลเซอร์ซึ่งเรียกว่า ruby laser rod ซึ่งจะเป็นทับทิมสังเคราะห์ความบริสุทธิ์สูง (เป็นทับทิมระดับ gem grade AAAA) นั่นคือน่าจะมีปริมาณโครเมี่ยมพอดีไม่ขาดไม่เกิน ไร้มลทินใดๆ สีที่เห็นคือสีชมพูดังภาพ
(http://farm8.staticflickr.com/7068/6776446868_ebfeff00ab_n.jpg) (http://www.flickr.com/photos/14833125@N02/6776446868/)
Ruby Rod Unheated... (http://www.flickr.com/photos/14833125@N02/6776446868/) by Sea Moon (http://www.flickr.com/people/14833125@N02/), on Flickr

ผมจึงคิดว่าผมอาจตั้งต้นจากตรงนี้ได้ แต่ทับทิมธรรมชาติทุกเม็ดไม่บริสุทธิ์สีจึงต่างกันออกไป และทับทิมทุกเม็ดจะมี 2 โทนสีเป็นอย่างน้อยเสมอ แล้วสีแดงแบบใหนที่ผู้คนจะตรึงตาตรึงใจ ไม่ใช่สีแดงแบบทับทิมบริสุทธิ์แต่เป็นสีแดงแบบที่ผู้คนคนชื่นชอบ



กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 11 ต.ค. 12, 17:30
ย้อนกลับไปคิดถึงเรื่องที่พอจะรู้ที่พอจะจำได้บ้างในครั้งยังทำงานอยู่ เลยประมวลภาพเรื่องชื่อของสีทับทิมที่เรียกว่า สีเลือดนกพิราบ ในความเห็นส่วนตัวได้ดังนี้

ในศรีลังกามีการทำเหมืองพลอยในตระกูลคอรันดัมมานานนับพันปี แน่นอนว่าต้องมีทับทิมรวมอยู่ด้วย เช่นเดียวกัน ก็มีการพบพลอยในตระกูลคอรันดัมหลายๆแหล่งตลอดแนวเทือกเขา Alpine-Himalayan มานานมากแล้ว เช่นในอัฟกานิสถาน แต่สีของทับทิมคงไม่สวยสะดุดตา    การคมนาคมตามชายฝั่งทะเลที่เชื่อมต่อเข้าไปในเส้นทางสายใหม ทำให้ทับทิมและพลอยสีอื่นคงเริ่มกระจายไปตามเส้นทางเข้าไปถึงยุโรป     สำหรับพม่านั้น ก็มีการทำเหมืองพลอยในตระกูลคอรันมานานนับพันปีแล้วเช่นกัน แต่พลอยของพม่ารวมทั้งทับทิมคงจะกระจายอย่างจำกัดพื้นที่ด้วยความหวงแหนของกษัตริย์พม่า จนกระทั่งเมื่อชาวยุโรปสามามารถเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับประเทศในย่านแหลมทองได้ในช่วงประมาณ 500 ปีที่ผ่านมา จึงคงจะได้เห็นทับทิมที่มีสีสวยมากกว่้าที่เคยเห็นมาจากแหล่งอื่น  แต่เมื่อทับทิมก็มีสีแดงทั้งนั้น แล้วจะอธิบายว่าแดงอย่างไรที่แสดงถึงความแตกต่าง ผมก็เลยเดาต่อไปว่าสมัยก่อนนั้นใช้นกพิราบในการสื่อสารมาก ก็เลยบรรยายสีของทับทิมพม่าโดยการเทียบกับสีของเลือดนกพิราบ เช่้นเดียวกันกับที่เราพยายามบรรยายสีแดงโดยเทียบกับสีของเลือดสัตว์หรือผลไม้ เช่น แดงเลือดหมู แดงเป็นลูกตำลึง แดงเหมือนน้ำทับทิม แดงเหมือนพริกแห้ง แดงเหมือนดอกกุหลาบ เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องของการแสดงถึงความฉ่ำของสี ซึ่งเป็นยุคก่อนที่จะมีอุตสาหกรรมการผลิตสีแดงทางเคมีออกมา 

ความสนใจของคุณทับทิมไทยและข้อมูลที่กำลังถกกันอยู่ในกระทู้นี้ เหมือนกับกำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องสีของทับทิมเลยทีเดียว           

 


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 11 ต.ค. 12, 20:46
เคยเห็นแหวนทับทิมสีนี้ เป็นสีแดงออกม่วง    ไม่แน่ใจว่าเป็นมลทินของพลอยที่มีแร่ธาตุอื่นปนหรือเปล่านะคะ เลยเอารูปที่เจอในเน็ตมาให้ดู


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 12 ต.ค. 12, 05:30
เข้ามาเสริมคุณ tubtimthai ครับว่าทับทิมสีเลือดนกนั้นเรียกว่า spinel red
เอามาจากหนังสือ The Crown Jewels ของ Anna Keay, 2011 page 109

"...the first of the famous stone to adorn the English state crown: a magnificent red spinel known since the early 19th century as 'the Black Prince's Ruby'..."

The Black Prince's Ruby หนัก 170 กะรัต อาจได้มาจากเหมือง Badakhshan ใน Afghanistan

ใส่ file ไม่ได้ครับ ต้องลดขนาดรูปลงน่าเสียดาย


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: hobo ที่ 12 ต.ค. 12, 05:38
ผมไม่ได้ปรับสีของภาพ เพียงแต่ปรับระดับแสงให้ตรงกับหนังสือ มีที่น่าสนใจที่ผมไม่เคยสังเกตมาก่อนคือ ตัวหินมีรอยร้าวและได้มีการซ่อมแซมโดยใช้สารเคมีป้ายทับไว้สารเคมีนี้คล้ายกับสารเคมีที่ใช้เชื่อมตู้ปลาเข้าด้วยกัน มองเห็นเป็นเส้นสีชมพูทางมุมขวาล่าง


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 12 ต.ค. 12, 17:18
   ตอนนี้มีข้อมูลต้นทางเยอะเหลือเกินครับ หากต้องไปตามหาข้อสรุปจากทุกข้อมูลคงใช้เวลาอีกนานแน่ๆ ผมคงต้องพยายามตีวงให้แคบลงเข้าไว้ครับ เพราะนอกจากสีแล้วมีอีกสองสามปัจจัยที่กระทบต่อมูลค่าของทับทิมที่ค่อนข้างมากอยู่เหมือนกัน

มีหลายสิ่งที่สำคัญต่อการแสดงสีด้วยคอมพิวเตอร์
  - หนึ่งคือจอภาพ ตอนนี้ผมใช้จอแบนยี่ห้อ DELL รุ่นให้สีเหมือนจริงได้ค่อนข้างดี แต่รุ่นค่อนข้างเก่าจึงด้อยประสิทธิภาพไปนิด แต่ก็ถือว่าพอใช้สำหรับงานเรื่องนี้ตอนนี้ครับ
  - หนึ่งคือกล้องและอุปกรณ์บันทึกภาพ ภาพถ่ายทับทิมที่บันทึกไว้ในอดีตอาจให้สีไม่ตรงของจริงก็เป็นได้ เนื่องจากคุณภาพกล้องและฟิล์มในอดีต รวมทั้งการจัดแสง การล้างฟิล์ม รวมไปถึงคุณภาพของเครื่องแสกนที่ใช้เก็บภาพให้เป็นข้อมูลดิจิตอล
  - หนึ่งคือการใช้โปรแกรมแต่งภาพ ภาพแต่ละภาพต่องม่จุดประสงค์การใช้งาน การตกแต่งเหมาะแก่การใช้งานนี้ก็มักจะใช้โปรแกรมแต่งภาพ ทั้งแต่งเพื่อให้ตรงตามจริงและแต่งให้สวยสะดุดตาก็แล้วแต่จุดประสงค์ สำหรับงานนำเสนอและงานขายของผู้ค้าอัญมณีทั้งหลายนั้นก็ย่อมอยากให้ภาพสวยๆ ทั้งนั้น จึงเป็นจุดด้อยจุดหนึ่งที่ผมหาภาพอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ตได้ค่อนข้างยาก

    การตามหาที่มาของสีที่มนุษย์มองเห็นนี่ถ้าจะอธิบายให้เป็นวิทยาศาสตร์นี่เรื่องยาวครับ เจอข้อมูลดีๆ จากที่นี่ http://gemologyproject.com/wiki/index.php?title=Causes_of_color (http://gemologyproject.com/wiki/index.php?title=Causes_of_color) ที่อธิบายไว้แบบลึกซึ้งก็อ่านไม่ไหวครับ แถมความรู้เฟิสิกซ์คมีนี้ก็คืนครูไปหมดแล้ว ตั้งใจว่าจะตามหาโทนสีขององค์ประกอบของแร่ต่างๆ ในทับทิม แล้วเอามาเข้าสูตรสัดส่วนของการเกิดของสีในแบบต่างๆ จำนวนหนึ่ง ก็จะได้กลุ่มสีแดงที่ดีที่สุดจำนวนหนึ่ง (คงเยอะพอดู) และในนั้นก็จะมีสีที่น่าจะสวยที่สุดอยู่จะนวนหนึ่ง ซึ่งอันสุดท้ายนี้ต้องใช้ความรู้สึกของมนุษย์ตัดสินเพราะเป็นผู้พิพากษาสุดท้ายของมูลค่าอัญมณี

    แต่นอกจากสีสวยแล้วตัวคูณของมูลค่าที่ตามมาคือความหายาก หรือความเกิดยากในธรรมชาติ และไปคูณด้วยความโปร่ง และตัดสินอีกทีที่ขนาด ฟังดูแล้ววิชาประเมิลมูลค่าหรือให้เกรดอัญมณีนี่ยากและซับซ้อนไม่เบาเลยทีเดียว หากต้องประเมิลอัญมณีหลายๆ ชนิดยิ่งยากเป็นเงาตามตัว (แต่ที่เค้าสอนเค้าทำกันนั้นง่ายกว่าเยอะครับ แค่เอาตัวอย่างมาเปรียบเทียบว่าอยู่กึ่งกลางระหว่าง 2 ตัวอย่างใหนก็จบ จะให้เกรดแม่นๆม่แม่นก็อยู่ที่สายตาและความชำนาญชองผู้ปฏิบัติแล้วครับ ดูตัวอย่างจากนี่ได้ครับ http://www.gemewizard.com/about.php (http://www.gemewizard.com/about.php))

    ผมหยุดตามหาสีจากคุณสมบัติไว้ก่อน กลับมาคิดทบทวนและคิดถึงเหตุผลหลักในการค้นหานี้ เหตุผลนั้นคือ สีแบบใหนที่รงคุณค่าและมูลค่าและทับทิมไทยมีคุณสมบัติแบบนั้นใหม ผมจึงกลับไปมองที่สีของทับทิมที่ครองสถิติราคาต่อกะรัตแพงอันดับต้นๆ อยู่ในตอนนี้ เห็นแล้วแปลกใจนิดๆ ครับว่า บางคนว่านั่นยังไม่ใช่แดงเลือดนกแท้ๆ (ดูจากเว็บบอร์ดบางแห่ง เช่น pricescope.com) บางคนในบางเว็บก็บอกว่า แดงเลือดนกจะเป็นแดงอมส้ม-อมชมพูระเรื่อเล็กน้อย และส่วนที่แปลกคือ ทับทิมเม็ดพวกนั้นมันมีบุคคลิกสีแดงแบบทับทิมสยามครับ คือแดงเข้มไม่นุ่มนวลอย่างของพม่า เลยงงๆ ว่า ที่ว่าหายากนั่นเพราะหาทับทิมพม่าที่มีสีเหมือนทับทิมไทยหรือเปล่า (น่าเสียดายที่ทับทิมไทยค่อนข้างขุ่น จะหาใสมองทะลุเม็ดค่อนข้างยาก)

    แต่เอาเถอะ

    เพราะว่าการจะผสมสีจากแม่สีตามแนวความคิดแรก เพื่อไปหากลุ่มสีที่น่าจะเป็นนั้นน่าจะยากและอาจด้อยประโยชน์ การตามหาจากสีของทับทิมเม็ดดังๆ รวมทั้งตามดูจากเว็บที่ขายทับทิม (ดูความสวย+ราคา) แล้วเอามาเทียบกับตัวอย่างสีน่าจะประหยัดสมองด้านที่ใช้คำนวนมากกว่า แต่อุปสรรคก็พอมีคือ สีบนเว็บขายของเหล่านั้นอาจเชื่อถือได้น้อย แต่ถ้าหากค้นพบแหล่งข้อมูลดีๆ ที่เชื่อถือได้ก็อาจได้คำตอบเลยเป็นได้

   ตอนนี้ที่ผมสนใจต่อมาคือ กระบวนการประเมินราคาโดยผ่านการให้ระบุเกรด (grading) ทับทิม และการเจียรนัย ซึ่ง 2 อย่างนี้เป็นปัจจัยของราคาของมันครับ นั่นคือผมต้องไปหัดอ่านเกรดของทับทิมแต่ละเม็ดให้เป็น แล้วจึงกลับมานั่งดูทับทิมสยามว่าสู้เขาได้ใหม

   มาถึงตอนนี้ท่านๆ อาจขัดใจนิดๆ แล้วว่าผมทำไมถึงสนใจและเกาติดเรื่องทับทิมสยามนัก แล้วผมจะเล่าให้ฟังทีหลังแล้วกันครับ

   ช่วยตอบคุณ เทาชมพู ตามประสาคนศึกษาใหม่นะครับ

   ทับทิมแบ่งเป็น 3 เนื้อครับ คือ
   - เนื้อแก้ว (ดีสุด),
   - เนื้อแพร,
   - เนื้อเทียน
   เนื้อเทียนทึบแสงมองไม่ทะสุ เอาไปเจียรนัยแหลี่ยมไม่ได้ ต้องเจียรหลังเบี้ยไป หลังๆสามารถเผาให้โปร่งได้จึงนิยามเผากัน ส่วนที่เห็นอมม่วงนั้นเขาชอบเรียกว่าทับทิมติดม่วง เป็นสีที่พ่อค้าพลอยไม่ชื่นชอบและมักถูกเผาออกด้วยเช่นกัน ตามที่เห็นนี้ทับทิมเม็ดนี้อาจเป็นทับทิมธรรมชาติแบบเดิมๆ ไม่ผ่านการเผา มันมีคุณค่าที่เป็นของธรรมชาติ แม้ดูสวยน้อยด้อยราคาไปนิด แต่ถ้ามองที่ความหายากแล้วทับทิมเม็ดนี้มูลค่าไม่เบา

    ที่จริงตอนนี้ผู้คนพูดกันทั่วไปว่า  "ถ้าทับทิมสยามแล้วหล่ะก็ อย่ามัวไปเกี่ยงสีหรือเอามลทินมาติเลย แค่ให้มีไว้ในครอบครองสักเม็ดก็บุญโขแล้ว"


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 12 ต.ค. 12, 18:31
อ้อ.. ทับทิมสยามนั้นครั้งเมื่อฝรั่งเศษเข้าครอบครองเขมรและไทยบางจังหวัดนั้น คนฝรั่งเศสสมัยนั้นรู้ดีเรื่องคุณภาพของทับทิมสยาม สมัยนั้นฝรั่งเศษเรียกทับทิมพม่าว่าพลอยแดง แต่เรียกทับทิมสยามว่า Siam red diamond ครับ อันนี้มีคนเล่าให้ฟังมาอีกที

แสดงว่าตอนนั้นฝรั่งเศสได้ทับทิมสยามไปเยอะ แต่ตอนนี้ไม่รู้ไปอยู่ใหนบ้าง หรือสูญหายไประหว่างสงครามแต่ละครั้งหมดแล้วก็ไม่รู้ครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 12 ต.ค. 12, 21:53
ไม่มีความรู้เรื่องสีทับทิมมากนัก ได้แต่มองๆเวลาผ่านร้านขายอัญมณี
แต่ทำให้นึกถึงคำที่ชาวบ้านเขาเปรียบเทียบ(เฉดสี)ที่มีซื้อ ขายกันทั่วไปว่า

ทับทิมสี... แดงอมม่วง แดงเลือดนก แดงตากระต่าย ชมพูกลีบกุหลาบ เป็นการเรียกพอให้นึกถึงสีสันแบบกว้างๆ
พอจะสื่อสารกันได้ง่ายๆ

เหมือนเรียกสีของเสื้อผ้าเทียบกับธรรมชาติ เช่นเขียวตองอ่อน  เขียวหัวเป็ด  เขียวแบบปีกแมลงทับ  เขียวขี้ม้า

เขียวใบเตย  เขียวนกพิราบ  เขียวปี๋ ....

