เรือนไทย

General Category => ศิลปะวัฒนธรรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ติบอ ที่ 05 มี.ค. 08, 03:17



กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 05 มี.ค. 08, 03:17
เห็นทั่นพิพัฒน์ร่ำๆมาว่าอยากเปิดกระทู้เรื่อง "ประติมานวิทยา"
แต่นายติบอดันไม่มีความรู้เสียด้วย..... ทำไงดี

เอางี้ มาถามเพื่อนๆชาวเรือนไทยกันก่อนดีกว่า
ว่า "ประติมานวิทยาคืออะไร" ?
ใครตอบได้ถูกใจมีรางวัลตั๋วเครื่องบินกรุงเทพ-รังสิต ครึ่งที่นั่งมาแจกเด้อ





ปล. ใครรู้ตัวว่าทำสาระ(แน)นิพนธ์เรื่องนี้อยู่น่ะ
มาเล่าซะโดยดี มิฉะนั้นจะโดนดี เข้าใจ๊ ???


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 05 มี.ค. 08, 08:00
ดีครับ คุณน้องติบอ (ไม่ได้เจอกันนาน  8))

บางท่านอาจสงสัยว่าทำไมไม่เขียนว่า "ปฏิมานวิทยา" หรือ "ปฏิมาวิทยา" นั่นก็เพราะว่า "ประติมา" นี้ เขียนตามภาษาสันสกฤตครับ ส่วนวิทยา ก็สันสกฤตเช่นกัน ถ้าจะเขียนรูปบาลี คงต้องเป็น ปฏิมาวิชา ....

สันสกฤต: ปฺรติมา
บาลี: ปฏิมา

"ประติมากรรม" ก็เขียนด้วยรูปคำสันสกฤตเช่นเดียวกัน (บาลี: ปฏิมากัมม์) ส่วน "ปฏิมา" นั้น ในภาษาไทยเราจะใช้หมายถึงพระพุทธรูปโดยเฉพาะครับ

ปฏิมา, ปฏิมากร    น. รูปเปรียบหรือรูปแทนองค์พระพุทธเจ้า คือ พระพุทธรูป, เรียก
   ย่อมาจาก พุทธปฏิมา หรือ พุทธปฏิมากร. (ป. ปฏิมา).
ที่มา: http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

प्रतिमान prati-mān (ปฺรติมาน) = Counterpart, match; model, pattern; image, picture
विद्या vidyā (วิทฺยา), vulg. bidyā (พิทฺยา), s.f. Knowledge, learning, scholarship; science, philosophy
ที่มา: http://dsal.uchicago.edu/dictionaries/platts/
      Platts, John T. (John Thompson). A dictionary of Urdu, classical Hindi, and English. London: W. H. Allen & Co., 1884.

ดังนั้น ประติมานวิทยา ก็น่าจะตรงกับคำนี้ ถ้าเขียนด้วยตัวเทวนาครีครับ प्रतिमानविद्या (ปฺรติมาวิทฺยา)

แต่อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผมไปค้นดูจาก google ไม่พบว่ามีคำนี้ ใช้ในภาษาฮินดีครับ คำว่า "ประติมานวิทยา" คงมีใช้แต่ในภาษาไทยเท่านั้น (ไม่รู้เหมือนกันว่า ลาว และ เขมรจะถอดคำว่า iconography ว่าอย่างไร ???)

ค้นดูคร่าวๆ รู้สึกว่าทางภาษาฮินดีจะใช้คำว่า pratimān-vigyān (ปฺรติมานฺวิคฺยานฺ)

คำว่า วิคฺยาน นี้ ใน PLATTS (1884) อธิบายไว้ว่า "สันสกฤต:  विज्ञान vi-jṅān (วิ-ชฺงานฺ), vulg.(ปรากิต) vi-gyān (วิ-คฺยานฺ), s.m. Distinguishing, perceiving, recognizing, discerning, understanding; distinction, perception, discernment, intelligence, knowledge, comprehension; science, learning.


คำว่า "วิชฺงาน" นี้ ตรงกับคำบาลีว่า "ญาณ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน (๒๕๔๒) อธิบายว่า "ญาณ [ยาน, ยานะ-, ยานนะ-] น. ปรีชาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ที่เกิดจาก อํานาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ"

ก็ค้นมาเล่าสู่กันฟังครับ อิอิ  ;D

ส่วนวิชานี้ศึกษาเกี่ยวกับอะไร ผมขอรออ่านดีกว่า  :-[


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 05 มี.ค. 08, 09:49
คนที่คิดคำนี้มาใช้คือพระยาอนุมานราชธน
แต่ตัววิชานั้น เกิดมาก่อนชื่อภาษาไทยหลายร้อยปี

สมัยแรกๆ พระยาอนุมานฯ ท่านยังใช้ว่าปฏิมาณวิทยา
แต่เมื่อพจนานุกรมเก็บคำว่าปฏิมาไว้ว่าเป็นรูปของพระพุทธองค์ ท่านเจ้าคุณจึงเลี่ยงไปใช้ประติมา
ผมคิดว่าท่านอาจจะคิดชื่อวิชานี้ เพื่อใช้กับคำอธิบายของอาจารย์ศิลป์
สมัยที่ขอให้อาจารย์ฝรั่งเขียนอภิธานศิลปะให้ อาจารย์ฝรั่งก็เขียนไล่ไปตั้งแต่อักษร A
เจ้าคุณก็แปลแล้วเอาไปลงวารสารศิลปากร(ไม่ใช่นิตยสารศิลปากรที่ยังเผยแพร่อยู่ในปัจจุบันนะครับ)

ในความหมายของอาจารย์ศิลป์ Iconography เป็นวิชาหนึ่งในการทำความเข้าใจศิลปะโบราณของยุโรป
กล่าวอย่างจำเพาะเจาะจงก็คือการอ่านรูปเคารพ ที่เรียกกันว่า ICON ซึ่งเป็นของยอดนิยมในสมัยกลาง
เป็นการเขียนรูปพระผู้เป็นเจ้า พระไครสต์ หรือแม้แต่กษัตริย์ในตำนาน
โดยมีเครื่องหมายการค้าของผู้นั้นรายล้อมประกอบ

เราต้องถอดรหัสว่า รูปย่อยๆเหล่านั้น มาจากพระคัมภีร์ตอนใหน
เหมือนที่คุณกุ้งแห้งยกปฐมสมโพธิ์มาประกอบเขียนที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ยังไงยังงั้นแหละครับ
จิตรกร(คริสเตียน)ตั้งแต่ครั้งโน้น มาจนถึงครั้งนี้...ล้วนต้องอ่านคัมภีร์
เพื่อเขียนรูปเคารพให้ถูกต้อง

สำหรับตัววิชานั้น เข้าใจว่าจะเกิดประมาณ 1700 ปลาย
ผมเคยจำชื่อปรมาจารย์วิชานี้ได้ เป็นชาวเยอรมัน แต่ไม่ได้ใช้มานาน ลืมซะแระ
ถ้าค้นเจอจะมาเล่าต่อครับ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 05 มี.ค. 08, 11:33
     รากพฤกษ์ลึกหยั่งพื้น...พสุธา
แก้วแขนงฝอยย้อยมา...จึ่งมั่น
ปัญญาจักกว้างไกลสรรเสก...เสวนา
ยาวเยื้อยรากเลื้อยได้ต้นนั้น...จึ่งคง

     ภาษากำหนดด้วย...กลุ่มคน
นิยามความงามได้...ดั่งฝัน
งานศิลป์เกิดแต่จิตปรุงแต่ง...สวรรยา
มีใครถึงแล้วบ้างหลุดพ้น...กดเกน... ;D ;D ;D




กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 05 มี.ค. 08, 12:13
อิอิอิอิ คุณพิพัฒน์ อธิบายได้แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งนัก จนผู้น้อยไม่มีอะไรจะกล่าวแล้วครับ ขอคารวะจากใจจริง

ขอลองเอามุมมอง ที่"คล้ายๆ" ประติมานวิทยา จากทางเอเชีย มาเสนอให้ชมกันบ้าง


ในอินเดีย วิษณุธรรมโมตตรปุราณะได้กล่าวถึงการจำแนกวัตถุด้วยชนิด ความจำเพาะเจาะจงทางสัญลักษณ์ หรือ ลักษณะ(laksana) ซึ่งผู้ชมจะสามารถจดจำและแยกแยะได้ด้วย”ลักษณะ” ดังกล่าว ในศตานกะ (การวาด 6 สาขา) ยกย่องความเหมือน “ภายใน” มากกว่าความเหมือนภายนอกและความเหมือนไม่ได้ตั้งอยู่บนความเที่ยงตรงบนพื้นผิวเพียงอย่างเดียว ความเหมือนภายในนี้ก็คือสัญญะที่ทำให้คนจดจำภาพเหมือนได้ทันที


ในกระบวนการสร้างภาพเหมือนนั้น ต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวแบบกับศิลปินในระดับที่ลึกกว่าตาเห็น ภาพเหมือนจึงเชิญชวนผู้ชมให้เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์และมีการติดต่ออีกครั้ง แม้ว่าที่จริงแล้วจะมีระยะที่ห่างไกล (ไม่ว่าจะเป็นเวลาหรือพื้นที่) ระหว่างวัตถุจริงกับผู้ชมก็ตาม

การติดต่อปฏิสัมพันธ์นี้เกิดขึ้นในทุกกระบวนการของปฏิบัติการ ตั้งแต่ศิลปินกับต้นแบบ และตัวบทกับผู้ชม ประสบการณ์เกี่ยวกับภาพเหมือนจึงเป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและเป็นความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับวัฒนธรรมโดยแท้


ดังนั้นจึงดูเหมือนว่าการขาดแคลนภาพเหมือนทำให้เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกกล่าวหาว่าไม่มีประสิทธิภาพในการเผชิญหน้ากับชีวิตจริงและมีแต่อุดมคติ ต้นเหตุนี้อาจมาจากข้อห้ามบางประการทางศาสนา ความเชื่อและฝังรากต่อกันมา เช่นในคัมภีร์สุกรานิติสาร อันเป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพ


“ฉายาของพระเจ้าย่อมอำนวยความสุขสวัสดิ์แก่มนุษย์และนำไปสู่สรวงสวรรค์ แต่ภาพของมนุษย์จะทำให้สวรรค์ออกห่างและนำมาซึ่งความโทมนัส ฉายาของพระเจ้าแม้จะผิดรูปร่างไปก็ยังเป็นสิ่งประเสริฐสำหรับมนุษย์ แต่ภาพของมนุษย์แม้ว่าจะงดงามเพียงใดก็ไม่เป็นสิ่งที่ดีเลย”

ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นทัศนะตรงข้ามกับตะวันตก ที่ให้ค่าของมนุษย์ในฐานะ “พระฉายาของพระเป็นเจ้า” (in the image and likeness of God)


การวาดภาพเหมือนถูกจำกัดจำเขี่ยในสมัยโบราณ (ไม่ว่าจะเป็นยุโรปหรือเอเชีย) อย่างไรก็ตาม การแสดงออกด้วยภาพเล่าเรื่อง (Narrative painting) ย่อมทดแทนกันได้ เพราะเหตุการณ์หรือวีรกรรมย่อมจำกัดอยู่ในตัวบุคคลที่ทำให้มันเกิดขึ้นมา


ภาพเล่าเรื่องนี้แหละทำให้ ประติมานวิทยา มีประโยชน์ขึ้นมา


ซึ่งในศิลปะเล่าเรื่อง เป็นการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารคือศิลปินกับผู้รับสารคือผู้ชม แต่มีข้อแม้ก็คือ ผู้ชมจะต้องเข้าใจความหมายแฝงหรือ”กติกา” ซึ่งก็คือรหัสทางวัฒนธรรมที่จะทำให้เข้าใจงานศิลปะอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ผู้ชมเข้าใจสิ่งเหล่านั้นได้ด้วยสัญญะ (sign)  ซึ่งการเรียนรู้ของผู้ชมนั้นก็เหมือนกับการละเล่นบางอย่างที่จำเป็นต้องมีกติกา และถ้าหากกติกานั้นเปลี่ยนไป ผู้ที่ไม่รู้กติกาย่อมไม่เข้าใจ การเรียนรู้ภาษาทางศิลปะคือการเรียนรู้รหัสของศิลปิน ซึ่งอาจจะต้องตีความ


ซึ่งกติกาเหล่านี้ เกิดจากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน รวมทั้ง การเรียนรู้ที่สั่งสมมาตั้งแต่เด็ก เป็นการขัดเกลาทางวัฒนธรรม ผู้อยู่นอกวัฒนธรรมย่อมไม่เข้าใจ เหมือนที่เราไม่เข้าใจวัฒนธรรมของประเทศอูกันดา หรือลิกเตนสไตน์ หรือเราไม่ได้ดู "ปิ๊งรักสลับขั้ว" เราก็ไปคุยกับคนที่ดูไม่รู้เรื่อง

นอกจากจะศึกษา เป็นระบอบเดียวกับการศึกษาประติมานวิทยานั่นเอง


ยกตัวอย่างงง ที่รู้จักกันดี.............


