เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 35799 เริ่มต้นเป็นนักเขียน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 06 เม.ย. 10, 22:37

ไม่มีค่ะ  ดิฉันเขียนเพราะอยากเขียน  อะไรที่ไม่อยากเขียนก็ไม่เขียน หรือเขียนไปแล้วไม่อยากเขียนต่อก็ทิ้งไว้แค่นั้น  ไม่เสียดายมัน
เราไม่มีทางรู้ ๑๐๐% ว่างานของเราจะออกมาดีหรือไม่ดี   บางทีคิดว่าเขียนดีแล้ว   อาจไม่ถูกใจคนอ่าน ไม่เข้าตากรรมการ      บางทีเขียนเล่นๆไม่ได้ตั้งใจอะไรมากนัก   คนอ่านกลับชอบมากกว่า  กรรมการอาจเห็นว่าดีก็มี
ทำงานอะไรก็ตาม  ถ้ามีความสุขที่ได้ทำงาน  จะทำได้นาน    แต่ถ้าทำเพราะคาดหวัง อาจไม่เป็นสุขนัก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ทำงานได้ไม่ทนค่ะ    
คนอ่านเขาสัมผัสความรู้สึกระหว่างบรรทัดได้    ถ้าคุณเครียดในการทำงาน เขาก็อ่านแล้วเครียด   ถ้าคุณเป็นสุขเขาก็อ่านแล้วสุข นะคะ    
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 07 เม.ย. 10, 10:05

สว่างกระจ่างใจมนเลยค่ะ  ยิงฟันยิ้ม  จะรวบรวมปัญญาให้ก่อเกิดผล  ยิ้มเท่ห์

ขอบพระคุณค่ะ   อาจารย์
บันทึกการเข้า
วิฬาร์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 17:50

สวัสดีครับทุกท่าน รู้สึกว่าโชคดีมากที่มีโอกาสจับพลัดจับผลูมาเจอเวบไซต์นี้ และที่สำคัญได้เจอกระทู้นี้ด้วย มีความต้งใจมานานเหลือเกินที่อยากจะเป็นนักเขียนนวนิยาย แต่ไม่เคยลงมือเขียนสักที สิ่งที่ติดอยู่เสมอคือ การวางพลอตเรื่องที่มีพลังดึงดูดให้ตัวเองอยากเขียน และเขียนจนจบได้ ทีนี้ พอไม่ได้พลอตเรื่องที่ถูกใจก็เลยไม่ได้เขียนเสียที อยากเรียนถามคุณเจ้าของกระทู้ว่า เป็นไปได้ไหมที่เรานำวิธีการวางพลอตเรื่องแบบละครเวที หรือแบบหนัง มาใช้กับกลวิธีการเขียนนวนิยาย ซึ่งที่เคยรู้มาคือ การปั้นตัวละครที่มีความขัดแย้งให้เกิดขึ้นก่อน แล้วเลือกสถานการณ์ที่ Main Character นั้นปะทะกันเป็น Climax ขอความกรุณาด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 18 พ.ค. 10, 18:47

เขียนอะไรแบบไหนก็ได้ทั้งนั้นค่ะ  การเขียนไม่มีข้อจำกัดรูปแบบหรือวิธีการ
ขอให้ลงมือเขียนเถอะ   นี่คือขั้นแรกของการเป็นนักเขียน
เพราะตราบใดที่ยังไม่ลงมือเขียน  คุณก็จะไม่มีวันรู้ว่าสิ่งที่คิดนั้นมันทำได้หรือไม่   ต้องเขียนถึงจะรู้
บันทึกการเข้า
วิฬาร์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 10:51

ขอบพระคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
วิฬาร์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 10:54

อยากเรียนถามคุณเทาชมพูว่า ตอนที่เขียนนวนิยาแต่ละเรื่อง มัลำดับในการเขียนอย่างไรครับ เริ่มจากมีแรงบันดาลใจแล้ว วางพล็อตก่อน หรือสร้างตัวละครหลักก่อนน่ะครับ หรือว่าหา Theme ของนวนิยายก่อน ผมคิดว่าการเขียนควรจะต้องสร้างแกนของอะไรสักอย่างก่อน เพื่อไม่ให้การเขียนสะเปะสะปะ หรืออกอ่าว อันนี้ไม่ทราบว่าคิดถูกไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 13:33