คำเรียกเฉดสีแบบนี้เคยมีคนรวบรวมไว้ในวิทยานิพนธ์ทางภาษา ที่อักษร จุฬา (เคยเห็นนานมากแล้วคะ)


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 13 ต.ค. 12, 20:44
อ้อ.. ทับทิมสยามนั้นครั้งเมื่อฝรั่งเศษเข้าครอบครองเขมรและไทยบางจังหวัดนั้น คนฝรั่งเศสสมัยนั้นรู้ดีเรื่องคุณภาพของทับทิมสยาม สมัยนั้นฝรั่งเศษเรียกทับทิมพม่าว่าพลอยแดง แต่เรียกทับทิมสยามว่า Siam red diamond ครับ อันนี้มีคนเล่าให้ฟังมาอีกที

คนฝรั่งเศสคงเรียกตรงกันข้ามกับคนไทย     สมัยแม่ดิฉัน เรียกทับทิมจากพม่าว่าทับทิม   ส่วนมณีสีแดงที่ขุดได้ในเมืองไทย เรียกว่าพลอยแดง  ถ้าได้จากจันทบุรีก็เรียกว่าพลอยจันท์   ไม่เป็นที่นิยมเท่าทับทิมพม่าค่ะ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: Ratananuch ที่ 16 ต.ค. 12, 10:12
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีรายการทีวีรายการหนึ่งพาไปชมตลาดพลอยเมืองจันท์ มีการอธิบายเรื่องทับทิม และนำมาโชว์ว่า นีคือทับทิมสยามสีจะออกแดงอมชมพู ทับทิมพม่าสีแดงสด แสดงว่าใครอยากจะซื้อทับทิมสยามก็ไปหาได้ที่ตลาดเมืองจันท์ซิคะ
 


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 17 ต.ค. 12, 16:08
เท่าที่ฟังมาทับทิมไทยน่าจะไม่มีแล้วนะครับ ที่เหลืออาจเป็นของเก่าเก็บ หรือไม่ก็เป็นทับทิมจากเขมรซึ่งอาจถือว่าเป็นทับทิมสยามได้เหมือนกันครับ ความจริงตอนนี้ที่ไทยขายไม่ใช่พลอยแต่เป็นชื่อเสียงเรื่องการเจียรนัยและการออกแบบเครื่องประดับซะมากกว่า และพอหนักๆ เข้าผู้ค้าก็ไม่เล่นของเกรดสูงราคาแพงเพราะใช้ทุนสูงและนอนทุนยาว ผมเคยได้ยินว่าคนที่มีทับทิมสยามเอาของไปขายเมืองจันทร์แต่ไม่มีคนซื้อเพราะเม็ดเดียวซื้อพลอยอื่นได้ครึ่งตลาดเลยไม่มีพ่อค้าคนใหนอยากจับไว้ครับ

  ส่วนเรื่องชื่อผมก็ได้ยินมาเหมือนกันครับว่าคนเมืองจันทร์เรียกพลอยตัวเองว่าพลอยจันทร์ ซึ่งคนจัทร์ชอบเรียกอย่างนั้นจริงๆ แม้แต่ตอนนี้พลอยชมพูของอาฟริกายังเรียกว่าทับทิมอาฟริกาอยู่เลย แต่จากน้ำเสียงแล้วเค้าก็ค่อนข้างภูมิใจในพลอยจันทร์กันนะครับ ยิ่งตอนนี้พลอยจันทร์เองก็ยังหายากมากความรู้สึกยิ่งเข้มข้นมากขึ้น

  ที่จริงการเรียกชื่อนี้ผมก็ได้ยินมาหลายทางเหมือนกัน ส่วนเรื่องตามบันทึกต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตเท่าที่พบก็ย้อนหลังไปแค่ 30-40 ปีเท่านั้นเอง และคำว่าทับทิมสยามนี้ได้มาตอนใหน ถ้าได้มาตอนที่เรายังเป็นประเทศสยามก่อนที่ประเทศไทยจะถูกฝรั่งเศสและอังกฤษหั่นแยกแบ่งกันนั่นก็อาจแปลว่าชื่อนี้ได้มาก่อนตลาดพลอยเมืองจันทร์จะบูมเสียอีก ความจริงประเทศสยามอาจได้มาแต่ชื่อส่วนตัวพลอยเขมรนั้นพร้องเสียมราชฎร์หรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ เรื่องนี้ก็อาจเป็นประเด็นค้นคว้าที่ยาวมากๆ ได้อีกเรื่องหนึ่งเหมือนกันครับ

  ช่วงนี้ผมขบคิดหนักเรื่อง คุณค่า กับ มูลค่า ที่คุณ naitang พูดไว้และคิดเรื่องนี้อย่างจริงจังมาตลอด แต่คิดยังไงก็ยังคิดไม่ตกเพราะว่าฝ่ายฝรั่งก็มีคำว่า rarity อีกคำหนึ่งเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น
  มรกตจากแคชเมียร์ ซึ่งถือเป็นมรกตคุณภาพสูงสุดที่คนทั้งโลกยอมรับ แต่มรกตจากแคชเมียร์นั้นหมดไปนานมากแล้ว มูลค่าของมันสูงมากและก็มีคุณค่าแบบสากล ซึ่งต่างจากทับทิมสยามเพราะรู้สึกประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งจะขาดตอนไป และสังหรใจว่าคุณค่าและมูลค่าของทับทิมสยามนั้นจะมาไม่พร้อมกันยังไงๆ อยู่ครับ

  เพียงแต่ว่าทำไม่คำว่า ทับทิมสยาม นั้นยังมีคุณค่าและมูลค่าสูงมากสำหรับคนกลุ่มหนึ่งที่ผมได้ข้อมูลมา มันเป็นข้อมูลจริงหรือแค่คำพูดทางการตลาด มันมีคุณค่าสำหรับคนกลุ่มเล็กๆ หรือแท้จริงมันมีคุณค่าแบบสากล โจทก์ข้อนี้แก้ได้ยากเพราะนั่นต้องหมายถึงต้องมีทับทิมสยามมาปรากฏตัวขึ้นเพื่อทดสอบเรื่องนี้ แล้วใครกันที่จะกล้าทำแบบนั้น เป็นเรื่องที่ยากจริงๆ ครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 18 ต.ค. 12, 19:55
วิดีโอนี้มีผู้ยืนยันว่าการเผาพลอยเป็นความบังเอิญจากเหตุการไฟใหม้ตลาดพลอยครับ
http://youtu.be/ynYmIOLKyUE


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: mrpzone ที่ 18 ต.ค. 12, 20:50
วิดีโอนี้มีผู้ยืนยันว่าการเผาพลอยเป็นความบังเอิญจากเหตุการไฟใหม้ตลาดพลอยครับ
ynYmIOLKyUE

แสดงวีดีโอจากยูทูปให้ครับ  :)


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 18 ต.ค. 12, 21:32
เหตุการณ์เกิดไฟไหม้ในตลาดจันทบุรี จนทำให้พลอยที่ถูกเผากลายเป็นพลอยสีสวยขึ้นนั้น ดิฉันเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง
แต่มันไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการเผาพลอยในไทย      ในกรุงเทพ  เรามีการเผาพลอย ที่เรียกว่า "หุง" มานานแล้ว  ดิฉันก็ไม่ทราบว่าประวัติการหุงพลอยมีมาแต่ครั้งไหน อาจเป็นได้ว่ามีมาตั้งแต่อยุธยา แล้วสืบเนื่องต่อมาถึงรัตนโกสินทร์

ในรัชกาลที่ ๒  กวีเอ่ยถึงพลอยหุง ไว้ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง   ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

แต่แรกเชื่อว่าเนื้อทับทิมแท้                 มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้
กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ                     ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา

จากเนื้อความนี้แสดงว่า "พลอยหุง" เป็นพลอยสีแดงลักษณะเหมือนทับทิม ดูเผินๆอาจจะแยกจากกันยาก     แต่คนไทยสมัยนั้นถือว่า "พลอยหุง" ไม่ใช่ทับทิมแท้   ทับทิมแท้ต้องไม่ผ่านเทคนิคการเปลี่ยนสี   แต่พลอยหุงก็คงมีการผลิตกันมากอยู่ จึงเป็นที่รู้จักกันจนนำมาเปรียบเทียบในกลอนบทนี้


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 19 ต.ค. 12, 23:14
ดิฉันเคยเห็นทับทิมเม็ดโตพองาม ที่อ.แม่สะเรียง ในร้านขายพลอย
มันมีสีแดงแต่ไม่จัดจ้านนักแต่มีความใสในเนื้อหิน คล้ายเม็ดทับทิม(ผลไม้ )
มีผู้รู้บอกว่าเป็นทับทิมที่ยังไม่ได้เผา ...เข้าใจว่าจะเป็นทับทิมธรรมชาติ

มีใครเคยเห็นอะไรทำนองนี้ไหมคะ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 23 ต.ค. 12, 04:02
ขอตอบตามประสาคนเพิ่งศึกษานะครับ

ตอบคุณพวงแก้วนะครับ เรื่องสีของพลอยนั้นเป็นเรื่องเอกที่แยกคุณค่าและมูลค่าของพลอยแต่ละชนิดออกจากกัน เม็ดพลอยเม็ด 1/5 กรัม ราคาอาจแค่ 5 USD หรืออาจเป็น 10,000 USD อยู่ตรงที่สีเป็นโจทก์หลักครับ ตอนนี้ชื่อเสียงของร้านค้าในไทยคือ 95-99% เป็นของไม่แท้ครับ เป็นเรื่องน่าเศร้าจริงๆ ถ้าเป็นไปได้วันหลังจะเอาตัวอย่างภาพทับทิมที่มีค่าจริงๆ มาลงให้ดูครับ

ตอบคุณเทาชมพูครับ เรื่องการเผาพลอยนั้นผมก็คิดเช่นนั้นเหมือนกัน ที่ผมตามหาเหตุการณ์ไฟใหม้นั้นที่ว่านั้นเพราะสงสัยว่ามีไฟใหม้จริงหรือแค่อ้างกันมาลอยๆ เท่านั้นมา จึงได้ตามหาหลักฐานบางอย่างเพื่ออ้างอิง แต่ผมก็คงยังไม่ได้ไปทางใหนและตอนนี้คงไม่ได้เจาะลึกเรื่องนี้ไปมากกว่านี้ครับ

หลายวันผ่านผมค้นข้อมูลหลายเรื่อง บางเรื่องพบแล้วก็เป็นน่าสนใจ เช่น สิงค์โปร์สนใจจะเป็นศูนย์กลางการซื้อขายพลอยและทับทิมของเอเซียไต้นี้ ฟังดูแล้วก็น่าสนใจ เพราะเค้าไม่มีทรัพยากรแต่เค้ากลับเป็นตัวแทนค้าเครื่องมือวิเคราะห์และเจียรนัยเพชรพลอยที่สำคัญๆ ของโลกหลายยี่ห้อ และเค้าสามารถเกี่ยวข้องกับการซื้อขายพลอยและทับทิมก้อนใหญ่ๆ จากไทยและเขมรในหลายเหตุการณ์ อันนี้น่าคิดนะครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 23 ต.ค. 12, 17:17
เดาเล่าๆนะคะว่าเป็นเพราะความน่าเชื่อถือหรือเปล่า ที่ทำให้สิงคโปร์ดูมีแต้มต่อมากกว่า
การซื้ออัญมณีมีราคา ต้องการการรับรองที่เชื่อถือได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์

แต่เท่าที่ได้ยินมาตลาดพลอยที่เมืองจันทบุรีมีชื่อเสียงอยู่มากในขณะนี้
ก็คุยกันตามประสานะคะ  ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: พวงแก้ว ที่ 24 ต.ค. 12, 14:32
เห็นภาพนี้แล้วสงสัยคะว่า มณีสีแดงขุ่นๆนี้ใช่ทับทิมไหมคะ ทำไมการเจียระนัยจึงไม่เหมือนสมัยนี้

ทำไมไม่ดูเงางาม แต่ดูด้านๆ คะ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 24 ต.ค. 12, 20:38
ผมเข้าใจว่าสิงค์โปร์เค้าทำงานอย่างมีแบบแผนและสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ครับ ปัญหาของผู้ผลิตคือการหาลูกค้า หากสิงค์โปร์เค้าสามารถมีรายชื่อและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าไว้ได้ตลอด ขอเพียงมีคนมาเสนอขายพลอยเม็ดสวยๆ เค้าก็จะสามารถเสนอราคาซื้อและหาลูกค้าที่จะขายได้เลยในทันที อันนี้สำคัญมากโดยเฉพาะกับอัญมณีเกรดสูงเหนือปกติครับ แต่แค่นี้ก็พอแล้วเพราะสินค้าเกรดสูงจำนวน 10% อาจมีมูลค่าเท่ากับ 80%-90% ของมูลค่ารวมของตลาดครับ

ตัวอย่างเช่น มีพลอยหรือทับทิมขนาดใหญ่หลุดมาเสนอขายในตลาดไทยเป็นทับทิมขนาด 1.8 กิโลกรัม (ประมาณ 9000 กะรัต) และต้องการหาคนซื้อ ผู้ซื้อในเมืองไทยคงหายาก เดาว่ารูปการณ์ที่เกิดขึ้นคือตัวแทนไปติดต่อผู้ซื้อจริงมาซื้อโดยตรง โดยตัวแทนจะทำหน้าที่จัดการในรายละเอียดให้ บทสรุปคือสิงค์โปร์ (ซึ่งน่าจะเป็นตัวแทน) ซื้อไปในราคา 450 Million USD (13,500 ล้านบาท) ซึ่งจะตกกะรัตละ ประมาณ 50,000 USD (แต่หากพิจารณาจริงๆ แล้วราคานี้ไม่ใช่ราคาที่ดีที่สุดของทับทิมขนาดใหญ่ นั่งคิดเพลินๆ ว่า หากตัวแทนรายนี้ซื้อไปแปรรูปขายเองนั้น การจะได้กำไร 50%-100% เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ครับ)

สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ ผู้ซื้อเกรดสูงไม่ได้มีเวลาไปตามดูหรือเสาะหาสินค้าเองแต่จะมีนายหน้าหรือผู้ค้าคอยนำข้อมูลพลอยเม็ดสวยๆ ไปเสนอขายให้ หากตัวกลางมีทุนพอก็อาจซื้อเองแล้วนำไปขายต่อเอาก็ทำได้ อย่างหลังจะได้ส่วนต่างสูงกว่าแต่ก็ใช้ทุนสูงและเสี่ยงกว่า และหน้าที่ตัวแทนหรือนายหน้านี่แหละที่เค้าอาจทำได้ดีกว่า มันเลยปรากฏชื่อผู้เล่นรายที่น่าแปลกใจขึ้นมาในตลาดแบบนี้ครับ

ส่วนทับทิมเม็ดที่คุณพวงแก้วเอามาให้ดูนี้ดูยากครับ ตามภาพคงเป็นของเก่าที่เจียรนัยโดยช่างในอดีตอย่างที่ว่าเพราะทับทิมเกรดนี้ทุกวันนี้ต้องเจียรนัยแบบเหลี่ยมเท่านั้นถึงจะได้ราคา มองดูคร่าวๆ เฉพาะเม็ดหลักขนาดจะประมาณ 10-15 กะรัต หากสีตามนี้ และน้ำสวย+ไม่เผา คิดเล่นเพลินๆ โดยอ้างราคาตามของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (http://www.git.or.th/thai/info_center/gems_price_list/colored_stone_prices/2012/09/2012_cstones_09.pdf (http://www.git.or.th/thai/info_center/gems_price_list/colored_stone_prices/2012/09/2012_cstones_09.pdf)) ลองประเมินแค่ที่ 30,000 USD/กะรัต ราคาของเม็ดนี้ก็อาจตกประมาณ 450,000 USD ก็เป็นได้

แต่เรื่องการประเมินราคานี่ยากมากครับ ลองนั่งชมเล่นเพลินๆ จากเว็บนี้ได้ครับ http://www.thenaturalsapphirecompany.com/Rubies/#&&FzhZ2VNLOQIMbU+8FXp70QuFQ4IK/1caS99gp8IBsZQEUgagsmdozmczP3/Sw/DZwZ0FXXx0j+Ze6G/5gMpMNXRpI2eY/cHZwaqvobuH9Lb5jAiNajDqc+C3xgUx9ScR9AZKyUPx27YPZMvsCPXTif14293+WyuloaIj8GLupiNlpevY7Sv9FQuSD0Dx0c4YcnnUqhQXvqS0MHEu7Vss23r57H56ppjDIaDI9T5CyRCg2mgf9ucZ8DhWHeoIIHR0aXK2m6mz6u4t3YaS8xIJrcZ5pSld17o0eWbNlEuXp5lmciHP+WFI4sktC6hblpQWPRX7fxdCiD39NORcEt5+k50Oace+bHlp3M6pjndmkizvjRREmmhUP88OFHH4T40bA5xuZvptHabsMES4DjEQ/gVqG/hfWBlcF0Y2u49zSEEIC+lHjti2+txMkn6n/Uy4vN47pth63ZHOLzfqBC8C0TZW1tNjWlkQg6ubwEazW6jjjKeF0VPA8+YLtIKRIiHEXbLdvf7E8gLkS/zm6NKl7cgsB3NmZR5e8hfYz1jrdo3pv2Y91aA4YJzlD/4nIa+QexDOsainyEastpzMAANP6/I1jVDS81651bg992KW4caQoYFrXDo9p4Sfgt3FrNaoqEiB0fZ7O6KG366PS+vrpTrNNTs= (http://www.thenaturalsapphirecompany.com/Rubies/#&&FzhZ2VNLOQIMbU+8FXp70QuFQ4IK/1caS99gp8IBsZQEUgagsmdozmczP3/Sw/DZwZ0FXXx0j+Ze6G/5gMpMNXRpI2eY/cHZwaqvobuH9Lb5jAiNajDqc+C3xgUx9ScR9AZKyUPx27YPZMvsCPXTif14293+WyuloaIj8GLupiNlpevY7Sv9FQuSD0Dx0c4YcnnUqhQXvqS0MHEu7Vss23r57H56ppjDIaDI9T5CyRCg2mgf9ucZ8DhWHeoIIHR0aXK2m6mz6u4t3YaS8xIJrcZ5pSld17o0eWbNlEuXp5lmciHP+WFI4sktC6hblpQWPRX7fxdCiD39NORcEt5+k50Oace+bHlp3M6pjndmkizvjRREmmhUP88OFHH4T40bA5xuZvptHabsMES4DjEQ/gVqG/hfWBlcF0Y2u49zSEEIC+lHjti2+txMkn6n/Uy4vN47pth63ZHOLzfqBC8C0TZW1tNjWlkQg6ubwEazW6jjjKeF0VPA8+YLtIKRIiHEXbLdvf7E8gLkS/zm6NKl7cgsB3NmZR5e8hfYz1jrdo3pv2Y91aA4YJzlD/4nIa+QexDOsainyEastpzMAANP6/I1jVDS81651bg992KW4caQoYFrXDo9p4Sfgt3FrNaoqEiB0fZ7O6KG366PS+vrpTrNNTs=)


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 25 ต.ค. 12, 01:26
รูปก่อนและหลังเจียรนัยครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 25 ต.ค. 12, 01:29
อีกภาพครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 22 พ.ย. 12, 03:50
ไปตามหามาจนได้ครับ ทับทิมสยามสีดูทึมๆ อย่างเค้าว่าจริงๆ ครับ

แต่ถ้าส่องผ่านแสงแดดก็พอเห็นเป็นสีแดง ผมยังไม่เห็นเม็ดที่ผ่านการเจียรนัยแล้วว่าสีแบบนี้เจียรนัยแล้วผลจะเป็นอย่างไร แต่เจ้าของเข้าขอไม่ให้ผมเปิดเผยข้อมูลมากไปกว่านี้ ที่จริงตามข้อมูล ip ของผมนี้ก็บอกได้ว่าผมอยู่ที่ใหน แม้ต้องเดินทางไปอีกไกลมากกว่าจะถึงจังหวัดที่อยู่ของเจ้าของพลอยแต่เค้าขอไว้แล้วผมก็ต้องทำตามที่รับปาก


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 22 พ.ย. 12, 04:03
ตอนนี้ทับทิมสยามหายากที่สุดในโลกแล้วครับ เพียงแต่หาไม่มีหรือใครอยากได้คงต้องข้ามเขาข้ามแดนฝ่าดงระเบิดกันหน่อย ตอนนี้เหลือเพียงที่มีบางคนเก็บเอาไว้ยี่สิบสามสิบปีเท่านั้น ผมไม่มีความรู้เรื่องการเจียรนัยเลยบอกไม่ได้มากกว่านี้ สุดท้ายกระทู้นี้ฝากไว้ด้วยภาพถ้ายทับทิมดิบแบบขัดใจเจ้าของนิดหน่อยครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 พ.ย. 12, 18:28
ไม่กี่วันก่อน ได้คุยกับผู้อยู่ในวงการรัตนชาติคนหนึ่ง   ครอบครัวเขาทำธุรกิจทางด้านนี้มาตั้งแต่สมัยพ่อ   ดิฉันก็เลยถามถึงทับทิมสยาม  เขาบอกว่าก็ยังมีอยู่     แต่สมัยนี้กระบวนเทคโนโลยีการผลิตก้าวหน้าสูงมาก   แม้แต่คนที่คลุกคลีกับอัญมณีต่างๆมาตลอดชีวิตก็ยังดูไม่ออก  ต้องเอาเข้าเครื่องตรวจสอบถึงจะรู้ว่าแท้หรือไม่แท้   
ถ้าจะพึ่งสายตาตัวเอง ต่อให้ผ่านประสบการณ์มาเป็นสามสิบสี่สิบปีก็ยังเชื่อตาตัวเองไม่ได้     เพราะฉะนั้น ทับทิมสยามของจริงนั้น อย่าถามด้วยตาเปล่าเสียให้ยากเลยค่ะ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 25 ธ.ค. 12, 00:32
ถูกต้องตามที่คุณเทาชมพูพูดครับ ในตำราก็เชียนไว้เช่นกันว่าอย่าได้เชื่อว่าเป็นทับทิมแท้ธรรมชาติและมาจากแหล่งที่คุณได้ยินมา หากคุณไม่ได้ขุดมันขึ้นมาด้วยมือตัวเอง ที่จริงแล้วการพิสูจน์ขั้นสุดท้ายคือการนำเข้าห้องแลปเพื่อพิสูจน์ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูง แต่กระนั้นก็ยังสามารถระบุแหล่งที่มาได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะในทับทิมนับหมื่นนับแสนเม็ดของบ่อหนึ่งๆ นั้นอาจมีบางเม็ดที่มีคุณลักษณะทับทิมจากบ่ออื่นได้ แม้โอกาสเกิดได้น้อยหากทับทิมเม็ดนั้นมีขนาดใหญ่พอหรือให้ข้อมูลของตัวเองได้มากพอ แต่ก็เกิดขึ้นได้ครับ

ช่วงหลายสัปดาห์มานี้ได้หาความรู้เพิ่มจากหลายๆ แหล่ง เริ่มพอเข้าใจคุณลักษณะของทับทิมจากแต่ละแหล่งขึ้นมาบ้าง แต่หลายเรื่องก็เป็นเรื่องที่ยังพิสูจน์ไม่ได้จึงเป็นข้อมูลที่ไม่ได้กรอง เช่นท่านหนึ่งอ้งว่าข้อมูลที่เค้าได้มานั้นได้มาจากครูของเขาที่เป็นคนไทยที่อยู่บนภูเขาที่อำเภอไพลินสมัยที่เขมรยังเป็นของไทย เมื่อเขมรแตกเค้าแทบเอาชีวิตไม่รอดแต่สุดท้ายสามารถหลบหนีมาอยู่ประเทศไทยได้ในที่สุด ข้อมูลนั้นยืนยันว่าทับทิมสยามนั้นสวยเหนือทับทิมของพม่า เรื่องราวนี้เป็นเรื่องเล่าสมัยเมื่อ 70 ปีที่แล้ว ก่อนเกิดขึ้นของเหมืองพลอยที่เมืองจันทร์ และก่อนมีการบันทึกของฝรั่งที่เราพบเห็นตามหนังสือหรือแปลเผยแพร่อยู่ในอินเตอร์เน็ตสมัยนี้ ผมหวังไว้ว่าสักวันจะได้พบท่านผู้นี้และอยากได้ยินเรื่องราวจากปากของท่าน เป็นพยายบุคคลในเรื่องราวที่ผมอยากรู้คำตอบครับ

ส่วนเรื่องสีแดงเลือดนกพิราบของทับทิมนั้นกลับเป็นเรื่องที่ดูตลกเล็กน้อย

ทับทิมพม่าจากเหมืองเก่านั้นมีความสวยงานโดดเด่นจริงอย่างคำล่ำลือ แต่ทับทิมพม่าเกิดจากแหล่งที่มีแร่เหล็น้อย ทำให้สีสรรสมบูรณ์ตามลักษณะการเกิดสีของแซปไฟล์คือได้สีแดงจาธาตุโครเมี่ยม แต่สีที่สมบูรณ์นั้นทำให้มันเป็นโทนแดงและออกไปทางชมพู แต่สีที่หายากนั้นคือสีแดงเข้มกว่าสีที่ได้จากธาตุโครเมี่ยมเพียงโดดๆ แต่ต้องมีธาตุอื่นที่ทำให้มันแดงได้เข้มกว่านั้นคือต้องมีธาตุเหล็กช่วยเสริม ผลลัพธ์คือทับทิมสีแดงจัดแดงเข้มและทึบกว่าทับทิมที่บริสุทธ์ทั่วไป บางครั้งจะสามารถมองเห็นประกายม่วงหรือเหลือบม่วงได้จากเม็ดทับทิม มันจึงเป็นสิ่งหายากเพราะแล่งที่เกิดมีธาตุเหล็กน้อยมากทำให้พบทับทิมเช่นนั้นได้น้อย แต่ความหายากกลับทำให้มันเป็นสิ่งที่คนตามหา เหมือนในเมืองคนขาวที่มีคนผิวสีแทนไม่กี่คนขึ้นมาก็กลายเป็นดาราเช่นนั้น

เรื่องมันตาลปัดเพราแหล่งทับทิมไทยอุดมไปด้วยเหล็ก โอกาสจึงเจอสีเช่นนั้นจึงมีได้ แต้ด้วยเหล็กมากเกินไปจึงให้ทับทิมไทยออกสีเข้มมากจนบางเม็ดออกสีน้ำตาล ส่วนใหญ่ติดม่วงเจ้าของเห็นว่าไม่สวย โดยเฉพาะเป็นทับทิมติดม่วงทั้งหมดจึงทำให้เม็ดที่ติดม่วงน้อยที่โผล่มาดูโดดเด่น จะพูดแบบเหน็บแนมก็คงได้ว่า ทับทิมพม่าเม็ดสวยคือทับทิมสีเอียงมาทางทับทิมไทย ส่วนทับทิมไทยที่สวยคือทับทิมที่สีเอียงมาทางทับทิมพม่า ก็ว่าได้

แต่คนไทยเก่งเพราะสามารถไล่สีม่วงออกไปได้โดยการเผา แต่การเผานั้นก็คาดเดาผลยากและถือว่าเป็นการลงทุนที่สูงเนื่องจากความเสี่ยง แต่เมื่อทับทิมพม่าขาดแคลนเพราะถูกบอยคอดการส่งออก ทับทิมเผาของไทยจึงมาแทนในจังหวะนี้ แต่การเผาให้ความรู้สึกถูกหลอกสำหรับผู้ซื้อบางกลุ่ม แม้ไทยคือผู้ป้อนอัญมนีรายใหญ่ของโลกแต่ชื่อเสียงเรื่องการปรุงแต่งที่เก่งกาจนี้ยิ่งทำให้ความน่าเชื่อถือไว้วางใจกลับถอยลงสวนทาง สาเหตุนั่นเพราะแนวความคิดของผู้ผลิตไทยและผู้ซื้อกลุ่มนั้นสวนทางกันโดยตรงในแนวทางหลัก กลุ่มสินค้าไม่เผาหายากกว่า ราคาสูงกว่า (และดูจริงใจกว่า) ถูกจัดเป็นสินค้าชั้นสูง ส่วนสินค้าที่สวยเพราะการเผาก็ถูกจัดเป็นสินค้าเกรดรองไปตามระเบียบ วงการของไทยจึงถูกมองเป็นตลาดชั้นรองและพาลดึงทับทิมเม็ดไทยสวยที่หายากพอๆ กับเม็ดน้ำเอกของพม่านั้นหมองไปด้วย

ที่จริงความสวยนั้นเป็นเรื่องความชอบความนิยมส่วนบุคคล หากชอบเหมือนๆ กันก็เป็นค่านิยมของสังคม คนไทยกับคนยุโรปอาจนิยมไม่เหมือนกันไม่ใช่เรื่องแปลก แต่มันก็มีเรื่องพื้นที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นสัจธรรมมาเกี่ยวข้อง แถบเหนือเส้นศูนย์สูตรนั้นมีแสงเหนือม่วงมากกว่าแถบเส้นศูนย์สูตร ชะตาเข้าข้างทับทิมพม่าบ้างเพราะของเค้ามีเรืองแสงในแสงเหนือม่วงมากว่าทับทิมไทย โดยความเป็นจริงที่วัดค่าได้ค่อนข้างชัดนี้จึงทำให้ทับทิมพม่าโดดเด่นกว่าทับทิมไทยเมื่อมองดูในพื้นที่เขตนั้นไป