ชิ้นหนึ่งทรงครรภ์กัลยา           คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์
ชิ้นสองต้องทัณฑ์เที่ยวเซซัง    อุ้มลูกไปยังพนาลัย
ชิ้นสามเมื่ออยุ่ด้วยยายตา        ลูกยาออกช่วยขับไก่
ชิ้นสี่กัลยามาแต่ไพร               ทุบสังข์ป่นไปกับนอกชาน
ชิ้นห้าบิตุรงค์ทรงศักดิ์              ให้จับตัวลูกรักมาจากบ้าน
ชิ้นหกจองจำทำประจาน           ให้ประหารฆ่าฟันไม่บรรลัย
ชิ้นเจ็ดเพชฌฆาตเอาลูกยา       ไปถ่วงลงคงคาน้ำไหล
เป็นเจ็ดชิ้นสิ้นเรื่องอรไท           ใครใครไม่ทันจะสงกา


เป็น Narrative art เรื่องยาวในหม้อแกง และให้ความหมายของประติมานวิทยา ที่จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ในการเข้าถึงได้ดี เพราะ

"ใครใครไม่ทันจะสงกา"   และ

หลากใจหนักหนาน่าอัศจรรย์      พระทรงธรรม์"ไม่บอกให้ใครฟัง"
จึงเอาน้ำมาล้างแล้วางราย         เห็นเป็นเรื่องนิยายหอยสังข์
พระมารดามาตามแล้วกระมัง      "คนอื่นทั้งเมืองเราไม่เข้าใจ"


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 06 มี.ค. 08, 00:51
คือการเล่าด้วยภาพใช่ไม๊ครับ  งานเล่าด้วยภาพหรือแสดงเรื่องราวด้วยภาพ  เป็นการอ่านจิตนาการของศิลปิน  โดยมีสัญลักษณ์ไฮไลท์หรืออะไรก็ตาม  ตามแต่ที่ศิลปินจะสร้างจากจินตนาการโดยมีเรื่องอาจจะจากคัมภีร์เป็นมูลฐาน  พระพุทธรูปของท้องถิ่นต่างๆจึงมีลักษณะต่างกันแต่ก็มีความพิเศษกว่ามนุษย์ธรรมดาเหมือนกัน  การอ่านประติมากรรมต่างๆแม้มาจากคัมภีร์เดียวกัน  แต่คงต้องมีพื้นฐานจากมนุษย์ในท้องถิ่นนั้นซ่อนอยู่ในงานนั้นๆด้วย  ใช่ไม๊ครับ

ท่านโฮต้า  เก่งภาษาพรามหณมินทร์และสันสกฤตมากครับ  ขอบคุณครับสำหรับการวิเคราะห์ศัพท์ที่ละเอียดครอบคลุม.... :D


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 มี.ค. 08, 02:11
มาแตะเบรค กล้ววิ่งเร็ว บางระเบิด ตายสยอง
ไอขะโนกราฟี่นี่ ไม่ใช่เล่าเรื่องด้วยรูปนะครับ
ไม่ใช่อิลัสเตรท ซึ่งเป็นการแปรความเอาตามใชจ้อบ...อุป ใจชอบ

ประติมานวิทยานี่ ต้องเห็นพ้องต้องกัน จนเป็นสูตร
ขอยกตัวอย่าง อย่างง่ายๆ พอเพียงกับสมองผมจะเข้าใจ
คือพระพุทธรูป ปางอ้างธรณีเป็นพยาน
ตำรามาตรฐานหนึ่ง จะทำนิ้วพระหัตถ์ยาวสั้น มิเท่ากัน เหมือนนิ้วมนุษย์จริงๆ
แต่ก็มีตำราที่เดินอีกแนว คือนิ้วยาวเท่ากันทั้งหมด

เอาละซี อิหยั่งนี้มะช่ายแทงหยวกตามใจฉัน เล่าเรื่องตามที่ชอบเหมือนแกะฟัก ซึ่งมีแต่ผัวชั่ว-เมียแสนดีเท่านั้น
จะรู้ความนัย
แขกที่นั่งร่วมโต๊ะ มะมีใครรู้เรื่อง
อย่างนี้มิใช่ไอขะโนฯ นะคะรับคุณกะรุกุรา


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 06 มี.ค. 08, 02:40
ไม่ใช่ครับคุณกล้วย (ผมจะกลายเป็นคนค้านคุณกล้วย กับคุณเอลวิสมั้ยเนี่ยะ หิหิ)



รูปแบบของประติมานวิทยา โดยมากเป็นแบบแผนที่ใช้สืบๆกันมา
พบการเปลี่ยนแปลงในตัวรูปแบบได้บางครับ แต่น้อยมาก (เท่าที่พบส่วนมาก คือการแก้ไขรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ)
แต่บางครั้งอาจจะเกิดการปฏิวัติรูปแบบในวงการได้ ซึ่งไอ้การปฏิวัติที่ว่านั่นจะอยู่สืบมาหรือไม่..... ขึ้นกับการยอมรับของสังคมครับ

ยกตัวอย่าง พระพุทธรูปปาง "ป่าเลไลยก์" เดิมประติมานสำคัญอยู่ที่พระพุทธองค์รับบาตรจากพญาวานร
แต่ในพุทธศิลป์พุกาม ที่นิยมทำพระ 8 ปาง หรือ 14 ปาง มักนิยมทำรูปช้างเล็กๆเอาไว้อีกฝั่งหนึ่ง
เพื่อแสดงความเป็น "ป่า" ของฉาก เนื่องจากพระมักมีขนาดเล็กมาก...... และทำให้ดูสมมาตรกับพระปาง "ปราบช้างฯ" ด้วย
แบบนี้นายติบอขออนุญาตเรียกว่าเป็นการปฏิวัติ...... อย่างหนึ่ง
เพราะเขายกเอาของที่ไม่มี ใส่เข้าไปให้มีขึ้นมาในประติมานวิทยา

และการปฏิวัติครั้งนี้ "สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี" ครับ
เพราะคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกหลายชนชาติรับเอาประติมานวิทยานี้เข้าไป
แต่รับอย่างเดียวไม่พอ แต่งตำรามารับประติมานจนตำราบางเล่มยกช้างมาเป็นพระเอกไปแทนลิงซะแหล่ว




แต่การปฏิวัติในอีกหลายครั้ง..... อย่างพระพุทธรูปลักษณะแปลกๆที่นิยมสร้างกันในรัชสมัยพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่น.....
ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการปฏิวัติทางประติมานวิทยาที่สังคมไม่ยอมรับครับ......
ไม่เชื่อคุณกล้วยลองไปหาคนที่คิดจะลุกขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกแบบเหลือแต่เศียรพระโผล่พ้นขนดนาคออกมาสิครับ..... ผมว่าหาไม่เจออ่ะ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 06 มี.ค. 08, 09:07
อิอิอิ สวัสดีครับ คุณติบอจ๋า ฟังดูงงๆอะ ปางปราบช้างปราบลิง มีรูปไหมจ๊ะ ลงให้หน่อย


ยกตัวอย่างเรื่องสังข์ทองนี่มีจุดมุ่งหมายถึง กระบวนการเข้าใจและรับรู้ของคนในวัฒนธรรมเดียวกันที่มีต่อสัญลักษณ์ในศิลปะครับ

บใจ้เรื่องของคนนอกวัฒนธรรมที่เอาสายตาปัจจุบันเข้าไปจับ หรือนักศึกษาที่เรียนลัดด้วยการอ่านตำรา

นึกถึงตัวอย่างของราชทูตลังกาที่เข้ามาสมัยพระเจ้าบรมโกศ

เห็นพระทรงเครื่องเข้า ก็นึกว่าเป็นรูปเทวดา จนต้องอธิบายกันเป็นฉากๆว่าเป็นพระพุทธรูป เขาก็ว่าบ้านเขาไม่มีนี่นา

พระสังข์และครอบครัว เป็นตัวแทนของคนกลุ่มเดียวกัน ขณะที่ชาวบ้านชาวเมืองมาทีหลัง ไม่ทันได้ดูละครช่อง 7 (ตอนนี้มีสังข์ทองฉายพอดี ที่พระเอกเป็นตุ๊ด)

ก็เลยไม่อินครับ...


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 06 มี.ค. 08, 09:36
อรุณสวัสดิ์ครับคุณ ติบอ คุณ Kurukula... :) :) :)

ขอเรียนถามเพิ่มเติมหน่อยครับ

๑.หากปฎิวัติไม่สำเร็จจะเรียกว่า ขบถหรือไม่ครับ (ขบถ...คำนี้เลิกใช้หรือยัง...ต้องถามผู้รู้อีกแล้ว)... ;D ;D ;D

ตัวอย่างเช่น ผมสั่งช่างปั้นให้ปั้นช้างขนาดสมจริง นอนตะแคงชูอ้อยยืนให้แก่บุรุษผู้ ๑
โดยมีบุรุษนั้นนั่งที่ขาหน้าของช้าง ใบหน้าอิ่มเอิบเป็นสุข
ปลายหางช้างมีลิงตัว ๑ ดึงหางช้างอยู่ ในอีกมือหนึ่งของลิงนั้นถือกล้วย
ประหนึ่งว่า...ช้างและลิงหมายแย่งกันมอบอ้อยและกล้วยให้บุรุษผู้นั้น
รูปปั้นเยี่ยงนี้จะกลายเป็นพระพุทธรูปปาง "ป่าเลไลย์" หรือไม่


๒. ชาย ๑ หมายจะสร้างรูปปั้นในที่ดินของตน
หวังจะให้เป็นอุทยานเพื่อการท่องเที่ยวให้ลูกของตนได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์
มากกว่าจะเป็นการเพื่อจำเริญพระพุทธศาสนา(จำเริญ...คำนี้เลิกใช้หรือยัง...ต้องถามผู้รู้อีกแล้ว)... ;D ;D ;D
โดยงานปั้นปูนอย่างหยาบนั้น พินิจดูแล้วก็ดูไม่งาม ไม่สมส่วน ไม่มีหลักการและสัดส่วนที่สวยงาม
เงินที่ใช้เป็นทุนในการปั้นก็ขอเรี่ยไรจากผู้คน อ้างเพื่อสะเดาะเคราะห์ แล้วแบ่งส่วนหนึ่งมาใช้จ่ายเอง
มีผู้คนเข้าไปเคารพรูปปั้นนั้นบ้าง แต่ไม่มากนัก
หากเวลาล่วงไปสักอีก ๒๐๐ ปี จนเมื่อไม่มีใครทราบจุดประสงค์แท้จริงของผู้ปั้นนั้นแล้ว
รูปปั้นนั้นจะเรียกว่าประติมาน ที่ผ่านการ ปฎิวัติด้วยหรือไม่




ปล.๑  คุณ ติบอ จะอ่านที่เขียนในทุกกระทู้ครบไหมนะ...ครบไหมนะ...ครบไหมนะ...   ;D ;D ;D


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 มี.ค. 08, 10:25
จะว่าไปแล้ว ผมยังไม่เคยเห็นมีใครศึกษา หรือยกตัวอย่าง iconography ที่ไม่ใช่รูปเคารพเลยนะครับ

อย่างเช่นรูปเจ้าเตี้ยฝรั่งเศษ ยืนพักขานิดหน่อย เอาแขนทิ่มเข้าในอกเสื้อ และใส่หมวกกลับทางเสียงั้น
เราก็ไม่เสียเวลาไปหาว่า ท่านคิดอย่างไร เกี่ยวกะประวัติการณ์ตอนใหนของท่าน
เช่นเดียวกัน ฟักสลักเป็นแากชีวิต ก็ไม่เข้าข่ายเป็นประติมานวิทยาแน่นอน
ขอยืนยัน

ทีนี้จะถามน้องติบอบ้างว่า การสร้างรูปประติมานแห่งพระพุทธองค์ให้มีรายละเอียดตรงตามพระคัมภีร์นั้น
เป็นการปฏิวัติตรงใหนหรือ
ถ้ารูปแบบที่แหวกแนวออกจากความเคยชิน ถือเป็นการปฏิวัติ
รูปที่พบกันมามากมาย ก็ล้วนปฏฺวัติมากหรือน้อยเท่านั้นเอง ยิ่งแวะไปฝั่งมหายาน คงปฏิวัติกันทั้งวันทั้งคืน

ประเด็นสำคัญในวิชาประติมานวิทยาก็คือ เราสามารถหาเรื่องราวในคัมภีร์ มารองรับลักษณะรูปเคารพได้หรือไม่
ถ้าหาได้ ลักษณะเหล่านั้น เคร่งครัด หรือผ่อนคลายจากเนื้อหาทางอักษรศาสตร์มากน้อยเพียงใด
ถ้ามีการยึดถือที่เคร่งครัด นักประวัติศาสตร์ศิลป์จะได้ใช้รูปนั้น เป็นมาตรฐานเพื่อนำชิ้นอื่นมาเทียบ

ถ้าเป็นรูปแบบที่แปลกตา เราจะต้องรอบคอบในการวินิจฉัย
เพราะอาจจะมาจากคัมภีร์ที่ต่างออกไป หรือจากฉบับที่ไม่รู้จักกัน ยิ่งสืบก็ยิ่งได้ความเข้าใจอดีต
เข้าใจแล้วจะเอามาเล่นเป็นโจ๊ก ก็ไม่ว่ากัน แต่อย่าเพิ่งโจ๊กก่อนเข้าถึงเนื้อแท้ มันจาไม่อาหร่อยครับ

เรื่องสวนสนุกอุทยานการท่องเที่ยวนั้น เป็นเรื่องสมัยเรา
ประติมานวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลป์
ประวัติศาสตร์ หมายถึงเรื่องก่อนเกิด
เรื่องปัจจุบัน หรืออนาคตน หรือสมมติเรียกอนาคตศาสตร์ หรือโมเมศาสตร์
ศิลป์ หมายถึงเรื่องที่ยกจิตใจไปทางสุนทรีย์
เรื่องไม่เป็นเรื่อง เราไม่จัดเข้าในหมวดศิลปะ ซึ่งบังเอิญว่าเป็นหนึ่งในมงคลสูตร
คงไม่มีใครจัด อุตริ พิเรนทร์ พิลึก หรือวิกลจริต เป็นมงคลกระมัง


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: หนูหมุด ที่ 06 มี.ค. 08, 10:28
เพิ่งเคยได้ยินคำนี้เป็นครั้งแรก อ่านที่ทุกท่านอธิบายแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจอยู่ดีค่ะ ???