ลำดับการเขียนที่ง่ายที่สุด
๑   สร้าง theme (แนวคิด) ของเรื่องขึ้นมาก่อน  ว่าเรื่องนี้เขียนขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นอะไร  สร้างแนวคิดให้มันแจ่มชัด
๒   สร้าง plot (โครงเรื่อง) ขึ้นมาเพื่อรองรับแนวคิดในข้อ ๑   ว่าโครงเรื่องนี้ผูกขึ้นเพื่อสะท้อนแนวคิดนี้ยังไง
๓   สร้าง characters (ตัวละคร) เพื่อแสดงบทบาทในโครงเรื่อง   พวกเขาเป็นใคร มีที่มาที่ไปอย่างไร  สอดคล้องกับโครงเรื่องอย่างไร  และเมื่อดำเนินชีวิตไปตามโครงเรื่อง  เขาสะท้อนให้เห็นแนวคิดออกมาว่ายังไงบ้าง

ถ้าไม่มีลำดับเหล่านี้ เขียนไปคิดไปก็เขียนได้  แต่อาจจะออกอ่าวไป  จบไม่ลง ค่ะ 
เอาไว้ให้เป็นนักเขียนที่ชำนาญเสียก่อน   อย่างนั้นเขียนไปคิดไปเขาก็หาทางจบเองได้เพราะรู้ทางตัวเองแล้ว
บันทึกการเข้า
สีสวาด
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 19:36

ขอบพระคุณในความกรุณาของคุณเทาชมพูมากครับ ถ้าไม่เป็นการลำบากใจ ขอปวารณาตัวเป็นศิษย์ทางเว็บไซต์ สักคนนะครับ การได้รับคำแนะนำนี้ทำให้เห็นทางสว่างขึ้น และมีกำลังใจที่จะทดลองเขียนงานนวนิยายขึ้นอย่างมากมาย จากเมื่อก่อน อยากเขียน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มตรงไหน อย่างไร ทั้งที่ตัวเองก็ทำงานเขียนคอลัมน์ในนิตยสารมาเกือบสิบปี ได้แต่อ่านของนักเขียนระดับอาจารย์ อย่าของคุณ ว วินิจฉัยกุล คุณ ก สุรางคนางค์ และคุณทมยันตี นึกทึ่งว่าพวกท่านช่างแยบยลในการวางโครงนวนิยาย และแต่ละท่านก็มีแนวทางการเขียนอันเปี่ยมเสน่ห์แตกต่างกัน หนึ่งนผลงานที่ผมทึ่งมากคือการนำเรื่องราวของตวามเชื่อในอดีตมาผูกปมร่วมกับเรื่องราวในปัจจุบันได้อย่างอัศจรรย์ แถมยังพ่วงประวัติในยุคเจ้าฟ้ากุ้ง และผลงานวรรณคดีของท่านเข้าไปร่วมด้วยอย่างแนบเนียน ในผลงานเรื่อง เรือนมยุรา ของคุณ ว วินิจฉัยกุล หรือเรื่องแนวธรรมมะแฟนตาซีอย่าง จิตา หรือ ไวษณวีย์ ของคุณ ทมยันตี และ บ้านทรายทอง พจมาน สว่างวงศ์ของคุณ ก สรุรางคนางค์ คำพูดที่จับใจและแก้ปม พร้อมทั้งนำเสนอแกนเรื่องได้ดีคือ การเฉลยของคุณชายกลางที่ ทำให้พจมาน และคนอ่านคลายความวิตกกังวลว่า เขาแต่งงานกับเธอด้วยเหตุผลอะไร ตรงที่เขาบอกกับเธอในท้ายเรื่องว่า " วันนี้เขาบอกได้แล้วว่าเขารักพจมาน และเหตุผลของสามีที่จะรู้สึกรักภรรยาอย่างจับหัวใจก็คือ เมื่อประจักษ์แล้วว่า เมียของตนนั้นดีประเสริฐอย่างไร (นามแฝงเปลี่ยนไป เพราะต้องลงทะเบียนใหม่ครับ ใช้เครื่องคนละเครื่องกัน)
บันทึกการเข้า
สีสวาด
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 20:01