วันนี้พม่าเปิดประเทศแล้วทับทิมพม่าจึงเดินผ่านประตูโล่งออกสู่ตลาดโลกได้มากขึ้น ความหายากในตลาดเริ่มลดลงต่างจากทับทิมสยามที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แม้อุปทานเพิ่มขึ้นย่อมดึงราคาโดยรวมให้ลดลงแต่ความหายากของทับทิมไทยสวยๆ นั้นกลับเพิ่มขึ้นๆ อนาคตทับทิมสยามอาจสูงค่ามากแต่อาจเหลือแค่ตำนาน เวลาผ่านไปอาจไม่มีใครเชื่อว่าช่วงหนึ่งทับทิมสยามและทับทิมพม่าห่างชั้นกันเพียงขั้นเดียว เหมือนกับตอนนี้ที่ผมยังไม่เชื่อผู้ที่บอกผมว่าในอดีตก่อนนั้นนานมากๆ ทับทิมสยามเหนือกว่าทับทิมพม่าแน่นอน

โดยส่วนตัวผมแล้วยังหาเหตุผลที่ชัดเจนไม่ได้ว่าผมชอบทับทิมไทยมากว่าทับทิมพม่าอย่างไร แม้ตัดความรู้สึกชาตินิยมออกไปแล้วแต่ผมก็ยังรู้สึกชอบทับทิมสีแดงสวยแอบมีเหลือบม่วงแบบทับทิมสยามมากว่าทับทิมเม็ดสวยแต่แอบอมชมพูแบบทับทิมพม่า และโดยความจริงแล้วผู้ซื้อทับทิมใช้นั้นอาจไม่มีความรู้เองด้วซ้ำว่าสีทับทิมแบบใหนที่ผู้รู้บอกว่าสวยอย่างแท้จริง หลายคนซื้อเพราะสีของมันเป็นสีสวยในแบบที่ชอบโดยไม่ทราบเลยว่าเม็ดนั้นแท้จริงแล้วถูกจัดเป็นแค่แซปฟร์สีชมพู ซื้อเพราะผู้ขายบอกว่านี่แหละคือสีที่แท้จริงของทับทิม นี่สีสีแดงเลือดนก (โดยไม่บอกว่าเป็นนกอื่นไม่ใช่นกพิราบ)

แม้การซื้อด้วยความพอใจนั้นจะไม่ถูกต้องแต่ก็ไม่ผิดและเป็นเรื่องเหมาะสมที่สุดแล้วสำหรับผู้ใช้ทั่วไป แต่หากมองในมุมที่ว่ามันคือทรัพย์สินและถือเป็นการสะสมหรืลงทุนได้ไม่ต่างจากทองแล้ว เรื่องนี้จึงสามารถขยายไปได้อีกไกลมาก และผมอยากเห็นการซื้อโดยคุ้มค่ารอบด้าน จะถูกหรือแพงก็ควรซื้อได้ในราคาที่เหมาะสมและทรงมูลค่าในทุกกาละและทุกเทศะ นั่นคือความเหมาะสมในแบบที่ผมคิดว่าดี แต่น่าเศร้าที่พลอยและทับทิมไม่มีหลักการประเมินค่าอย่างชัดเจน ราคามันหวือหวาและมีความเสี่ยงมากกกว่าการลงทุนกับทองและเพชรที่ค่อนข้างอยู่ตัวในเรื่องการตีราคา ความรับผิดชอบนี้กลับตกอยู่ในมือของผู้ขายซะเป็นส่วนใหญ่ เป็นเรื่องผิดฝาผิดตัวไปกันใหญ่ ดังนั้นการลงทุนในทับทิมสำหรับผู้ไม่มีความรู้นั้นจึงแทบหาความเป็นไปได้ไม่เจอ ร้ายแรงกว่าแมงเม่ามือใหม่ในตลาดหุ้นก็ไม่ปาน


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: tubtimthai ที่ 25 ธ.ค. 12, 01:27
ใหนๆ ก็ออกนอกเรื่องมาไม่น้อย ผมขอแชร์ความรู้อันน้อยนิดในมุมมองของผมต่อไปด้วยเลยนะครับ ถูกผิดเช่นไรหวังว่าท่านผู้รูและผู้ใหญ่จะช่วยตักเตือนและชี้แนะให้เป็นวาสนา ล่วงเกินหรือขาดสัมมาคาระวะไปบ้างก็โปรดให้อภัยด้วยนะครับ

ที่ผมได้ยินมาคือ แม้ความรู้สึกว่าด้อยกว่านี้กลับเป็นเรื่องรู้กันทั่วไปก็จริง แต่ในวงการลึกๆ แล้วทับทิมสยามกลับโดดเด่นและสูงค่ากว่ามาก แม้ราคาเปิดตัวออกสตาร์ทก็ทิ้งทับทิมพม่าไปหลายทิวเขา โดยเฉพาะผู้นิยมทับทิมในไทยแล้วยิ่งหาอะไรมาแทนทับทิมสยามไม่ได้เลย และดูเหมือนผู้ค้าทั้งหลายก็ไท่ยินดียินร้ายในชื่อเสียงที่เป็นรองนี้เลย ตราบใดที่ความต้องการและราคายังเหนือชั้นกว่าก็ไม่มีปัญหาใดๆ เหตุการณ์ก็น่าจะเป็นจริงเช่นนี้ ดูได้จากเว็บของไทยทั้งหลาย ทับทิมสยามมีให้เห็นน้อยมาก บางทีดูในรูปก็ดูคล้ายจะเป็นสยามแค่สัญชาติแต่เชื้อชาติอาฟริกา อันนี้ถูกผิดก็เป็นไปตามรูปภาพที่นำมาขึ้นเว็บ แต่ที่แน่ๆ คือถ้าเม็ดใหนสามารถตีตราเป็นสยามได้ แม้ไม่สวยโดดเด่นแต่ราคากลับกระโดดไปไกลแบบค้านสายตาอยู่ไม่น้อย ส่วนเว็บนอกไม่พบว่ามี ส่วนใหญ่มีแต่ภาพในตำราอ้างอิงทั้งหลาย

สิ่งหนึ่งที่ผมได้ยินมาและเป็นเรื่องที่คนไทยส่วยใหญ่มองข้าม นั้นคือการซื้อพลอยและทับทิมเป็นการลงทุน ที่จริงข่าวคราวต่างๆที่เราอ่านเจอตามแหล่งต่างๆนั้น เช่นทับทิมเม็ดสวยของพม่าขนาดประมาณ 5 กะรัต ถูกประมูลที่ห้องกงทำลายสถิติราคาต่อกะรัตเดิมไปอยู่ที่กว่า 500,000 USD ต่อกะรัต นั้น หากเราจะค้นย้อนไปอีกนิดก็พบว่าเจ้าของซื้อมาไม่นานมากถึงขั้นเป็นมรดกของตระกูล แต่ความต่างของราคานั้นสูงมากแทบจะมากกว่าทรัพย์สินใดๆ จะสามารถทำได้ในระยะเวลาเท่ากัน นี่คือการลงทุนสะสมทรัพย์เป็นอัญมณี จริงอยู่ แม้มันมีความเสี่ยงสูงกว่าทองและเพชร แต่ผลตอบแทนสูงกว่าทองมาก นี่คือสิ่งหนึ่งที่ผมมองเห็น

สำหรับคนไทยแล้วการซื้ออัญมณีนั้นซื้อเพื่อใช้งานอย่างแท้จริง ใช้แล้วขาดทุนทันที่ซื้อ ซื้อแล้วผลตอบแทนแทบทั้งหมดคือความพอใจของตัวเอง สิ่งนี้สะท้อนได้จากหลายอย่างเช่น ไม่มีประกันภัยอัญมณี ไม่มีอาชีพประเมินค่าอัญมณีเพื่อการประกันภัย เป็นต้น นี่คือภาพรวมในมุมๆ หนึ่งที่ผมสังเกตุเห็นครับ

แต่ความเป็นจริงแล้วประเทศไทยเป็นที่ๆ เหมาะที่จะเริ่มต้นกับการลงทุนในทับทิมและพลอยเป็นอย่างมาก เหตุหนึ่งนั้นคือ ราคาไม่สูงเนื่องจากปัจจัยหลายๆ อย่างเอื้ออำนวย แทบจะพูดได้ว่า หากคุณซื้อไม่ผิดราคา แค่ก้าวออกจากประเทศไทยก็ได้กำไรทันทีก็ว่าได้ อีกเรื่องหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครชี้ช่องคือ เพดานราคาไม่สูง อันนี้ได้เปรียบมากสำหรับนักลงทุนฐานแข็งแรง เพราะราคาของอัญมณีท้องถิ่นของไทยราคาไปได้ไม่ไกลมาก จะมูลค่าสูงแค่ใหนราคาก็ไปชนเพดานความสามารถซื้อได้ของคนไทยอยู่ดี ดังนั้นอัญมณีคุณภาพสูงเม็ดใหญ่ๆ จึงเป็นการลงทุนที่น่าสนใจมากๆ สำหรับเมืองไทยครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเกี่ยวกับอัญมณีแล้ว ความรู้เท่านั้นคือเกราะชิ้นเดียวเมื่อคุณเข้าสู่ศึก ความรู้เท่านั้นคืออำนาจและอาวุธวิเศษที่หามาครอบครองได้จริง หากเรื่องนี้ดูยุ่งยากแล้วการเลือกลงทุนในทองและเพชรก็ดูเหมาะสมดี แต่การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงแลการต้องการการเตรียมตัวอย่างมากนั้นมักให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นกว่าเสมอๆ ครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 20 มี.ค. 15, 22:04
สุดยอดครับ ข้อมูลเรื่องทับทิมสยามในกระทู้นี้ผมเพิ่งสนใจเรื่องอัญมณี
 เลยหาข้อมูลดูเท่าที่ผ่านมาไม่ค่อยเห็นเรื่องทับทิมไทยของเราเองเลย
เพิ่งเห็นจากเวบนี้ที่เดียว แต่ก้อผ่านมาหลายปีแล้ว ถ้ามีสมาชิกท่านใดผ่านมา
ช่วยแนะนำสมาชิกใหม่อย่างผมด้วยนะครับว่าผมจะหาข้อมูลทับทิมของเราได้ที่ไหนอีก
เผื่อมีบุญได้พบเจอจะได้รู้ไว้ครับ ว่าแต่ทับทิมไทยหายสาปสูญไปได้ด้วยหรอครับ
อย่างน้อยก้อน่าจะมีรูปให้ดูมั่ง เห็นแต่เม็ดที่คุณทับทิมสยามเอาดิบๆมาให้ดูยังรู้สึกว่า
หาได้ลำบากมากเลยครับ ขอบคุณครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 มี.ค. 15, 08:25
กระทู้นี้จบไปนานแล้ว คุณทับทิมไทยก็ไม่ได้กลับมาอีกค่ะ   น่าเสียดาย


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 21 มี.ค. 15, 15:37
สวัสดีครับคุณเทาชมพู ผมชื่นชมเวบนี้จริงๆครับปกติจะหาข้อมูลเรื่องที่สนใจตามเวบเฉยๆแต่พออ่านเนื้อหาในนีผมสมัครสมาชิกทันทีเลยครับ หลังจากนั้นก้ออ่านกระทู้ต่างๆจึงพอทราบว่าสมาชิกในเวบนี้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งนั้นเลยผมเองขอชื่นชมทุกๆท่านผ่านทางนี้เลยแล้วกันครับว่าเนื้อหาต่างๆมีข้อมูลลึกซึ้งมีที่มาที่ไปแนวทางการวิเคราะห์อ้างอิงได้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่แสวงหาความรู้เช่นผมจริงๆครับ ผมเจอเวบนี้จากกระทู้นี้เพราะผมเพิ่งได้เศษพลอยเล็กๆจากคุณยายมาครับเลยอยากรู้เรื่องทับทิมสยามครับเผื่อฟลุคมีกะเค้่ามั่งผมเห็นว่าสมาชิกในเวบนี้มีคนที่ให้ความรู้ผมได้แน่นอนแต่ผมคงไม่กล้าไปรบกวนท่านด้วยเรื่องเล็กๆน้อย ยังไงจะติดตามเวบต่อไปนะครับขอบคุณท่านเจ้าของเวบครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 15, 16:17
เข้าทางคุณนายตั้งพอดี ท่านนี้บอกได้แน่

ว่าแต่ว่าไม่ถ่ายให้ชัดๆหน่อย แล้วเอามาลงใหม่หรือครับ จะได้เห็นสาแหรกด้วยถ้ามี


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 21 มี.ค. 15, 16:41
จริงด้วย  นักธรณีวิทยาอย่างคุณ Naitang บอกได้แน่ๆค่ะ
ขอให้คุณทิพยุทธถ่ายรูปทับทิมให้ดูกันชัดๆอีกครั้งได้ไหมคะ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 21 มี.ค. 15, 17:04
เข้าทางคุณนายตั้งพอดี ท่านนี้บอกได้แน่

ว่าแต่ว่าไม่ถ่ายให้ชัดๆหน่อย แล้วเอามาลงใหม่หรือครับ จะได้เห็นสาแหรกด้วยถ้ามี
สวัสดีครับคุณ NAVARAT.C ผมขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับผมว่าแล้วว่าผมมาศึกษาหาความรู้ได้ถูกที่แล้วจริงๆ พลอยในถุงมีขนาดเล็กมากเลยครับแล้วผมใช้กล้องมือถือไอ4ถ่ายไม่รู้ว่าจะถ่ายได้ชัดแค่ไหน แต่ไม่อยากถ่ายมาแล้วมาถามนี่นั่นผมเกรงใจเหมือนเป็นการรบกวนครับ แค่ผมได้เข้ามาเก็บข้อมูลในเวบนี้ก้อถือเป็นพระคุณอย่างสูงแล้วครับ ผมเองก้อไม่ได้มีปัญญาไปหาซื้อมาที่ได้มาก็จากคุณยาย แต่ที่ผมสนใจจริงๆคือความหายาก และเรื่องราวอาถรรพ์ของทับทิมไทยนี่แหละครับ เมื่อก่อนสนแต่พระเครื่องพอมาสนใจเรื่องทับทิมไทยแล้วเลิกสนใจพระเครื่องเลยครับ และที่สำคัญผมเชื่อเรื่องอัญมณีกับผู้ครอบครองมากกว่าแล้วครับ ถ้าคนที่ครอบครองเป็นคนไม่ดีอัญมณีก็จะไม่ส่งเสริมและไม่อยู่กับคนนั้นๆ ผมกลัวอาถรรพ์ทับทิมไทยไปแล้วครับ ที่ผ่านมาผมเห็นผู้ที่เขียนหรือศึกษาเรื่องนี้ก้อยังหาข้อสรุปไม่ได้ กระทู้นี้ก้อจบไปตั้งหลายปีแล้วเห็นท่านเจ้าของเวบบอกว่าผู้ตั้งกระทู้ก็ไม่อยู่ในเวบแล้ว อีกคนที่เขียรเรื่องนี้ที่ผมเคยอ่านเจอใช้นามปากกาว่า คนหาพลอย ก้อทิ้งท้ายไว้หลายปีแล้วซึ่งช่วงหลังๆก็โยงใยเรื่องเกี่ยวกับความฝันจนยากที่ผมจะเข้าใจ กล่าวมาเนิ่นนานประเด็นผมคือขอฝากเนื้อฝากตัวทุกๆท่านด้วยนะครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 15, 18:04
รูปที่ถ่ายข้างบนใช่หรือเปล่า
ถ้าใช่ ต้องเปิดโหมดมาโครก่อนนะครับ หรือไม่เปิดก็ต้องถอยกล้องออกไปหน่อยแล้วคร็อบภาพเอา