อย่างเช่นเราไปดูภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์วัดที่หนึ่ง แล้วเราก็สังเกตจากรูปมีภาพชายคนหนึ่งยกรถ เราก็สามารถรู้ได้ว่านี่คือภาพจากชาดกเรื่องพระเตมีย์ใบ้
อย่างนี้ใช่หรือเปล่าคะ

หรืออย่างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ต้องตะแคงขวา เท้าเสมอกัน ถ้าตะแคงซ้าย หรือเท้าไม่เท่ากัน ก็คือเป็นปางอื่น อย่างนี้รึเปล่า

ระหว่างพิมพ์เห็นคุณ pipat บอกว่าส่วนมากจะเป็นรูปเคารพ ก็แปลว่าจิตรกรรมฝาผนังนี่ไม่นับใช่มั้ยคะ
รบกวนขอความรู้ด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 06 มี.ค. 08, 11:17
จะว่าไปแล้ว ผมยังไม่เคยเห็นมีใครศึกษา หรือยกตัวอย่าง iconography ที่ไม่ใช่รูปเคารพเลยนะครับ


Iconography มิได้เจาะจงอยู่กับประวัติศาสตร์ศิลปะเพียงอย่างเดียวแล้วครับ ทุกวันนี้ ประติมานวิทยา มีบทบาทต่อศาสตร์หลายๆแขนง เช่น สัญณวิทยา (Semiotics) มานุษยวิทยา แม้กระทั่ง การศึกษาภาพยนต์ โดยเฉพาะการค้นหาความหมายทางวัฒนธรรมจากสัญลักษณ์ ซึ่งปรากฏออกมาจากภาษาท่าทาง

บางครั้ง ในภาพยนต์ เรายังเห็น"ลูกเล่น" หลายๆอย่างที่แฝงเข้ามา บางอย่างก็ย้อนกลับไปใช้"ประติมานวิทยา" ในอดีต (simulacrum) โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเคารพบูชาเลย มันทำให้เห็นความตั้งใจของคนสร้าง และรู้สึกว่าหนังมีสาระขึ้นมากมาย

แม้กระทั่งใน Academic art ซึ่งเต็มไปด้วยหลักวิชาการอันสูงส่ง เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ออกมาให้ได้สมจริงสมจัง กล้ามเนื้อต้องถูกต้อง รายละเอียด การจัดองค์ประกอบ แสงเงาตกกระทบยังไง ยังจำเป็นต้องใช้หลักการของประติมานวิทยา

Lomazzo ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Trattato dell’ Arte della Pittura Scultura ed Archittettura ว่า

“แม้ว่าภาพเหมือนจะมีพื้นฐานบนความเหมือนจริงและทำให้ผู้ชมจดจำผู้ที่ถูกแสดงแทนได้ทันที แต่ศิลปินจำเป็นจะต้องใช้องค์ประกอบอื่นๆ(ที่ใช้จำแนกแยกแยะ)ด้วย เช่นระดับของผู้ถูกแสดงแทนหรือสัญลักษณ์ เช่นมงกุฎสำหรับจักรพรรดิ์ ท่าทางอันสง่างามและรายละเอียดจะต้องมีพร้อม ขณะที่อาจต้องแก้ไขความอัปลักษณ์บางประการออกไป"[/size]


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Kurukula ที่ 06 มี.ค. 08, 11:23
คุณหนูหมุดเข้าใจถูกต้องแล้วครับ

ประติมานวิทยามีผลต่อคนในวัฒนธรรมเดียวกันไปในทางเดียวกัน เกิดจากการขัดเกลาและประสบการณ์ของคุณหนูหมุด ที่ตอนเด็กๆอาจจะตามคุณแม่คุณยายไปวัด ท่านก็เล่าเรื่องให้ฟังว่า ถ้าเห็นคนยกรถ ก็ควรจะเป็นพระเตมีย์

เป็นกระบวนการของประติมานวิทยาอย่างง่ายๆที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยตำราหรือคัมภีร์อันซับซ้อน


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 มี.ค. 08, 13:30
โอ....น้องเราเป็นโป๊สต์มอแดร์นมากไปแล้ว
การใช้ประติมานวิทยาในชีวิตสมัยใหม่นั้น เป็นคนละอย่างกับการใช้ประติมานวิทยาในวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ครับ

คือคุณจะเอาไปใช้ก็ได้ ข้างรถตุ๊กๆ ข้างรถสองแถว ป้ายฉายหนังกลางแปลง หรือฉลากยา
ล้วนแต่มีชิ้นส่วนให้โยงเข้าหาวิธีการทางประติมานวิทยาทั้งนั้น
แต่มีน มิใช่เอนดึ ใช่ใหม

คุณเอาพระพุทธรูปไปเป็นฐานโคมไฟ ก็เป็นประติมานวิทยาหรือ
ถ้าอย่างนั้น หนังแมททริกส์ 3 ภาค ก้อเป็นตำราประติมานวิทยาสิ
เบลด 3 ภาคก็เป็น
ยอดมนุษย์ ซุปเป้อร์แมน แรมโบ้ แม้แต่จาพนม วนแต่เป็นตำราประติมานวิทยาเดินได้ หมุนได้ งั้นรึ

ผมไม่เอาด้วยครับนา.....

เสมิโอติค ทำคนละอย่างกับอิโคโนกราฟฟี่ครับ
อย่าเอามาปนกัน
หรือถ้าจะปนกัน ก็ต้องรู้ว่ากำลังทำเรื่องอะไร
เราอาจจะทำเสมิโอติด สะตั๊ดดี้ในพระพุทธรูปทวารวดี
อาจจะได้ผลลัพทธ์น่ามหัศจรรย์ใจ แต่นั่นไม่ใช่อิโคโนกราฟฟี่ สะตั๊ดดี้ครับ ไม่เกี่ยวกัน


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 มี.ค. 08, 16:11
ย้ำให้ชัดอีกหน่อยนะครับ
คุณอ่านงานผ่านเสมิโอติค ผลที่ได้ออกมาไม่มีความแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าคุณรู้เรื่องอะไรแค่ใหน
คุณจะเน้นสาระไปทางใหนก็ได้ ไม่มีขีดจำกัด

แต่เมื่อคุณอ่านงานชิ้นหนึ่งผ่านอิโขโนกราฟี่
ผลที่ได้ออกมา ต้องเหมือนเดิมในหลักใหญ่ๆ เว้นแต่คุณอ่านผิด

เช่นคุณอ่านสามส่วนของศิวลึงค์เป็นหลักเมือง นั่นเพราะคุณไม่รู้จักประติมานวิทยาของฮินดู
แต่คุณอาจจะอ่านเป็นความยึดถือเพศชายเป็นใหญ่ นั่นเป็นเสมิโอติค
คุณอาจจะอ่านป้ายรถเมล์ด้วยเสมิโอติดได้ แต่เอาอีโคโนกราฟี่มาอ่าน....หึหึ

เล่มใหนครับ บอกหน่อย


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 06 มี.ค. 08, 17:12
อิอิ กำลังมันส์.....



เอาเป็นว่าตอนนี้นายติบอขอเดาเอาว่าประติมานวิทยาของกูรูแต่ละท่านไม่เหมือนกันซะละ

ประติมานวิทยาของกูรูกุลุกุลา มีส่วนประกอบได้แก่
- สื่อ
- สาร
- ผู้รับสาร



ส่วนประติมานวิทยาของทั่นศาสตราภิชาญพิพัฒน์ มีส่วนประกอบได้แก่
- สื่อ (ที่เป็นรูปเคารพ)
- สารที่สื่อจากรูปเคารพ
- ตำราที่ใช้เทียบเคียงในการสร้างสาร
- ผู้รับสาร
- เวลา



ผมเดาพลาดตรงไหนบ้างครับ หิหิ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 มี.ค. 08, 18:29
อย่างนี้ ไม่เรียกว่าเดาอะ เรียกว่าอวิชา

ผมเคยเห็นเมื่อก่อนนู้น มีนักเขียนคนหนึ่ง ได้รับการสังกะเสิง ราวกะไอสะตายปนค้านท์ อ้อ แถมแมคไกเว่อร์อีกหน่อย
ที่บอกว่าเป็นคนคิดค้นวิธีศึกษามนุษย์แบบใหม่ เรียกว่า archeology of อโนเนะ ว่าเป็นยอดของการตีแผ่มนุษย์
พี่ไทยเป็นนักเลียนอยู่แล้ว...อ้าวขอโทษนักเรียน
ก็ตามหลังต้อยๆ ทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นนักร้องชื่อเศษฐา เขาโบราณคดี เราก็โบราณคดีมี่ง

ผมถามน้องตีบอบ้างดีกว่า
ผมเป็นมือปืนรับจ้าง และตีรันฟันแทงตามใบสั่ง ผมเรียกตัวเองว่าเป็นนักกายภาพบำบัด น้องว่าเท่แมะ
ผมเป็นพวกขุดของเก่าขาย ปลอมมากกว่าจริง และฉ้อเขามาขายก็ทำ แต่เรียกตัวเองว่าเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลป์
น้องว่าเหมาะไม้

ตอนที่เพียรส คิดวิชาเสมิโอคิคขึ้นมา เขาไม่ได้ต้องการรู้เรื่องเทพเจ้า เขาต้องการรู้เรื่องมนุษย์ ผ่านการสร้างสัญลักษณ์
ฟังใหม่นะครับ จะทวนอีกครั้งหนึ่ง
ประติมานวิทยา ต้องการรู้ว่า มนุษย์สร้างรูปอะไร
แต่สัญญะวิทยา ต้องการรู้ว่า รูปที่มนุษย์สร้างต่างจากสัตว์สร้างที่ตรงใหน
ทำไปทำมา สัญญะวิทยา อาจจะบอกว่า แม้แต่รูปที่สัตว์สร้าง ฉันก็บอกได้ว่ามันคิดอะไร
มันต่างกันมากครับ ระหว่างจิตวิทยาแห่งการคิดสร้าง กับภาววิทยาแห่งการสร้างสิ่งที่คิด
พูดแบบนี้งงใหมล่า

กลับไปอ่านอีกหลายรอบครับ แล้วค่อยมาอัดกัน

หรือเอางี้ คุณอยากศึกษาเรื่องป้ายแดงของโค้ก ไปเปิดกราทู้สัญญศาสตร์ หรืออะไรก็ได้ ที่อยากจะชื่อ
ส่วนกราทู้นี้ ว่ากันด้วยเรื่องตื้นๆ เรียกว่า "ลักษณะของรูปเคารพ"

แล้วอย่ามาบอกว่า ICON หมายถึงรูปอะไรก็ได้ เพื่อจะประเสว่า ICONO+GRAPH แปลว่า ศึกษารูป(อะไรก็ได้)
นั่นน่ะคณะนิเทศน์ ไม่ใช่คณะมนุษย์ศาสตร์ เป็นการเรียนเพื่อประยุกต์ใช้ หาใช่ LOGOS ไม่
ไปอยู่กะดู๋เขาเลย ชิ่ว ชิ่ว ....พ่อนี่ใช่ใหมที่จัดรายการ ดิไอค่อน อวดคนดัง

แล้วใครวะ บอกว่ารูปมาริลีน เป็นไอค่อน เท่ากะเซเลปคือไอค่อน  โอย ตูจะบ้าตาย

ไปถามรัสเซียสิ ว่า ICON คืออะไร


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 06 มี.ค. 08, 20:46
วิชานี้มีการบ้านยาก ๆ ด้วย... ??? ??? ???

ต้องหาคำจำกัดความและความหมายของของคำว่า...

"อิโคโนกราฟฟี่"...คำนี้ท่านกรุณาให้ตัวสะกดมาด้วย.........."Iconography"
"อิลัสเตรท"........เดาว่าสะกดแบบนี้........................."Illastrate"
"เสมิโอติค"........เดาว่าสะกดแบบนี้........................."Semiotic"
"โป๊สต์มอแดร์น"...เดาว่าสะกดแบบนี้........................."Post modern"
"ICON"...โชคดีคำนี้ไม่ต้องหาตัวสะกด แต่เป็นอักษรตัวใหญ่ทั้งหมด เป็นตัวย่อหรือเปล่า... ??? ??? ???

ใครค้นเจอก่อนเอามาเฉลยด้วยครับ...ขอลอกการบ้านหน่อยครับ...ไม่สันทัดกรณีจริง ๆ... ;D ;D ;D


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 มี.ค. 08, 21:49
การบ้าน
กรุณาอธิบายสองรูปนี้ด้วยประติมานวิทยาทีดิ....พลีสส


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 06 มี.ค. 08, 22:37
การบ้านของเก่าก็ยังทำไม่ทันเลยครับคุณ pipat
ยังแยกไม่ออกเลยครับว่าอะไรเป็นอะไรเลยครับ
ผมเข้าใจไปเองว่า...ตราบใดที่ยังไม่เข้าใจศัพท์เหล่านั้น การจะอ่านบทความนี้ให้เข้าใจจักเป็นเรื่องยากยิ่ง
ผมไม่ได้เรียนมาสายศิลปจึงเป็นเรื่องที่มืดแปดด้าน...ยากที่จะค้นได้ในเวลาอันสั้น
ความเข้าในในศิลป์ของผมคงใกล้เคียงกับเด็กมัธยมต้น...คงได้แค่ประมาณนั้น... ;D ;D ;D
แต่ผมพยายามทำความเข้าใจบทความที่ทุกท่านร่วมเสวนา

ไม่รู้ว่าจะใช้วิธีตอนเด็ก ๆ โดยปล่อยส่วนที่ไม่เข้าใจในหนังสือเล่มยากส่วนนั้นไว้ก่อน แล้วอ่านให้จบเล่มจึงย้อนมาส่วนที่ข้ามไป
เพราะบางทีอ่านต่อไปอาจทำให้เข้าในสิ่งที่ข้ามไปนั้นได้เอง เช่นเดียวกับบทความมากมายใน เรือนไทยนี้
 
ยิ่งอ่านยิ่งสนุก ได้ความรู้ ทำให้ผมเข้าใจในภาพที่ผมเคยมองผ่าน
ผมเสียดายที่ไม่ได้พิจารณาภาพเหล่าในทัศนะตามที่หลายท่านพรรณา
เกิดความอยากที่จะกลับไปเสพความงามอย่างมีคุณค่าอีกครั้งครับ
สัญญาว่าจะตามกระทู้นี้ทุกตัวอักษร ถ้าไม่โดนไล่ออกไปนอกห้องเสียก่อน... ??? ??? ???