เพื่อเป็นแนวทางการศึกษา ขออนุญาตยกเรื่อง แต่ปางก่อน เป็น Case Study นะครับ
Theme         ของเรื่องนี้คือ เมื่อเป็นคู่กันแล้วย่อมไม่แคล้วกันไปได้ หรือที่เรียกว่า มีบุพเพสันนิวาส ใช่ไหมครับ
Plot             คือการแสดงให้เห็นว่าความเป็นคู่กัน ไม่ว่าจะเจออุปสรรคมากี่ภพ ชาติ ก็ย่อมต้องได้ครองคู่กันในที่สุด
                  โครงเรื่องหลักจึงเป็นเรื่องราวของนานาอุปสรรคในแต่ละชาติภพ ในชาติแรกคือการต้องเจออุปสรรคสำคัญที่ตัวเองต้องตายจากคนรัก
                  ในชาติที่สองมีความรักที่ไม่อาจสมหวัง เหมือนเห็นเงาจันทร์บนผิวน้ำ ความรักในชาติที่สาม อุปสรรคคือความไม่เห็นชอบของ หม่อมสวรรยา
                  ซึ่งแม่พระเอก ท่านชายใหญ่ที่มาเกิดใหม่ 
Characters - Main Character คือราชาวดีใช่ไหมครับ ที่มีความรักที่มั่นคง แม้จะต้องพลัดพรากกับท่านชายใหญ่ แต่ก็มีรักดียวใจเดียว

สรุปอย่างนี้พอเข้าข่ายไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 20:17

อ้างถึง
Main Character คือราชาวดีใช่ไหมครับ ที่มีความรักที่มั่นคง แม้จะต้องพลัดพรากกับท่านชายใหญ่ แต่ก็มีรักดียวใจเดียว
 
ตัวละครหลัก มีทั้งพระเอกและนางเอกค่ะ   รวมทั้งพระรองด้วย
อย่างอื่นที่วิเคราะห์มา   ก็ถือว่าถูกต้อง
บันทึกการเข้า
สีสวาด
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 20:41

ขอบระคุณมากครับ ถ้าอย่างนั้น ตัวละครหลักที่เราจะต้องแตกบุคลิกลักษณะ ทั้งในเชิงภายนอก และภายใน ก็คือตัวละครที่เป็นพระเอก นางเอก ตัวเอกซึ่งอาจเป็นพระรอง นางรอง ใช่ไหมครับ อย่างถ้ายกเรื่องเดียวกัน ตัวที่ต้องแตกลักษณะต่างๆ ให้ละเอียดควรจะเป็นใครบ้างครับ นอกจาก ราชาวดี ท่านชายใหญ่ หม่อมเจ้าจิรายุ คุณหญิงสวรรยา ท่านหญิงคู่หมั้นท่าชายใหญ่ เอ...หรือว่าเราจะรู้ได้ ก็เมื่อได้วางโครงจนสมบูรณ์แล้ว อย่างในเรื่องนี้ อาจารย์วางโครงไว้ครบตั้งแต่แรกก่อนใส่รายละเอียด Characters คือโครงของทั้ง 3 ชาติเลย หรือว่า วางไว้ที่ชาติแรก แล้วค่อยเสริมตัวละครเพิ่ม พร้อมคิดรายละเอียด Character ตัวลัครเสริม ไปพร้อมกับการเป็นไปของเรื่องที่ดลใจในระหว่างเขียนครับ
บันทึกการเข้า
สีสวาด
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 21:08

ขอรบกวนถามอีกข้อนะครับ คืออย่างซีรีส์หลายเรื่องของฝรั่ง เขาจะมี Main Character เป้นนัแสดงหลัก จากนั้นก็นำเรื่องราวต่างๆ มาถ่ายทอดเป็น Episodes จนครบซีซั่น และสังเกตพบว่า ในต้นเรื่อง หรือตั้งแต่ Episodes แรกๆ จะทิ้งปมหลักของซีซั่นไว้ แล้วมาเข้าไคลแมกซ์ จนมาเฉลยในตอน Episode สุดท้ายของซีซั่น ถ้าเราจะใช้การวางโครงในแบบเดียวกัน เพื่อเขียนนวนิยาย โดยในแต่ละ Episode ก็เหมือนการแบ่งตอนในนวนิยาย โดยในแต่ละตอนก็จะมี Conflict และ Climax ย่อย ที่ค่อยๆ เข้าสู่การนำเสนอ Conflict และ Climax หลักของนวนิยาย จะได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 21:43

นึกถึงหนังเป็นหลัก   ดาราเอกที่ขึ้นไตเติ้ล ย่อมไม่มีอยู่แค่ ๒ คน   แต่จะมีหลายคน  ถ้าหนังใหญ่ก็อาจเป็นสิบ    นวนิยายก็เหมือนกันค่ะ
ตัวละครหลักต้องวางไว้ก่อน  ให้ครบสมบูรณ์    เหมือนสร้างหนัง    ไม่ใช่ผู้กำกับทำงานไป หาดาราเพิ่มไป   แต่ทุกตัวต้องเซทตามที่ทางไว้เรียบร้อยแล้ว ก่อนจะลงมือทำ