อ้างถึง
แต่ไม่อยากถ่ายมาแล้วมาถามนี่นั่นผมเกรงใจเหมือนเป็นการรบกวนครับ

ไม่รบกวนหรอกครับ เป็นความรู้สู่กันฟังด้วย เดี๋ยวนี้ทับทิมสยามหาไม่ได้แล้ว ถ้ามันใช่(ซึ่งผมคิดว่าใช่)ก็คงจะยั่วกิเลศคนพอสมควร ต้องระวังตัวเอาเองด้วย
ทับทิมสยามมีสิทธิ์ออกม่วงได้ แต่ยิ่งแดงจัดยิ่งมีราคาครับ ยิ่งมีสาแหรกขึ้นชัดๆยิ่งไปกันใหญ่


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 21 มี.ค. 15, 19:25
กราบขออภัยท่านทั้งสองคนด้วยจริงๆครับ ผมนี่ไม่รู้กาละเทศะที่ต่ำที่สูงเลย มัวแต่หาข้อมูลทับทิมไทยพอเจอเวบถูกใจก้อมาโพสต์เลย ไม่ดูตามาตาเรือเลยว่าใครเป็นใครกันมั่ง เพิ่งไปอ่านที่กระทู้ใครเป็นใครถึงพอทราบ ไหนๆก้อได้มาเวบนี้มาเจอพวกท่านแล้วผมว่า อาถรรพ์ทับทิมไทยแสดงปาฏิหารย์กับผมแล้วหล่ะครับ ผมไม่เคยเอารูปของที่บ้านโพสต์ที่ไหนเลย พอเข้ามาที่นี่ผมรู้สึกอบอุ่นไว้วางใจเหมือนได้รับการคุ้มครองจากผู้ใหญ่ ผมเลยลงรูปพลอยผมเลยครับ ไม่ใช่ว่ากลัวเพราะว่าเป็นของดีของหายากของแพงอะไรหรอกนะครับ แต่ผมคิดว่าคงไม่มีใครเห็นคุณค่าของๆเราเท่าเราอีกแล้ว ย่าให้แม่ให้ผมผมก้ออยากรักษาไว้และอยากทราบว่าคืออะไรเท่านั้นเองครับ แต่ท่าน NAVARAT.C  สุดยอดจริงๆครับ กราบขออภัยในความไม่รู้กาละเทศะอีกครั้งนะครับ ถือว่าผมเป็นลูกเป็นหลานหรือขอเป็นแค่ลูกศิษย์อีกซักคนก็ได้ครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 21 มี.ค. 15, 19:42
คุณยังไม่ได้ทำอะไรผิดที่จะต้องการการให้อภัยเลยครับ

มีพลอยดีๆก็เก็บไว้ให้ดีละกัน อย่าเผลอประกาศขายที่นี่เข้าล่ะ อาจารย์ใหญ่ท่านตีตาย



กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 21 มี.ค. 15, 20:05
รับทราบครับ ...ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เชื่อมั่นในความเป็นไทยของตัวเองมากๆคนหนึ่งครับ ตุณตาชอบเล่าให้ผมฟังว่าเคยว่ายน้ำข้ามเจ้าพระยา ตอนอยู่บ้านเดิมซึ่งตอนนี้กลายเป็นตึกเด็กศิริราชไปแล้วครับ แต่ไผมม่ค่อยได้ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยอาจเป็นเพราะไม่ชอบเรียนหนังสือ แต่ก็ดันได้เข้ามาอยู่ในบ้านที่มีแต่ผู้ใฝ่รู้ทรงคุณวุฒิกัน


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 22 มี.ค. 15, 06:09
เรียนทั้งสองท่านครับผมได้พยายามลองถ่ายเศษพลอยแล้วครับ คิดว่าคงยังไม่ดีพอให้เห็นตำหนิได้ถึงขนาดบอกแหล่งกำเนิด หรืออาจเป็นเพราะผมยังไม่รู้ว่าตำหนิต่างๆเป็นเช่นไร แสงต้องส่องด้านไหน ขยับทีสีเปลี่ยนที ไว้ผมจะพัฒนาการถ่ายแล้วกลับมาใหม่นะครับ คงอีกนานกว่าจะได้มาโพสต์อะไรอีกเพราะต้องกลับไปทำงานแล้วครับ แต่จะติดตามเวบอยู่ตลอดครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 22 มี.ค. 15, 07:01
มีสองเม็ดนี้ที่พอเห็นแววสาแหรก ถ้าได้รับการเจียรนัยดีๆก็อาจจะขึ้นชัดเจน ทับทิมสยามถ้าขนาดเม็ดข้าวโพดก็หรูมากแล้ว

ทับทิมพม่าเข้ามาทางแม่สายก็มีในลักษณะนี้เยอะอยู่  แต่หากกว่าคุณยายเคยบอกว่าเป็นทับทิมจันท์ ก็คงเชื่อได้ครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 23 มี.ค. 15, 00:04


เรียนท่าน NAVARAT.C ครับผมเองไม่ทราบหรอกครับว่าพลอยเม็ดเล็กๆนี้ของที่ไหนคุณยายผมเองท่านเสียตั้งแต่ผมห้าขวบแล้วครับ มีแต่คุณแม่ผมบอกว่าน่าจะเป็นพลอยพม่าเพราะเมื่อก่อนคุณตารับราชการที่แม่สอดหลายปีแม่ก็เกิดที่นั่น อันนี้คือจากคำบอกเล่าครับ แต่สำหรับบ้านแห่งนี้ผมว่าแค่คำบอกเล่าเอามาใช้ไม่พอแน่นอนครับ เข้าเรื่องเลยดีกว่านะครับไหนๆกระทู้นี้ก็เกี่ยวกับทับทิมสยามซึ่งผู้ตั้งกระทู้ก็ไม่ได้เข้ามาแล้วและเคยกล่าวไว้ว่า 


   เพียงแต่ว่าทำไม่คำว่า ทับทิมสยาม นั้นยังมีคุณค่าและมูลค่าสูงมากสำหรับคนกลุ่มหนึ่งที่ผมได้ข้อมูลมา มันเป็นข้อมูลจริงหรือแค่คำพูดทางการตลาด มันมีคุณค่าสำหรับคนกลุ่มเล็กๆ หรือแท้จริงมันมีคุณค่าแบบสากล โจทก์ข้อนี้แก้ได้ยากเพราะนั่นต้องหมายถึงต้องมีทับทิมสยามมาปรากฏตัวขึ้นเพื่อทดสอบเรื่องนี้ แล้วใครกันที่จะกล้าทำแบบนั้น เป็นเรื่องที่ยากจริงๆ ครับ
และอย่างที่ท่านNAVARAT.C และท่านเทาชมพูได้แนะนำว่าถ้าจะเป็นการแบ่งปันความรู้กัน งั้นผมขออนุญาติทั้งสองท่านและสมาชิกท่านอื่นเขียนต่อกระทู้นี้ออกไปอีกหน่อยนะครับไม่ทราบว่าจะมีประโยชน์อะไรเพิ่มขึ้นไหม ไม่ทราบว่าจะเป็นการเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนหรือไม่ อาจมีการใช้ความคิดเห็นส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวด้วยและถ้าหากท่านเจ้าของกระทู้หรือท่านอื่นๆเห็นว่าสิ่งที่ผมจะนำเสนอไปไม่ก่อไปในทางที่ทำให้เกิดความรู้ หรือออกนอกลู่นอกทาง ยินดีให้ลบข้อความผมได้ในทันทีนะครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 23 มี.ค. 15, 00:43
มาต่อกันเลยนะครับ ขอเกริ่นเกี่ยวกับความสนใจในเรืองพลอยของผมก่อนนะครับ ที่บ้านผมฐานะทางบ้านปานกลางครับคุณพ่อรับราชการคุณแม่ทำงานแบงค์ที่แถวสีลมแหละครับ ที่บ้านพลอยซักเม็ดก็ไม่มีครับ แค่พ่อแม่ผมทำงานหาเงินมาเลี้ยงผมกับน้องสาวจนโตได้ทุกวันนี้ท่านก็เหนื่อยมากแล้วครับ ผมเริ่มสนใจเรื่องพลอยเมื่อประมาณ7ปีที่แล้วได้ครับแล้วทำไมผมถึงสนใจเรื่องพลอยหรอครับนั่นคือสิ่งที่ผมกำลังหาคำตอบอยู่เหมือนกันครับ ทั้งๆที่ผมเองก้อไม่ได้มีปัญญาไปหาซื้อมาชื่นชมเพราะผมก็ยังไม่ได้ทำงานแม่ส่งไปเรียนเมืองนอกเมืองนาก็เอาดีกลับมาไม่ได้ ส่งไปตั้งแต่ม3 ไม่ทันครบปีเลยเค้าส่งกลับมาแล้ว อีกทีส่งไปตอนโตก้อดันเอาวุฒิไรกลับมาไม่รู้เทียบไม่ได้อีก พอโตขึ้นมารู้สึกสงสารพวกท่านที่เหนื่อยหาเงินให้ลูกตอนนั้นก้อยังคิดไม่ได้นี่ครับ จนเพื่อนแม่เห็นผมว่างๆเลยจะฝากงานกับเพื่อนให้เป็นคนขับรถให้ อะไรนะจะให้ผมเป็นคนขับรถหน่ะหรอผมหน่ะมันพวกอีโก้สูงซะด้วยกะงานคนขับรถหน่ะหรอ แต่พอเพื่อนแม่บอกว่าเป็นร้านเพชรอยู่แถวสีลมนั่นแหละอีโก้ผมหายรับปากเริ่มงานทันทีครับ วันแรกเข้าไปเค้าถามผมว่าเคยขับรถตู้ไหมผมบอกว่าไม่เคยครับ แต่คิดว่าคงขับได้ผลเป็นไงคงจะรู้นะครับผมไม่ต้องขับแล้วรถตู้ ซักพักเค้าเรียกผมไปเลื่อนรถ CRV ของร้านแต่เค้าไม่ถามผมเคยขับเกียร์มือไหม นั่นก้อคือครั้งแรกครับที่ผมได้สัมผัสกับเกียร์มือ หน้าที่คนขับรถไม่พ้นอยู่แล้วครับคือล้างรถ คนอย่างผมนะล้างรถรถผมเองผมยังไม่เคยล้างเลย ทางร้านเค้าคงเห็นแววผมแล้วแหละครับผมได้เลื่อนตำแหน่งทันที ไปหน้าร้านเลยคอยเปิดร้านปิดร้านยืนหน้าตู้รอลูกค้ามาแล้วก้อเรียกเค้ามาขาย ในที่สุดผมได้มาอยู่ใกล้ๆกับน้องพลอยจนได้ อยู่ไปมาหลายเดือนแอบเอาตำราฝรั่งที่เค้าส่งลูกๆเค้าไปเรียนมามาอ่าน คงอ่านแค่ผ่านๆเท่านั้นแหละครับเรื่องภาษานี่ผมก้อไม่เป็นรองเรื่องล้างรถเท่าไหร่หรอกครับคือไม่ได้เรื่องแต่ขอแค่ได้เปิดดูได้อ่านก้อพอครับ หยุดวันเดียวของผมคือวันอาทิตย์ผมไปเรียนวิชาดูพลอยที่ศูนย์วิชาชีพ สรุปเดือนๆนึงผมเจอน้องพลอยเค้าทุกวันแหละครับผมเรียนจนจบไปสองรอบจนอาจารย์บอกว่าเธอหยุดไปซักพักก่อนค่อยกลับมาเรียนดีกว่าไหม ผมยังไม่รู้สึกว่าผมมีความรู้เรื่องพลอยขึ้นมาเท่าไหร่เลย แต่ถ้าอาจารย์กล้าขอผมก็จะให้ ผมก้อมานั่งรอลูกค้าเหมือนเดิมครับแต่หน้าที่หลักแล้วคือคอยดูแลลูกชายคนเล็กของบ้านนี้ครับ บ้านนี้เค้าทำธุรกิจพลอยจนรวยมากๆเลยครับมีโรงแรมติดรถไฟฟ้าใจกลางเมืองมีโรงแรมต่างจังหวัดธุรกิจอื่นๆเพียบเริ่มมาจากการขายพลอย ขายพลอยเนี่ยอ่ะนะผมนึกในใจจะเป็นไปได้ไงในช่วงเวลาชีวิตเราคนหนึ่งจะเริ่มจากศูนย์ขึ้นมาเป็นสิบจะเป็นไปได้ไงแต่เป็นจริงๆครับเพราะน้องพลอยนี่แหละครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 23 มี.ค. 15, 01:29
ต่อเลยนะครับ หลังจากนั้นผมเริ่มเบื่อๆคิดว่าผมคงไม่มีปัญญาเรียนรู้เรื่องพลอยได้มากกว่านี้แล้ว ผมก้อออกเอาดื้อๆเลยครับรู้ไหมครับ เจ้าของร้านเค้าตามผมกลับทุกวิถีคนรวยระดับมหาเศรษฐีมาตามคนขับรถกลับไปทำงานเนี่ยอ่ะนะ เค้าไปสืบจนรู้ว่าอากงอาม่าแฟนที่ผมคบตอนนั้นเป็นใครโทรไปตามผมกับแฟนผมบอกอาม่าเธออ้วนๆใช่ไหมชั้นก้อรู้จัก อาจเป็นเพราะลูกชายคนเล็กเค้าด้วยแหละครับเค้าตามใจมากแล้วลูกชายคนนี้เค้าก้อเข้ากับผมได้ดีเป็นพิเศษอยู่คนเดียวเค้าบอกแม่เค้าเลยว่าเค้าไม่เอาใครแล้วนอกจากผม ผมก้อรู้สึกผิดนะครับที่ออกมาเฉยๆแต่อย่างที่ผมบอกแต่แรกแล้วว่าผมอีโก้สูงถ้าจะทำอะไรแล้วต้องทำเต็มที่แต่ถ้าไม่แล้วให้ตายยังไงก้อคือไม่ครับ ชีวิตช่วงที่คลุกคลีกับพลอยของผมก้อมีเพียงเท่านี้ครับนับเวลารวมได้ประมาณ8เดือนครับ แล้วก้อมาเข้าเรื่องทับทิมไทยต่อนะครับ เมื่อธันวาคมปีกลายที่ผ่านมาน้องสาวผมแต่งงานครับสถานที่ก็ไม่พ้นครับโรงแรมแถวสีลม คือชีวิตนี้ผมไม่พ้นถนนพลอยเลยตั้งแต่เด็กตามแม่ไปทำงาน จนทำงานเองจนน้องแต่งงานฝั่งเจ้าบ่าวเค้าเป็นเชื้อสายจีนครับ พิธีการเค้าเราไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ครับ เพราะครอบครัวเราเป็นคนไทย ย้ำอีกทีเป็นคนไทย เพราะเดี๋ยวจบจากกระทู้นี้ผมไปหาท่านNAVARAT.C ในกระทู้ท่านต่อแน่นอนครับ เข้าเรื่องต่อนะครับ พอน้องสาวมากระซิบบอกแม่ผมว่าพิธีการเค้าต้องมีของมาวางโชว์เพื่อเป็นหน้าเป็นตา เอาละซิครับงานเข้าบ้านผมแล้วผมก้อไม่ทราบว่าไอ้หน้าตานี่มันวัดกันที่จำนวนสินสอดทองหมั้นของรับไหว้กันตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ก้อต้องหามามั่งเพื่อไม่ให้เสียหน้า แม่ก้อมาบ่นให้ผมฟังว่าแม่ไม่มีหรอกนะจะให้เอาอะไรไปวางโชว์เค้าหน่ะ แม่มีก้อแค่แหวนของคุณยายไม่กี่วงกะเครื่องประดับชิ้นเล็กๆ ผมบอกว่าแค่นั้นก้อเหลือเฟือแล้วแม่ ผมบอกแม่ไปทั้งๆที่ผมไม่เคยเห็นว่ามีอะไรบ้าง และก่อนวันงานแม่ก้อเอาของออกมาจากเซฟ แม่บอกว่ามีแต่ของที่คุณยายใส่เล่นๆไม่กี่วง ที่ดีๆคุณยายก้อให้ป้าๆไปหมดเพราะเค้ามาขอ ผมหยิบมากล่องหนึ่งเปิดออกดูก้อเป็นแหวนพลอยครับ ในใจผมก้อไม่รู้หรอกครับว่าคือพลอยที่ไหนแต่เท่าๆที่ผ่านมาสีแดงไงก้อทับทิมอะวะ แล้วผมก้อคิดในใจบอกน้องพลอยวงนั้นไปว่า ได้เจอกันซักทีนะเรา แต่สรุปแล้วแม่เอาของออกมาแต่พอถึงพิธีสรุปพิธีรวบรัดมากเราไม่ต้องเอาของเราออกมาวางซะงั้น หลังจากวันงานประมาณเดือนสองเดือนนี่แหละครับ ผมก้อหิ้วน้องพลอยไปหาอาจารย์แล้วบอกอาจารย์ว่าผมมาสวัสดีปีใหม่อาจารย์ครับอาจารย์คงจำผมไม่ได้ผมเอารังนกมาฝากครับปีใหม่ แล้วผมบอกอาจารย์ช่วยดูหน่อยครับผมได้มาจากคุณยายสองวงแม่บอกว่าน่าจะเป็นร้อยปีได้แล้วครับ เปิดมากล่องแรก สรเขียว ครับสีเขียว เดี๋ยวไปต่อที่กระทู้คุณนายตั้งนะครับสีเขียว เรื่องเกี่ยวกับรัตนชาติคงต้องไปขอความรู้จากท่าน อาจารย์ก้อยื่นให้ผู้ช่วยเอาไปจิ้มความแข็ง ผมนึกในใจแค่จิ้มให้เข็มวิ่งอ่ะไม่ต้องให้ผู้ช่วยก้อได้ผมเรียนมาตั้งสองรอบจิ้มเองก้อได้ ทีงี้ละผมเก่งขึ้นมาเชียว เปิดอีกวงมาสีแดง อาจารย์เค้าเอาไปใส่ในกล้องที่คล้ายๆกล้องจุลทรรศน์แต่สมัยเราเรียนไม่มีนี่น่าคราวนี้ผมรู้สึกโง่ขึ้นมาทันทีคิดว่าถ้าตอนมีเครื่องนี้ผมดูออกไปนานแล้ว เก่งขึ้นมาแล้วผม หลังจากนั้นอาจารย์ก้อถามผู้ช่วยว่าจิ้มขึ้นไหม ถ้าไม่ขึ้นก้อเป็นเบอริลในใจผมก้อลุ้นให้เข็มมันวิ่งไปที่แอเมอรอล ซักพักอาจารย์ก้อไปจิ้มเองแค่แตะลงไปอาจารย์บอกนี่ไงมันวิ่งไปที่แอมเมอรอล โธ่ผมนึกในใจไอ้ผู้ช่วยนี่เหมือนผมตอนเรียนเลยเวลาอยู่ในห้องทำเป็นเก่งแค่จิ้มดูแค่นี้จิ้มตั้งนาน แต่อาจารย์บอกผมว่ามรกตเกรดนี้ทำได้แค่หลังเบี้ยแหละเพราะไคณภาพไม่ดี ตอนนั้นผมไม่แคร์แล้วครับมรกตหลังเบี้ยเม็ดโตๆอายุเป็นร้อยปีผมได้มาครอบครองสีไม่สวยราคาไม่แพงนั่นไม่ใช่เรื่องครับเดี๋ยวผมค่อยร่ายยาวเรื่องคุณค่ากับราคาถ้าไม่โดนบลอกโดยเจ้าของเวบกับสมาชิกซะก่อนเดี๋ยวมรกตไปต่อกระทู้อื่นนะครับ เอาตัวเอกของเรื่องมาเลยแล้วกัน แล้วอาจารย์ก้อส่งวงสีแดงคืนมาให้ผม แกบอกผมแค่สามคำครับ สามคำจริงๆครับ คือ............