ด้วยความเคารพครับ




กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 06 มี.ค. 08, 22:52
คราวนี้เป็นภาคอธิบายวิชา

ลองสมมติว่าเราเป็นช่างเมื่อสองพันปีที่แล้ว เรามีหินก้อนหนึ่ง เรามีความต้องการจากผู้อุปถัมภ์
ต้องการให้มีรูปเคารพของพระพุทธองค์ไว้เคารพบูชา
ความต้องการก็ดูจะง่ายดายใช่ใหมครับ เราก็นึกว่าพระพุทธเจ้าเป็นใคร แล้วสร้างรูปไปตามที่เราเข้าใจ
แต่....
ปัญหาก็คือ ในปีนั้น พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปตั้ง 500 ปีแล้ว คนที่เคยเห็นก็ตายหมดแล้ว
หากจะมีเหลืออยู่ ก็คือรูปประติมาที่ครูช่างรุ่นก่อนสร้างไว้ และมีคนมาเคารพนบนอบตามกาละโอกาส
เอาละซี....ถ้าอย่างนั้น ก๊อปปี้ของครูช่างเลย ดีใหม

ปรากฏว่าท่านผู้สร้าง ท่านบอกว่า ครั้งนี้อยากได้ท่าประทับนั่ง ไม่เอาท่าประทับยืน
อาจจะเป็นได้ว่า ท่านเคยได้ยินกิติศัพท์ว่ามีรูปที่เป็นท่านั่ง และมีชื่อมาก
หรืออาจจะเป็นเพราะหินที่ได้มา ทำพระยืนไม่สวย
หรืออาจจะเพราะท่านอยากได้รูปปางที่ท่านศรัทธาเป็นพิเศษ คือปางปฐมเทศนา

เอาละ สรุปว่าช่างจำหลักของเรา ต้องสร้างพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาขึ้นมาตามความประสงค์ของพระราชา
ตรงนี้แหละครับ ที่วิชาประติมานวิทยาเข้ามามีบทบาท
แต่ในวันนั้น เขาไม่ได้เรียกชื่อเท่ๆ อย่างนี้ เขาอาจจะเรียกว่ามหาปุริสลักษณะ
หรือพฤหัสสัมหิตา หรือเทวรูปาประดิษฐ....ใครจะไปรู้ อาจจะมีตั้งหลายเล่มก็ได้

(เดี๋ยวมาต่อ)....หัวหน้าห้องปายใหนอ่ะ เพื่อนๆ โดดเรียนหมดเลี้ยว


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 07 มี.ค. 08, 01:02
ยังอยู่ครับไม่ได้หนีเรียนภาคดึกพิเศษ...แม้ว่าจะง่วงเต็มที...ตาจะปิดแง้ว

งั้นไปต้มมาม่ามาซดร้อน ๆ สักชาม ตาจะได้สว่าง... 8) 8) 8)


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 07 มี.ค. 08, 02:13
ขอต้มยำกุ้งเผื่อสักชามสิครับ  แก้มึนเรื่อง semiology กับ ประติมานวิทยา

อิอิ  ภาพของคุณนอร์มา คงต้องว่ากันในแนวสัญวิทยา  เพราะคุณเธอเป็นสัญลักษณ์ของเซ็กส์ซิมโบล  หูตาท่าทางและมรดกเดิมทางสรีระ  เพอร์เฟ็คในการล่อแมลงจริงๆ.........ง่ะตอบปัญหาท่านพิพัฒน์ไปทางไหนเนี่ย

ถ้าผมว่าสัญวิทยา  เป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ของประติมานวิทยา  จะได้ไหมครับท่านพิพัฒน์........ ???  ???  ??? (ท่านติบอค้านอีกแหง)


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Oam ที่ 07 มี.ค. 08, 08:52
อ่านแล้วงง ขออ่านอีกหลายๆ รอบ แล้วค่อยเข้ามาถก(เขมร)


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 08, 09:07
ขออนุญาตค่ะ  นักเรียนคนนี้เข้ามาช้า    มัวไปสถานีตำรวจ ก่อนจะมาติวเข้มนอกเรือน

ขอยกมือถามครู ว่าเข้าใจถูกไหม

ประติมาณวิทยา( ไม่ใช่ ประติมานวิทยา)เป็นหนึ่งในสาขาวิชาศิลปะ  ศึกษาการจำลองรูปต่างๆ แต่ไม่ใช่ว่ารูปอะไรก็ได้
แต่เป็นรูปเคารพ  ทั้งงานวาด งานปั้น งานแกะสลัก
ดูที่จุดมุ่งหมายของคนสร้าง ว่าเขาสร้างงานเหล่านี้ด้วยแรงศรัทธา หรือความเชื่อมั่นในศาสนา เป็นพื้นหลัง

รูปหล่อพระพุทธรูป   รูปปั้นพระเยซู     รูปสลักพระแม่มารี   ภาพวาดนักบุญต่างๆ  รูปโลหะพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร  อยู่ในประติมาณวิทยา
ศิวลึงค์ ก็เป็น
แต่ถ้าไปเจอหินศักดิ์สิทธิ์ รักษาโรคภัยได้  ก็เลยเอามาบูชา  ตั้งไว้บนแท่นในวิหาร  หินก้อนนี้ไม่ใช่ประติมาณ

นอกจากนี้
รูปเคารพที่สร้างก็ไม่ใช่สร้างลอยๆ ประเภทนึกอะไรขึ้นมาได้ก็สร้าง   คือไม่ใช่เห็นเสาไม้ต้นหนึ่งก็เอามาถากพอให้หายขรุขระ    แล้วปักไว้   ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
แต่ว่าสร้างอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในตัวรูปเคารพนั้น    เพื่อ "สื่อ"ให้เห็นชัดว่า พวกเขาต้องการกราบไหว้บุคคลศักดิ์สิทธิ์คนไหน

ถ้าเห็นรูปเคารพเป็นผู้ชายนั่งบนดอกบัว  มีสี่หน้า   ก็รู้ว่าคนสร้างต้องการ "สื่อ" ถึงพระพรหมของฮินดู   ไม่ใช่เทวดาองค์ไหนก็ได้

แต่รูปเทวดานางฟ้าองค์น้อยๆสวมชุดขาวมีปีก ประดับอยู่บนต้นคริสต์มาส ไม่ใช่  เพราะไม่ได้มีไว้เคารพ และขาดเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกด้วย

เขียนผิดเขียนถูกประการใด โปรดแก้การบ้านให้ด้วยนะคะ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 08, 09:37
มาแถมให้
http://www.yannisstavrou.gr/art-glossary.htm
icon
An image or symbolic representation often with sacred significance.

iconography
The symbolic meanings of subjects and signs used to convey ideas important to particular cultures or religions, and the conventions governing the use of such forms.

ด้วยความรู้เล็กน้อยที่กระหืดกระหอบไล่หลัง  ตามชั้นเรียนมา  ถ้าครูถามว่ารูปข้างล่างนี้ อยู่ในประติมาณวิทยาได้ไหม  ก็ตอบว่า..ไม่ได้ค่ะ
แต่จะอยู่ในสัญวิทยาหรือไม่...ยังเรียนไม่ถึง




กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: หนูหมุด ที่ 07 มี.ค. 08, 09:46
อ่าน3รอบแล้ว ก็ยังมึนงงอยู่เลยค่ะ  ??? เป็นเพราะไม่ได้เรียนมาทางสายศิลป์ด้วย
เห็นที่แต่ละท่านอธิบายกันก็เหมือนจะพอทราบๆกันอยู่แล้ว
หรือว่าเคยมีคุยถึงเรื่องนี้แบบพื้นฐานมาแล้ว   :-\
พื้นความรู้ทางด้านนี้ด้อยมาก มีท่านไหนพอจะแนะนำ link ให้ไปอ่านก่อนมั้ยคะ
ระหว่างนี้ขอตัวไปปรับพื้นก่อนค่ะ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 07 มี.ค. 08, 09:52
ขอส่งการบ้านอีกรูป

รูปหล่อหลวงปู่ทวด  อยู่ในประติมาณวิทยา
ถูกไหมคะ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 มี.ค. 08, 10:04
รูปหลวงพ่อทวด เป็นเช่นเดียวกับรูปนักร้องครับ คือเป็นรูปเหมือน
ต่างกันแต่เป็นรูปของผู้ใด นักร้องหรือนักบวช

รูปใดเป็นประติมาณวิทยาหรือไม่ ต้องถามย้อนกลับว่ามาแต่คัมภีร์เล่มใด
ถ้าไม่มีคัมภีร์ ก็ต้องเปรียบจากรูปในคติเดียวกันที่มีอยู่ก่อน หรือต่อเนื่องกัน
นอกจากนี้ รูปหลวงพ่อทวดเอง ก็ไม่มีเอกสารรองรับลักษณะและบุคลิกภาพของท่าน
จะเอาตำราอะไรมารองรับครับ ว่าทำไมท่านจึงวางมือในท่านั้น
ห่มจีวรอย่างนั้น หรือขัดสมาธิในท่านั้น

ดังนั้นรูปของท่าน หรือท่านนักร้อง จึงไม่มีข้อมูลทางประติมาณวิทยา แต่สามารถใช้สัญญะวิทยาศึกษา
แล้วจึงตีความต่อว่า รูปดังกล่าวแปลว่าอะไร


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 มี.ค. 08, 10:08
เจอบทความเข้ากับหัวข้อนี้พอดี ลองอ่านดูครับ ผมตัดตอนเอาที่เด็ดๆ มา ตามไปอ่านฉบับเต็มได้ครับ
--------
ถอดรหัส “ลึงค์” ด้วยทฤษฎีสัญญะวิทยา

ทฤษฎีสัญญะวิทยา (Semiology) สามารถถอดความหมายจากรากศัพท์เดิมได้ว่าเป็น “ศาสตร์แห่งสัญญะ” (Science of sign)
ที่พยายามจะอธิบายถึงวัฏสงสารของสัญญะ คือการเกิดขึ้น การพัฒนา การแปรเปลี่ยน รวมทั้งการเสื่อมโทรม ตลอดจนการสูญสลายของสัญญะหนึ่งๆ
ที่ปรากฏออกมาอย่างเป็นแบบแผนและระบบระเบียบ ทฤษฎีนี้กำเนิดมาจากการคิดค้นของนักภาษาศาสตร์เมื่อคริตศตวรรษที่ 19 โซซูร์(Saussure)
นักภาษาศาสตร์ชาวสวิส ผู้บุกเบิกวางรากฐานทฤษฎีสัญญะวิทยาได้นิยามวิชา Semiology ใหม่ว่า เป็นศาสตร์ที่ศึกษาวิถีชีวิตของสัญญะที่อยู่ในปริบทหนึ่งๆ (life of sign)

สัญญะ (Sign) หมายถึง สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความหมาย (meaning) แทนของจริง/ตัวจริง(object)
ในตัวบท (text) และในบริบท (context)หนึ่งๆ ตัวอย่างเช่น “แหวนหมั้น” เป็นสัญญะใช้แทนความหมายที่แสดงถึงความผูกพันระหว่างหญิงชายคู่หนึ่ง
ในบริบทของสังคมตะวันตก หากเป็นบริบทของสังคมอื่นก็อาจใช้หมู ใช้กำไล ใช้อย่างอื่นๆเป็นสัญญะแทน เป็นต้น
อาจกล่าวได้ว่าสัญญะเป็นสิ่งที่มีความหมายมากกว่าตัวของมันเอง เป็นตัวแทนความหมายของความเป็นจริง สัญญะที่เรารู้จักกันมากที่สุดก็คือ ภาษา

ในสัญญะหนึ่งๆจะมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นตัวหมาย (Signifier) และตัวหมายถึง (Signified) ยกตัวอย่างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างของจริง ตัวหมาย และตัวหมายถึง
เช่น สัตว์ปีกชนิดหนึ่งเป็นของจริง (Reference) ในบริบทของสังคมไทยได้สร้างสัญญะเขียนเป็นตัวอักษรว่า “ไก่” สังคมอังกฤษเขียนว่า “ chicken”
เมื่อใส่เสียง(sound) โดยเปล่งออกมาเป็นถ้อยคำว่า “ไก่” ส่วนนี้เรียกว่า “ตัวหมาย” (Signifier) เมื่อคนในแต่ละวัฒนธรรมได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้สัญญะ
(เช่นอ่านออก) เมื่อเห็นสัญญะ “ไก่” หรือ “chicken” ในหัวสมองหรือความคิดคำนึงของเขาก็จะเกิดแนวคิดจินตนาการของภาพ “ไก่” ขึ้นมา ที่เราเข้าใจกันว่า
“เป็นภาพในใจหรือภาพในความคิด” (concept) ซึ่งก็คือตัวหมายถึง (Signified) เพราะฉะนั้นอักษร “ไก่” จึงหมายถึงสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ตัวมัน แต่ถูกสร้างขึ้นมา
เพื่อให้มีความหมายแทนของจริง ซึ่งก็คือการสร้างระบบสัญลักษณ์ (symbol)
นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสิ่งที่สัญญะวิทยาสนใจวิเคราะห์ คือความสัมพันธ์ระหว่าง “ตัวบท” (text) กับปริบท (context)
คำว่า “con” หรือ “บริ” มีความหมายถึงสิ่งที่อยู่รอบๆ ดังนั้น context หรือบริบท จึงหมายถึงสิ่งที่อยู่รอบๆตัวบทนั่นเอง

เมื่อนำทฤษฎีสัญญะวิทยามาถอดรหัส “ลึงค์และโยนิ” จึงมองได้ว่าสิ่งที่เห็นคือ “ตัวหมาย” ตัวมันเองแทนสิ่งที่เป็นของจริง และมีความหมายมากกว่าตัวของมัน
ความสัมพันธ์ของลึงค์และโยนิ เป็นความสัมพันธ์ตามกฎของธรรมชาติซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในเชิงสังวาส (เพราะกำลังอยู่ในห้วงแห่งการกระทำระหว่างกัน)
อากาศที่อยู่โดยรอบในห้องและตัวห้องแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทและบริบท ซึ่งคนโบราณได้กำหนดเป็นตัวหมายถึง จึงเรียกว่า “ห้องครรภ์หรือครรภคฤหะ”
ภาพในความคิดจึงเป็นลึงค์ที่กำลังอยู่ในห้องครรภ์ และมีความหมายโดยนัย (Connotative meaning) ที่สัมพันธ์ระหว่างโลกและจักรวาล ตามความเชื่อทางอุดมคติ
ของศาสนาฮินดู ระหว่างมนุษย์ โลก และจักรภพที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลมกลืนไปตามกฎของธรรมชาติ

กล่าวโดยสรุปทฤษฎีสัญญะวิทยา เป็นเครื่องมือในการหาความหมายที่อยู่ภายใต้สัญญะหนึ่งๆ ทฤษฎีสัญญะวิทยาเสนอว่าอย่าอ่านความหมายลงไปที่ตัวอักษร (alphabet)
เพราะตัวอักษรเองไม่มีความหมายอะไรในตัวจนกว่าจะมาอยู่ในบริบททางวัฒนธรรมหนึ่งๆที่มีรหัสกำหนดความหมายเอาไว้ เมื่อนำทฤษฎีสัญญะวิทยามาถอดรหัส
ประติมากรรมหรือสถาปัตยกรรม จึงหมายความว่าอย่าเพียงแค่อ่านลงไปบนตัววัตถุ(ที่อาจถูกตีความทางประติมาณวิทยาไว้แล้ว) แต่ให้อ่านบริบทของวัตถุ
จึงจะเห็นรหัสที่ตัววัตถุไม่ได้บอก หรือความหมายที่ซ่อนอยู่ข้างใน รหัสเป็นแบบแผนขั้นสูงที่ซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างสัญญะต่างๆ หรือพูดง่ายๆก็คือ
เราจะนำเอาสัญญะย่อยๆต่างๆมาสัมพันธ์กัน แบบแผนนี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างที่อยู่ในหัวสมองของเรา และจะทำงานในการรับรู้และตีความเมื่อเราเปิดรับสัญญะต่างๆ
และในกระบวนการถอดรหัส (Decoding) ผู้รับและผู้ส่งไม่จำเป็นต้องถือรหัสเล่มเดียวกัน การถอดรหัสเพี้ยนเป็นกฎของการสื่อสารมิใช่เป็นข้อยกเว้น เนื่องจากฝ่ายผู้รับ
เองก็มีกรอบอ้างอิง (Reference) ที่นำมา สร้างรหัสต่างๆมากมาย เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการถอดรหัสที่ผิดพลาด มีเพียงการถอดรหัสที่แตกต่างไปจากผู้ส่งเท่านั้น
วิธีการถอดรหัสให้ใกล้เคียงกับผู้ส่งมากที่สุดก็จำเป็นต้องคิดแบบผู้ส่ง เข้าไปนั่งในหัวใจของผู้ส่ง ศึกษาวัฒนธรรมของผู้ส่ง ดังนั้นการใช้ทฤษฎีสัญญะวิทยานำมา
อธิบายหลักฐานทางโบราณคดีจึงเป็นการทลายกรอบทางประติมาณวิทยาซึ่งอนาคตข้างหน้ามีโอกาสที่จะเดินไปถึงทางตัน