การเขียนเป็น episode หรือ series ก็หลักเดียวกับนวนิยายเรื่องยาวละค่ะ  มีพล็อตย่อยไคลแมกซ์ย่อยได้ ตามสบาย
แต่จะเตือนว่า เป็นนักเขียนหน้าใหม่ อย่าเขียนยาวมาก   อย่าสร้างโครงให้ใหญ่  คุณจะคุมไม่อยู่  เรื่องยาวมากก็จะซับซ้อนมาก   เมื่อซับซ้อนมาก ก็พลาดง่าย
เรื่องดีๆที่ใช้ตัวละครน้อย  รายละเอียดน้อย  ก็มีได้  อย่างเรื่องคำพิพากษา   มีตัวละครเอก ๔ ตัวเท่านั้น  ฉากก็ในหมู่บ้านเดียว    เนื้อเรื่องก็โยงอยู่กับประเด็นเดียวคือชีวิตของฟัก ในช่วงหนุ่ม    คุณคงเคยอ่านแล้ว ไปสังเกตดูอีกครั้งนะคะ
บันทึกการเข้า
สีสวาด
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 19 พ.ค. 10, 21:48

ขอบพระคุณมากครับในความกรุณา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 20 พ.ค. 10, 15:59

เขียน “เรื่องสั้น” ด้วยวิธีง่ายๆ กับชมัยพร แสงกระจ่าง
โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

“เรื่องที่จะอามาเขียนต้องประทับใจสุดๆ มีแรงปรารถนามากที่สุด ถามตัวเองว่าตั้งแต่มีชีวิตมา อ่านชีวิตรอบๆ ตัว ทำข่าวที่หาข้อมูลมาทั้งหมด มีเรื่องอะไรกระทบใจสุด อยากเขียนมากที่สุด อะไรที่ร้ายแรง เศร้าที่สุดในชีวิตเรา ความตายครั้งแรกทีเรารู้จัก ของเหล่านี้กระตุ้นเรา เป็นกุญแจสำคัญที่จะไข ชีวิตเรา” คำกล่าวของ ชมัยภร แสงกระจ่าง นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กำลังจุดประกายต่อมความอยากเขียนของคนข่าวขึ้นมา
คุณชมัยภร เริ่มต้นโดยให้ความรู้เรื่องการเขียนเรื่องสั้นว่า งานเขียนเรื่องสั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ข่าว อะไรก็ได้ที่มีวรรณศิลป์เข้ามา หลายคนอาจจะรู้สึกแยกไม่ออกระหว่างวรรณศิลป์กับข่าว ขออธิบายว่า ตัววรรณกรรมคือตัวข้อเท็จจริง ผสมจินตนาการ จินตนาการคือสิ่งที่เราคิดไปข้างหน้าไปก่อน หรือจินตนาการมีเบื้องลึกเบื้องหลัง ดังนั้นใครที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วมีมีจิตนาการขึ้นมาปั๊บ อันนั้นคือเราฝึกใช้จิตนาการอยู่บ่อยๆ เราชอบใช้ ถ้าเราเป็นนักข่าวเราอยากรู้อย่างเห็น และต้องไปหาข้อมูล หาข้อเท็จจริงเหตุใดจึงเกิดสิ่งนี้ขึ้น แต่นักเขียนอาจจะต้องไม่ไปหาข้อมูล แต่ใช้จินตนาการว่าเหตุใดจึงเกิดสิงนี้ขึ้น ผูกมาเป็นเรื่อง แต่นักข่าวเขียนข้อเท็จจริง
ความต่างของ 2 เรื่องในสมัยก่อนต่างกันชัดมาก คือข่าวเป็นลักษณะรายงาน ขณะที่จินตนาการเป็นลักษณะเรื่องแต่ง แต่ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าโลก 2 โลกเชื่อมเข้าด้วยกัน จะเห็นงานสารคดี จำนวนมากเขียนเหมือนนวนิยาย สาระนิยายบางเรื่องมีตัวละครที่ไม่ใช่ตัวจริง แต่สารคดีมันมีตัวจริง