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 23 มี.ค. 15, 01:43
 :D ทับทิมไทย เก่า สาแหรก  ;D ผมบอกขอบคุณครับอาจารย์แล้วถ้ามีโอกาสผมจะกลับมาเรียนกับอาจารย์ใหม่นะครับวันนี้ผมขอลาอาจารย์ก่อนแล้วผมก้อกลับเลยครับทั้งที่มีคำถามขึ้นมาในใจผมเป็นร้อยเป็นพันแต่ผมคิดว่าผมสามารถหาคำตอบได้เองทีละอย่างครับ อาจารย์ผมก้อคงจะงงกับผมเหมือนกันว่ามันมาถามแค่นี้นะหรอแต่แค่นี้พอแล้วครับที่เหลือเรามาศึกษาไปพร้อมๆกันนะครับ ถ้าสิ่งที่ผมได้มาจะมีประโยชน์ก้ออยากให้มีประโยชน์ในแง่ของความรู้ที่มาที่ไป ดีกว่าจะเก็บไว้ศึกษาคนเดียวแล้วผมก้อหลงทางมายังบ้านแห่งนี้ครับผมว่านี่บ้านหลังต่อไปที่ผมจะมาขออาศัยอยู่แล้วครับ เดี๋ยวผมลงรูปที่เพิ่งถ่ายไว้ก่อนนะครับแล้วค่อยกลับมาต่อ วันหยุดว่างๆจะมาถ่ายหาตำหนิต่างๆดูกันนะครับว่าจะเป็นพลอยไทยจริงไหม ตอนนี้งานที่ผมทำอยู่เหนื่อยกว่าแล้วก้อค่าตอบแทนน้อยกว่าคนขับรถอีกครับกลับมาว่าจะไม่โพสต์แต่ก้ออดใจไม่ไหวครับอยากศึกษาหาความรู้แต่ร่างกายมันไม่ไหวแล้วครับเพลียร่างมากๆ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 23 มี.ค. 15, 01:56
รูปของนางเอกของเรื่องนี้ครับ ถ้าน้องเค้าเป็นไทยจริง ผมจะมาต่อว่าทำไมผมถึงได้มานะครับ ผมว่าทับทิมไทยของไทยมีอีกเยอะครับแล้วก้อไม่หมดไปจากไทยหรอกครับ อีกรูปครับอ้างอิงเรื่องเล่ารูปน้องสาวงานแต่งคุณย่าน้องคุณย่ากับภริยาแล้วสุดท้ายเป็นใครไปไม่ได้ครับ ลงรูปไว้ก่อนผมเห็นอีกกระทู้ที่ผมอาจไปโผล่แล้วครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 23 มี.ค. 15, 06:52
มาต่อกันเลยนะครับ ขอเกริ่นเกี่ยวกับความสนใจในเรืองพลอยของผมก่อนนะครับ ที่บ้านผมฐานะทางบ้านปานกลางครับคุณพ่อรับราชการคุณแม่ทำงานแบงค์ที่แถวสีลมแหละครับ ที่บ้านพลอยซักเม็ดก็ไม่มีครับ แค่พ่อแม่ผมทำงานหาเงินมาเลี้ยงผมกับน้องสาวจนโตได้ทุกวันนี้ท่านก็เหนื่อยมากแล้วครับ ผมเริ่มสนใจเรื่องพลอยเมื่อประมาณ7ปีที่แล้วได้ครับแล้วทำไมผมถึงสนใจเรื่องพลอยหรอครับนั่นคือสิ่งที่ผมกำลังหาคำตอบอยู่เหมือนกันครับ ทั้งๆที่ผมเองก้อไม่ได้มีปัญญาไปหาซื้อมาชื่นชมเพราะผมก็ยังไม่ได้ทำงานแม่ส่งไปเรียนเมืองนอกเมืองนาก็เอาดีกลับมาไม่ได้ ส่งไปตั้งแต่ม3 ไม่ทันครบปีเลยเค้าส่งกลับมาแล้ว อีกทีส่งไปตอนโตก้อดันเอาวุฒิไรกลับมาไม่รู้เทียบไม่ได้อีก พอโตขึ้นมารู้สึกสงสารพวกท่านที่เหนื่อยหาเงินให้ลูกตอนนั้นก้อยังคิดไม่ได้นี่ครับ จนเพื่อนแม่เห็นผมว่างๆเลยจะฝากงานกับเพื่อนให้เป็นคนขับรถให้ อะไรนะจะให้ผมเป็นคนขับรถหน่ะหรอผมหน่ะมันพวกอีโก้สูงซะด้วยกะงานคนขับรถหน่ะหรอ แต่พอเพื่อนแม่บอกว่าเป็นร้านเพชรอยู่แถวสีลมนั่นแหละอีโก้ผมหายรับปากเริ่มงานทันทีครับ วันแรกเข้าไปเค้าถามผมว่าเคยขับรถตู้ไหมผมบอกว่าไม่เคยครับ แต่คิดว่าคงขับได้ผลเป็นไงคงจะรู้นะครับผมไม่ต้องขับแล้วรถตู้ ซักพักเค้าเรียกผมไปเลื่อนรถ CRV ของร้านแต่เค้าไม่ถามผมเคยขับเกียร์มือไหม นั่นก้อคือครั้งแรกครับที่ผมได้สัมผัสกับเกียร์มือ หน้าที่คนขับรถไม่พ้นอยู่แล้วครับคือล้างรถ คนอย่างผมนะล้างรถรถผมเองผมยังไม่เคยล้างเลย ทางร้านเค้าคงเห็นแววผมแล้วแหละครับผมได้เลื่อนตำแหน่งทันที ไปหน้าร้านเลยคอยเปิดร้านปิดร้านยืนหน้าตู้รอลูกค้ามาแล้วก้อเรียกเค้ามาขาย ในที่สุดผมได้มาอยู่ใกล้ๆกับน้องพลอยจนได้ อยู่ไปมาหลายเดือนแอบเอาตำราฝรั่งที่เค้าส่งลูกๆเค้าไปเรียนมามาอ่าน คงอ่านแค่ผ่านๆเท่านั้นแหละครับเรื่องภาษานี่ผมก้อไม่เป็นรองเรื่องล้างรถเท่าไหร่หรอกครับคือไม่ได้เรื่องแต่ขอแค่ได้เปิดดูได้อ่านก้อพอครับ หยุดวันเดียวของผมคือวันอาทิตย์ผมไปเรียนวิชาดูพลอยที่ศูนย์วิชาชีพ สรุปเดือนๆนึงผมเจอน้องพลอยเค้าทุกวันแหละครับผมเรียนจนจบไปสองรอบจนอาจารย์บอกว่าเธอหยุดไปซักพักก่อนค่อยกลับมาเรียนดีกว่าไหม ผมยังไม่รู้สึกว่าผมมีความรู้เรื่องพลอยขึ้นมาเท่าไหร่เลย แต่ถ้าอาจารย์กล้าขอผมก็จะให้ ผมก้อมานั่งรอลูกค้าเหมือนเดิมครับแต่หน้าที่หลักแล้วคือคอยดูแลลูกชายคนเล็กของบ้านนี้ครับ บ้านนี้เค้าทำธุรกิจพลอยจนรวยมากๆเลยครับมีโรงแรมติดรถไฟฟ้าใจกลางเมืองมีโรงแรมต่างจังหวัดธุรกิจอื่นๆเพียบเริ่มมาจากการขายพลอย ขายพลอยเนี่ยอ่ะนะผมนึกในใจจะเป็นไปได้ไงในช่วงเวลาชีวิตเราคนหนึ่งจะเริ่มจากศูนย์ขึ้นมาเป็นสิบจะเป็นไปได้ไงแต่เป็นจริงๆครับเพราะน้องพลอยนี่แหละครับ

คุณวิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์ ฟังไว้


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: Rattananuch ที่ 23 มี.ค. 15, 10:43
เรื่องของคุณทิพยุทธน่าสนใจมากค่ะ แต่อยากให้ช่วยพิมพ์เว้นวรรคตอนหน่อยค่ะ
สมาชิกส่วนมากสว.แล้ว อ่านเสร็จตาลายไปหมดค่ะ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เพ็ญชมพู ที่ 23 มี.ค. 15, 11:24
ลีลาการเขียนเรื่องเล่าของคุณทิพยุทธคล้ายกับคุณวิรุศฑ์ษมาศร์ สนุกสนานทีเดียว

เห็นด้วยกับคุณรัตนานุช คุณทิพยุทธกรุณาจัดย่อหน้าและเว้นวรรคตอนเสียหน่อย จะอ่านได้ง่ายขึ้น  ;D


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 23 มี.ค. 15, 11:32
สวัสดีครับท่านRattananuch ขออภัยเรื่องที่เขียนติดกันไปหน่อยก่อนเลยครับผมลืมนึกไปสนิทเลยครับ ถ้ายังไงจะลองกลับไปแก้ไขดูนะครับถ้าทำได้ คราวหน้าผมจะเขียนให้อ่านได้ง่ายกว่านี้ครับ ขอบคุณนะครับที่สนใจเรื่องของผม ยังไงผมขอฝากเนื้อฝากตัวกับท่านRattananuchและท่านเพ็ญชมพูด้วยนะครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 23 มี.ค. 15, 12:51
เอาอย่างนี้ดีกว่าครับเดี๋ยวคืนนี้ถ้าเสร็จงานแล้ว ผมจะชดเชยความผิดที่ทำให้พวกท่านปวดหัวปวดตาโดยการ ใช้สติเรียบเรียงตอนจบให้นะครับ ผมรับรองว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์

ไม่ได้เสียเวลาปวดหัวปวดตาอ่านเปล่าๆแน่นอนครับ ตอนจบของทับทิมสยามใกล้แล้วครับ ขอบคุณนะครับที่ให้โอกาสผมได้เล่า


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: Rattananuch ที่ 23 มี.ค. 15, 13:32
ขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ที่เห็นใจพวกเราเหล่า สว. ;D