จาก คุยเฟื่องเรื่องลึงค์  โดยนงคราญ สุขสม
http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=2207


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 มี.ค. 08, 10:25
เมื่อถอดรหัส “ลึงค์และโยนิ” จึงมองได้ว่า ความสัมพันธ์ของลึงค์และโยนิ เป็นความสัมพันธ์เชิงสังวาส
อากาศที่อยู่โดยรอบในห้องและตัวห้องแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทและบริบท
ซึ่งคนโบราณได้กำหนดเป็นตัวหมายถึง จึงเรียกว่า “ห้องครรภ์หรือครรภคฤหะ”

ภาพในความคิดจึงเป็นลึงค์ที่กำลังอยู่ในห้องครรภ์
และมีความหมายโดยนัย (Connotative meaning) ที่สัมพันธ์ระหว่างโลกและจักรวาล ตามความเชื่อทางอุดมคติของศาสนาฮินดู
ระหว่างมนุษย์ โลก และจักรภพที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลมกลืนไปตามกฎของธรรมชาติ
 ----------------
ที่ยกมาเน้นตรงนี้ คือสิ่งที่ต่างกันระหว่าประติมาณวิทยาและสัญญะวิทยาครับ
เราใช้ประติมาณวิทยาเพื่อทดสอบว่า วัตถุนั้น คืออะไร ไม่ใช่ว่าเจอเสาตอม่อปุ๊ป ก็บอกว่าเป็นลึงค์
แล้วบอกว่าตอม่อนั้นปักลงในน้ำ แสดงความสัมพันธ์กลมกลืนอันชุ่มฉ่ำ
เห็นเชือกผูกเรือควั่นติดอยู่ ก็บอกว่าแสดงความเกี่ยวกระหวัดแห่งสัมพันธ์ภาพของสองสิ่ง
บ้าหยินและหยางก็บอกว่าเป็นดุลยภาพของโลกด้านที่แย้งกัน แต่มาผนึกรวมกันเพื่อผดุงรักษาสมดุลย์แห่งจักรวาล
บ้าเซ็น ก็บอกว่า เป็นสัญลักษณ์ของปัญญาอันนิราออกจากความรุ่มรวยแห่งรูป
บ้าวัชรญานก็บอกว่า เป็นสังขารที่รอวันดับสูญ แต่ระหว่างยังไม่ดับสูญก็สังวาสกับบริบทรอเวลาอันเป็นอนันตภาวะนั้น
เฮ้อ.....

บ้าสัญญะวิทยา พอเห็นเสาปักอยู่ในน้ำ ก็ใช้วิชาประติมาณวิทยาวิเคราะห์หาว่า
เสาแบบนี้ ปักตรงๆ แบบนี้ โผล่พ้นน้ำแค่นี้ ทนแดดทนฝนมานานปีแบบนี้ แสดงถึง
"สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความหมาย (meaning) แทนของจริง/ตัวจริง(object) ในตัวบท (text) และในบริบท (context)หนึ่งๆ
มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นตัวหมาย (Signifier) และตัวหมายถึง (Signified)"
ตอม่อต้นนี้จึงแสดงถึงผลจากวิถีชีวิตของสัญญะที่อยู่ในปริบทหนึ่งๆ (life of sign)
เฮ้อ.....เฮ้อ.....เฮ้อ.....

ส่วนที่ผู้เขียนตีความลึงค์ในครรภคฤหะว่าเป็นอย่างนู้นอย่างนี้ ก็เป็นการตีความตามตัวอักษร
จะเป็นไปตามนั้นจริงหรือไม่ ใครกล้ารับรองครับ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 มี.ค. 08, 11:44
กลับมาต่อเรื่องสร้างรูป

เอาละ สรุปว่าช่างสลักรับงานแล้ว สร้างสำเร็จ เฉลิมฉลองมีพิธีครบถ้วน รูปนั้นก็ตั้งเป็นประธานต่อมาอีกหลายชั่วคน
แต่พระท่านว่าอนิจจังไม่เที่ยง อากาศวิปริต น้ำเปลี่ยนทางเดิน แล้งเข็ญ สงคราม อาณาจักรล่มสลาย....ฯลฯ
นักโบราณคดีไปขุดเจอรูปนี้ในซากเมืองร้างกลางทะเลทราย
จะทำไงดีล่ะ

เนื่องจากเป็นเรื่องเมื่อ 2000 ปีมาแล้ว เก่าก่อนมีภาษาใช้ หรือถ้ามีก็คงเป็นภาษาที่ต่างจากปัจจุบันมากพอดู
รูปลักษณะของประติมากรรม ก็ไม่ตรงกับที่นิยมในปัจจุบัน เราจะใช้อะไรช่วยในการบ่งชี้วัตถุนี้ล่ะครับ

semiotics .........รึ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 มี.ค. 08, 16:04
แล้ว Semiotics หรือ Semiology มันคืออารัยง่ะ ต้องถามวิกิดู....ได้คำตอบว่า
the study of sign processes (semiosis), or signification and communication, signs and symbols,
both individually and grouped into sign systems.
It includes the study of how meaning is constructed and understood.
http://en.wikipedia.org/wiki/Semiotics

สรุปง่ายๆ ก็คือวิชาแปลความ เช่นเห็นอีหนูนอร์มาจีน ยืนกางขากระโปรงบานอย่างนั้น แปลว่าอะไร
กระโปรงบานที่มีจีบละเอียดแปลว่าอะไร
รอยยิ้มฉีกไปถึงข้างแก้มแปลว่าอะไร ....เรื่อยไปถึงว่า ความกำกวมกับความโจ่งแจ้งสามารถเอามาทำมาหากินได้อย่างไร
เรียกว่าคู่มือบริโภคสื่อก็เห็นจะไม่ผิด ถ้าจะมีผิดก็เห็นจะเป็นการแปล หรือแปรความผิด
แต่ไม่เป็นไร ชีวิตสมัยใหม่ ชอบกำกวมอยู่แล้ว

เอาเป็นว่า วิกิเขาสรุปอีกครั้งว่า
In general, semiotic theories take signs or sign systems as their object of study:
the communication of information in living organisms is covered in biosemiotics or zoosemiosis.

คราวนี้ ผมขอลอกตำราเบื้องต้นของวิชานี้ มาให้พิจารณา เขาแบ่งหัวข้อไว้
วานคุณกุรุกุลา ลองใช้มันศึกษารูปประกอบข้างล่างด้วยเท๊อะ
Signs
Modality and Representation   
Paradigms and Syntagms
Syntagmatic Analysis 
Paradigmatic Analysis 
Denotation, Connotation and Myth
Rhetorical Tropes
Codes   
Modes of Address 
Encoding/Decoding
Articulation 
Intertextuality 
Criticisms of Semiotic Analysis 
Strengths of Semiotic Analysis 


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Oam ที่ 07 มี.ค. 08, 16:35
อืมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 07 มี.ค. 08, 18:53

ประติมาณวิทยา( ไม่ใช่ ประติมานวิทยา)เป็นหนึ่งในสาขาวิชาศิลปะ  ศึกษาการจำลองรูปต่างๆ แต่ไม่ใช่ว่ารูปอะไรก็ได้ แต่เป็นรูปเคารพ  ทั้งงานวาด งานปั้น งานแกะสลัก ดูที่จุดมุ่งหมายของคนสร้าง ว่าเขาสร้างงานเหล่านี้ด้วยแรงศรัทธา หรือความเชื่อมั่นในศาสนา เป็นพื้นหลัง

สวัสดีครับ อาจารย์เทาชมพู และขอบคุณคุณพิพัฒน์ที่ช่วยขยายความเกี่ยวกับที่มาของคำนี้ครับ

เท่าที่เคยผ่านตามา เห็นใช้ "น" ครับ เช่น

ผาสุข อินทราวุธ. พุทธศาสนาและประติมานวิทยา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร , 2530

แต่เรื่อง "ณ" หรือ "น" นี้ ผมเข้าใจว่า ที่ใช้ ณ เพราะเขียนแบบเก่าหรือเปล่าครับ ? คือ นิยมใช้กันในสมัยแรกๆ ที่คิดศัพท์นี้ขึ้นมา ตามที่คุณพิพัฒน์ได้กล่าวถึงไปแล้วในความเห็นที่ ๒

ส่วนที่เปลี่ยนเป็น "น" นั้น เห็นจะแก้ไขตามรูปคำสันสกฤตครับ

प्रतिमानविद्या (ปฺรติมาวิทฺยา) ........... ในความเห็นที่ ๑ ผมพิมพ์ตก "น" ท่านใดเติมได้ ช่วยด้วยนะครับ  ;D

पुराणpurāṇa (ปุราณ) = โบราณ

=
=

แต่ผมไม่ทราบว่า ราชบัณฑิตยสถาน ท่านได้บัญญัติคำนี้ว่าให้ใช้ตัวไหน ? ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ ๒๕๔๒ ไม่ได้เก็บคำนี้ไว้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเป็นศัพท์เฉพาะทาง ยังไม่ได้ค้นพจนานุกรมศัพท์เฉพาะด้านครับ

ถ้าเป็นอย่างที่ผมคิด เรื่องนี้ก็คงคล้ายๆ กับคำว่า ภูฐาน - ภูฏาน

==============================

ส่วนนิยามนั้น ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับ เพราะเท่าที่เคยเรียนมา เห็นจะเน้นศึกษาการสร้าง "หลักปรัญชา" หรือ "เหตุการณ์สำคัญ" ทางศาสนา ซึ่งเป็นนามธรรม ให้ออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานประติมากรรม เหตุที่ Iconography ของอินเดีย เขมร และไทย มีแต่งานศึกษาประติมากรรมเป็นส่วนใหญ่ คงอาจเป็นเพราะว่า งานจิตรกรรมไม่เหลือให้ศึกษาครับ หรือ มีเหลือให้ศึกษาน้อย

ตำราที่เคยอ่าน ส่วนใหญ่ก็จะอิงกับศาสนา เช่น Buddhist Iconography, Hindu Iconography

ส่วนถ้าจะไปตีความป้ายโฆษณา หรืออะไรก็ตามที่ไม่เกี่ยวข้องกับศรัทธา หรือ ความเชื่อทางศาสนา ผมมองว่าคงไม่ใช่วิชา Iconography น่าจะเป็นศาสตร์อื่น

อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นเพียงมุมหนึ่งที่ผมได้เคยสัมผัสเกี่ยวกับวิชาประติมานวิทยา ซึ่งก็คงมีมุมอื่นๆ อีกที่ผมไม่ทราบ ก็ต้องรออ่านท่านอื่นๆ มาเพิ่มเติมครับ 



กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 07 มี.ค. 08, 19:09

Iconography มิได้เจาะจงอยู่กับประวัติศาสตร์ศิลปะเพียงอย่างเดียวแล้วครับ ทุกวันนี้ ประติมานวิทยา มีบทบาทต่อศาสตร์หลายๆแขนง เช่น สัญณวิทยา (Semiotics) มานุษยวิทยา แม้กระทั่ง การศึกษาภาพยนต์ โดยเฉพาะการค้นหาความหมายทางวัฒนธรรมจากสัญลักษณ์ ซึ่งปรากฏออกมาจากภาษาท่าทาง

อันนี้ ผมโนไอเดียครับ  ;D เพราะไม่ได้สัมผัสงานประวัติศาสตร์ศิลปะ แต่อย่างไรก็ตาม จากคำอธิบายของคุณ Kurukula ทำให้ผมนึกถึงงานในวงการพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาตะหงิด ตะหงิด  ;D

คือว่า คำว่า พิพิธภัณฑ์ แต่เดิมหมายถึงแต่ สถานที่เก็บโบราณวัตถุ หรือ ศิลปะวัตถุ ที่มีคุณค่าทางการศึกษา

ต่อมา ก็ขยายนิยามออกมาเป็น สถานที่จัดเก็บวัตถุต่างๆ ที่ให้ความรู้ สังเกตได้ว่า เป็นวัตถุอะไรก็ได้

ต่อมา ก็ขยายออกไปอีกว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นโกดังเก็บของ เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ก็ได้ รวมไปถึงสวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ (Aquarium) ซึ่งก็เป็นสวนสัตว์ชนิดหนึ่ง

จะเห็นว่า คำว่า "พิพิธภัณฑ์" ปัจจุบัน ครอบคลุม เอามากๆ ถึงกับบางคนจัดให้สวนสัตว์เป็นพิพิธภัณฑ์ไปแล้ว

นั่นเป็นเรื่องวงการพิพิธภัณฑ์ ซึ่งสามารถติดตามข่าวสารได้ที่ ICOM http://icom.museum

"A museum is a non-profit making, permanent institution in the service of society and of its development, and open to the public, which acquires, conserves, researches, communicates and exhibits, for purposes of study, education and enjoyment, material evidence of people and their environment. (...)"
ที่มา http://icom.museum/definition.html

ส่วนเรื่อง Iconography ขอนั่งฟังต่อครับ



กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 07 มี.ค. 08, 19:15
สำหรับผู้ที่ต้องการทราบเกี่ยวกับพัฒนาการของนิยามสำหรับคำว่า "พิพิธภัณฑ์" ครับ

Development of the Museum Definition according to ICOM Statutes (1946-2001):
http://icom.museum/hist_def_eng.html

The Definition of the Museum:
http://icom.museum/definition_museum.html


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 07 มี.ค. 08, 19:20

"ICON"...โชคดีคำนี้ไม่ต้องหาตัวสะกด แต่เป็นอักษรตัวใหญ่ทั้งหมด เป็นตัวย่อหรือเปล่า... ??? ??? ???


ICON ไม่ใช่ตัวย่อครับ เป็นคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่มีรากมาจากคำกรีกโบราณครับ

ICON: 1572, "image, figure, representation," from L.L.(ภาษาละตินระยะสุดท้าย) icon, from Gk.(ภาษากรีกโบราณ) eikon "likeness, image, portrait," related to eikenai "be like, look like." Eastern Church sense is attested from 1833. Computing sense first recorded 1982.