การเขียนเรื่องสั้นจะทำยังไงให้เข้าอยู่ในกรอบ คุณชัมยพรอธิบายว่า เรื้องสั้นที่มีความยาว 1-2 หน้า เอ4 เป็นเรื่องสั้นขนาดสั้น แต่ไม่ใช่เขียนง่ายๆ เขียนยากมาก คือจะเอาประเด็นที่สำคัญไปอยู่ใน 2 หน้าได้ยังไง ขณะเรื่องสั้นที่อ่านทั่วไป มีประมาณมี 5-8 หน้าก็ได้ หรือมากกว่านั้น แต่ไม่ควรเกิน 15 หน้า ส่วนเรื่องสั้นขนาดยาว คนที่ทำให้เกิดเรื่องสิ้นแบบนี้คือฝรั่ง เขาเขียนเรื่องสั้นยาวมาก เหมือนนิยายไทยเลย ประมาณ 30-50 หน้า
องค์ประกอบเรื่องสั้น กับองค์ประกอบนวนิยายต่างกัน
คุณชมัยพร อธิบายว่า เรื่องสั้นนั้นมีโครงเรื่องเดียว คือมีแนวคิดชัดเจน แก่นความคิดของเรื่อง แต่วางโครงเรื่อง เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ต้นจนจบคือโครงเรื่องเดียว แต่ถ้าเหตุการณ์มีโรงเรื่องย่อยๆ ซ้อนๆ กันพ่วงเข้ามา มีที่มาซับซ้อนซ่อนเงื่อน คือนวนิยาย สรุปคือเรื่องสั้น เป็นโครงเรื่องเดียว ส่วนนวนิยาย มีโครงเรื่องเป็นพวงๆ เป็นชุด นำไปสู่ตัวละคร ใช้ตัวละคร 30 ตัวได้
เรื่องไหนก็ตามที่เป็นลักษณะนิยาย เราอ่านแล้วจะให้ความรู้สึกซาบซึ้ง ทีละนิด แต่เรื่องสั้น ต้องพุ่งตรงเจิมหน้าผากหงายทั้งยืน คือต้องแรงพอ เรื่องสั้นเหมือนลูกสร เหมือนธนู ยิงไปตรงแสกหน้าคนอ่านเลย ถ้ามีพลังพอ
นักเขียนนวนิยาย ก็เหมือนให้คนอ่านกินยาพิษ ซึมไปทีละนิด โดยให้ยาพิษซึมทั้งตัว จะเห็นว่านักเขียนที่หันไปเขียนนวนิยาย แล้วเขาจะไม่หันมาเขียนเรื่องสั้นอีก เพราะว่าเรื่องสั้นมันใช้พลังเยอะมาก เวลาที่เขาสร้างเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งเขาใช้พลังเยอะพอๆ กับเขียนนวนิยายเลยเพื่อที่จะส่งไปให้เต็มที่ พอส่งไปแล้ว เหมือนเราจะต้องเอานักอ่านให้อยู่ด้วยธนูหนึ่งลูก แต่นักเขียนนวนิยายเอาผู้อ่านให้อยู่ด้วยยาพิษหนึ่งแก้ว พลังเท่ากันทำให้คนอ่านอยู่หมัดเหมือนกัน

เราจะเขียนเรื่องสั้นเขียนยังไง
นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย อธิบายว่า เวลาเราจะเขียนเรื่องสั้น โครงเรื่องง่ายๆ เราต้องมีตัวขึ้นต้นว่าจะขึ้นยังไง จะทำยังไงก็ได้ให้คนอ่านรู้สึกสนใจ บางคนขึ้นต้นด้วยความตื่นเต้น บางคนยิงกันเลยเปรี้ยงปร้าง บางคนระเบิด บางคนอาจจะขึ้นด้วยการพรรณา รำพันถึงฉากความงาม ทำยังไงให้ฉากนั้นเข้าไปอยู่ในใจ และต้องบอกด้วยว่าต้องขึ้นต้นฉากนั้นไปด้วยอะไร ต้องเลือกแล้วว่าทำไมเลือกฉากนี้ จะนำเสนออะไรต่อจากนี้
บางครั้งอาจจะขึ้นด้วยบทสนทนา ขึ้นต้นด้วยตัวละคร ขึ้นต้นด้วยฉากที่สำคัญที่สุด ขึ้นต้นด้วยความตื่นเต้น ขึ้นต้นด้วยเรื่องขนบแบบเฉยๆ ถ้าเรื่องข้างในมันดีทรงพลังเอารอด ขึ้นต้นด้วยเรื่องอะไรก็ต้องมีความสำคัญต่อเรื่อง ต้องคิดให้สัมพันธ์ต่อเรื่องที่เราจะเขียนต่อจากนั้น

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 18 คำสั่ง