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 23 มี.ค. 15, 22:49
งานเข้าผมเต็มๆแล้วครับงานนี้ ผมนี่มันไม่ดูตาม้าตาเรือไม่จบไม่สิ้นซักที ผมเพิ่งอ่านที่มาที่ไปของบ้านแห่งนี้ เพิ่งทราบว่าท่านเจ้าบ้านคือใคร และสมาชิกท่านอื่นๆเป็นใครกันมั่ง

ผมแค่หาข้อมูลเรื่องทับทิมสยาม จึงนำผมมาที่นี่โดยผู้ใช้ชื่อ ทับทิมไทย ผมแค่คิดว่ามุมมองของเค้าในเรื่องทับทิมไทยของเค้าแตกต่างกับของผมมาก  ผมแค่อยากต่อยอดให้หลายๆคนที่สนใจในอัญมณีไทย ว่าทำไมหายากมีคุณค่ามากแค่ไหน   ทราบแค่นั้นเองว่าทับทิมไทยไม่ได้หายากแต่อยู่กับคนไทยอีกมาก   ที่ไม่ได้มองทับทิมไทยเป็นแค่อัญมณีมีราคา เพราะวิถีชีวิตของชาวไทยเราจริงๆแล้วให้ความสำคัญกับเรื่องความเชื่อ สิ่งศักสิทธิ์ของที่เป็นของคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณมากว่า   ดังนั้นการที่ผมได้มาที่นี่ผมเชื่อว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ตอนที่ผมเริ่มเล่าเรื่องยาวๆนั้นผมพอทราบแค่ว่าท่านสมาชิกในเวบ ที่ใช้ชื่อNAVARAT.C เป็นใคร ผมทึกทักเอาเองว่าท่านนี้แหละทรงคุณวุฒิที่สุด  หลังจากนั้นผมก็ร่ายยาวเลย ตอนนี้ผมถึงบางอ้อแล้วครับ เอาอย่างนี้แล้วกันนะครับ ไหนๆก็มาถึงขนาดนี้แล้วผมขอเวลาเรียบเรียงตอนจบของสิ่งที่ผมได้เริ่มไว้แล้วจะกลับมาเขียนตอนจบให้เร็วที่สุดนะครับ  ผมไม่เคยเขียนอะไรทำนองนี้เลยแต่คราวนี้ผมรู้สึกว่า มีอะไรบางอย่างนำพาผมมาที่นี่และนี่คือหน้าที่ของผมที่จะต้องหาทางจบของเรื่อง ทับทิมสยามในความคิดผมให้ทุกท่านอ่าน ผมจะไม่หนักใจเลยนะครับถ้านี่เป็นเวบอื่นๆที่ไม่ใช่เรือนไทยและคนที่อ่านเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกเรือนไทย :'( :'(


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 24 มี.ค. 15, 00:07
อีกอย่างครับ ขอถามหน่อยครับว่าผมจะเอารูปที่มีผมออกได้ไงอ่ะครับ ผมไม่เห็นมีปุ่มให้แก้ไขเลยครับ แค่อยากเอามาอ้างอิงเรื่องที่เล่า ไม่อยากเอาคนอื่นมาเกี่ยวข้องครับ ขอบคุณครับ
ผมนี่ทะเล่อทะล่าไม่มีสิ้นสุดซะจริงๆ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 24 มี.ค. 15, 08:54
ดิฉันเอารูปคุณออก ตามที่ต้องการแล้วนะคะ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 25 มี.ค. 15, 01:44
ขอบคุณครับท่านเจ้าบ้าน ที่นี้ผมจะมาจบเรื่องที่ผมดันก่อไว้แล้วนะครับ ทีแรกคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์บ้างแต่ตอนนี้ชักไม่ใจแล้วครับเพราะสมาชิกแต่ละท่านเป็นผู้มีวิชาการทั้งนั้นแต่ผมกำลังจะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อล้วนๆ แต่ยังไงผมคงต้องมาต่อให้จบจนได้ครับ

เอาละครับผมจะนำท่านๆออกตามหาทับทิมไทยกัน ผมคิดว่าคุณทับทิมไทยกับผมก็คงจะมีความสนใจในทับทิมไทยพอๆกัน ในเมื่อการตามหาทับทิมไทยในทางวิชาการไม่สามารถนำเราไปหาสิ่งที่เราต้องการได้แล้วอย่างที่คุณทับทิมไทยบอกว่าอาจถึงทางตันงั้นเราลองหาทางอื่นที่ไม่ใช่ทางวิชาการมาวิเคราะห์กันดีกว่าไหมครับ ความเชื่อต่างๆของไทยแต่โบราณเชื่อว่าของทุกสิ่งมีสิ่งศักสิทธิ์คุ้มครองอยู่ รถก็มีแม่ยานาง ตามต้นไม้ภูเขาก้อนหินก็มีทั้งนั้น เวลาคนไทยจะเริ่มทำการอะไรก็จะกราบไหว้ขอพรเจ้าที่เจ้าทางก่อนเสมอ พวกเราคนไทยทุกคนต่างรู้กันดีครับ ซึ่งถ้าเป็นชาวต่างชาติเห็นสิ่งที่พวกเราทำก็คงไม่เข้าใจ แล้วพวกเราก็ไม่รู้จะอธิบายให้พวกเขาเข้าใจได้อย่างไร

พวกที่ขุดหาของโบราณ ขุดพระ หรือแม้กระทั่งการขุดพลอยผมคิดว่าพวกเขาก็คงทำเหมือนกัน ผมเคยได้ยินมาว่าพวกที่ขุดพระบางคนขุดเป็นวันๆก็ไม่เจออะไร แต่พออีกคนมาเขี่ยๆเศษดินเอามาปัดๆกลับได้พระไปเรื่องพวกนี้ได้ยินมาบ่อยในบ้านเราครับ เปรียบเสมือนว่าของสิ่งนั้นเลือกคนที่จะมาเจอแสดงว่าของสิ่งนั้นเลือกคนที่คู่ควรหรือเห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆ ทีนี้ผมจะลองโยงเรื่องคุณค่ากับความเชื่อดูนะครับ

ทีนี้ท่านลองนึกภาพของผู้หญิงไทยขึ้นมาคนหนึ่งนะครับเอาแบบไทยๆเลยนะครับ ผมจะตั้งชื่อน้องคนนี้เขาว่าทับทิมนะครับ ถ้าทุกครั้งที่น้องทับทิมได้ยินที่ผมพูดกับน้องว่า ถ้าน้องขาวกว่านี้น้องคงจะสวยกว่านี้ หรือถ้าน้องสูงกว่านี้คงดีกว่านี้ หรือถ้าน้องแต่งหน้าทำผมซะหน่อยคงสู่้เขาได้ ท่านคิดว่าน้องเขาจะรู้สึกอยากที่จะอยู่กับผมไหมครับ แต่ถ้าให้ผมถามน้องเขาว่าทำไมถึงเลือกที่จะมาอยู่กับผมหล่ะ ผมว่าคำตอบอาจเป็นเพราะว่าผมไม่เคยสนใจว่าน้องเขาจะเป็นเช่นไร ผมชอบที่น้องเป็นของน้องมีคุณค่าของน้องเอง สวยในแบบของน้อง นี่คือเหตุผลที่ผมดูพลอยไม่เป็นครับ

หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมผมดูพลอยไม่เป็นทั้งๆที่ก็คลุกคลีมานาน ผมเข้าไปอยู่ร้านพลอยเพราะผมอยากเห็นครับว่าพลอยที่เขาซื้อหากันราคาแพงเป็นเช่นไรเพราะผมไม่เคยเห็น แต่ถ้าถามว่าผมดูเป็นไหม ผมจะดูไปเพื่ออะไรหล่ะครับในเมื่อดูเป็นแต่ไม่มีปัญญาซื้อผมจะดูไปทำไม  ที่ผมไปเรียนจนอาจารย์บอกให้พอแล้วหน่ะ ผมแค่อยากรู้ว่าเค้าส่องอะไรกัน ถ้าถามผมว่าแร่ไหนกำเนิดอะไร ซัฟไฟร์คุณสมบัติเป็นเช่นไร ตำหนิแบบไหนผมตอบได้หมดครับ ผมใช้เวลาแค่ประมาณปีนึงคลุกคลีกับแวดวงพลอยแต่ให้คุยเรื่องพลอยผมก็คุยได้เป็นวันๆครับ เรื่องเผาใหม่เผาเก่า ผมก็คุยได้ เรื่องสีหนึ่งสีสองผมก็เห็นอยู่ทุกวันตอนทำงาน  คนไทยที่เผาพลอยก็บังเอิญเป็นเพื่อนคุณย่าครับ ชื่อปู่สามเมือง เมื่อตอนที่ผมสนใจเรื่องพลอยอยู่ผมก็ให้ย่าพาไปแกมาครับ  

ผมไม่รู้ว่าเป็นเพราะเรื่องบังเอิญหรืออะไรนะครับ แต่ผมก็ได้มาอยู่ใกล้ๆเรื่องพลอยแต่ดันดูพลอยไม่เป็น  บางทีเวลาผมนึกว่าตัวเองโง่ผมนึกว่าผมเหมือนก๊วยเจ๋งในเรื่องมังกรหยกเลยครับ  ความจริงผมมีอะไรมากมายอยากจะเขียนจะเล่าจะสื่อให้เห็น แต่ผมว่าผมเอาแบบนี้พอดีกว่าครับจะได้ไม่เป็นการรบกวนพื้นที่บ้านหลังนี้ เผื่อคนอื่นมาอ่านจะคิดว่าเอาอะไรมาเล่าไม่รู้ไม่มีสาระเลย ผมอยากจะอธิบายเรื่องคุณค่าให้มากกว่านี้เพราะคิดว่าน่าจะนำไปใช้ประโยขน์ได้กับทุกเรื่อง ถ้าคุณได้ให้คุณค่ากับสิ่งใดจริงๆแล้วผมว่าคุณได้สิ่งนั้นกลับคืนมาแน่นอนครับ แต่ผมไม่ทราบว่าจะเรียบเรียงยังไง
อย่างทับทิมไทยนี่แหละครับอยู่กับแม่ผมๆยังไม่รู้เลยว่าคือทับทิมไหม บอกแต่ว่าสีแดงจะใช่ทับทิมหรอ ผมว่าคนอย่างแม่ผมมีอีกเยอะครับ ได้ของพ่อของแม่มาก็เก็บไว้ไม่ได้คิดว่าต้องเป็นของดีของแพงแต่มันคือของพ่อของแม่  มีแต่ผมนี่แหละครับที่เริ่มออกนอกลู่นอกทางไทยกลายพันธ์ตอนเด็กๆก็ชอบแอบเอาพระไปปล่อย นี่ไงครับการเล็งเห็นมูลค่าเป็นอย่างไรได้เงินมากินขนมนิดหน่อยคุ้มกันไหมครับ
 
ผมว่าผมขอพอแค่นี้ก่อนดีกว่าครับ ผมถือว่าผมส่งการบ้านเรียบร้อยแล้วนะครับ...ขอบคุณอีกครั้งนะครับที่ให้พื้นที่ผมในการเล่าเรื่องที่ดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์อะไรเอาซะเลย



กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 28 มี.ค. 15, 20:59
อ้างถึง
หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมผมดูพลอยไม่เป็นทั้งๆที่ก็คลุกคลีมานาน ผมเข้าไปอยู่ร้านพลอยเพราะผมอยากเห็นครับว่าพลอยที่เขาซื้อหากันราคาแพงเป็นเช่นไรเพราะผมไม่เคยเห็น แต่ถ้าถามว่าผมดูเป็นไหม ผมจะดูไปเพื่ออะไรหล่ะครับในเมื่อดูเป็นแต่ไม่มีปัญญาซื้อผมจะดูไปทำไม

ไม่เคยคิดจะเขยิบอาชีพที่เป็นอยู่  ขึ้นเป็นคนขายพลอย  หรือต่อไปเป็นผู้ค้าพลอยรายย่อยบ้างหรือคะ    พวกนี้ต้องดูพลอยเป็น 
คุณมีโอกาสคลุกคลีกับพลอยมาตั้งนาน  สตางค์ค่าเรียนก็ไม่ต้องเสีย   มีสิทธิ์โกยความรู้ตามใจชอบ นับเป็นโอกาสที่ดีกว่าคนอื่นๆที่อยากทำแต่ไม่มีโอกาสทำ
ไม่จำเป็นว่าต้องมีปัญญาซื้อจึงต้องหัดดูพลอยให้เป็น
สุนทรภู่เคยสอนว่า
อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว              แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดคงเกิดผล
อาจจะชักเชิดชูฟูสกนธ์                        ถึงคนจนพงศ์ไพร่คงได้ดี


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 28 มี.ค. 15, 23:08
ขอเรียนตอบท่านเทาชมพูนะครับ ถูกต้องครับที่ท่านเทาชมพูยกคำกล่าวของท่านสุนทรภู่ขึ้นมาว่าถ้าผมเชี่ยวชาญจริงๆจะบังเกิดผลแก่ตัวผม ผมอาจหากำไรได้อีกมากมายโดยอาศัยความรู้ในเรื่องพลอยเพื่อนำมาขาย

แต่สิ่งนั้นคือสิ่งที่ผมเล็งเห็นผลประโยชน์ได้และผมก็เห็นหลายด้านของคนที่ทำธุรกิจนี้ อย่างร้านที่ผมเคยอยู่เค้าร่ำรวยมาจากการขายพลอยแต่ผมรู้สึกได้ว่าความร่ำรวยมิได้ช่วยให้ผมมีความสุขมากขึ้น ถึงแม้ผมจะไม่ร่ำรวยและอาจต้องใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อทำให้รวยแต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ยืนยันความสุขในบั้นปลายชีวิตผมครับ


ทุกวันนี้ผมได้มาทำเกี่ยวกับขนมปัง เบเกอรี่ครับ ถึงเป็นแค่ลูกจ้างธรรมดา แต่ผมมีความสุขที่ได้เห็นแขกที่มาใช้บริการ รับประทานขนมผมจนหมดผมต้องเติมบ่อยๆแต่แปลกครับที่ผมไม่รู้สึกคิดว่าผมต้องเหนื่อยเพื่อทำขนมเพิ่มขึ้นเลยครับ

ผมเห็นกระทู้ใหม่ในเรือนไทยเกี่ยวกับชีวิตหลังเกษียณ ผมก็ยังนึกภาพผมตอนนั้นไม่ออกเหมือนกันครับ แค่ตอนนี้ผมรู้สึกว่าสิ่งที่ผมกำลังทำอยู่ได้สอนอะไรบางอย่างเพื่อเป็นแนวทางให้ผมใช้ชีวิตช่วงที่หมดชีวิตวัยทำงานได้อย่างมีความสุขก็พอครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: NAVARAT.C ที่ 31 มี.ค. 15, 20:01
เข้าทางคุณนายตั้งพอดี ท่านนี้บอกได้แน่

ว่าแต่ว่าไม่ถ่ายให้ชัดๆหน่อย แล้วเอามาลงใหม่หรือครับ จะได้เห็นสาแหรกด้วยถ้ามี

คุณนายตั้งกลับเข้าเรือนไทยแล้ว
ขอดันกระทู้ขึ้นมาให้คุณนายตั้งเห็น จะได้ตอบแบบนักวิชาการหน่อย