ที่มา: Online Etymology Dictionary: http://www.etymonline.com/index.php?term=icon


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 07 มี.ค. 08, 20:54
คุณโฮฯ เล่าเรื่องมิวเซียม ทำผมนึกถึงการกลายพันธุ์อีกคำหนึ่ง
กุเรเตอร์ ครับ

ปัจจุบันนี้ วงการศิลปะร่วมสมัย ร่วงสมัย หรือล้าสมัย ชอบคำนี้นัก
ทำท่าจะใหญ่กว่าศิลปินซะอีก
เช่นมีน้องที่รู้จักคนหนึ่ง แกเป็นศิลปิน แกไปอยู่เจียงใหม่ สอนหนังสือ
วันดีคืนดี แกกลายเป็นกุเรเตอร์ไปซะแระ เป็นได้งัย
เป็นด้ายยย...ศิลปินบ้านเราเป็นได้ทุกอย่างแหละ
แกเอางานเด็กที่แกสอน เอามาจัดกลุ่ม เลือกแล้วพาเข้ากอทอมอ....มาเปิดนิทรรศการศิลปะ
โดยพะยี่ห้อว่า curated by xxxxx หมายความว่าฉันเป็นคิวเรเคอร์นะ(ยะ) ฉันเป็นคนเลือกศิลปินอีกที
แล้วแกก็อธิบายตบท้าย(ใครก็ไม่รู้) ว่าการสร้างนิทรรศการเป็นการสร้างงานศิลปะเหมือนกัลลล์

ผมก็งงอะดิ
ในแวดวงพิพิธภัณฑ์(รุ่นเก่า) ตำแหน่งกุเรเตอร์ (อันนี้เรียกเพื่อให้เกียรติกุเรเตอร์ทัต คนไทยคนแรกในอาชีพนี้ครับ)
เทียบแปลมาจาก curator เป็นวิชาชีพที่จำเพาะมากๆ นะครับ ไม่ใช่แค่หมุนตัวก็บอกว่าฉันเป็นกุเรเตอร์
หมุนอีกที อ้าวฉันเป็นศิลปิน หมุนอีกทีตกกระไดหงายเก๋ง...ฮ่าๆๆๆๆ

ผมรู้จักกุเรเตอร์อยู่คน (ความจริงพูดให้โก้เอง รู้จักอยู่คนเดียว) เธอเป็นพี่สาวที่แสนดี สอนผมในหลายเรื่อง
เธอเป็นภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เรียนจบมาเพื่อจะเป็นกุเรเตอร์แท้จริง
จบซอร์บอน เรียนกับบวสเซลิเย่ร์ และ เลอ บอเนอห์ ใช้สี่ภาษา แต่ที่เป็นโล้เป็นพายก็ฝรั่งเศษ
เธอมีหน้าที่หลักๆ สองประการ คือวิเคราะห์งานที่อยู่ในครอบครองของพิพิธภัณฑ์
เพื่อเขียน แคตะล๊อค
กับคิดเรื่องคิดประเด็น เพื่อจัดแสดง

งานอื่นๆ เช่นเซ็นชื่ออนุมัติของปลอมออกนอกประเทศ หรือชงกาแฟเลี้ยงผม เป็นของแถม
งานทำทะเบียนหรือเขียนแคตตะล๊อคนั้น เป็นขุนเขามหึมาของวิชาชีพนี้
สมัยก่อน เขียนสำเร็จหนึ่งห้อง ก็ได้ดอกเตอร์หนึ่งใบทีเดียว

เอ....แล้วมันต่างกับกุเรเตอร์ศิลปะยังไงละท่าน
ในความเห็นของผม ต่างกันแยะครับ

เพราะผมเชื่ออย่างดักดานมานานแล้วว่า คำว่า MoMa หรือ Museum of Modrn Art น่ะ ตั้งผิด
มิวเซียมไม่ควรเก็บงานสมัยใหม่ แถมโมม่าน่ะโมเม ไม่ได้เก็บงานสมัยใหม่เสียซักกะหน่อย
เก็บงานหลังสมัยใหม่เสียละมากกว่า
(เรื่องความหมายที่บิดเบี้ยวของ modern art มีจังหวะค่อยถกกัน)

คืองานศิลปะสมัยใหม่น่ะ เขาไม่ได้ทำมาสำหรับเก็บในพิพิธภัณฑ์ เหมือนหมาป่าไม่ควรอยู่ในกรง
พิพิธภัณฑ์ ควรเป็นสถานที่ชุมนุมของสิ่งที่ผ่านเลย ไม่ใช่ที่แช่แข็งชีวิตอันมีจลภาวะ

แต่คนนิวหยอกเขาไม่ค่อยคิดอะไรเหมือนผม เขาก้อเลยสร้างคุกคุมขังศิลปะ แล้วเรียกผู้คุมว่า
คิวเรเตอร์
มันก็ยุ่งอะดิท่าน พี่ไทยเราเป็นนักเรียน เอ้ยเลียนแบบ ก็นิวหยอกน่ะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรที่พวกเขาเป็นอาณานิคม
ก็รับมาสิครับ จักนิทรรศการที คนจัดเดินโก้ อวดชาวประชาว่าฉันเป็นคนคิวเหรทงานนะยะ ไม่ใช่ธรรมดา
ผมไม่เห็นจะทำตัวสมกับคำนี้เลย ทะเบียนก็ไม่ทำ คำอธิบายก็ไม่เขียน บทนำก็ซ้ำซาก แถมไม่มีอีก
งานจบก็นับเงินอย่างเดียว
นั่นมันเสมียนครับ ไม่ใช่คิวเรเตอร์

ผมขอแนะนำคิวเรเตอร์ที่ควรเอาอย่างสักคน อานันท กุมารสวามี
นี่ละของน่าเอาอย่าง ....ส่วนพวกกุลี เอ้ยกุเรเตอร์ปลอมๆ ในบางกอก ขอไม่รับประทาน
ทั้งหมดคือวิวัฒนาการของเพี้ยนศาสตร์ทางวัฒนธรรม เป็นอย่างเดียวกับที่เกิดกันประติมานวิทยา ยังไงยังงั้น

อ้อ ผมเลยมึน จะใช้น หนู หรือ ณ เณร ดีละเนี่ยะ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 07 มี.ค. 08, 23:21
ถ้าอย่างนี้ต้องขอให้ท่านกูรูช่วยอธิบายคำว่า  สัญลักษณ์ (Symbol) กับ สัญลักษณ์นิยม (Symbolism)  แล้วล่ะครับ คงจะประกอบสัญวิทยาได้ดี  ขอบพระคุณมากครับ  ได้ความรู้เยอะเลย........... :D


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 08 มี.ค. 08, 03:02
แหะๆ... ถึงคุณพี่Hota อ.pipat และ อ.เทาฯ ครับ


วันก่อนนายติบอแชตกะเพื่อนคนหนึ่ง อยู่แดนออสซี่
ถามไปถามมาได้ข่าวว่าสาวเจ้าแกอายุ 35 ทำงานโคอะล่าแบร์พาร์ค
ถามแล้วก็ถามเลย ไม่ได้ใส่ใจอะไร........


จนกระทั่งเขามาถามนายติบอว่านายติบออยากทำงานอะไร
นายติบอเลยตอบไปว่า curator เป็นงานในฝันของนายติบอ
เพราะนายติบออยากดูแลพิพิธภัณฑ์ซักที่ แล้วก็จัดแสดงสิ่งของที่รวบรวมมา

แกก็ว่าฉานก็คิวเรเตอร์นะ..... พาเอานายติบออึ้ง!!!
อารายว๊า.... ถ้าอยู่สวนสัตว์ คอยควบคุมการดูแลสัตว์ การขอยืมสัตว์ แลกเปลี่ยนสัตว์ระหว่างสวนสัตว์
บอกมาว่าเป็นคิวเรเตอร์นี่.... นายติบออาจจะพอเข้าใจ

แต่อยู่สวนโคอะล่า ที่มีแต่หมีโคอะล่า
แล้วมาบอกว่าเป็นคิ้วเรเทอร์นี่.... งงเต๊กครับ แหะๆ




ปล. แกอ้างตัวแกว่าแกต้องดูแลสัตว์สิบกว่าชนิดในสวน ทั้งนก ทั้งหนู
ต้องคอยทำนิทรรศการปีละสองสามหน เรื่องต้นยูคาลิปส์มั่ง เรื่องพัฒนาการของน้องหมีมั่ง
แล้วก็คอยเลือกหมีมาให้คนที่เข้าชมสวนสัตว์อุ้มเล่น.... แค่นั้นฉานก็เปงคิวเรเทอร์แร๊วโว๊ย.......
ม่ะเหมือนเหมือนตาอินเดีย หน้าโจรเลยอ่ะ แหงะ!!!


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Hotacunus ที่ 08 มี.ค. 08, 05:33
555  :D

คุณน้องติบอก็ คุณพี่ออสซี่ท่านนั้น อาจนิยามตาม ICOM ก็ได้นะครับ อิอิ  ;D

ถ้า Curator คือผู้ที่ดูแล Museum
และ Zoo เป็น Museum ประเภทหนึ่ง
ดังนั้น ผู้ที่ดูแล Zoo ก็คือ Curator อิอิ  8)

เอาเถอะ ผมเองก็งงเหมือนกัน ใจหนึ่งก็ยังทำใจไม่ได้ แต่อีกใจหนึ่ง เหตุผลของ ICOM มันก็พอฟังได้ สรุปว่า เอ้า จะว่าไงก็ว่าตามกัน เรามันคนส่วนน้อย  :'(






กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 08 มี.ค. 08, 06:40

เพราะผมเชื่ออย่างดักดานมานานแล้วว่า คำว่า MoMa หรือ Museum of Modrn Art น่ะ ตั้งผิด
มิวเซียมไม่ควรเก็บงานสมัยใหม่ แถมโมม่าน่ะโมเม ไม่ได้เก็บงานสมัยใหม่เสียซักกะหน่อย
เก็บงานหลังสมัยใหม่เสียละมากกว่า
(เรื่องความหมายที่บิดเบี้ยวของ modern art มีจังหวะค่อยถกกัน)

คืองานศิลปะสมัยใหม่น่ะ เขาไม่ได้ทำมาสำหรับเก็บในพิพิธภัณฑ์ เหมือนหมาป่าไม่ควรอยู่ในกรง
พิพิธภัณฑ์ ควรเป็นสถานที่ชุมนุมของสิ่งที่ผ่านเลย ไม่ใช่ที่แช่แข็งชีวิตอันมีจลภาวะ

คุณpipatกรุณาขยายความคิดหน่อย ว่าทำไมมิวเซียม มีศิลปะสมัยใหม่ไม่ได้


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 09 มี.ค. 08, 12:08
ติดค้างคำถามของคุณกุ้งแห้ง ได้เวลาตอบแล้ว เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ

ผมเห็นว่า museum ควรเป็นสถานสาธารณะ ก็ในเมื่อมันเป็นองค์กรสนับสนุนทางวัฒนธรรม มันมิควรค้ากำไรครับ
เพราะวัฒนธรรมหมายถึงมรดก(....ด้วย) แต่เป็นมรดกอดีตทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน
การแสวงหาผลกำไรจากการทำ museum จึงเป็นบาป สำหรับผม
ผมยังเห็นต่อไปด้วยซ้ำว่า  museum เป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคม ที่ต้องมี
เหมือนไฟฟ้า โทรศัพท์ ปะปา โรงเรียน วัด หรือสุสาน...พวกนี้ มิพึงทำมาหารับประทาน
ถ้าผมเป็นนายก ผมก็จะทำให้ของพวกนี้ ราคาต่ำที่สุด....เย้ และมีมากที่สุดด้วยแหละ

ปัจจุบัน เราแปลคำว่า museum เป็นพิพิธภัณฑ์ เราจะใช้ตามความหมายนี้ไปก่อนนะครับ
ทีนี้คุณสมบัติอีกข้อหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ก็คือ มันเป็นสุสาน มันเก็บของที่ตายแล้ว
จะทำให้มีชีวิตยังไง มันก็เป็นชีวิตที่ตายแล้ว
การที่เราเอาของที่ตายแล้วมาทำให้มีชีวิต ก็เพื่อเหตุผลเดียว คือเพื่อส่องอดีต
อย่างที่คุณธนิต อยู่โพธิ์ท่านเรียกว่า  อตีสังคตญาณ
(อาจจะจำมาผิด หนังสือก็ไม่ได้อยู่กับตัว ผู้รู้ ช่วยหน่อยนะครับ)

ผมชอบคำเรียกอยู่คำหนึ่ง ศาลาเครื่องราชย์....ที่จัดแสดงอยู่หลังวัดพระแก้วน่ะ
(พูดอย่างนี้ ต้องอธิบายอีก ว่าทุกวันนี้เราเข้าวัดทางท้าย ไม่ยักเข้าทางประธาน ที่มีศาลาเปลื้องเครื่องอยู่งัยครับ)
ชอบเพราะเขาตั้งแสดงสิ่งของคล้ายพิพิธภัณฑ์ แต่ของที่แสดง ยังไม่ตาย เขาใช้คำว่าศาลา จึงดูเท่มาก
คำว่าศาลานี้ ยังใช้ในอีกหลายที่นะครับ คำดีๆ ทั้งนั้น
ที่บ่นอย่างนี้ เพราะเห็นว่าเรารวย ฝรั่งมันกันดารคำกว่าเรา จึงใช้คำว่า MUSEUM ครอบจักรวาล
ผมจะเล่นตาหลกให้ดู

ผมมีร้านอยู่ในโบ๊เบ๊ ผมเก็บสินค้าไว้มากมาย บางอย่างก็เพราะขายไม่ออก
บางอย่างก็เพราะเหลือ บ้างก็เพราะเป็นตัวอย่าง บ้างก็เพราะชอบ เอาว่าแยะละกัน
ผมทำทะเบียน จดบัญชีไว้ทุกตัว ร้านผมมีที่ทางกว้างขวาง ผมก็เอาชุดพวกนี้แสดงไว้อะดิ
ใส่ตู้บ้าง แขวนบ้าง เอาไฟส่องสวยๆ ใครมาเห็นก็ชื่นชม
ลูกค้าจะมาทั้งขอซื้อ ทั้งขอลอก บ้างก็เช่าไปใช้ ผมก็ตามไปจัดงานให้เขาอีก ทำเอกสารแจกอย่างดี
ทั้งหมดนี่ผมเป็นกุเรเตอร์หรือยังครับ คุณติบอ



ผมขายชุดชั้นในอะครับ

ย้อนมาที่คำว่าพิพิธภัณฑ์ ที่ไม่ใช่ museum
คนไม่น้อยย่อมทราบว่า คำนี้ใครตั้ง แต่ทราบต่อหรือไม่ว่าตั้งเพื่ออะไร
จริงอยู่พระจอมเกล้า ทรงตั้งเพื่อรองรับคำว่า museum แต่ภาระกิจของพิพิธภัณฑ์ของพระองค์ ไม่เหมือน museum ครับ
ทรงเก็บของที่ "มีชีวิต" คือบันดาเครื่องราชบรรณาการทั้งมวลที่นานาประเทศถวายเข้ามา
ทรงเห็นว่า สมควรมีที่ตั้งแสดง ให้เขารู้ว่าทรงรู้ว่าของพวกนี้เป็นอะไร เราไม่โง่ขนาดเอาที่ดินแลกลูกปัดดอกนะ
พี่คอ...คอเคซอย

แล้วทำไมศิลปะสมัยใหม่ จึงไม่ควรไปอยู่ใน museum
เรื่องนี้ เป็นบาปของคุณนายทั้งสี่ฮ่า.....

กาลครั้งหนึ่ง นิวหยอกยังเถื่อนนัก ขนาดสตีกลิตส์ ยอดช่างภาพ Alfred Stieglitz (1864–1946) มาเปิดกิจการที่เลขที่ 291 ถนนสายที่ 5
ทั้งๆ ที่เป็นคนดัง เป็นที่นับหน้าถือตา แกก็ยังร่ำๆ จะถอดใจ กลับไปเล่นศิลปะที่ยุโรป เพราะนิวหยอกเกี้ยน มะรู้เรื่องศินลาปะฮ่า
กริ๊ก กริ๊ก
หลังจากนั้นมาอีกร่วม 30 ปี สี่สาวไฮโซ ก็มาคบคิดกันเรื่องเปิดโมม่า
(ในวิกี้เขาให้ไว้ สามสาว แต่หนังสือประวัติโมมา มีสี่ครับ พร้อมรูปด้วยแหละ)
http://en.wikipedia.org/wiki/Museum_of_Modern_Art
การมีชื่อว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ทำให้กลายเป็นเรื่องตลกต่อมาในทุกวันนี้
ในปีที่เปิด คำว่า modern art เป็นคำเฉพาะครับ เฉพาะเหมือนหน้าตาของตึกที่พวกเขาไปตั้งอยู่นั่นแหละ
modern art หมายถึงศิลปะตั้งแต่หลังเซซานมาจนถึงแอปสะแตรค....เท่านั้น จากนั้นเขาเรียกหลังสมัยใหม่ หรืออื่นๆ
เอางี้ละกัน ตึกที่โมม่าสร้างเอง หลังรุ่งเรือง เป็นฝีมือออกแบบของฟิลิปส์ จอห์นสั้น
คนนี้เขาเป็นวิเศษนิยม เอ้ยมะช่าย เขาเป็นสมัยใหม่นิยม ออกแบบอะไรใช้แค่สองเส้น คือตั้งและนอน นานๆ จึงโค้งซะที

ตึกที่เป็นเครื่องหมายการค้าของคตินี้ ก็ตึกสหประชาชาติงัย ทื่อมะลื่อซะไม่มี
เป็นแท่งซื่อบื้อ ตั้งทิ่มท้องฟ้า ดูๆ ไปเหมือนคนสิ้นคิด บังแดดบังลมชาวบ้าน บังเมฆด้วยแหละ
ปิดทึบทั้งตึก กินไฟน่าดู ไฟไหม้ทีจะทำงัย แดดสะท้อนใส่ตาชาวบ้าน ข้าไม่สน
คือว่าไปแล้ว คติศิลปะสมัยใหม่นี่อะนะ คืออภิสิทธิ์ชนของแท้เลยแหละ
เธอจะชอบชั้น เธอต้องปีนกระไดมาหา ชั้นไม่โน้มตัวลงไปหากระดุมพีดอก ชั้นไฮโซฮ่า.....
เจ้าวาร์ฮอล (Andrew Warhola 1928–1987) ถึงได้ทำรูปกระป๋องซูป ตบหน้าไฮโซงัย

ตาหลกก็คือ โมม่า ซื้องานที่ดูถูกตัวเองเข้าในคลังสะสมแฮะ
(เหนื่อย ขอพักก่อนครับ)


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 09 มี.ค. 08, 13:37
แล้วมันผิดยังงัย เอางานสมัยใหม่เข้า museum
ผมเห็นว่า ผิดอยู่ 2 ข้อ ข้อแรกได้บอกไปแล้วว่า ไม่ควรเอาหมาป่ามาใส่กรง
ขยายอีกก็ได้ว่า สัตว์อะไร ก็ไม่ควรขังกรง กรงควรมีไว้ขังคน
ยิ่งเดี๋ยวนี้ โลกเจริญก้าวหน้า
ไอ้ความคิดแบบเจ้าอาณานิคมที่ว่า ลูกฉัน อยากเห็นอยากได้อะไร ฉันต้องไปตีชิงมาให้มัน น่าจะสูญพันธุ์เสียที
อยากเห็นก็ไปที่สถานที่จริง(ซีว้า...)
งานสมัยใหม่ และหลังสมัยใหม่ รวมถึงสมัยปัจจุบันที่เรียกว่าร่วมสมัยน่ะ
เป็นจิตใจเสรี ทำเพื่อขยายอิสระภาพทางความคิดและอื่นๆ มิใช่แฟชั่น ที่มุ่งดูดทรัพท์จากคนบางจำพวก
ศิลปะทำสิ่งสูงกว่านั้นครับ ศิลปะทำใจคนให้สูงกว่าเดิม อันใหนทำไม่ได้ ก็ไม่เป็นศิลปะ

เป้าหมายของศิลปะในข้อที่ยกมาปิดท้าย ทำให้มาถึงความไม่เห็นด้วยข้อที่ 2
คือผมเห็นว่า ทุกวันนี้ museum เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการตลาดไปซะแระ
ศิลปินปลอมๆ ก็จะบอกว่า งานชั้นมิวเซียมยังซื้อไปเก็บ มิวเซียมปลอมๆ ก็บอกว่า ชั้นเก็บแต่งานชั้นเริ่ด
ก็ถ้าคุณเห็นว่ามิวเซียมเป็นลูกค้าชั้นดี คุณก็เปิดกิจการเหมาส่งงานให้มิวเซียมไปสิ
เดี๋ยวนี้ลามปามถึงขั้นไม่เห็นหัวคนดู .....หมายถึงคนดูที่ไม่มีปัญญาซื้องานน่ะครับ

งานศิลปะนั้น ทำมาให้มนุษย์ชาติ ไม่ใช่มนุษย์ที่มีทรัพย์ ไม่มีทรัพย์ก็ไม่ต้องดู
ตรงนี้ ต้องมีคนมาแทรกว่า อ้าว...ก้อมิวเซียมเขาเก็บไว้ให้งัย ไปดูเสียสิ

ก็ขอตอบว่า ศิลปินที่ส่งงานเข้าสุสาน ย่อมตายทั้งเป็น
งานสมัยใหม่ ต้องดูไปพร้อมกับการใช้ชีวิต เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่ได้แยกจากกัน
การไปเดินดูมิวเซียมที่มีรูปเกาะอยู่บนผนัง ให้จัดดียังไง
มันก็ไม่ต่างจากการไปเดินดูรายชื่อทหารที่ตาย แล้วเขาสลักไว้บนผนังดอกครับ

งานของศิลปินสมัยใหม่ ต้องอยู่กับชีวิตของศิลปินคนนั้น สงสัยก็ด่าได้ ยกย่องได้ กินเหล้าด้วยได้
อย่าไปยกย่องศิลปินที่คบแต่กับลูกค้า ยกย่องแต่ลูกค้า ผลิตงานตามใจลูกค้า นั่นน่ะพ่อค้า
เราไม่เอางานประดิษฐ์ประดอยของพ่อค้า ไปแปะป้ายศิลปะ แล้วผนึกไว้ในสุสานกาลเวลา

เอาใหม่ แล้วพิพิธภัณฑ์ที่ต้องแสดงสิ่งที่บ้างก็ตาย บ้างก็เป็นล่ะ ควรทำงัย
ยกตัวอย่างง่ายๆ ละกัน พิพิธภัณฑ์แบบเรียนไทย นี่มีทั้งเก่าและใหม่ มีทั้งตายและเป็น แถมวัฒนธรรมซะไม่มี
เราก็ทำให้ครบถ้วนเท่านั้นแหละครับ

แต่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ที่เก็บแต่ของที่มีปัญญาหามาได้แค่นั้น ยังไงก็ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ เพราะมันแหว่ง เป็นเศษความรู้
ผมเห็นว่า อย่างน้อย พิพิธภัณฑ์พึงให้ความรู้ความเข้าใจที่ครบถ้วน
ซึ่งสมัยปัจจุบัน เราสามารถทำเรื่องควรรู้พวกนี้ให้ครบถ้วนได้ โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อของจริงซักกะบาทหนึ่ง


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 09 มี.ค. 08, 14:30
 ;D ;D ;D...อ่านไปทำความเข้าใจไป...เบ็ดเสร็จ 3 รอบ... ;D ;D ;D

ของคุณครับ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 09 มี.ค. 08, 15:14
สรุปไปแล้วเหรอ กำลังมันยืดเยื้อ :o


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 09 มี.ค. 08, 16:50
ยังงงอยู่อ่า......
ทั่นpipat โปรดแยกศิลปะ กะ แฟชั่น ให้นายติบอฟังได้มะคับ
นายติบอยังโง่งมนัก เลยแยกมันออกจากกันบ่ได้อ่า..... แง๊ว




ปล. Iconography ยังไปไม่ถึงไหน
เรื่องอะไรต่อมิอะไรก็เข้ามาแทนที่ซะละ หิหิ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 09 มี.ค. 08, 18:02
แยกศิลปะ กะ แฟชั่น
ง่ายนิดเดียว
แฟชั่นทำให้ตรูเอง
ศิลปะทำให้ทุกคน

โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง......


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 09 มี.ค. 08, 23:33
ถ้าท่านพิพัฒน์ลงการเมือง  ขอเชียร์เอาไปเลย 1 คะแนนเสียง  จะได้ดูของดีระดับ ซุปแคน ฟรีๆ

ไอค่อน  ต้องระดับรูปเคารพ  พระพุทธรูป เทวรูป ฯลฯ อิโคโนกราฟ  นอกจากประติมากรรมแล้ว  งานจิตรกรรม  หัตถกรรม นับเนื่องด้วยหรือเปล่าครับท่าน.. ???


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 09 มี.ค. 08, 23:59
ICON ถ้าเป็นศัพท์ทางศิลปะ เราใช้เรียกเป็นการเฉพาะเจาะจง
หมายถึงจิตรกรรมขนาดเล็ก
แต่ก็ใหญ่มากนะครับ เพียงแต่เขียนแยกในแผ่นกระดาน ก็เลยเล็กกว่าเขียนเต็มผนัง
เป็นรูปเคารพทางคริสต์ศิลป์ นิยมกันในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก
ซึ่งได้อนุโลม รวมวัฒนธรรมกรีกเข้าไว้ด้วย เพราะเป็นของที่นิกายออร์โธดอกส์ เขานับถือกัน
แหล่งเฟื่องฟูอย่างยิ่ง ก็คือรัสเซียครับ
รูปเคารพไอค่อนนี้ นิยมมาแต่นานนมกาเล รุ่นบีแซนไตน์โน่น
มักจะเขียนคนสำคัญอยู่กลาง ที่ว่างรอบๆ ก็เขียนเป็นฉากประกอบ เลือกมาจากประวัติของท่านผู้นั้น
การที่มีฉากเล็กฉากน้อยประกอบนี่แหละ ทำให้ต้องมีตำราดู มิเช่นนั้น บางทีก็ดูไม่ออกครับ
เพราะเขียนย่อเหลือเกิน

จึงเกิดวิชาดูไอค่อน เรียกว่าไอค่อนวิทยากระมัง ICONOGRAPHY หรือ ICONOLOGY
หมายฟามถึงสิ่งเดียวกัน แต่ทำไมเขียนต่างกัน เชิญคุณโฮกะคุณเครซี่มาอธิบายด้วยครับ

พอล่วงมาถึงยุคปัจจุบัน มีวิชาหนึ่งเกิดขึ้น ค่าเล่าเรียนแพงโลด สอนคนรวยให้รวยยิ่งขึ้น
คือพวกบริหารธุรกิจอะไรเทือกนั้น พวกนี้เขาชอบคิดค้น ดึงศัพท์เก๋ไก๋มาแนมตัวเอง
ทำให้น่าเกรงขาม เช่นคนสอน หรือคนเก่าที่รอบจัด เขาเรียกกูรู้...เอ่อ กูรู
อะไรที่เด่น เขาก็เรียกไอค่อน
ผมได้ยินจากพวกนี้ครั้งแรก งงครับ ......เกี่ยวไรหว่า
อย่างคนเชียร์ของ เขาก็เรียก brand ambassador ...เกี่ยวไรหว่า
ความต้องการจะเชิดชูตนเองด้วยการขอหยิบขอยืมของคนอื่นเขามานี่แหละ ทำให้ยุ่ง
และทำให้ ICONOGRAPHY หรือ ICONOLOGY เรียนเกี่ยวกับอะไรก็ได้

สำเร็จแล้ว...ที่เคยใช้ว่า หยู่ริก้า....ไม่เท่
ต้องเป็นซาโตริ....เกี่ยวไรหว่า
ผมจึงต้องมาพูดถึงเรื่องที่ตัวเองไม่รู้อยู่นานสองนาน....เกี่ยวไรหว่า

รูปจาก http://www.rollins.edu/Foreign_Lang/Russian/studio.jpg ครับ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 10 มี.ค. 08, 01:48
ยังไม่หายสงสัย ขออนุญาตถามเรื่อง แฟนฉัน... เอ๊ย แฟชั่น ต่อครับ



ถ้าเราพูดถึงเสื้อผ้ารุ่นรัตนโกสินทร์ตอนต้น.....
ราชสำนักสยามต้องจ่ายเงินกันปีละร่วมล้านบาท
เพื่อซื้อผ้าแขกสาระพัดชนิดเข้ามานุ่งมาห่มกัน
จนกระทั่งกระทรวงเกษตราธิกรณ์ต้องกราบทูลฯ ขอเปิดกิจการโรงไหมหลวง
ให้กลายเป็นตรอกโรงไหมมาจนถึงทุกวันนี้......