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 31 มี.ค. 15, 22:17
ท่าน อ.นวรัตน์ ขอความเห็น เลยจะต้องตอบตามความรู้ที่พอมี แต่จะขอเริ่มขยับในวันพรุ่งนี้นะครับ

 

 


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 31 มี.ค. 15, 22:45
ขออนุญาติมาปูเสื่อรอรับความรู้จากอ.คุณนายตั้งด้วยครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 เม.ย. 15, 19:49
ขอเริ่มต้นแบบกวนๆหน่อยครับ

ภาษาไทยมีคำว่า พลอย อัญมณี แก้ว (แหวนเงินทอง) หินสี และรัตนชาติ    แต่ละคำคงมีความหมายไม่เหมือนกัน

สำหรับผม เห็นว่าคำว่า พลอย นั้น มีคำคู่นำหน้ามาคือคำว่า เพชร (เพชร พลอย) เป็นคำสองคำตรงกับที่ผู้ทรงอำนาจหรือผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรต่างๆในโลกต้องการ ซึ่งก็คือ Diamond & Sapphire   

คำว่าพลอยในความหมายแต่ดั้งเดิมจึงน่าจะตรงกับคำว่า Sapphire ส่วนคำว่าเพชรนั้นก็คือ Diamond อยู่แล้ว   แต่เมื่อจะให้มีความยิ่งใหญ่กว่าผู้อื่น พลอย sapphire ซึ่งส่วนมากจะมีสีขาบก็คงจะไม่เพียงพอ ก็จะต้องเป็น ruby ซึ่งมีสีแดง ซึ่งก็สะสมอยู่ในแหล่งแร่เดียวกันกับพลอยสีขาบ แต่ในปริมาณที่น้อยกว่ามาก    ทับทิม หรือ ruby จึงถูกยกขึ้นให้เหนือชั้นกว่า sapphire  กลายเป็นชื่อเรียกแยกเฉพาะออกมาว่า Ruby & Sapphire (สีแดง กับ สีขาบ)    คำของไทยเราก็เรียกแยกกันว่า ทับทิม กับ ไพลิน 

ทั้งทับทิมกับไพลิน หรือ Ruby & Sapphire ต่างก็เป็นแร่ Corundum ซึ่งมีสูตรทางเคมีว่า Al2O3   
เพียงแต่ทับทิมมีธาตุโครเมียมอยู่ในเนื้อ จึงให้สีแดงก่ำ  ส่วนไพลินมีธาตุเหล็กและไทเทเนียมอยู่ในเนื้อ จึงให้สีน้ำเงินฉ่ำ

   


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 01 เม.ย. 15, 20:05
มาเข้าห้องเรียน เก็บข้อมูล ขอบคุณครับอาจารย์


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 เม.ย. 15, 22:05
แร่มากมายหลายชนิดมีธาตุอลูมินัม (Al) และออกซิเจน (O) ร่วมกับธาตุอื่นๆ จับตัวกันเป็นสารประกอบทางเคมีที่มีโครงสร้างของเนื้อใน (unit cell) แบบต่างๆ ซึ่งในสภาพของสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน (pressure, temperature, pH, Eh, ฯลฯ) ทำให้เกิดแร่ชนิดต่างๆ รูปผลึกชนิดต่างๆ สี ความแข็งต่างๆ ฯลฯ

ทับทิมและไพลินนั้น เรารู้ว่าเกิดภายใต้สภาพที่มีความร้อนสูงและแรงดันสูงมาก แต่เม็ดขนาดที่เอามาทำเครื่องประดับได้นั้น ไม่แน่ใจกันนักว่ามันอยู่ในหินอะไรกันแน่ เนื่องจากเราพบทับทิมและไพลินพวกนี้เป็นเม็ดอิสระสะสมอยู่ลึกใต้ผืนดินในพื้นที่ร่องน้ำหรือพื้นที่ๆเป็นแอ่ง (แม้ว่าจะพบเม็ดเล็กๆ(เล็กมาก)อยู่ในเนื้อหินหลายชนิดก็ตาม)  และก็พอจะรู้ว่าแหล่งที่พบนั้นมีจำกัดอยู่ไม่กี่แห่งในโลก ซึ่งแหล่งที่สำคัญขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพและความสวยงามก็คือ Mogok และ Mong Hsu ในพม่า จันทบุรี ตราด ในไทย และไพลิน ในเขมร  สรุปง่ายๆก็คือมีสองพื้นที่ พม่าและไทย


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 01 เม.ย. 15, 22:28
แล้วก็มาถึงคำถามว่าแล้วของใครเจ๋งกว่ากัน ระหว่างของพม่ากับของไทย   

ผมเห็นว่า ก็น่าจะสุดยอดทั้งคู่  เขาว่ากันว่าของไทยออกสีแดงก่ำกว่า (deep red) จนออกไปทางมืด และโดยรวมมีมลทินหรือตำหนิน้อยมาก (ไร้มลทิน_Flawless) ส่วนของพม่านั้นออกไปทางสีแดงอมม่วง (pigeon blood) และโดยรวมมีมลทินและตำหนิมากกว่า

ส่วนเม็ดที่มีสตาร์นั้น ทั้งสองแหล่งพบเหมือนกัน

ในด้านของความต่างที่ผมเห็นก็คือ ของไทยนั้นจะเป็นประเภทเม็ดเล็ก ของพม่านั้นจะเป็นประเภทเม็ดเขื่องๆเลยทีเดียว

ค่อยๆไปนะครับ



กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 เม.ย. 15, 19:32
ความสวยงามนั้นเป็นเรื่อง นานาจิตตัง  แถมความสวยงามนั้นยังไปขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่จะช่วยในการเปล่งประกาย (enhance)  ซึ่งมีหลายกรณีที่องค์ประกอบเปลี่ยนไปแล้วทำให้ความสวยงามลดลงไป     ทับทิมและพลอยพม่าอยู่ทั้งในเรือนทองและเรือนที่ล้อมเพชร แต่ทับทิมและพลอยไทยเกือบจะอยู่ในเรือนที่ล้อมด้วยเพชรเพียงอย่างเดียว

เมื่อทับทิมของแหล่งในพม่าเริ่มเป็นที่นิยมสูง แหล่งแร่ก็เข้าสู่สภาพของการถูกเข้าครอบครองโดยอำนาจและภายใต้อิทธพล (กษัตริย์พม่า และต่อมาอังกฤษ) ปริมาณที่พบก็น้อยลงไปเรื่อยๆ ของดีๆก็ถูกเลือกออกไปก่อน เกิดสภาวะอุปสงค์มากกว่าอุปทานมากขึ้นมากๆ  ก็บังเอิญเกิดมีการพบแหล่งทับทิมใหม่แถวไพลินในเขมร  ก็แน่นอนว่าอุปสงค์หันมาหาแหล่งนี้ ก็ต้องมีการข่มกันว่าของจากแหล่งใหนดีกว่ากัน ซึ่งส่งผลไปถึงด้านราคาด้วย   แหล่งในพม่าใหญ่กว่าแหล่งในไพลิน

ขุดกันไปขุดกันมา ทับทิมในแหล่งไพลินก็น้อยลง แต่ในพม่าก็ยังพบเรื่อยๆ   (เรื่องราวก็ไปผนวกกับเรื่องทางการเมืองระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศส พม่า และไทย)     ความเป็นของเจ๋ง ของดี ของสวยสุด ของหายาก ก็จึงกลับไปกลับมาระหว่างทั้งสองแหล่งนี้ในช่วงเวลาต่างๆ   


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 02 เม.ย. 15, 19:54
แหล่งพลอยในไพลิน จันทบุรี และตราด จัดได้ว่าเป็นแหล่งในพื้นที่เดียวกัน
 
คำว่า Thai Ruby นั้นคงจะมีการใช้กันมานานมากๆแล้ว (เพื่อแยกระหว่างทับทิมของแหล่งในพม่ากับของไทย)

แต่คำว่า ทับทิมสยาม นั้น ผมไม่ทราบว่าเริ่มใช้กันมาแต่เมื่อใด (ไม่มีความรู้จริงๆ)   ก็คิดว่าเมื่อเราเริ่มมีการขุดหาพลอยกันอย่างจริงจังเมื่อช่วง พ.ศ.2500++ จึงเกิดคำว่า ทับทิมสยาม ขึ้นมา เพื่อแสดงถึงความสุดยอดของทับทิมไทย โดยนำเอาทั้งของเก่าและของใหม่มาแสดงและทำการประชาสัมพันธ์คุณภาพของพลอยไทยในองค์รวม 


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 02 เม.ย. 15, 21:50
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ อย่างที่อ.naitangบอกว่าเราเริ่มขุดอย่างจริงจังเมื่อประมาณ60ปีที่ผ่านมา
แสดงว่าพลอยที่ได้มาก่อนหน้านั่นได้มาจากแหล่งทุติยภูมิ คือไหลมาจากแหล่งปฐมภูมิใช่ไหมครับถ้าผมเข้าใจไม่ผิด
ยังไงรบกวนขอความรู้จากอาจารย์เรื่องแหล่งแร่ด้วยครับ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผมและคนที่สนใจเรื่องนี้ ขอบคุณอีกครั้งครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 เม.ย. 15, 19:52
ที่เรียกว่าพลอยทั้งหลายนั้น ส่วนมากจะพบอยู่ใต้ผืนดินในชั้นกรวดทรายที่เรียกว่าชั้น กะสะ    แหล่งแร่ลักษณะนี้ ศัพท์ทางวิชาการเรียกว่า Placer deposit     จะเรียกว่าเป็นแหล่งทุติยภูมิก็อาจจะไม่เหมาะ เพราะมันมีโอกาสที่จะเป็นตะกอนที่ถูก rework มาแล้วหลายครั้งก็ได้ (secondary , tertiary etc.)       สำหรับอัญมณีที่มาจากแหล่งปฐมภูมิ หรือจากหินโดยตรงนั้น มีไม่มากนัก ก็มีอาทิ เพชร โอปอล การ์เน็ต (เพทาย) Tourmaline

ทับทิมของพม่าและของไทยต่างก็อยู่ในแหล่งแร่ที่เรียกว่า placer deposit


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 03 เม.ย. 15, 20:28
ขอบคุณครับอาจารย์ งั้นผมขอสอบถามต่อเลยนะครับ ผมเคยเห็นในสารคดีครับเวลาที่เค้าจะเลือกสถานที่ขอสัมปทานขุดเพชร เขาจะเอาแท่นเจาะขุดลงไปเพื่อดูว่ามีแร่อะไรซักอย่าง ถ้าผมจำไม่ผิดแร่นี้จะสีเขียวไม่ทราบว่าคือแร่อะไรครับ แล้วในการขุดพลอยเค้าทำเหมือนกันไหมครับ หวังว่าผมคงไม่ได้มารบกวนอาจารย์นะครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: naitang ที่ 03 เม.ย. 15, 21:54
เพชรกับพลอยเกิดในสภาพทางธรณีฯที่แตกตางกันมาก กระบวนการสำรวจจึงแตกต่างกันมากเช่นกัน  เพชรใช้เครื่องจักรขุดเจาะทำเหมืองอุโมงค์  พลอยมักใช้คนขุด นำกรวด ดิน ทราย ไปล้าง

การเจาะสำรวจ พอจะแบ่งออกได้เป็น เจาะเพื่อเก็บเศษหิน มักใช้เพื่อดูว่ามีชั้นหินอะไรบ้าง เจาะเพื่อเก็บแท่งหิน มีค่าใช้จ่ายสูง มักใช้เพื่อนำหินไปวิเคราะห์ทางเคมีและฟิสิกส์ และเจาะเพื่อการระเบิด

การเจาะสำรวจหาแหล่งแร่นั้น โดยปรกติจะไม่เป็นการเจาะจงว่าจะต้องพบแร่ที่ต้องการนั้นๆ แต่จะเป็นการเจาะเพื่อการหาสิ่งบ่งชี้ทางเคมีหรือฟิสิกส์ หรือแร่บางชนิดที่เกิดร่วม หรือแร่ประกอบหินในองค์รวม

มีหนังสือและเว็ปจำนวนมากที่กล่าวถึงเรื่องของแหล่งกำเนิด แหล่งที่พบ การสำรวจและลักษณะของพื้นที่ๆมีศักยภาพที่จะพบอัญมณีต่างๆ หากสนใจจริงๆก็ลองหาอ่านดูนะครับ


กระทู้: สมาชิกใหม่แนะนำตัวพร้อมถามข้อข้องใจเรื่องรัตนชาติ
เริ่มกระทู้โดย: ทิพยุทธ ที่ 04 เม.ย. 15, 02:35
ขอประทานอภัยอาจารย์ naitang ด้วยครับ ผมเพิ่งได้ย้อนไปอ่านที่อาจารย์ได้เขียนไว้จากที่ตอนแรกอ่านแค่ผ่านๆ เลยนึกย้อนไปถึงที่ท่านเทาชมพูได้เคยแนะนำผมไว้


อ้างถึง
หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมผมดูพลอยไม่เป็นทั้งๆที่ก็คลุกคลีมานาน ผมเข้าไปอยู่ร้านพลอยเพราะผมอยากเห็นครับว่าพลอยที่เขาซื้อหากันราคาแพงเป็นเช่นไรเพราะผมไม่เคยเห็น แต่ถ้าถามว่าผมดูเป็นไหม ผมจะดูไปเพื่ออะไรหล่ะครับในเมื่อดูเป็นแต่ไม่มีปัญญาซื้อผมจะดูไปทำไม

ไม่เคยคิดจะเขยิบอาชีพที่เป็นอยู่  ขึ้นเป็นคนขายพลอย  หรือต่อไปเป็นผู้ค้าพลอยรายย่อยบ้างหรือคะ    พวกนี้ต้องดูพลอยเป็น 
คุณมีโอกาสคลุกคลีกับพลอยมาตั้งนาน  สตางค์ค่าเรียนก็ไม่ต้องเสีย   มีสิทธิ์โกยความรู้ตามใจชอบ นับเป็นโอกาสที่ดีกว่าคนอื่นๆที่อยากทำแต่ไม่มีโอกาสทำ
ไม่จำเป็นว่าต้องมีปัญญาซื้อจึงต้องหัดดูพลอยให้เป็น
สุนทรภู่เคยสอนว่า
อันความรู้รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว              แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดคงเกิดผล
อาจจะชักเชิดชูฟูสกนธ์                        ถึงคนจนพงศ์ไพร่คงได้ดี

แต่หลังจากที่ได้อ่านเรื่องที่อาจารย์ naitang เขียนผมรับรู้ได้ทันทีเลยครับว่าที่ผ่านมาผมไม่ได้รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับพลอยอย่างจริงๆจังๆเลย และผมคงใช้เวลาในชาตินี้ศึกษาเรื่องแร่ให้กระจ่างไม่ทันแล้วอย่างแน่นอน
ขอบพระคุณอาจารย์ในเรือนไทยทุกท่านครับท่านไม่ได้มอบแค่ความรู้ แต่ท่านได้มอบแนวทางในการดำเนินชีวิตแฝงลงไปในทุกถ้อยคำ 
ผมคิดไว้ตั้งแต่แรกที่เข้ามาบ้านหลังนี้แล้วครับว่าที่นี่ไม่ใช่ที่เหมาะแก่ผมเลย ผมไม่ชอบเรียนหนังสือ ไม่ชอบอ่านหนังสือ แต่ผมชอบเรือนไทยครับ