เสื้อผ้าพวกนี้.... จัดเป็นแฟชั่น หรือ ศิลปะอ่ะคับ คุณpipat ?





อีกเรื่อง...... เสื้อผ้าชั้นนำหลายเจ้า
เขานิยมชมชอบการตัดเย็บชั้นสูงด้วยมืออย่างปราณีต
เรียกว่าอะไรหว่า ขุดถั่ว กุทัวร์ กูตูร์ หรืออะไรเทือกนี้น่ะแหละ
บางชุดตัดกันหลายปี แต่หาคนใส่จริงๆไม่ได้ ได้แต่เอาไว้เดินบนเวที ขวาสี่ย๊อก ซ้ายสามแย๊ก
แบบนี้.... มองเผินๆเหมือน ทำไว้โชว์ ไว้อวดแบรนด์ว่ากรูทำได้!!!

จะจัดเป็นอะไรดีอ่ะคับ แหะๆ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 10 มี.ค. 08, 02:57
ถามอย่างนี้ ตอบง่ายเข้าไปใหญ่
สังคมไทยสมัยโบราณ ถ้าไม่ใช่ศาสนศิลป์
ไม่มีศิลปะครับ

เป็นประณีตศิลป์ทั้งนั้น

 art และ craft เขาไม่ปนกัน
เว้นแต่ craft นั้น เลอเลิศจนพูดไม่ออก ต้องประเคนตำแห่งศิลปะให้ไป
ซึ่งตรงนี้ เป็นกิจกรรมของผู้ทรงความรู้ เราเป็นผู้ไม่มีความรู้
จำเขา ปลอดภัยไว้ก่อน
รออีกหน่อยเจนจบ ค่อยเขียนตำรา อไรคือ art อะไรคือ craft
ของน้องติบอเอง

แหะๆ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: กุ้งแห้งเยอรมัน ที่ 10 มี.ค. 08, 09:22
อืมม์ ช่างระดับเอก ต้องได้ทำงานถวายศาสนา
เราจึงมีงานดีๆตามวัดทั้งประเทศหลบซ่อนอยู่อีกมากมาย ต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาอนุรักษ์ไว้
โดยเฉพาะวัดหลายร้อยปีข้างบ้าน  


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 10 มี.ค. 08, 12:18
ผมเข้าใจว่า Iconography ต่างกับ Iconology อยู่นิดหน่อย ตรงที่เน้นการศึกษาแค่พัฒนาการของ icon ไม่เน้นการตีความครับ เรียกว่า Iconography เป็น subset ของ Iconology ก็คงได้ครับ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 10 มี.ค. 08, 18:43
ขอบคุณหลาย เข้าเค้าครับ...ถ้างั้นลองอธิบายถึงอีกคำ ที่น่าจะทำให้เข้าใจมากขึ้นกว่าเก่า

COSMOLOGY
COSMOGRAPHY

อาจจะนอกเรื่องไปนิด แต่คงช่วยให้คนขี้สับสนอย่างผม หยุดสับ
หรือตรงกันข้ามหว่า


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: Bana ที่ 13 มี.ค. 08, 00:45
ง่ะท่านพิพัฒน์ไปทางจักรวาล เอกภพซะแล้ว

อืม....  งานชั้นเลิศที่เรียกว่าอาร์ทต้องทำถวายพระศาสนาหรือพระมหาจักรพรรดิ์เท่านั้น  เหมือนไมเคิลแองเจโล่ทำไว้ หรือที่ถวายฟาโรห์ แบบทางฝั่งไอยคุปต์ 

พระพุทธรูปในที่ต่างๆทำไมบางทีมีลักษณะแตกต่างกัน  โดยภาพรวมหรือแม้แต่รายละเอียดขององค์พระ  พระเกศ  เครื่องนุ่งห่ม  บางองค์ก็มีเพชรพลอยประดับ  แต่ที่มาซึ่งน่าจะจินตนาการจากรายละเอียดที่มีมาในคัมภีร์พระไตรปิฎกเล่มเดียวกัน  แต่ทำไมถึงได้แตกต่างกันมากเหลือเกิน  หรือจะเป็นไปเพราะการตีความหรือเปล่าครับ  คุปตะ แบบนึง  คันธาระ แบบนึง  ศรีวิชัยแบบนึง  ของไทยเราสมัยอยุธยา สุโขทัย ก็อีกแบบ......... ???


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pakun2k1d ที่ 13 มี.ค. 08, 05:07
ตามคำบรรยาย  และจดการบ้านครบแล้วค่ะ  แต่ขอเวลาทำความเข้าใจกับคำบรรยายก่อนนะคะเพื่อน ๆ ระหว่างไล่ตามขอนั่งข้าง ๆ คุณชัย1960  ซึ่งคงไม่มีเวลากินส้มตำแน่ ๆ  วิชานี้ยากเอาเรื่องอยู่


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 13 มี.ค. 08, 10:40
จักรยานวิทยา...เอ๊ะ ไม่ช่าย
จักรวาลวิทยา เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประติมานวิทยาครับ
เพียงแต่มีจุดเน้นแตกต่างกัน

เปรียบจักรวาลเหมือนเวที ประติมานก็เหมือนตัวแสดง
ผิดที่ ผิดทาง ก็ผิดเรื่อง

อย่างเช่นบอกว่าเจ้าแห่งภูผา ก็เป็นการชี้ถึงข้อมูลทางประติมานวิทยาของเทพองค์หนึ่งโดยเฉพาะ
เนื่องจากเทพแต่ละองค์ จะมีเครื่องหมายการค้า ไม่เหมือนกัน
ลองเดาดูสิครับ ว่าเทพที่ว่า คือองค์ใด


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 13 มี.ค. 08, 12:01
"...เปรียบจักรวาลเหมือนเวที ประติมานก็เหมือนตัวแสดง..."

รีบจดใส่สมุด...ระบายสีเน้นตัวอักษร...หรือยังครับคุณ pakun2k1d... ;D ;D ;D

คุณ pipat ท่านบรรยายได้สุดยอดจริง ๆ ...เข้าใจยากก็จริงแต่อ่านแล้วเหมือนได้เคาะสนิมออกมาทางหู

จบบรรยายเมื่อไหร่จะอ่านอีกสัก ๒-๓ รอบ

...ขอบคุณครับ...




กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 13 มี.ค. 08, 14:04
กลัวมึนไม่พอ
Cosmogony

แถมไปอีกคำครับ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: chai1960 ที่ 13 มี.ค. 08, 17:16
ม่ะกลัว...อ่านอย่างเดียวไม่กลัวมึน...อย่างมากแค่ตาเบลอ...เห็นภาพซ้อน... :-\ :-\ :-\

สงสารคนอธิบายมากกว่า...ทั้งต้องเค้นสมองออกมาสาธยาย...แถมต้องพิมพ์จนเมื่อยนิ้ว

ไม่รู้จะตอบแทนอย่างไร...ได้เพียงแต่ขอขอบคุณ...นะขอรับ... ;D ;D ;D



กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มี.ค. 08, 09:03
เทวรูปองค์นี้ ถ่ายมาจากมาเลย์เซีย  เป็นเทวสถานของฮินดู  แต่ชื่อเทวรูปคือ Murukan ไม่เคยได้ยินมาก่อน ไม่ทราบว่าเป็นเทพเจ้าองค์ไหน
ดูจากลักษณะก็ดูไม่ออกว่ามีสัญลักษณ์อะไรเป็นพิเศษ
เอามาฝากค่ะ   เผื่อผู้รู้ในกระทู้นี้จะช่วยอธิบายให้กระจ่างขึ้นบ้าง


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 20 มี.ค. 08, 09:22
งง ครับ
ใช้รูปแบบของเทวรูปอินเดียฝ่ายใต้ ยืนตรง สมภังค์
มีวงโค้งรูปเกือกม้าเป็นแผ่นหลัง เลียนแบบเทวรูปหินของภาคใต้
แต่ผ้านุ่งนั้นจับกลีบแบบอินเดีย ไม่ทิ้งเรียบเหมือนเทวรูปทั่วไป
แท่งที่อยู่ระหว่างขานั้น น่าจะเป็นการทิ้งม้วนชายผ้าลงตรงๆ แต่ที่นี่ทำเป็นแท่งเหมือนกระบอง
แถมมีพวงดอกไม้คล้องราวกะนักการเมืองเสียอีก

พริกตำราหาไม่เจอครับ
น่าจะเป็นจตุคามแขก


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มี.ค. 08, 09:46
ดีใจ นึกว่าจะงงอยู่คนเดียว
ขอเกณฑ์ผู้รู้มาช่วยกันงง ค่ะ
ขยายรูปส่วนบนให้เห็น เผื่อจะแกะรอยได้มากขึ้นบ้าง


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มี.ค. 08, 09:54
ท่อนกลางลำตัว  นุ่งผ้าคล้ายจีบหน้านาง
ยังงี้ คุณติบอน่าจะมาร่วมแจมว่าเป็นผ้าแบบไหน  นุ่งยังไง


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มี.ค. 08, 09:58
ด้านข้างค่ะ  ไม่รู้จะช่วยให้ดูออกได้มากขึ้นหรือเปล่า


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 20 มี.ค. 08, 11:22
ที่พระนลาต มีรอยสามขีด
เห็นจะเป็นไศวนิกายครับ

แต่องค์ประกอบอื่นๆ ไม่มีในตำราที่ผมคุ้นเคยเลย


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มี.ค. 08, 12:04
ต้องขอประทานโทษอย่างแรง  จำชื่อเทวรูปผิด   ไปเปิดบันทึกที่จดไว้ถึงได้รู้  ว่าที่จริงคือ Murukan ค่ะ  กลับไปแก้ในค.ห.ข้างบนแล้ว
พระมุรุกันองค์นี้   เป็นองค์ไหนของฮินดูล่ะนี่
เปิดกูเกิ้ล อ่านคร่าวๆ ดูเหมือนจะมาจากศรีลังกา แต่ก็ยังฮินดูอยู่ดีไม่ใช่หรือคะ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มี.ค. 08, 12:20
เจอแล้วค่ะ
http://www.answers.com/topic/murugan
Ancient Dravidian in origin (see Dravidians), Murugan or Murukan is an important god among the Tamils (see Tamil Mythology) of southern India. Sometimes he seems to be a version of the war god Skanda (see Kārttikeya), the six-headed son of Śiva (see Śiva). His roots are more likely to be found in fertility worship, however. He is clearly associated with love and youthfulness, as he rides, handsome and young looking. on his peacock, in the company of young women. His exploits as Skanda are described in the Mahābhārata (see Mahābhārata) and the Rāmāyaṇa (see Rāmāyaṇa).

ถ้าพระ Murukan คือภาคหนึ่งของพระ Skanda (สกันท์??)  เป็นโอรสของพระศิวะ
อ้าว  ก็คือพระขันธกุมารในภาษาไทยน่ะซี
ใช่หรือไม่ ต้องรอค.ห.เพิ่มเติมค่ะ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 20 มี.ค. 08, 12:38
ใช่ครับ
สันสกฤตว่า Skanda สกันท์ หรือ สกนท์
บาลีว่า Khandha ขันธ์ ครับ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 20 มี.ค. 08, 13:46
ขออภัยครับ แก้ไขครับ
บาลีว่า Khanda ขันท์ครับ

ค้นดูแล้ว ชื่อขันธกุมาร ควรเป็น ขันทกุมาร (Khanda Kumara)

เอ๋... แล้วกลายเป็นขันธกุมารมาตั้งแต่เมื่อไหร่กันหนอ  ???


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มี.ค. 08, 14:33
เราคงชินกับ "ขันธ์" ในพุทธศาสนา เลยสะกดแบบนี้   เป็นไปได้ไหมคะ คุณม้า?
ว่าแต่เทพเจ้าในมาเลย์เซียองค์นี้ ไม่มีนกยูง ไม่มีสัญลักษณ์ให้เห็นชัด    นับเป็นประติมาณไหมคะ


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: เทาชมพู ที่ 20 มี.ค. 08, 14:40
พระมูรูกันในอินเดีย พร้อมกับชายา


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 20 มี.ค. 08, 18:37
http://www.dattapeetham.com/india/tours/2006/malaysia/malaysia.htm
ลิงค์เกี่ยวกับรูปนี้ครับ
----------------------
เก็บรูปสกันทะมาฝาก ครอบครัวสุขสันต์ หนูน้อยกับพ่อแม่ จะเห็นว่า น่าจะคนละคติกันเลยทีเดียว



กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: pipat ที่ 20 มี.ค. 08, 18:38
.


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: ติบอ ที่ 20 มี.ค. 08, 20:16
นายติบอจำได้แค่ว่า สกัณท (เห็นพวกแขกจ๋า อ่านว่า สะ-กัน-ทะ)
หรือขันธกุมาร (บางทีก็เห็นเรียกว่าขตุคาม ด้วย)
เป็นเทพประจำเกาะลังกาครับ....... และโบราณวัตถุที่เก่าที่สุดชิ้นหนึ่งในประเทศไทย
ก็เป็นรูปบุคคลทรงสัตว์ปีกมีคอและหางยาว (ถ้าคิดว่าเป็นนกยุง ก็คงหนีไม่พ้นสกันทนี่ล่ะครับ)


ที่เหลือ.... คุณพิพัฒน์ บักปอบตั้ว และเพื่อนฮินดูอีกคนที่นายติบอเพิ่งจะส่งลิงค์ของเวบไปให้
น่าจะตอบอะไรๆได้ดีกว่าที่นายติบอตอบไปแล้วครับ แหะๆ




ส่วนนกยูง พวงมาลัยยาวๆหลังเทวรูปที่กลายเป็นเสา
วิธีนุ่งผ้า จี้ห้อย สร้อยคอ ทรงผม เครื่องประดับ สัตว์พาหนะ ที่หลงเหลืออยู่.....
เป็น อิโคโนกราฟี่ทั้งหมดครับผม


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: chicha ที่ 09 มี.ค. 09, 12:16
อยากทราบความหมายของคำว่า iconographically ว่ามันจะคล้ายกับ iconograghy หรือไม่คะ
ไม่เข้าใจจริงๆค่ะ ว่ามันแปลว่าอะไรกันแน่ และหมายถึงอะไร
รบกวนตอบด้วยนะคะ ต้องทำงานแปลอ่ะค่ะ แต่ไม่มีข้อมูลเลย
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ ??? ??? ??? ??? ???


กระทู้: What is "ICONOGRAPHY"
เริ่มกระทู้โดย: CrazyHOrse ที่ 09 มี.ค. 09, 13:40
ลองเริ่มจาก wikipedia ดูนะครับ มีอธิบายไว้ระดับหนึ่งครับ